แนะแนวการศึกษาต่อ วิศวลาดกระบัง
โดยเป็นบทความที่เกี่ยวกับ การเข้าศึกษาต่อ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้เข้าชมรวม
2,195
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้ง ม.ปลาย และ ปวช.
มี 3 วิธี เข้า ครับ
วิธีแรก คือ Admission สามารถเข้าได้ทั้ง ม.ปลาย และ ปวช.
GPAX คือเกรดเฉลี่ยรวมตั้งแต่
ม.4 - ม.6 คิดรวมทุกวิชารวมถึง สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปศึกษา การงานพื้นฐานอาชีพ
ปวช.1 - ปวช.3 ที่รวมวิชาช่างและวิชาสามัญเท่าที่เรียน
รวมแล้ว 10%
GPA คือเกรดเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระ โดยคิดเพียง 5 กลุ่มสาระ ตั้งแต่ ม.4 - ม.6 ปวช.1 - ปวช.3 เป็นดังนี้
- วิทยาศาสตร์ 4%
- คณิตศาสตร์ 4%
- ภาษาอังกฤษ 4%
- ภาษาไทย 4%
- สังคมศึกษา 4%
*สำหรับของ ปวช. เรียนแค่ไหนคิดแค่นั้น ไม่เกี่ยวกับวิชาช่าง
รวมแล้ว 20%
O-Net คือการสอบวัดระดับความรู้นักเรียน เพื่อจบชั้นการศึกษา )
- วิทยาศาสตร์ 8%
- คณิตศาสตร์ 8%
- ภาษาอังกฤษ 8%
- ภาษาไทย 8%
- สังคมศึกษา 8%
*สำหรับม.6 สอบ 8 วิชา เพื่อจบการศึกษาระดับ ม.ปลาย เพิ่ม การงานพื้นฐานอาชีพ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปศึกษา ไม่คิดคะแนน 3 วิชาดังกล่าว
*สำหรับปวช. ปวช. ไม่ต้องสอบก็จบได้ ถ้าจะตั้งใจสอบแอดมิสชั่นก็สอบ 5 วิชาเปนอย่างต่ำ
รวมแล้ว 40%
A-Net คือการสอบวัดระดับความรู้ความสามารถความถนัดในการเข้าศึกษาต่อของนักเรียนชั้น ม.6 และ ปวช ขั้นสูง
- วิทยาศาสตร์ 10%
- คณิตศาสตร์ 10%
- ความถนัดทางวิศวกรรม 10%
รวม 30%
รวมองค์ประกอบหลักทั้งหมด GPAX + GPA + O-Net + A-Net = 100%
วิธีที่ 2 ได้แก่ สอบตรง สามารถเข้าได้ทั้ง ม.ปลาย และ ปวช. ครับ
โดยสอบตรง จะสอบในเนื้อหาวิชาพื้นฐานวิศวกรรม 5 วิชา อันได้แก่
1. คณิตศาสตร์วิศวกรรม
2. พื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า
3. พื้นฐานวิศวกรรมเครื่องกล
4. ฟิสิกส์
5. เคมี
โดยสามารถเลือกได้ 3 อันดับ (จากสาขาวิชาในตอนท้ายของบทความ)
วิธีที่ 3 โควต้าต่างๆ อันได้แก่ โควต้าช้างเผือก โควต้าบุตรบุคลากรสถาบัน สามารถเข้าได้เฉพาะ ม.ปลาย เท่านั้น!!
ซึ่งรายละเอียด จะกำหนดอยู่ในใบสมัคร หรือ โรงเรียนของท่านๆ แล้ว
สาขาวิชาต่างๆ สามารถเลือกได้ ดังนี้
1. กลุ่มไฟฟ้า ( วิศวกรรมโทรคมนาคม / วิศวกรรมไฟฟ้า / อิเลกทรอนิกส์ )
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. วิศวกรรมระบบควบคุม
4. วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
5. วิศวกรรมสารสนเทศ
6. วิศวกรรมเครื่องกล
7. วิศวกรรมโยธา
8. วิศวกรรมการวัดคุม
9. วิศวกรรมเกษตร
10. วิศวกรรมเคมี
11. วิศวกรรมอาหาร
12. วิศวกรรมอุตสาหการ
โดยผู้ที่เลือก กลุ่มไฟฟ้า มา ทั้ง Admission สอบตรง และ โควต้า นั่นหมายถึง นักศึกษา ยังไม่สังกัดภาควิชา โดยที่ จะต้องมาเลือก แล้วก็ แยก สาขาวิชา ในเทอม 2 ประมานหลังสอบกลางภาค ของ ภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษานั้นๆ
และ สาขาวิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ยังไม่แน่นอนในการรับสอบตรง แต่จะรับ จาก Admission และ โควต้า
หน่วยงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งออกเปนส่วน ดังนี้
1. ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมโทรคมนาคม
2. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า
3. ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ รับผิดชอบสาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์
4. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
5. ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมระบบควบคุม และ สาขาวิชา วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
6. ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมสารสนเทศ
7. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมเครื่องกล
8. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมโยธา
9. ภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมการวัดคุม
10. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมเกษตร
11. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมเคมี
12. ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมอาหาร
13. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ รับผิดชอบสาขาวิชา วิศวกรรมอุตสาหการ
14. ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์ รับผิดชอบ บริการด้านวิจัย ด้านอิเล็กทรอนิกส์ และ อำนวยการสอนให้กับทางภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
ผลงานอื่นๆ ของ JK-FlipFlop ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ JK-FlipFlop
ความคิดเห็น