รักหมดจัย ยัยhi5เปรี้ยวหวาน - นิยาย รักหมดจัย ยัยhi5เปรี้ยวหวาน : Dek-D.com - Writer
×

    รักหมดจัย ยัยhi5เปรี้ยวหวาน

    วันนี้เป็นวันมหาซวย เพราะไปสายโดนทำโทษอย่างหนัก เกือบเข้าสอบไม่ทันTT_TTซวยพอมั๊ยล่ะแง้ๆๆๆๆ

    ผู้เข้าชมรวม

    820

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    820

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  นิยายวาย
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.
    e-receipt e-receipt
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นกิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณี สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ
    เนื่องจากการละเล่นพื้นเมืองจัดเป็นส่วนหนึ่งของนาฏศิลปไทย ได้แบ่งการละเล่นพื้นเมืองออกเป็น 2 ลักษณะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์เพื่อความเข้าใจ และเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
    1.       การละเล่นพื้นเมืองในรูปแบบของ "เพลงพื้นเมือง" หรือ "เพลงพื้นบ้าน" (Folk Songs)
    2.       การละเล่นพื้นเมืองในรูปของ "การแสดงพื้นเมือง" (Folk Dances)
    เพลงพื้นเมือง หมายถึง  เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา
    เพลงพื้นเมืองมีลักษณะดังนี้
    1.       มีความเรียบง่ายของการใช้คำ สำนวน โวหาร ไม่มีศัพท์แสลงมากนัก อาจจะมีนัยแฝงอยู่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสังคมท้องถิ่น ถ้าผู้ฟังมีประสบการณ์ร่วมก็จะเข้าใจได้ทันทีความตลกขบขัน การว่ากระทบกระเทียบ เสียดสีสังคมท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ มีให้พบเห็นอยู่โดยทั่วไปในเพลงพื้นเมืองทุกประเภท
    2.       การสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้าน นับแต่ความเชื่อเรื่องประเพณี ค่านิยม และภาษาถิ่น มีอยู่เป็นอย่างมากในเพลงพื้นเมือง
    3.       ฉันทลักษณ์ไม่แน่นอน อาจจะสั้นตั้งแต่ 1 คำ ร้องซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่ง 17 - 18 คำก็มี ลักษณะคล้องจองกันอยู่ในตัว แต่ก็ไม่ใช่ตามฉันทลักษณ์ของกลอนหรือบทประพันธ์ชนิดใด
    4.       การร้องเล่นไม่ต้องการอุปกรณ์ประกอบมากมาย อาจจะใช้จังหวะตบมือ ใช้ฉิ่ง กรับ โทน ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ การแต่งกายก็แต่งกายแบบพื้นบ้านที่เป็นอยู่ อาจจะเพิ่มการทาแป้งทาปากเข้าไปบ้างเพื่อความสวยงาม
    5.       การตัดเติมเสริมความมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไป เพราะบางทีเป็นการร้องโต้ตอบ (ปฏิพากย์) ระหว่างผู้เล่น 2 ฝ่าย ซึ่งต้องใช้ไหวพริบ (ปฏิภาณ) เพื่อความรวดเร็วไม่ให้การเล่นหยุดชะงัก จึงอาจตัดความหรือเสริมความเข้าใจเข้าไปเพื่อให้พอดีกับจังหวะ เวลา และโอกาส
     
    6.       การใช้สำนวนสำเร็จรูป หรือสำนวนสูตรสำเร็จ นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป เช่น ขึ้นต้นอย่างนี้ จะต้องต่ออย่างนี้ แล้วต้องลงอย่างนี้ เช่น ขึ้นว่า "จะว่าอะไรอย่าให้ผิด" จะต้องว่า "เหมือนกับริดตาไม้" หรือ "ขอให้ขึ้นคล่องลงคล่อง" ก็จะต่อว่า "อย่างกับช่องน้ำไหล"
    7.       ไม่ทราบที่มาแน่นอนว่ามาจากใคร ที่ไหน เมื่อไร ดังนั้นเมื่อถามถึงที่มาจะบอกว่ามาจากครูพักลักจำ คือ จำสืบกันมา เวลาไหว้ครูจึงต้อง "ไหว้ครูพักลักจำ" ด้วย
    8.       การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลาย
    การแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา  นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการละเล่นพื้นเมือง
       การละเล่นพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน แต่ละภาคจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันออกไปทั้งรูปแบบของเพลงพื้นเมือง และการแสดงพื้นเมือง สิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
    1.       ปัจจัยสภาพทางภูมิศาสตร์ มีอิทธิพลต่อการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภาค  เนื่องจากในสมัยอดีตการคมนาคมติดต่อกับส่วนกลางยากลำบาก ในภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลจึงมักจะรับวัฒนธรรมจากประเทศใกล้เคียงเข้ามาในสังคมนั้น
    2.       ประเพณี คำว่า "ประเพณี" ได้แก่ ขนบธรรมเนียมหรือแบบแผน คนเราไม่ว่าชาติไหน ภาษาใด ย่อมต้องมีประเพณีเป็นของตนเอง คนในชาติจ้องเคารพนับถือ ถ้าไม่เคารพนับถือจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่มีชาติ ในเรื่องประเพณีของประชาชนทุกภูมิภาค ส่วนมากจะมีขึ้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกันบ้าง และแตกต่างกันบ้างในบางประเพณี
    3.       ศาสนา เป็นสิ่งสำคัญมากมากสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการละเล่นพื้นเมืองแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นหรือในแต่ละภูมิภาค สำหรับประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเป็นประชาธิปไตยในเรื่องการนับถือศาสนา ทำให้ประชาชนมีโอกาสในการเลือกนับ
    ถือศาสนาที่ตนเองชอบได้อย่างอิสระ ผลของการนับถือศาสนานั้นมักมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเพณีความเชื่อ อันเป็นผลให้เกิดการละเล่นพื้นเมืองแตกต่างกันไป
    4.       ความเชื่อ เป็นเรื่องที่มีความผูกพันในวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ความเชื่อมีผลทำให้เกิดรูปแบบของประเพณีต่างๆ อันเป็นผลต่อการละเล่นพื้นเมืองอย่างยิ่งในแต่ละท้องถิ่น โดยแต่ละท้องที่ก็จะแตกต่างกันออกไป
    5.       ค่านิยม เรื่องของค่านิยมเป็นสิ่งสำคัญขั้นมูลฐานในการทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมบุคคล เพราะพฤติกรรมหรือการแสดงออกต่างๆของบุคคล ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะค่านิยมที่ผู้นั้นมีอยู่ ค่านิยมที่เรามักพบในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภาคจะมีลักษณะดังนี้
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับการศึกษา
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับความมั่นคง
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับการทำบุญ
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับความสนุกสนาน
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับการรักถิ่นฐานหรือรักญาติพี่น้อง
    ·         ค่านิยมเกี่ยวกับความกตัญญูรู้คุณ
    สามารถจำแนกลักษณะของการละเล่นพื้นเมืองได้เป็นประเภท ดังนี้
    ๑. การเล่นเพลงและระบำรำฟ้อน
     เพลง คู่กับ ระบำรำฟ้อน การละเล่นแต่โบราณที่กล่าวไว้ในเอกสารเก่าหลายอย่างได้สูญหายไป ที่ไม่ทราบวิธีการเล่นก็มีจำนวนไม่น้อย เนื่องจากในสมัยก่อนบ้านเมืองมีประชากรน้อย การละเล่นพื้นเมืองหลายอย่างจึงสูญหายไปโดยไม่มีการสืบต่อ การเล่นเพลงส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ คือ ร้องเกี้ยวพาราสีโต้ตอบด้วยวาทะโวหารระหว่างหญิงชาย ส่วนระบำรำฟ้อน จะเป็นการร่ายรำตามศิลปะของแต่ละท้องถิ่น ถือว่าเป็นนาฏศิลป์พื้นเมือง จึงนิยมเล่นหรือแสดงกันในท้องถิ่น ในภาษาไทยมีคำว่า "รำบำ" หรือ "ระบำ" มักจะเป็นการร่ายรำทั่วไป ส่วน "ฟ้อน" จะใช้เฉพาะในภาคเหนือ
    ·           การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ การเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนา การเล่นในเทศกาลงานบุญ ตรุษ สงกรานต์ และการเล่นในฤดูน้ำหลาก มักเรียนการละเล่นพื้นเมืองประเภทนี้ว่าเป็น "การเล่นเพลง" การเล่นเพลงที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนาก็จะเป็นการเล่นตามขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงนา เพลงสงฟางหรือพานฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงรำเคียว เพลงชักกระดาน เพลงพาดควาย เมื่อหมดฤดูทำนาก็มักจะเล่นเพลงปฏิพาทย์ ได้แก่
     
    ·         เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงชาวไร่หรือระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงเหย่อย เพลงยั่ว เพลงหน้าใย เพลงจาก เพลงทรงเครื่อง เพลงเทพทอง เพลงไก่ป่า ยังมีเพลงเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ที่ไม่ระบุว่าเล่นเวลาใด ได้แก่ เพลงพิษฐาน เพลงคล้องช้าง เพลงร่อยพรรษา เพลงขอทาน เพลงโม่งเจ้ากรรม ซึ่งแตกออกเป็นเพลงย่อยอีกหลายเพลงคือ เพลงรำ เพลงนกยูง เพลงนกแก้ว เพลงนก อีแซว เพลงจ่อนโบด เพลงแม่นางเอ๋ย เพลงอึ่งใส่เกลือ เพลงมะม่วงวัดเขา เพลงที่กล่าวมานี้ปัจจุบันจะล้าสมัยและสูญหายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่
    ·         การละเล่นภาคเหนือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟ้อนต่างๆ ศิลปะการฟ้อนในภาคเหนือ จะมีดนตรีพื้นบ้านประกอบ ซึ่งอาจมีท่วงทำนองเป็นเพลงบรรเลงล้วน หรือเป็นเพลงที่มีการขับร้องประกอบร่วมด้วย การฟ้อนของภาคเหนือแต่ก่อนมิได้มุ่งถึงการบันเทิง แต่เกิดจากพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อทางประเพณีในการบูชาผีปู่ย่าตายาย ผีบรรพบุรุษ เป็นหลัก การฟ้อนได้วิวัฒนาการไปตามยุค มาเป็นการฟ้อนอีกหลายอย่าง นอกจากนั้น ยังมีการเล่นกลองสะบัดชัย การร่ายรำ ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง หรือเชิง ซึ่งมักจะมีดนตรี และมีกลองเป็นหลักเข้าประกอบจังหวะ
    ·         การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ภาคอีสานประกอบด้วย ๑๖ จังหวัด นอกจากชาวไทยแล้วยังมีชาวพื้นเมืองที่มีเชื้อสายเขมร เชื้อสายภูไทหรือผู้ไทย ลาว กุย แสก โซ่ง ฯลฯ การละเล่นพื้นเมือง จึงมีหลายประเภท เช่น แสกเต้นสาก ฟ้อนภูไท กันตรึม รำแคน หมอลำ รำโทน
    ·         การละเล่นภาคใต้ ได้แก่ เพลงเรือ เพลงลา เพลงคำตัก คำบอก แปดบท การสวดมาลัย เล่นมหาชาติทรงเครื่อง หนังตะลุง โนราชาตรี ลิเกป่า รองเง็ง
     
     
     
    ๒. การเล่นเข้าผี
     การเล่นเข้าผี คือ การเชิญวิญญาณสิ่งที่ประสงค์จะให้มาเข้าทรงผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นสื่อเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ในรูปแบบต่างๆ เล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หญิงและชาย มักเล่นในเทศกาลสงกรานต์ แต่ละภาคมีการละเล่นต่างๆ กัน
    ภาคกลาง ได้แก่ การเล่นแม่ศรี ลิงลม ผีกะลา ผีนางกวัก ฯลฯ
    ภาคใต้ เรียกการเข้าผีว่า การเล่นเชื้อ ได้แก่ เชิญผีช้าง ผีหงส์ ผีมดแดง เป็นต้น
    เป็นการฟ้อนเชิญผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย มาเซ่นไหว้ตามประเพณี ส่วนการเล่นผีที่เรียกว่า นายเด้ง คือการเล่นแม่ศรีอย่างภาคกลาง
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เชิญผีปู่ย่าตายายมาเซ่นไหว้ เช่นเดียวกับภาคเหนือ
     
    ๓. กีฬาและนันทนาการ
    เล่นกันทั่วทุกภาค ได้แก่ มวยไทย กระบี่กระบอง ว่าว ตะกร้อ วิ่งเปี้ยว สะบ้า หมากรุก วิ่งวัวคน แข่งเรือ ชักเย่อ ชนวัว
     
    ลักษณะการละเล่นพื้นเมืองของแต่ละภาค
    ภาคกลาง
    การละเล่นพื้นเมืองของภาคกลางส่วนมากจะออกมาในรูปแบบของเพลงพื้นเมือง ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
    1.       เพลงที่นิยมเล่นในน้ำ ได้แก่ เพลงเรือ เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน และเพลงร่อยพรรษา ฯลฯ
    2.       เพลงที่นิยมเล่นในหน้าเกี่ยวข้าว นวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงโอก เพลงพานฟาง เพลงสงคอลำพวน และเพลงชักกระดาน ฯลฯ
     
    12
    3.       เพลงที่นิยมเล่นในหน้าสงกรานต์ และใกล้เคียง ได้แก่ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงสงกรานต์ (ตั้งขึ้นพิเศษ) เพลงยั่ว เพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงเหย่อย เพลงคล้องช้าง เพลงช้าเจ้าโลม เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงชักเย่อ เพลงเข้าผี เพลงแห่นางแมว เพลงใจหวัง และเพลงบวชนาค ฯลฯ
    4.       เพลงที่นิยมร้องทั่วไปไม่จำกัดเทศกาล ได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงไก่ป่า เพลงพาดควาย เพลงขอทาน เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง ลำตัด เพลงระบำบ้านนา เพลงแอ่วเคล้วซอ และเพลงอีแซว ฯลฯ ส่วนการละเล่นพื้นเมืองในรูปแบบของการแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง ได้แก่ รำโทน รำเถิดเทิง รำวง และระบำต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในแต่ละสถานที่
    5.       ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์
     
    เต้นกำรำเคียว
           
     
     
     
     
     เต้นกำรำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เก่าแก่ของชาวชนบทในภาคกลาง แถบจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชาวชนบทส่วนมากมีอาชีพการทำนาเป็นหลัก  และด้วยนิสัยรักสนุกกับการเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น  ในเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ลักษณะการรำ จะเน้นความสนุกเป็นใหญ่ มีทั้งเต้นและรำควบคู่กันไป  ในมือของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงเรียกการแสดงนี้ว่า "เต้นกำรำเคียว" จะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว
    วิธีเล่น  จะมีผู้เล่นประมาณ ๕ คู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชายเรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆคน ช่วยกันร้องจนจบเพลง ผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็จะเป็นลูกคู่ ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะ

    14
    การแต่งกาย ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุงสวมงอบไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อกระบอกสีดำทั้งชุด ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าเช่นกัน ผู้แสดงทุกคนถือเคียวในมือขวา และถือรวงข้าวในมือซ้าย
    ภาคเหนือ
    การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
            ลีลาการเคลื่อนไหว  เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
            เครื่องแต่งกาย  เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ
            เครื่องดนตรี  เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
            เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น
    การละเล่นพื้นเมืองของภาคเหนือในรูปแบบของเพลงพื้นเมืองนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.       บทขับขานของพระภิกษุในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา (ซึ่งผสมผสานกับพราหมณ์ และผี) เช่น เทศน์ อื่อลำนำ ใส่กาพย์ สวด ทั้ง 4 อย่างนี้ถือเป็นบทเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมโดยตรง มิได้นำมาขับร้องกันเล่นๆ
     
    29
    2.       บทขับร้องของประชาชนชาวบ้านทั่วไป เช่น ค่ำ (ช่ำ) จ๊อย (ช้อย)
     การละเล่นพื้นเมืองของภาคเหนือในรูปแบบของการแสดงพื้นเมือง ซึ่งมักเกี่ยวกับการฟ้อนหรือการร่ายรำนั้น แบ่ง 5 ประเภทคือ
    1.       ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจาการนับถือผี เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวกับความเชื่อ และพิธีกรรม นับเป็นการฟ้อนที่เก่าแก่มาช้านาน ได้แก่ ฟ้อนผีมดผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง ฯลฯ
    2.       ฟ้อนแบบเมือง เป็นศิลปะการฟ้อนที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของคนเมืองหรือ "ชาวไทยยวน" (ซึ่งเป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นปึกแผ่นในแว่นแคว้นที่เรียกว่า "ลานนา") ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเจิง ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดชัย และฟ้อนสาวไหม ฯลฯ
    3.       ฟ้อนแบบม่าน คำว่า "ม่าน" ในภาษาลานนาหมายถึง "พม่า" การฟ้อนประเภทนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่ากับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฯลฯ
    4.       ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหญ่ เป็นการฟ้อนตลอดจนการแสดงที่ได้รับอิทธิพลหรือต้นเค้ามาจากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ ได้แก่ เล่นโต กิ่งกะหร่า (กินนรา) หรือฟ้อนนางนำ กำเบ้อคง มองเซิง ฟ้อนไต (ไทยใหญ่) และฟ้อนเงี้ยว ฯลฯ
    5.       ฟ้อนที่ปรากฎในบทละคร การฟ้อนประเภทนี้เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรค์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล และฟ้อนลาวดวงเดือน ฯลฯ
    ฟ้อนเล็บ
     
     
     
     
     
      
    ฟ้อนเล็บ แต่เดิมเรียก ฟ้อนเล็บ ด้วยเห็นว่าเป็นการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ คนเมือง ซึ่งหมายถึงคนในถิ่นล้านนาที่มีเชื้อสายไทยวน ฟ้อนแห่ครัวทาน ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง 8 นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า ฟ้อนเล็บ และเนื่องจากการเป็นการแสดงที่มักปรากฏ ในขบวนแห่ครัวทานของวัดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
    ท่าฟ้อน
    การฟ้อนชนิดนี้มีมาแต่ดั้งเดิม คณะศรัทธาของแต่ละวัดมักมีครูฝึกสืบทอดต่อกันมา เมื่อถึงฤดูกาลที่จะมีงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานฉลองศาสนสถาน มักมีการฝึกซ้อม เด็กสาวในหมู่บ้านเพื่อแสดงในงานดังกล่าวเสมอ โดยที่รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัว แต่ละครูหรือแต่ละวัดอาจแตกต่างกันไป ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้มี
    34
    การปรับปรุงและประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้ดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งขึ้น และบุคคล ผู้หนึ่งซึ่งเคยได้รับการถ่ายทอดจากคุ้มเจ้าหลวงได้แก่ ครูสัมพันธ์  โชตน
    ในโอกาสที่ครูสัมพันธ์ได้เข้าไปถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนชนิดนี้แก่วิทยาลัย นาฏศิลป์เชียงใหม่ ท่านได้กำหนดท่าฟ้อนไว้ 17 ท่าดังนี้


    1. จีบส่งหลัง
    2 กลางอัมพร
    3. บิดบัวบาน
    4. จีบสูงส่งหลัง
    5. บัวชูฝัก
    6.       สะบัดจีบ
    7. กราย
    8.ผาลาเพียงไหล่
    9. สอดสร้อย
    10. ยอดตอง
    11. กินนรรำ
    12. พรหมสี่หน้า
    13. กระต่ายต้องแร้ว
    14. หย่อนมือ
    15. จีบคู่งอแขน
    16. ตากปีก
    17. วันทาบัวบาน



    ท่ารำต่างๆ ดังกล่าว อาจมีการเพิ่มท่า ตัดตอน หรือลำดับท่าก่อนหลังตามที่ครูจะกำหนด
     
    35
    เครื่องแต่งกาย
     การแต่งกายแต่เดิมจะนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม หรือคอจีนผ่าอก เกล้าผมมวยโดยขมวดมวยด้านท้ายทอย ทัดดอกไม้ประเภทดอกเอื้อง จำปา กระดังงา หางหงส์ หรือลีลาวดี สวมเล็บทั้งแปดนิ้ว ต่อมามีการ ดัดแปลงให้สวยงามโดยประดับลูกไม้ หรือระบายที่คอเสื้อ ห่มสไบเฉียงจากบ่าซ้ายไปเอวขวาทับด้วยสังวาล ติดเข็มกลัด  สวมกำไลข้อมือ กำไลเท้า เกล้าผมแบบญี่ปุ่น ทัดดอกไม้หรืออาจเพิ่มอุบะห้อยเพื่อความสวยงาม
    เครื่องดนตรี
    เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบจังหวะในการฟ้อน จะใช้วงกลอง ตึ่งโนง ซึ่งประกอบด้วย


    1. กลองแอว                       
    2.กลองตะหลดปด
    3. ฆ้องอุ้ย(ขนาดใหญ่)               
    4ฆ้องโหย้ง(ขนาดกลาง)
    5. ฉาบใหญ่                   
    6. แนหน้อย
    7. แนหลวง


     
    เพลงที่ใช้บรรเลง
       สำหรับเพลงที่ใช้บรรเลง ก็แล้วแต่ผู้เป่าแนจะกำหนดอาจใช้เพลงแหย่ง เพลงเชียงแสน เพลงหริภุญชัยหรือลาวเสี่ยงเทียน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เพลงแหย่งเพราะช่างฟ้อนคุ้นกับเพลงนี้มากกว่าเพลงอื่น
    โอกาสที่แสดง
     เดิมจะฟ้อนในงานฉลองสมโภช เพื่อนำขบวนทานหรือเป็นมหรสพในงาน ปัจจุบันมีการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม จึงมีปรากฏให้เห็นตามโรงแรม ห้องอาหารโดยทั่วไปอนึ่งการฟ้อนในลักษณะเดียวกันนี้ ถ้าถอดเล็บออกและขณะที่ฟ้อนก็ถือเทียนไปด้วย เรียกว่า ฟ้อนเทียน การฟ้อนโดยลักษณาการนี้มีความเป็นมาว่าในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีการแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินฯ เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2469 ในงานถวายพระกระยาหารค่ำ ณ พลับพลาที่ประทับ งานนี้พระราชชายาฯ ทรงให้ช่างฟ้อนเล็บถอดเล็บทองเหลืองออก แล้วให้ถือเทียนทั้งสองมือ เวลาออกไปฟ้อนก็จุดเทียนให้สว่าง การฟ้อนครั้งนั้นสวยงามเป็นที่ประทับใจ จึงเป็นต้นเหตุว่า หากมีการฟ้อนชนิดนี้ถ้าเป็นเวลากลางวันให้สวมเล็บแต่ถ้าเป็นกลางคืนให้ถือเทียน และการที่ฟ้อนเทียนนี่เองเป็นเหตุให้ใช้เพลง ลาวเสี่ยงเทียน ประกอบการฟ้อน
     
    ภาคใต้
    การละเล่นพื้นเมืองของภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
    1.       แบ่งตามรูปแบบการเล่น แยกออกเป็น 3 ลักษณะคือ
    • เพลงพื้นเมือง แบ่งตามโอกาสที่เล่นได้เป็น2 ชนิด คือ เพลงที่ใช้เล่นตามฤดูกาลหรือเทศกาล ได้แก่ เพลงเรือ เพลงลา เพลงบอก สวดมาลัย เพลงกล่อมนาค และคำตัก ฯลฯ และเพลงที่ใช้เล่นได้ทุกโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยงหรือหล้อแหง็ง และลิเกฮูลู ฯลฯ
    • ระบำพื้นเมืองที่ไม่สามารถแยกประเภทได้มีหลายชนิด แต่ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ รองเง็ง ซัมเปง ดาระ และสิละ (หรือซีละ) ฯลฯ
    • ละครชาวบ้านที่ไม่สามารถจำแนกออกได้ ที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ หนังตะลุง วายังเซียม มโนห์รา มะโย่ง และลิเกป่า ฯลฯ
    2.       แบ่งตามกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม แยกเป็น 3 ลักษณะ คือ
    • การละเล่นที่นิยมกันในกลุ่มไทยพุทธ ได้แก่ กาหลอ คำตัก เพลงกล่อมนาค เพลงเรือ เพลงนา สวดมาลัย โต๊ะครึม หนังตะลุง และมโนห์รา ฯลฯ
     
    41
    • การละเล่นที่นิยมกันในกลุ่มไทยมุสลิม ได้แก่ ลิเกฮูลู เพลงตันหยง รองเง็ง ซัมเปง ดาระ และวายังเซียม ฯลฯ
    • การละเล่นที่นิยมกันในกลุ่มไทยพุทธ และไทยมุสลิม ได้แก่ ลิเกป่า
    ดนตรีของภาคใต้  ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง ซอ
    รองเง็ง
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    รองเง็งเป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิม มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของ เท้ามือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง กล่าวกันว่าการเต้นรองเง็ง สมัยโบราณเป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนางหรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นที่บ้านรายายะหริ่ง หรือพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่งสมัยก่อนการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2439 - 2449) มีหญิงซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่าง ๆ เป็นประจำ
     เนื่องจากวัฒนธรรมมุสลิมไม่นิยมให้สตรีเข้าสังคมกับบุรุษเพศโดยประเจิดประเจ้อ ฉะนั้นนอกจากผู้หญิงบริวารเจ้าเมืองแล้วผู้หญิงอื่น ๆ ที่เป็นผู้ดีจึงไม่มีโอกาสฝึกรองเง็ง เพียงแต่นั่งเขาเต้นกัน รองเง็งระยะแรก ๆ จึงนิยมกันเพียงวงแคบ ๆแม้ในชวาหรือมลายูโบราณนิยมรองเง็งกันน้อยและการละเล่นประเภทนี้มิได้เน้นศิลปะมากนัก ดังบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน"
    60
    ขณะพระองค์เสด็จถึงตำบล จิสรูปังเมืองมารุตทรงเล่าถึงรองเง็ง (ในพระนิพนธ์เรียกว่ารองเกง) ดังนี้"ออกไปเดินข้างนอกต่อไปดูเขา เล่น"รองเกง" กันเป็นหมู่ แรกสองวง ทีหลังแยกออกเป็น 3 วงมีผู้หญิงวงละ 3 คนมีพิณพาทย์สำรับหนึ่ง คือระนาดราง 1 ซอคัน 1 ฆ้องใหญ่ใบ 1 บ้าง 2 ใบ บ้างกลอง รูปร่างเหมือนชนะ แต่อ้วนกว่าสักหน่อยหนึ่ง มีสองหน้าเล็ก ๆ อัน 1 ผู้หญิงรับพิณพาทย์ ผู้ชายเข้ารำเป็นคู่ แต่ผลัดเปลี่ยนกันดูท่าทางเป็นหนีไล่กันอย่างไรอยู่ผู้หญิง ไม่ใครจะรำเป็นแต่ร้องมากกว่า แต่ผู้ชายรำคล้าย ๆ ท่าค้างคาวกินผักบุ้ง ที่ตลกรำมีตะเกียงปักอยู่กลางวงดวงหนึ่ง รำไปรอบ ๆ ตะเกียง พอรัวกลอง ผู้ชายตรงเข้าจูบผู้หญิง ผู้หญิงก็เฉย ไม่เห็นบิดเบือนปิดป้องอันใด เห็นท่าทางมันหยาบอย่างไรอยู่ นึกว่าวงนั้นจะเป็นคนไม่ดี ย้ายไปดูวงอื่นก็เป็นเช่นกันอีก ตกลงเป็นเลิกไปดูเขาขายของ มาภายหลังจึงทราบว่าเป็นธรรมเนียมเขาเล่นกันเช่นนั้น ผู้หญิงใช่ว่าแต่เฉพาะเป็นคนเล่น ชั้นพวกเดียวคนชาวบ้านตามนั้น ๆ ใคร ๆ จะสมัครมาเล่นก็ได้ ผู้ชายก็ไม่ว่าใคร นึกอยากรำขึ้นมารำได้หมด เป็นอันได้ความว่ารำเป็นทุกคนทั้งผู้หญิงผู้ชาย ไปได้ความต่อไปอีกเพราะพวกที่ขับรถบันทุกของพอรถไปถึงที่โดดลงได้ก็เข้ารำทีเดียว การที่ จะรำช้าเร็วนั้นดูอยู่ในกำมือของผู้ตีกลอง ถ้ากลองไม่พรืดเมื่อไรก็ยังจูบไม่ได้ ถ้ามันตีไปยังรุ่งก็จะต้องรำยังรุ่ง เดี๋ยวนี้เจ้ากลองสมัครจะพรืดบ่อยๆมิใช่เพราะเห็นสนุก ข้างฝ่ายนางผู้หญิงที่ยอมให้จูบ ก็มิใช่สมัครให้จูบโดยเต็มใจข้างผู้ชายที่เป็นผู้จูบนั้นใช่จะจูบด้วยความชื่นอกชื่นใจอย่างเดียว ไปกดอยู่นาน ๆ ถึงมินิดหนึ่ง 2 นิมิดรวบใจ ความเป็นด้วยเรื่องอัฐอย่างเดียว พอใครจูบแล้วต้องคว้าอัฐให้ 2 อัฐ เจ้าพิณพาทย์กับนางผู้หญิงก็มีหุ้นส่วน กันถ้ามีคนจูบได้มากเท่าใดแลเร็วเท่าใดยิ่งดี ข้างฝ่ายเจ้า ผู้ชายไหน ๆ เสียอัฐจูบให้สะใจ เปนการที่เขาเฉยไม่อับอายกันในแถบนี้ ธรรมเนียมข้างตะวันออกซึ่งเป็นเมืองเจริญมานานแล้ว เช่นที่เมืองยกยา เมืองโซโล และเมือง สุรบายา เขาห้ามไม่ให้เล่นรองเกงว่าเป็นการอุจาด คงเล่นอยู่แต่ในห้วยเขาที่เป็นเมืองป่า ๆ ตามข้างเมืองตะวันออกก็ถือว่า
    61
    เป็นการน่าอาย แต่ไม่เล่นทั่วไป มีเป็นคน จำพวกหนึ่งซึ่งบางคนก็เป็นคนดีจริง ๆ ไม่ซุกซนแต่จะต้องการเงิน ถือว่าเป็นการหากินโดยชอบธรรม อีกพวกหนึ่งเป็นคนที่ผัวร้างสิ้นคิดโดยความน้อยใจ ฤาพลัดเที่ยว ตามหาผัว ฤาไม่ชอบกับผัวคิดจะหย่า ผัวไม่ยอมหย่า ถ้าไปเป็นรองเกงแล้วถึงจะได้แต่งงานมีหลักฐานก็ย่อมขาดจากผัวเมียกันได้ตามกฏหมายโดยจะหวงห้ามไม่ได้"
       ลักษณะการเล่นรองเง็งซึ่งดูคล้ายศิลปะวัฒนธรรมตะวันตกนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกส หรือชาวสเปน ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศชวา มลายูก่อนโดย เฉพาะเมื่อถึงวันรื่นเริงปีใหม่ พวกฝรั่งเต้นรำอย่างสนุกสนาน เช่นเต้นรำลาฆูดูวอ เป็นเพลงไพเราะน่าชมน่าฟังชาวพื้นเมืองบังเกิดความสนใจและได้ฝึกซ้อมจนกระทั่ง ของศิลปะรองเง็งหรือรองเกงขึ้น
       ส่วนรองเง็งในประเทศไทยนิยมเต้นกันในบ้านขุนนางมุสลิมไทยดังกล่าวข้างต้น ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่ง หรือ มโนราไทยมุสลิม มะโย่งแสดงเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ 10 - 15 นาที ระหว่างที่พักนั้นจะสลับฉากด้วยรองเง็ง เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็งฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่ กันเอง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น จึงเชิญชายผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย ในที่สุดรองเง็งเป็นการเต้นรำที่ถูกอกถูกใจของชาวบ้าน แต่ไม่ถึงขั้นมีการจูบดังบท พระราชนิพนธ์ดังกล่าว ภายหลังมีการจัดตั้งคณะรองเง็งรับจ้างเล่นในงานต่าง ๆ ทำนองรำวง ซึ่งแพร่หลายอยู่จนปัจจุบัน
       ความจริงการเต้นรองเง็งของไทยมุสลิม เป็นการเต้นที่สุภาพ ถือไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกัน ผู้ชายสมัครเต้นมีสิทธิ์โค้งผู้หญิงได้ทุกคน การเต้นแต่ละเพลงมีลีลา ไม่เหมือนกัน เพลงหนึ่งก็เต้นไปอย่างหนึ่ง ฉะนั้นผู้เต้นรองเง็งต้องฟังเพลงได้ด้วยว่า เพลงนั้นจังหวะเต้น
    62
    อย่างไร ฝ่ายชาวบ้านบางคนแม้จะไม่สัดทัดก็สามารถออกไป เต้นได้ เพราะไม่ต้องพาคู่เต้นแบบลีลาศ ต่างคนต่างเต้นไปตามจังหวะ ไม่ต้องกลัวเหยียบเท้ากัน
       ผู้เต้นรองเง็งส่วนใหญ่แต่งกายแบบพื้นเมือง ผู้ชายสวมหมวกไม่มีปีกหรือที่เรียกว่า หมวกแขกสีดำ บางทีศีรษะสวมซะตางันหรือโพกผ้าแบบ เจ้าบ้านมุสลิม ถัด มานุ่งกางเกงขายาวขากว้างคล้ายกางเกงจีน สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอก สีเดียวกับกางเกง แล้วใช้โสร่งแคบ ๆ ยาวเหนือเข่าสวมทับ กางเกง เรียกผ้าสิลินัง หรือ ผ้าซาเลนดัง มักทำด้วยผ้าซอแก๊ะ ถ้าเป็นของเจ้านายหรือผู้ดีมีเงินมักเป็นผ้าไหมยกดิ้นทองดิ้นเงิน ฐานะรองลงมาใช้ผ้าไหมเนื้อดีตาโต ๆ ถัดมาใช้ผ้าธรรมดาส่วน ผู้หญิงสวมเสื้อแขนกระบอก เรียกเสื้อบันดง ลักษณะเสื้อแบบเข้ารูปปิดสะโพกผ่าอกตลอด ติดกระดุมทองเป็นระยะ สีเสื้อสดสวยและเป็นสีเดียวกับผ้าปาเต๊ะยาวอ หรือ ผ้าซอแก๊ะ ซึ่งนุ่งกรอมเท้า นอกจากนั้นยังมีฟ้าคลุมไหล่บาง ๆ สีตัดกับเสื้อที่สวม
    เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเต็นรำรองเง็ง
    1 รำมะนา (บานอ) รำมะน
    2 - 3 ใบ
    2 ฆ้อง ฆ้อง
    2 ใบ ทุ้ม - แหลม
    3 มารากัส หรือ แทมโบลิน
    1 ชิ้น
    4 ไวโอลิน
    1 คัน
    5 กีตาร์ าร์
    1 ตัว
    6 ดับเบิลเบส
    1 คัน
     
     
     
     
     
     
    ลักษณะเพลงที่ใช้ประกอบการเต้น

     
     
     
     
     
     
    เพลงที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็งมี 7 เพลงคือ
    1. เพลง ลาฆูดูวอ
    2. เพลง ปูโจ๊ะปิซัง
    3. เพลง ซินตาซายัง
    4. เพลง อาเนาะดิด
    5. เพลง มะอีนังชวา
    6. เพลง ลานัง
    7. เพลง มะนังลามา
       เพลงที่เป็นที่รู้จักกันดี และนิยมบรรเลงในงานลีลาศต่าง ๆ มีอยู่ 2 เพลง คือ เพลงลาฆูดูวอและเพลงมะอีนังลามา ซึ่งเป็นเพลงที่เต้นกันมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเพลงอื่น ๆ เหมาะสำหรับแสดงหมู่ (เพลง ลาฆูดูวด และ มะอีนังลามา เหมาะสำหรับผู้ชำนาญเพื่อแสดงลวดลายได้อย่างเต็มที่ การเต้นรองเง็งส่วนใหญ่ใช้ผู้เต้นเป็น ชาย และ หญิง ฝ่ายละ 5 คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่ง หญิงแถวหนึ่ง ยืนห่างกันพอสมควร
    64
    ดังได้กล่าวมาแล้วว่าการเต้น แบบนี้ต้องใช้ลีลาของมือและเท้า และลำตัว เคลื่อนไหวไปข้างหน้า ข้างหลัง ให้เข้ากับดนตรีที่ประกอบ อีกประการหนึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่า ความสวยงาม ความน่าดู ความ น่าดู ความเป็นศิลปของรองเง็งอยู่ที่ การใช้เท้าเต้นให้เข้ากับจังหวะส่วนการร่ายรำเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น
     
    ภาคอีสาน
     
    ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลาง


     
     
    70
    ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งเรื่องการละเล่นพื้นเมืองได้ เป็น 2กลุ่ม คือ
    1.กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำ หมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในภาคอีสาน
    2.กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ
    • กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร - ส่วย หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเจรียง - กันตรึม"
    • กลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเพลงโคราช"
      ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ
    3.เพลงพิธีกรรม
    • กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ
    • กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
     
     
    71
    4.เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
    • กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า
    • กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช
             ปัจจุบันมีการแสดงชุดใหม่ที่สถาบันต่างๆของภาคอีสานแต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นใหม่ ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฎอยู่ของภาคอีสานออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
    1.       การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงต๊อง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ
    2.       การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี
    3.       การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย
    4.       การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆภูไท 3 เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช
    5.       การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ
    6.       การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม๊วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก และเซิ้งเซียงข้อง ฯลฯ
     
    72
    7.       การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ) เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ
    8.       การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ
     
    เซิ้งกระติบ
     

              
     เซิ้งกระติบข้าว เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวภูไท ซึ่งเป็นชาวไทยเผ่าหนึ่งที่มีเชื้อสายสืบต่อกันมาช้านานในดินแดนทางภาคอีสานของไทย เช่น ในเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดข้างเคียง นิยม เล่นกันในโอกาสรื่นเริงวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ การแสดงจะเริ่มด้วยชาวภูไทฝ่ายชายนำเอาเครื่องดนตรีและเครื่องประกอบจังหวะหลายอย่าง ได้แก่ แคน เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งใช้ปากเป่าเป็นทำนองเพลง แก๊บ (กรับ) กลองเถ

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น