-
กลูต้าไธโอน และ NAC จะทำงานร่วมกับ Vit C และ E ไปต้านอนุมูลอิสระในเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
-
กลูตา ไธโอนยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำ (eumelanin) เป็นเม็ดสีอ่อนลง (pheomelanin)ทำให้ผิวขาวขึ้น
-
สา รกลูตาไธโอนจะไม่สามารถถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารได้ เพราะจะถูกย่อยสลายและขับออกทางลำไส้ การรับประทานยาเม็ดกลูต้าไธโอนจึงไม่ได้ประโยชน์เลย
-
กลูตา ไธโอนชนิดกินได้รับการรับรองจาก อย. ที่ขนาดเม็ดละ 250 mg เท่านั้นถ้าขนาดสูงกว่านี้จะไม่ผ่าน อย. ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลก่อนซื้อกิน
-
กลูตา ไธโอนชนิดทา มีงานวิจัยพบว่าช่วยทำให้แผลของหนูหายเร็วขึ้น แต่ไม่เคยมีการวิจัยในคน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความขาว อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา
-
กลูตา ไธโอนไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างพันธุกรรมของเซลล์สร้างเม็ดสีได้ เมื่อหยุดได้ยา เซลล์สร้างเม็ดสีก็กลับไปสร้างเม็ดสีดำตามปกติเหมือนเดิม
-
ผู้ ที่ฉีดกลูตาไธโอนเพื่อให้ผิวขาวขึ้นต้องฉีดในปริมาณมากกว่าที่ใช้รักษาตาม ปกติหลายเท่าตัวต่อเนื่องกันนาน อาจมีอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้
-
การ ฉีดยาใดๆก็ตามเข้าเส้นเลือดดำ ล้วนมีโอกาสที่จะแพ้ได้ ทั้งการแพ้ตัวยาเอง สารฆ่าเชื้อ สารกันเสีย สารปนเปื้อนหรืออาจมีการติดเชื้อจากการฉีด
-
มี รายงานผู้ป่วยในต่างประเทศที่ได้รับการฉีดกลูตาไธโอนขนาดสูง มีอาการช็อกความดันต่ำหายใจไม่ออกและเสียชีวิตหากไม่ได้ช่วยเหลืออย่างทัน ท่วงที
-
การ ฉีดกลูตาไธโอนมักให้ร่วมกับวิตามินซีขนาดสูง ซึ่งการฉีดวิตามินซีในขนาดที่สูงและเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดอาการมึน ศีรษะคล้ายจะเป็นลมได้
-
ถึง แม้จะมีการใช้กลูตาไธโอนในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด แต่ อย. ไม่เคยรับรองการใช้กลูตาไธโอนเพื่อความขาว ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลก่อน
-
การได้รับสารกลูตาไธโอนปริมาณมาก มีผลทำให้ขบวนการต้านอนุมูลอิสระของร่างกายเสียสมดุล กลายเป็นอนุมูลอิสระกลับมาทำร้ายร่างกายได้
-
การ ที่ร่างกายได้รับสารกลูตาไธโอนเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เม็ดสีเมลานินที่จอตาลดลง ทำให้จอตารับแสงได้น้อยลง เสี่ยงต่อการมองเห็นได้ในอนาคต
-
การ ได้รับสารกลูตาไธโอนนาน ๆ จะทำให้เม็ดสีเมลานินที่ผิวหนังลดลง ผิวหนังจะได้รับแสง ultraviolet มากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
-
หากใช้กลูตาไธโอนในผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ประสิทธิภาพของเคมีบำบัดลดลง
-
การ ฉีดกลูตาไธโอนเป็นการเพิ่มสารกลูตาไธโอนได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจทำให้ผิวขาวขึ้นได้ในเวลาสั้น ๆ พอหยุดฉีดสีผิวก็จะกลับเป็นเหมือนเดิม
-
ไม่ ควรตกเป็นเหยื่อของคำโฆษณาที่อ้างว่าทำให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างถาวร เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ไหนที่จะทำให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างถาวรเช่นนั้นได้
-
ไม่มีการฉีดกลูตาไธโอนในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ เพราะไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระยะยาว
-
กระทรวง สาธารณสุขมีระเบียบออกมาห้ามไม่ให้แพทย์ใช้การฉีดกลูตาไธโอนเพื่่อทำให้ผิว ขาว และมีการสุ่มตรวจสถานพยาบาลที่ฉีดและโฆษณาว่ามีความผิด
-
ถ้า แพทย์ฉีดกลูตาไธโอนให้กับคนไข้ ถือว่ากระทำผิดกฏหมายข้อหาขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ 5,000 บาท
-
ถ้าสถานพยาบาลมีการโฆษณาเกินจริเรื่องการฉีดกลูตาไธโอน จะมีความผิดตาม พรบ. ยา มีโทษปรับถึง 1 แสนบาท
-
ถ้า ผู้ฉีดกลูตาไธโอนไม่ใช่แพทย์ มีความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับ อนุญาต พรบ. วิชาชีพเวชกรรม มีโทษจำและปรับ
#ต่อไปว่าด้วยเรื่อง ยาที่ทำให้ผิวขาวได้อีกตัวนึง "Transamine"
-
transamin เป็นยาที่ใช้ในการทําให้เลือดแข็งตัว เพื่อรักษาคนไข้ที่มีปัญหาเลือดไหลไม่หยุด แต่ยานี้มีผลข้างเคียงในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี
-
เคย มีการวิจัยที่นํายานี้มารักษาคนไข้ฝ้า พบว่าทําให้ฝ้าจางลงได้ แต่ภายหลังหยุดยาฝ้าก็กลับมาเข้มขึ้นอีก จึงไม่แนะนําให้ใช้ยานี้รักษาฝ้า
-
ระยะหลังพบว่ามีการนํา transamin ขนาดสูงไปกินเพื่อหวังให้ผิวขาวขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะยานี้ราคาถูกกว่ากลูต้าไธโอนมาก
-
ถ้า ใครซื้อยาหรืออาหารเสริมที่โฆษณาว่าทําให้ผิวขาวแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ควรหยุดกินทันที เพราะอาจมี transamin เป็นส่วนผสม
-
ผล ข้างเคียงจากการกิน transamin คือ คลื่นไส้อาเจียนปวดศีรษะ เลือดจาง ถ่ายบ่อย และเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สมอง ปอด ไต และตา อาจเสียชีวิตได้
-
คน ที่มีโรคประจําตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง กินยาคุม เส้นเลือดตีบ มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังกิน transamine สูง อาจเสียชีวิตได้
-
ระยะหลังมีการแอบนำ transamin มาปนในอาหารเสริมหรือวิตะมินเพื่อหลอกขายประชาชน แล้วโฆษณาว่าเป็นกลูตาไธโอนกินแล้วจะทำให้ผิวขาว
-
เนื่อง จากกลูตาไธโอนชนิดกินของจริงจะไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงมีคนพยายามนำ transamin มาผสม แล้วอ้างว่าเป็นกลูตาไธโอนขนาดสูงหลายพัน มก.
-
ถ้าจะซื้อวิตะมินหรืออาหารเสริมมากิน ควรตรวจสอบว่าผ่านการรับรองและระบุเลข อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อน เพื่อความปลอดภัย
-
ไม่ควรหลงเชื่อคําโฆษณาว่ามียาหรืออาหารเสริมใดทําให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างถาวรและปลอดภัย
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงรังสิมา วณิชภักดีเดชา)
ความคิดเห็น