SO_32101 - นิยาย SO_32101 : Dek-D.com - Writer
×

    SO_32101

    รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

    ผู้เข้าชมรวม

    4,575

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    4.57K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาแผนที่ทางภูมิศาสตร์  แผนที่เฉพาะแบบต่าง ๆ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในการสร้างเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์จานดาวเทียม ลูกโลกจำลอง ภาพถ่ายทางอากาศ รีโมทเซนซิ่ง  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์  ทั้งจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการศึกษาภาคสนาม  เข้าใจถึงความสัมพันธ์ด้านที่ตั้งของประเทศไทยกับทวีปเอเซีย  และภูมิภาคอื่นของโลก  รวมไปถึงลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  ทรัพยากรธรรมชาติ  ประชากร  การแบ่งภูมิภาค  การตั้งถิ่นฐาน  กิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ลักษณะทางวัฒนธรรม  และรู้จักวิธีวิเคราะห์ข้อมูลจากสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในแผนที่ตลอดจนรู้จักฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในหน่วยงานต่าง ๆ

                    ศึกษาทรัพยากร  สภาพปัญหา  การอนุรักษ์  และการแก้ปัญหาทรัพยากรการประกอบอาชีพ  ระบบเศรษฐกิจ  การซื้อขายแลกเปลี่ยนและสถาบันการเงินในประเทศ  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ  ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย  เศรษฐกิจแบบพอเพียง  การประกอบอาชีพของประชากรในประเทศและในท้องถิ่นและสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิต

                    ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์  ชาติพันธุ์  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้  เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจและเกิดความสัมพันธ์อันดีของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย

                    ศึกษาเรื่องของเวลา  การแบ่งเวลา  การเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย  เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างถูกต้องศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา  ด้านปัจจัยทางภูมิศาสนาในการตั้งถิ่นฐาน  การเมือง  การปกครอง  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ผลงาน 

    อารยธรรม  ภูมิปัญญา  การดำรงชีวิตของประชากรไทยสมัยอยุธยา  กับประวัติศาสตร์ภูมิภาคเอเชียที่ร่วมสมัยกันโดยสังเขป

                ศึกษาการเมืองการปกครองของไทยในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  โดยเน้นในด้านสิทธิ  เสรีภาพ  หน้าที่  สิทธิมนุษยชน  และวิถีประชาธิปไตย  ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  และประเทศชาติ  ตลอดจนศึกษาภูมิปัญญาไทย  ขนบธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรมความเชื่อ  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  เคารพปฏิบัติ  และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขึกษาการเมืองการปกครองของไทยในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  โดยเน้นในด้านสิทธิ  เสรีภาพ  หน้าที่  สิทธิมนุษย์

    จุดประสงค์รายวิชา

    1.        มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

    2.        มีความรู้ความเข้าใจลักษณะทางด้านกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรมของทวีปเอเชีย

    3.        มีความรู้ความเข้าใจลักษณะทางประชากรและวัฒนธรรมของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย

    4.        มีความรู้ความเข้าใจลักษณะทางกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  และการปกครองของทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย

    5.        มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์  ประเภท  และการจำแนกสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์

    6.        มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากร  พฤติกรรมของผู้บริโภค  สิทธิการคุ้มครองผู้บริโภค  กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  กลไกการตลาด  การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  ตลอดจนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของไทยในระดับภูมิภาคเอเชีย

    7.        มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  มีคุณธรรม  และรู้  เข้าใจโครงสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  อำนาจตุลาการ  ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครองของไทย

    8.        มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีไทย  การปฏิบัติตนเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่นในและภูมิภาคและของชาติ  และการสืบทอดภูมิปัญญาไทย

    9.        มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว  กฎหมายที่เกี่ยวกับชุมชนและประเทศชาติ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามกฎหมาย

    10.     มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ  หน้าที่ของชนชาวไทย  บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพรรคการเมือง  การเลือกตั้งและรัฐสภา

    11.     มีความรู้ความเข้าใจการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย  รู้และวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยและเอเชีย  เข้าใจขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาตร์  หลักฐานทางประวัติศาสตร์  ข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์  การสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์

    12.     มีความรู้ความเข้าใจปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสังคมที่มีผลต่อพัฒนาการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีพของประชากรในภูมิภาคเอเชีย  วิเคราะห์ประวัติความเป็นมาของประเทศสำคัญ ๆ ในภูมิภาคเอเชีย  พัฒนาการด้านต่าง ๆ จนเป็นผลทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของอยุธยาไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาและที่ปรับเปลี่ยนมาจนถึงปัจจุบัน  ผลงานของบุคคลสำคัญสมัยอยุธยาและผลกระทบที่มีต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทยตลอดจนแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานของบุคคลสำคัญเพื่อนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

    หัวข้อเนื้อหาวิชา
    สาระภูมิศาตร์

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   ทวีปเอเชีย

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย

    สาระเศรษฐศาสตร์

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  ระบบเศรษฐกิจ

    สาระหน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1    พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

                    หน่วยการเรียนรู้ที่   2  ประเพณี  วัฒนธรรม  และภูมิปัญญาไทย

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3     กฎหมายที่สำคัญของประเทศไทย

    สาระประวัติศาสตร์

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ในเอเชียและวิธีการทางประวัติศาสตร์

                                    เรื่องที่ 1 การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในเอเชีย

                                    เรื่องที่ 2 วิธีการทางประวัติศาสตร์

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  พัฒนาการความเป็นมาของเอเชีย

                                    เรื่องที่ 1 ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสังคมที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานในเอเชีย

                                    เรื่องที่ 2 ประวัติความเป็นมาของเอเชียโดยสังเขป

                                    เรื่องที่ 3 ประวัติและผลงานการสร้างสรรค์อารยธรรมในเอเชีย

                                    เรื่องที่ 4 ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในเอเชียที่มีผลต่อพัฒนาการ

                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยอยุธยา

                                    เรื่องที่ 1 พัฒนาการด้านต้าง ๆ ของไทยสมัยอยุธยา

                                    เรื่องที่ 2 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยาการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในสมัย

                 อยุธยา                       

    วิธีการสอน

    1.        การสอนแบบบรรยาย

    2.        กิจกรรมกลุ่ม

    3.        บทบาทสมมติ

    4.        ใบงาน  ใบความรู้

    5.        ค้นคว้ารายงาน

    การวัดผลและประเมินผล

                    การวัดและประเมินผลในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ประเมินผลรายปี ดังนี้

                    ภาคเรียนที่ 1

                    ใบงานที่ 1  เรื่องประโยชน์ของรีโมทเซนซิ่ง

                    ใบงานที่ 2  เรื่องการแบ่งภูมิภาคของทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 3  ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 4  เรื่องแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 5  เรื่องแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญ  และแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญของทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 6  เรื่องวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจของไทยและในระดับภูมิภาค

                    ใบงานที่ 7  โครงการผลิตสินค้าด้วยตนเอง

                    ใบงานที่ 8  โครงการบริษัทจำลอง

                    สมุดข่าว

                    คะแนนเก็บงานเดี่ยวและกลุ่ม

                    คะแนนจิตพิสัยภาคเรียนที่ 1

                    สอบปลายภาคเรียนที่ 1

                    ภาคเรียนที่ 2

                    ใบงานที่ 1  กรณีศึกษา เรื่องตามสถานการณ์ทางการเมืองการปกครอง

                    ใบงานที่ 2  เรื่องเอกสารทางราชการ เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวัน

                    ใบงานที่ 3  เรื่องหลักเกณฑ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                    ใบงานที่ 4  เรื่องบัตรเลือกตั้ง

                    ใบงานที่ 5  เรื่องการละเล่นพื้นบ้านและโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น

                    ใบงานที่ 6  เรื่องการนับศักราช

                    ใบงานที่ 7  เรื่องแหล่งที่ตั้งประวัติศาสตร์ในทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 8  เรื่องประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 9  เรื่องปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสังคมที่มีผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานในแต่ละภูมิภาคของเอเชีย

                    ใบงานที่ 10 เรื่องประวัติความเป็นมาของทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 11 เรื่องประวัติการสร้างสรรค์อารยธรรมของทวีปเอเชีย

                    ใบงานที่ 12 เรื่องมหาตมะ  คานธี  ดร.ซุน ยัดเซน  เหมา เจ๋อ ตุง   เติ้งเสี่ยวผิง  และยัดเซอร์ อาราฟัด

                    ใบงานที่ 13 เรื่องอาณาจักรอยุธยา

                    ใบงานที่ 14 เรื่องปัจจัยที่สนับสนุนการก่อตั้งสมัยอยุธยา

                    ใบงานที่ 15 บุคคลตัวอย่างในประเทศที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาชาติไทย

                    คะแนนเก็บงานเดี่ยวและกลุ่ม

                    คะแนนจิตพิสัยภาคเรียนที่ 2

                    สอบปลายภาคเรียนที่ 2

    หมายเหตุ  โครงการสอนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

     

    คะแนนเก็บระหว่างภาค  :  คะแนนสอบปลายภาค                                          70  :   30    ตลอดปี

    คะแนนเก็บระหว่างภาค  ( แบบฝึกหัด  ใบงาน  รายงาน  กิจกรรม )                                    คะแนน

    คะแนนสอบกลางภาค                                                                                                                  

    คะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์                                                                           10      คะแนน

    คะแนนสอบปลายภาค                                                                                         30      คะแนน

    รวม                                                       100     คะแนน

    นังสืออ้างอิงและเอกสารประกอบการสอน

    ณรงค์  พ่วงพิศ  และคณะ หนังสือเรียน  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ

    วัฒนธรรม (ประวัติศาสตร์)  ช่วงชั้นที่ 3  ....กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์ , 2547

    กระมล  ทองธรรมชาติ และคณะ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

    ศาสนาและวัฒนธรรม : ม.2 ช่วงชั้นที่ 3....กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ , 2547  จุฑา  กุลบุศย์  หนังสือกฎหมายที่ประชาชนควรรู้  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ....กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ , 2544

    มานิตย์  จุมปา  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย  กรุงเทพมหานคร :  บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด , 2545

    ธีระพล  อรุณะกสิกร  และคณะ  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต 

    พ.ศ. 2542 , ....กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด , 2543

    เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ, สำนักงาน.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540. กรุงเทพมหานคร  : 

    กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540.

    อนัญญา  โปราณานนท์.  เศรษฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร  :  สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2541.

    ศึกษาธิการ, กระทรวง.  สาระมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม.  

    กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.),2546.

                    ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39 (จดหมายเหตุวันวลิต). พระนคร : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2506.

                    ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 20 เรื่องทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น. พระนคร  : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์,

    2506.

    ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม.  ปอล  ซาเวียร์  แปล.กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรสโพรดักส์, 2539.

    เอกสารฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา. แปลโดย นันทา  สุตกุล, พระนคร : โรงพิมพฺคุรุสภา, 2514.

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น