23 ทำเลที่ตั้ง อนาคตน่าลงทุน - นิยาย 23 ทำเลที่ตั้ง อนาคตน่าลงทุน : Dek-D.com - Writer
×

    23 ทำเลที่ตั้ง อนาคตน่าลงทุน

    ผู้เข้าชมรวม

    112

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    112

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  6 พ.ย. 66 / 07:23 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


    pg-logo

    คู่มือซื้อขายเตรียมตัวก่อนซื้อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน

     

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน

    DDproperty Editorial Team

    โดย DDproperty Editorial Team

    อัปเดตล่าสุด 30 ตุลาคม 2566 • ใช้เวลาอ่าน 3 นาทีซื้อบ้านหลังแรก

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง หนึ่งในโครงการรถไฟฟ้าที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโต เนื่องจากพาดผ่านทำเลสำคัญ ๆ ทั้งกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ จึงมีแนวโน้มจะกลายเป็นทำเลทองในอนาคต ดังนั้น ผู้ลงทุนหรือผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและนำมาพิจารณาพื้นที่นี้ให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกของการลงทุน

    ตรงปก ตรงใจ เลือก Verified Agents

    อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

    รู้จักรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

    โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เดิมทีมีกำหนดการเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2560 แต่เนื่องจากเกิดปัญหาความล่าช้าจากการส่งมอบที่ดิน จึงทำให้ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกมาจนถึงปี 2562 ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร

    ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ และมีทั้งหมด 23 สถานี เริ่มต้นที่สถานีรัชดา ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลาดพร้าว และไปสิ้นสุดที่สถานีสำโรง โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. ลาดพร้าว ตั้งอยู่บน ถ.รัชดาภิเษก ใกล้แยกรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลาดพร้าว

    2. ภาวนา ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 41 และปากซอยลาดพร้าว 41, 41/1, 46 และซอยส่องแสงตะวัน

    3. โชคชัย 4 ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า ถ.โชคชัย 4, ปากซอยลาดพร้าว 56 และปากซอยลาดพร้าว 58

    4. ลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71, ปากซอยลาดพร้าว 82 และปากซอยลาดพร้าว 84

    5. ลาดพร้าว 83 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 83 และปากซอยลาดพร้าว 85

    6. มหาดไทย ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 120

    7. ลาดพร้าว 101 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 101, ปากซอยลาดพร้าว 128/2 และปากซอยลาดพร้าว 128/3

    8. บางกะปิ ตั้งอยู่บริเวณหน้าแมคโครลาดพร้าว และปากซอยลาดพร้าว 115

    9. แยกลำสาลี ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกลำสาลี ถ.รามคำแหง ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีลำสาลี

    10. ศรีกรีฑา ตั้งอยู่บริเวณสี่แยก ถ.กรุงเทพกรีฑา ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์, ปากซอยกรุงเทพกรีฑา 2

    11. หัวหมาก ตั้งอยู่บริเวณแยกพัฒนาการ ถ.พัฒนาการ ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก

    12. กลันตัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าธัญญา พาร์ค

    13. ศรีนุช ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.สุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ และ ซ.อ่อนนุช 60

    14. ศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่บริเวณ ซ.ศรีนครินทร์ 38, ซ.ศรีนครินทร์ 43 และ ซ.ศรีนครินทร์ 45

    15. สวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่บริเวณห้างซีคอน ศรีนครินทร์ และพาราไดซ์ พาร์ค, ซ.ศรีนครินทร์ 42, ซ.ศรีนครินทร์ 51 และ ซ.ศรีนครินทร์ 53

    16. ศรีอุดม ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.อุดมสุข ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ และ ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9, ซ.ศรีนครินทร์ 54, ซ.ศรีนครินทร์ 56, ซ.ศรีนครินทร์ 58 และ ซ.ศรีนครินทร์ 63

    17. ศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บริเวณวัดศรีเอี่ยม มีอาคารจอดแล้วจร

    18. ศรีลาซาล ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.ลาซาล ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์

    19. ศรีแบริ่ง ตั้งอยู่บริเวณถนนเชื่อมระหว่าง ถ.ศรีนครินทร์ กับ ถ.แบริ่ง, ซ.ศรีด่าน 11, ซ.ศรีด่าน 13, ซ.ศรีด่าน 16

    20. ศรีด่าน ตั้งอยู่ใกล้ ซ.ศรีด่าน 2

    21. ศรีเทพา ตั้งอยู่บริเวณ ซ.อรรถสิทธิ์ และ ซ.ร่วมจิตพัฒนา

    22. ทิพวัล ตั้งอยู่บริเวณปาล์มไอส์แลนด์ มอลล์, ถ.ประดิษฐ์สโมสร

    23. สำโรง ตั้งอยู่บริเวณแยกเทพารักษ์-สุขุมวิท, ซ.เทพารักษ์ 2 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสำโรง

    ทั้งนี้ ยังมีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยายอีก 2 สถานีที่จะทำหน้าที่เชื่อมการเดินทางระหว่างแยกรัชโยธินและสถานีรัชดา

    ความสำคัญอย่างหนึ่งคือ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีเส้นทางการเดินรถ เชื่อมต่อกับระบบรางเส้นทางอื่น ๆ หลากหลายสาย ดังนี้

    สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจุดเชื่อมต่อระบบรางเส้นทางอื่น
    สถานีรัชดารถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลาดพร้าว
    สถานีแยกลำสาลีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) สถานีลำสาลี
    สถานีพัฒนาการรถไฟฟ้า Airport Rail Link สถานีหัวหมาก
    สถานีสำโรงรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ

    ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเข้ามาตอบโจทย์การเดินทางในหลากหลายเส้นทาง และสามารถเชื่อมต่อการเดินทางในเมืองให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นรถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยวหรือรู้จักกันในชื่อ รถไฟฟ้าโมโนเรล หรือ Monorail ซึ่งมีความแตกต่างจากรถไฟฟ้า BTS ที่เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ Heavy Rail

    ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการนำรถไฟฟ้าโมโนเรลมาใช้ในประเทศไทย โดยจุดเด่นของรถไฟฟ้าโมโนเรลคือการที่ตัวขบวนรถจะคล่อมอยู่บนคานเดียว ขณะเดินทางจึงมีเสียงที่เบากว่า และตัวรถจะมีความกว้างกว่าตัวคาน

    อัปเดตความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเหลืองก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% (เหลือการปรับพื้นที่ถนนด้านล่างโครงการรถไฟฟ้า) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 06.00-24.00 น. ให้บริการทุก 5 นาที ในช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้า เวลา 07.00-09.00 น. ตอนเย็น เวลา 17.00-20.00 น. หลังช่วงเวลาเร่งด่วน ให้บริการทุก 10 นาที

    ส่วนอาคารจอดแล้วจรที่สถานีศรีเอี่ยม เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น.

    ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง จัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท

    ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองค่าโดยสารที่เรียกเก็บของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองค่าโดยสารเมื่อใช้บัตรแรบบิท สำหรับผู้สูงอายุเดินทาง

    โดยสามารถชำระค่าโดยสารได้ 3 วิธีดังนี้

    – บัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว (Single Journey Card) โดยออกบัตรได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร หรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ภายในสถานีทั้งนี้ กรณีผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถนำบัตรประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อออกบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว ได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร

    – บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน (บัตรแรบบิท)

    – บัตร EMV Contactless โดยใช้บัตรเครดิตวีซ่า (VISA) หรือมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) ของธนาคารใดก็ได้ รวมถึงบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทย บัตรเดบิตของธนาคารยูโอบี และบัตรเดบิต Play Card (สมัครผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังค์) ที่มีสัญลักษณ์ Contactless Payment บนหน้าบัตรหรือหลังบัตร แตะเข้าและแตะออกระบบรถไฟฟ้าที่จุดให้บริการเครื่อง EDC บริเวณประตูพิเศษ (SwingGate) ได้

    ผู้โดยสารที่เดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สายสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าว และชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV Contactless ใบเดียวกัน จะได้รับส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบ หากเดินทางเชื่อมต่อภายในระยะเวลา 30 นาที

    นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถนำรถยนต์มาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ได้ที่อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าวและอาคารจอดรถสถานีศรีเอี่ยม โดยคิดอัตราค่าจอดรถสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ดังนี้

    – อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าว คิดอัตราค่าจอดรถยนต์ 2 ชั่วโมง 15 บาท (กรณีไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 50 บาท)

    – อาคารจอดรถสถานีศรีเอี่ยม คิดอัตราค่าจอดรถยนต์ ชั่วโมงละ 5 บาท (กรณีไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 20 บาท)

    แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์

    แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์

    แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์ อัปเดตราคารถไฟฟ้าใหม่ พร้อมทั้งเวลาเปิด-ปิดสถานีรถไฟฟ้า

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย รัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไม่ได้ไปต่อ?

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีระยะทาง 2.6 กิโลเมตร แม้ว่าโครงการถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน จะได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว แต่โครงการไม่ได้ไปต่อ

    โดยทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า สาเหตุของการหยุดสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน เนื่องจากข้อตกลงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ที่บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้น

    ปัจจุบันหมดระยะเวลาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว เนื่องจากข้อเสนอของเอกชนระบุว่าโครงการนี้จะต้องดำเนินการก่อนเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

    โดยโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ทาง รฟม. เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map) เดิม และไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงข่ายรถไฟฟ้า เพราะในปัจจุบันบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว

    นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในช่วงวันธรรมดา อยู่ที่ 40,000 คนต่อวัน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อยู่ที่ 28,000-30,000 คนต่อวัน ทั้งนี้ ในช่วงที่มีการทดสอบระบบเดินรถและเปิดให้บริการฟรีมีผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 70,000 คนต่อวัน

    ทั้งนี้ ผู้โดยสารควรอยู่ที่ 70,000-80,000 คนต่อวัน ถึงจะถือเป็นเรื่องที่ดี หากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 100,000 คนต่อวัน คิดเป็น 10% ต่อปี จะทำให้การให้บริการเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารที่หายไปจะต้องใช้ระยะเวลาให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลักด้วย

    สายสีเหลืองส่วนต่อขยายนั้นกระทบต่อสายสีน้ำเงินอย่างไร

    หากผู้โดยสารต้องการเดินทางเชื่อมต่อจากสายสีเหลืองไปสายสีเขียว ในกรณีที่ไม่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ผู้โดยสารจะต้องลงจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพื่อต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานี MRT พหลโยธิน (สถานี BTS ห้าแยกลาดพร้าว ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว)

    แต่ในกรณีที่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ผู้โดยสามารถสามารถนั่งยาวไปจนถึงแยกรัชโยธินได้เลย โดยไม่ต้องเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT

    จากผลการศึกษาในกรณีที่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย จะทำให้รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เสียผู้โดยสารไป 4,800 เที่ยวคน/วัน (ในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งคาดว่าจะเป็นปีแรกที่สายสีเหลืองส่วนต่อขยายเปิดให้บริการ) และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปีที่ 30 (ครบอายุสัมปทาน) จะเสียผู้โดยสารไปถึง 17,500 เที่ยวคน/วัน คิดเป็นรายได้ที่หายไปตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี คือ กว่า 2,700 ล้านบาท

    ย่านลาดพร้าวในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    อัปเดตราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    จากรายงานของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) พบว่า ราคาที่ดินถนนลาดพร้าว บริเวณช่วงปากทางลาดพร้าวกับแยกรัชดาภิเษก อยู่ที่ 800,000 บาท/ตารางวา บริเวณแยกโชคชัย 4 ถึงตลาดบางกะปิ อยู่ที่ 400,000 บาท/ตารางวา

    โดยย่านตลาดบางกะปิ ถือว่ามีศักยภาพเพราะบริเวณนี้มีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย และเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดใช้แล้ว ราคาที่ดินอาจเพิ่มขึ้นอีก แต่คงไม่มากนัก

    ส่วนคอนโดตามแนวรถไฟฟ้าก็คงไม่ได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมามีการเสนอขายคอนโดในราคาค่อนข้างสูงตามการเก็งกำไรอยู่แล้ว

    เช็กลิสต์คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    เช็กลิสต์คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    เช็กลิสต์ 5 คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง มีโครงการไหนน่าสนใจบ้าง ดูได้ที่นี่

    การขายที่อยู่อาศัยแนวสายสีเหลืองช่วงรัชโยธินถึงตลาดบางกะปิ ส่วนใหญ่เป็นคอนโดแทบทั้งหมด โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท และ 2-3 ล้านบาท

    โดยในปี 2566 คาดว่า คอนโดยังเป็นสินค้าที่มีการพัฒนามากที่สุด เพราะอิทธิพลของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และอาจจะมีทาวน์เฮ้าส์ราคาเกินกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไปอยู่ในซอยย่อย

    ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

    แชร์บทความนี้

    ดูบทความอื่นที่เกี่ยวข้องกับแท็กด้านล่างนี้

    บทความยอดนิยม

    1

    ฤกษ์ดีพฤศจิกายน 2566 วันดีปี 2566 ขึ้นบ้านใหม่ วันไหนดี เสริมสิริมงคล

    2

    การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ต้องทำอย่างไร ดู 6 เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม

    3

    อัปเดต! ดอกเบี้ยบ้าน 2566 ทุกธนาคาร

    4

    แผนผังรถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์ อัปเดตเส้นทาง-ราคา-เวลา ปี 2566

    5

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน

     

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดใช้เมื่อไหร่

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดใช้เมื่อไหร่

    รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีกี่สถานี

    Follow us

     

     

     

     

    PropertyGuru Group

     

     

     

    ติดต่อเรา

     

     

    เว็บไซต์ในเครือ

    Thailand

     

    Think of Living Logo

    Award Logo

    Asia Real Estate Summit Logo

    Asia Property Reports Logo

    DDproperty.com - เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย ที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-เช่าเพื่ออยู่อาศัย หรือลงทุน บนเว็บไซต์ DDproperty คุณจะพบกับอสังหาริมทรัพย์ทั้งประกาศขาย หรือให้เช่า บ้านเดี่ยว คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ที่ดิน อพาร์ทเมนท์ หอพัก และตึกแถว อาคารพาณิชย์ หลากหลายรายการ รวมทั้งโครงการใหม่

    DDproperty

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    อสังหาฯ ประกาศขาย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    อสังหาฯ สำหรับเช่า

     

     

     

     

     

     

     

     

    บ้านโครงการใหม่ ในประเทศไทย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ประกาศขายยอดนิยม

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ประกาศให้เช่ายอดนิยม

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ทำเล ที่น่าสนใจ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     



    คู่มือซื้อขายเตรียมตัวก่อนซื้อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน
    DDproperty Editorial Team
    โดย DDproperty Editorial Team
    อัปเดตล่าสุด 30 ตุลาคม 2566 • ใช้เวลาอ่าน 3 นาที
    ซื้อบ้านหลังแรก
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง หนึ่งในโครงการรถไฟฟ้าที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโต เนื่องจากพาดผ่านทำเลสำคัญ ๆ ทั้งกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ จึงมีแนวโน้มจะกลายเป็นทำเลทองในอนาคต ดังนั้น ผู้ลงทุนหรือผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและนำมาพิจารณาพื้นที่นี้ให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกของการลงทุน
    ตรงปก ตรงใจ เลือก Verified Agents
    อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
    รู้จักรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    อัปเดตความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไม่ได้ไปต่อ?
    อัปเดตราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    รู้จักรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
    โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เดิมทีมีกำหนดการเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2560 แต่เนื่องจากเกิดปัญหาความล่าช้าจากการส่งมอบที่ดิน จึงทำให้ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกมาจนถึงปี 2562 ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร
    ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ และมีทั้งหมด 23 สถานี เริ่มต้นที่สถานีรัชดา ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลาดพร้าว และไปสิ้นสุดที่สถานีสำโรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. ลาดพร้าว ตั้งอยู่บน ถ.รัชดาภิเษก ใกล้แยกรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลาดพร้าว
    2. ภาวนา ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 41 และปากซอยลาดพร้าว 41, 41/1, 46 และซอยส่องแสงตะวัน
    3. โชคชัย 4 ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า ถ.โชคชัย 4, ปากซอยลาดพร้าว 56 และปากซอยลาดพร้าว 58
    4. ลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71, ปากซอยลาดพร้าว 82 และปากซอยลาดพร้าว 84
    5. ลาดพร้าว 83 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 83 และปากซอยลาดพร้าว 85
    6. มหาดไทย ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 120
    7. ลาดพร้าว 101 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 101, ปากซอยลาดพร้าว 128/2 และปากซอยลาดพร้าว 128/3
    8. บางกะปิ ตั้งอยู่บริเวณหน้าแมคโครลาดพร้าว และปากซอยลาดพร้าว 115
    9. แยกลำสาลี ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกลำสาลี ถ.รามคำแหง ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีลำสาลี
    10. ศรีกรีฑา ตั้งอยู่บริเวณสี่แยก ถ.กรุงเทพกรีฑา ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์, ปากซอยกรุงเทพกรีฑา 2
    11. หัวหมาก ตั้งอยู่บริเวณแยกพัฒนาการ ถ.พัฒนาการ ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก
    12. กลันตัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าธัญญา พาร์ค
    13. ศรีนุช ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.สุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ และ ซ.อ่อนนุช 60
    14. ศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่บริเวณ ซ.ศรีนครินทร์ 38, ซ.ศรีนครินทร์ 43 และ ซ.ศรีนครินทร์ 45
    15. สวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่บริเวณห้างซีคอน ศรีนครินทร์ และพาราไดซ์ พาร์ค, ซ.ศรีนครินทร์ 42, ซ.ศรีนครินทร์ 51 และ ซ.ศรีนครินทร์ 53
    16. ศรีอุดม ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.อุดมสุข ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ และ ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9, ซ.ศรีนครินทร์ 54, ซ.ศรีนครินทร์ 56, ซ.ศรีนครินทร์ 58 และ ซ.ศรีนครินทร์ 63
    17. ศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บริเวณวัดศรีเอี่ยม มีอาคารจอดแล้วจร
    18. ศรีลาซาล ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.ลาซาล ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์
    19. ศรีแบริ่ง ตั้งอยู่บริเวณถนนเชื่อมระหว่าง ถ.ศรีนครินทร์ กับ ถ.แบริ่ง, ซ.ศรีด่าน 11, ซ.ศรีด่าน 13, ซ.ศรีด่าน 16
    20. ศรีด่าน ตั้งอยู่ใกล้ ซ.ศรีด่าน 2
    21. ศรีเทพา ตั้งอยู่บริเวณ ซ.อรรถสิทธิ์ และ ซ.ร่วมจิตพัฒนา
    22. ทิพวัล ตั้งอยู่บริเวณปาล์มไอส์แลนด์ มอลล์, ถ.ประดิษฐ์สโมสร
    23. สำโรง ตั้งอยู่บริเวณแยกเทพารักษ์-สุขุมวิท, ซ.เทพารักษ์ 2 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสำโรง
    ทั้งนี้ ยังมีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยายอีก 2 สถานีที่จะทำหน้าที่เชื่อมการเดินทางระหว่างแยกรัชโยธินและสถานีรัชดา
    ความสำคัญอย่างหนึ่งคือ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีเส้นทางการเดินรถ เชื่อมต่อกับระบบรางเส้นทางอื่น ๆ หลากหลายสาย ดังนี้
    สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จุดเชื่อมต่อระบบรางเส้นทางอื่น
    สถานีรัชดา รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลาดพร้าว
    สถานีแยกลำสาลี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) สถานีลำสาลี
    สถานีพัฒนาการ รถไฟฟ้า Airport Rail Link สถานีหัวหมาก
    สถานีสำโรง รถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ
    ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเข้ามาตอบโจทย์การเดินทางในหลากหลายเส้นทาง และสามารถเชื่อมต่อการเดินทางในเมืองให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
    นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นรถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยวหรือรู้จักกันในชื่อ รถไฟฟ้าโมโนเรล หรือ Monorail ซึ่งมีความแตกต่างจากรถไฟฟ้า BTS ที่เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ Heavy Rail
    ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการนำรถไฟฟ้าโมโนเรลมาใช้ในประเทศไทย โดยจุดเด่นของรถไฟฟ้าโมโนเรลคือการที่ตัวขบวนรถจะคล่อมอยู่บนคานเดียว ขณะเดินทางจึงมีเสียงที่เบากว่า และตัวรถจะมีความกว้างกว่าตัวคาน
    อัปเดตความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเหลืองก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% (เหลือการปรับพื้นที่ถนนด้านล่างโครงการรถไฟฟ้า) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 06.00-24.00 น. ให้บริการทุก 5 นาที ในช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้า เวลา 07.00-09.00 น. ตอนเย็น เวลา 17.00-20.00 น. หลังช่วงเวลาเร่งด่วน ให้บริการทุก 10 นาที
    ส่วนอาคารจอดแล้วจรที่สถานีศรีเอี่ยม เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น.
    ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง จัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท
    ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    ค่าโดยสารที่เรียกเก็บของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    ค่าโดยสารเมื่อใช้บัตรแรบบิท สำหรับผู้สูงอายุเดินทาง
    โดยสามารถชำระค่าโดยสารได้ 3 วิธีดังนี้
    – บัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว (Single Journey Card) โดยออกบัตรได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร หรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ภายในสถานีทั้งนี้ กรณีผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถนำบัตรประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อออกบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว ได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร
    – บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน (บัตรแรบบิท)
    – บัตร EMV Contactless โดยใช้บัตรเครดิตวีซ่า (VISA) หรือมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) ของธนาคารใดก็ได้ รวมถึงบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทย บัตรเดบิตของธนาคารยูโอบี และบัตรเดบิต Play Card (สมัครผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังค์) ที่มีสัญลักษณ์ Contactless Payment บนหน้าบัตรหรือหลังบัตร แตะเข้าและแตะออกระบบรถไฟฟ้าที่จุดให้บริการเครื่อง EDC บริเวณประตูพิเศษ (SwingGate) ได้
    ผู้โดยสารที่เดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สายสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าว และชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV Contactless ใบเดียวกัน จะได้รับส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบ หากเดินทางเชื่อมต่อภายในระยะเวลา 30 นาที
    นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถนำรถยนต์มาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ได้ที่อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าวและอาคารจอดรถสถานีศรีเอี่ยม โดยคิดอัตราค่าจอดรถสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ดังนี้
    – อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าว คิดอัตราค่าจอดรถยนต์ 2 ชั่วโมง 15 บาท (กรณีไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 50 บาท)
    – อาคารจอดรถสถานีศรีเอี่ยม คิดอัตราค่าจอดรถยนต์ ชั่วโมงละ 5 บาท (กรณีไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 20 บาท)
    แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์
    แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์
    แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์ อัปเดตราคารถไฟฟ้าใหม่ พร้อมทั้งเวลาเปิด-ปิดสถานีรถไฟฟ้า

    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย รัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไม่ได้ไปต่อ?
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีระยะทาง 2.6 กิโลเมตร แม้ว่าโครงการถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน จะได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว แต่โครงการไม่ได้ไปต่อ
    โดยทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า สาเหตุของการหยุดสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน เนื่องจากข้อตกลงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ที่บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้น
    ปัจจุบันหมดระยะเวลาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว เนื่องจากข้อเสนอของเอกชนระบุว่าโครงการนี้จะต้องดำเนินการก่อนเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
    โดยโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ทาง รฟม. เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map) เดิม และไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงข่ายรถไฟฟ้า เพราะในปัจจุบันบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว
    นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในช่วงวันธรรมดา อยู่ที่ 40,000 คนต่อวัน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อยู่ที่ 28,000-30,000 คนต่อวัน ทั้งนี้ ในช่วงที่มีการทดสอบระบบเดินรถและเปิดให้บริการฟรีมีผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 70,000 คนต่อวัน
    ทั้งนี้ ผู้โดยสารควรอยู่ที่ 70,000-80,000 คนต่อวัน ถึงจะถือเป็นเรื่องที่ดี หากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 100,000 คนต่อวัน คิดเป็น 10% ต่อปี จะทำให้การให้บริการเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารที่หายไปจะต้องใช้ระยะเวลาให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลักด้วย
    สายสีเหลืองส่วนต่อขยายนั้นกระทบต่อสายสีน้ำเงินอย่างไร
    หากผู้โดยสารต้องการเดินทางเชื่อมต่อจากสายสีเหลืองไปสายสีเขียว ในกรณีที่ไม่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ผู้โดยสารจะต้องลงจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพื่อต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานี MRT พหลโยธิน (สถานี BTS ห้าแยกลาดพร้าว ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว)
    แต่ในกรณีที่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ผู้โดยสามารถสามารถนั่งยาวไปจนถึงแยกรัชโยธินได้เลย โดยไม่ต้องเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT
    จากผลการศึกษาในกรณีที่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย จะทำให้รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เสียผู้โดยสารไป 4,800 เที่ยวคน/วัน (ในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งคาดว่าจะเป็นปีแรกที่สายสีเหลืองส่วนต่อขยายเปิดให้บริการ) และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปีที่ 30 (ครบอายุสัมปทาน) จะเสียผู้โดยสารไปถึง 17,500 เที่ยวคน/วัน คิดเป็นรายได้ที่หายไปตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี คือ กว่า 2,700 ล้านบาท
    ย่านลาดพร้าวในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    อัปเดตราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    จากรายงานของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) พบว่า ราคาที่ดินถนนลาดพร้าว บริเวณช่วงปากทางลาดพร้าวกับแยกรัชดาภิเษก อยู่ที่ 800,000 บาท/ตารางวา บริเวณแยกโชคชัย 4 ถึงตลาดบางกะปิ อยู่ที่ 400,000 บาท/ตารางวา
    โดยย่านตลาดบางกะปิ ถือว่ามีศักยภาพเพราะบริเวณนี้มีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย และเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดใช้แล้ว ราคาที่ดินอาจเพิ่มขึ้นอีก แต่คงไม่มากนัก
    ส่วนคอนโดตามแนวรถไฟฟ้าก็คงไม่ได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมามีการเสนอขายคอนโดในราคาค่อนข้างสูงตามการเก็งกำไรอยู่แล้ว
    เช็กลิสต์คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    เช็กลิสต์คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    เช็กลิสต์ 5 คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง มีโครงการไหนน่าสนใจบ้าง ดูได้ที่นี่

    การขายที่อยู่อาศัยแนวสายสีเหลืองช่วงรัชโยธินถึงตลาดบางกะปิ ส่วนใหญ่เป็นคอนโดแทบทั้งหมด โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท และ 2-3 ล้านบาท
    โดยในปี 2566 คาดว่า คอนโดยังเป็นสินค้าที่มีการพัฒนามากที่สุด เพราะอิทธิพลของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และอาจจะมีทาวน์เฮ้าส์ราคาเกินกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไปอยู่ในซอยย่อย
    ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
    แชร์บทความนี้

    ดูบทความอื่นที่เกี่ยวข้องกับแท็กด้านล่างนี้
    การลงทุน
    รถไฟฟ้าสายสีส้ม
    รถไฟฟ้าสายสีเขียว
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
    ราคาที่ดิน
    แผนที่รถไฟฟ้า
    บทความยอดนิยม
    1
    ฤกษ์ดีพฤศจิกายน 2566 วันดีปี 2566 ขึ้นบ้านใหม่ วันไหนดี เสริมสิริมงคล
    2
    การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ต้องทำอย่างไร ดู 6 เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม
    3
    อัปเดต! ดอกเบี้ยบ้าน 2566 ทุกธนาคาร
    4
    แผนผังรถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์ อัปเดตเส้นทาง-ราคา-เวลา ปี 2566
    5
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 23 สถานีใหม่ ทำเลอนาคต น่าลงทุน
    ดูบทความเพิ่มเติม
    โหลดบทความถัดไป
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดใช้เมื่อไหร่
    รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดใช้เมื่อไหร่
    รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีกี่สถานี
    Follow us
    PropertyGuru Group
    ติดต่อเรา
    เว็บไซต์ในเครือ
    Search PropertyGuru
    Think of Living Logo
    Award Logo
    Asia Real Estate Summit Logo
    Asia Property Reports Logo
    DDproperty.com - เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย ที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-เช่าเพื่ออยู่อาศัย หรือลงทุน บนเว็บไซต์ DDproperty คุณจะพบกับอสังหาริมทรัพย์ทั้งประกาศขาย หรือให้เช่า บ้านเดี่ยว คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ที่ดิน อพาร์ทเมนท์ หอพัก และตึกแถว อาคารพาณิชย์ หลากหลายรายการ รวมทั้งโครงการใหม่

    DDproperty
    อสังหาฯ ประกาศขาย
    อสังหาฯ สำหรับเช่า
    บ้านโครงการใหม่ ในประเทศไทย
    ประกาศขายยอดนิยม
    ประกาศให้เช่ายอดนิยม
    ทำเล ที่น่าสนใจ
    เครื่องมือ
    นโยบายการใช้งานที่ยอมรับได้ข้อตกลงและเงื่อนไขนโยบายความเป็นส่วนตัวเงื่อนไขการซื้อขาย
    © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 บริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด

     

    นโยบายการใช้งานที่ยอมรับได้ข้อตกลงและเงื่อนไขนโยบายความเป็นส่วนตัวเงื่อนไขการซื้อขาย

    © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 256

     

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น