สมการเคมีความรัก #สมการกู
Cr.http://webmasterz.exteen.com/20081008/chem-story-part-i เรื่อง : HS-TAC (กวงคุง) ภาพประกอบ : นาริคุง เราอาจจะเห็นข่าวในหลายๆ ครั้ง ที่เป็นเรื่องของการเกี่ยวพันเชิงชู้สาว แล้วมีการทำร้ายกันเกิดขึ้น ซึ่งนี่แหละเป็นโศกนาฎกรรมความรัก ที่มีแต่เสี
ผู้เข้าชมรวม
687
ผู้เข้าชมเดือนนี้
14
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บางคน ก็มองว่าความรักเหมือนกับดอกกุหลาบ สวยงามแต่มีอันตราย
บางคน ก็มองว่าความรักเป็นการเสียสละเพื่อคนที่เราห่วงใย
แต่ละคน ก็ล้วนแต่มองต่างกันออกไป
.
บางคน มุมมองความรักของเขา ก็มองเป็นอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น
บางคน เป็นนักเรียนสายวิทย์-คณิต ก็มองความรักเป็นแบบวิทย์ๆ หน่อย
บางคน มองความรักเป็นเหมือนสมดุลกล วางให้ดีๆ แรงลัพธ์จะได้เท่ากับ 0 ไม่ขยับไปไหน
บางคน มองความรักเหมือนโครโมโซม ต้องคู่เดียวกันเท่านั้นจึงจะประกบกันเหมือนปาท่องโก๋
บางคน มองความรักเหมือนอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี ต้องใส่ตัวเร่งคือความใส่ใจ ปฎิกิริยาจึงจะเกิดเร็ว
.
แต่ในซีรี่ส์ต่อไปนี้ จะเสนอเกี่ยวกับเรื่องของความรักที่อธิบายด้วยวิชาเคมี
โดยจะเป็นเนื้อหาที่อยู่ในระดับ ม.ปลาย เอามาผสมๆ กัน โดยจะแบ่งเป็นตอนๆ ไป
เป้าหมายของบทความซีรี่ส์นี้ คือ ต้องการให้เข้าใจว่า เรื่องที่เรียนๆ ไปนั้น
จริงๆ เราสามารถนำมาประยุกต์มาเป็นหลักการในชีวิตของเราได้
"ความรักก็เหมือนกับเมทานอล ที่กินเข้าไปแล้วตาก็บอด"
.
หลายคนมาถึงตอนนี้ จะแอบสงสัยว่าเมทานอลคืออะไร เมทานอล หรือ เมทิลแอลกฮออล์ (CH3OH) เป็นแอลกฮอลล์ประเภทหนึ่งครับผม ละลายน้ำเก่งมาก มักเอาไปเป็นเชื้อเพลิงตะเกียงแอลกฮอลล์แบบที่ใช้ในห้องเรียนทั่วไป (หลายคนอาจจะร้องอ๋อแล้ว)
ทีนี้ แอลกฮอลล์ตัวนี้มันกินไม่ได้ เพราะถ้ากินเข้าไปแล้วมันจะเป็นฟอร์มาดีไฮด์ โดนน้ำปุ๊บ กลายเป็นฟอร์มาลิน ที่เขาเอาไว้ดองศพ ดังสมการนี้
จริงๆ สมการนี้เป็นสมการที่เอาไว้เตรียมสารฟอร์มาดีไฮด์ จริงๆ ถ้าจะเตรียมเพื่ออุตสาหกรรม ต้องใส่ตัวเร่งคือ เงิน และเพิ่มอุณหภูมิด้วย อย่างไรก็ตาม ปฎิกิริยานี้ก็สามารถเกิดภายในร่างกายเราได้ แต่จะออกมาเป็นกรดอะซิติกบ้างในบางส่วน แต่ก็ยังเป็นฟอร์มาดีไฮด์ได้เหมือนกัน
ทีนี้ อย่าลืมว่าร่างกายเราเป็นน้ำนะ จากสมการนี้ พอมันเป็นฟอร์มาดีไฮด์ สารนี้ก็ละลายน้ำได้ดีอีก เลยกลายเป็นฟอร์มาลิน ซึ่งเป็นสารพิษถ้าทานเข้าไป หรือถ้าเราแตะสารละลายฟอร์มาลิน ส่วนที่เราแตะจะแข็งทันที เช่น เอานิ้วโป้งไปแตะ นิ้วโป้งก็จะแข็ง เพราะฉะนั้นถ้าเราได้มีโอกาสไปดูอาจารย์ใหญ่ และได้มีโอกาสจับละก็ เราจะเห็นว่าตัวอาจารย์ใหญ่จะแข็ง
เปรียบเทียบกับความรักได้อย่างไร
จากที่ได้พูดมาทั้งหมด เราจะเห็นได้ว่าเมทานอลนั้นมีคุณอนันต์ คือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงตะเกียงแอลกฮอลล์ เอาไว้เป็นตัวทำละลายได้ แต่เราจะเห็นโทษมหันต์ของมัน คือ ถ้าเรากินเข้าไปแล้วอาจจะตายได้ แบบในกรณีที่ว่า คนซื้อเหล้าเถื่อนมาต้ม แล้วไม่รู้ว่าเป็นเมทานอล กินเลี้ยงกัน ตายทีเกือบยกหมู่บ้าน เป็นต้น
ความรักเหมือนเมทานอลที่ว่า หากมีรักแบบถูกวิธี คือ รักเพื่อรัก ไม่ได้รักเพื่อใคร่ เมทานอลก็จะไม่ทำอันตรายเรา หนำซ้ำเรายังได้ประโยชน์จากมันอีกด้วย เช่น เรามีแฟนตั้งใจเรียน เราอาจจะยอมตั้งใจเรียนหนัก เพื่อแฟนจะได้ชอบ หรือบางคนมีแฟนเป็นคนต่างชาติ ก็อุตส่าห์ยอมศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อจะได้ติดต่อกันได้รู้เรื่อง เป็นต้น
แต่ถ้าเรารักแบบผิดวิธี เป็นรักเพื่อใคร่ คือมีความใคร่มากกว่าความรัก กลายเป็นว่าเรารักกันแบบปลากัด คบกันไม่นาน ก็คิดที่จะมีอะไรกันแล้ว มันก็เหมือนกับเราเสพเมทานอลเข้าร่างกายเรา แม้ความรักจะไม่เหมือนเมทานอล คือ ไม่ทำให้เราต้องตาย แต่มันก็ทำให้เราทุกข์ทนทรมานมากทีเดียว
ก่อนขึ้นตอนที่ 2 และ 3 ขอแนะนำตัวละครก่อน~
2. สมการเอสเทอร์ กับ ชีวิตรัก
"ความรักเหมือนเอสเทอร์ริฟิเคชั่น สักวันก็ต้องจากกัน"
เอสเทอร์คือ ลูกผสมระหว่างกรดคาร์บอซิลิก กับ แอลกฮอลล์ อย่างที่ยกตัวอย่างไปเมื่อกี้นี้ พอออกมามันจะเป็นน้ำหอม หอมฟุ้งได้อีก
เนื่องจากสมการเอสเทอร์ เป็นสมการที่สามารถผันกลับได้ หากมีกรดเป็นตัวเร่ง ดังนั้นจะไม่เอาลงซ้ำซากนะครับ ให้เห็นแค่ภาพสมการเฉยๆ
ก่อนที่จะดูกรอบล่าง ให้ดูกรอบบนก่อน ผมเอาตัวละคร 2 ตัว คือ กรดอะซิติก กับ เอทานอล มาผสมกันนะครับ โดยเวลาผสมจะได้น้ำด้วย
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัย โดยใช้ออกซิเจน-18 (18O) พบว่ากรดคาร์บอกซิลิก (ในที่นี้คือกรดอะซิติก) จะหลุดไฮโดรเจนออกมาตัวนึง ส่วนแอลกฮอลล์ (ในที่นี้คือเอทานอล) จะหลุดไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกมาอย่างละตัว
ทีนี้ เวลามันจะทำปฎิกิริยากัน จะต้องใช้กรดเป็นตัวเร่ง ไม่เช่นนั้นมันจะไม่เกิดเลย ดังนั้นถ้านึกสนุก อยากจะทำน้ำหอมขึ้นมา ก็ลองเอาเหล้า เอาน้ำส้มสายชู มาผสมกันแล้วใส่กรดซัลฟิวริกเจือจาง จะได้น้ำหอมขึ้นมา
เราเรียกชื่อปฎิกิริยา ดังนี้
1. ถ้ามันไปข้างหน้า (หน้าไปหลัง) เรียก เอสเทอร์ริฟิเคชัน
2. ถ้ามันย้อนกลับ (หลังไปหน้า) เรียก ไฮโดรไลซิส
เปรียบเทียบกับความรักได้อย่างไร
เราสามารถเขียนสมการแสดงความรักแบบเอสเทอร์ได้ว่า
เขา + เธอ <------- เวลา-------> เขาและเธอ + ความผูกพัน
จากสมการ เราเห็นได้ว่าตอนแรกเขาและเธออยู่แยกกัน ไม่ผสมกัน และจะไม่ผสมกันแน่นอน ถ้าหากไม่มีเวลาเป็นตัวเร่ง
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว เขาและเธอก็จะตกลงรักกัน เสมือนว่าทั้งสองเป็นคนๆ เดียวกันแล้ว และแน่นอน เมื่อเขาและเธอมารวมกันแล้ว ย่อมจะต้องมีตัวการทำให้รัก นั่นคือความผูกพันที่มาจากคนทั้งสองนี่เอง
แต่พอเวลามันผ่านไปเรื่อยๆ บางอย่างก็เริ่มจืดชาลง มีบางทีทำให้สมการความรักนี้ย้อนกลับ เขาและเธอต้องแยกกัน อาจจะเพราะความไม่เข้าใจ แต่ถ้าหากเราใช้เวลาทำความเข้าใจอีก สมการก็จะไปข้างหน้าอีก และจะสลับกันอย่างนี้เรื่อยๆ
จริงๆ แล้ว ทุกๆคนก็คงไม่มีใครอยากให้สมการผันกลับเลย เพราะจะทำให้เราต้องแยกจากกัน แต่เราลองมาพิจารณา ในสมัยปัจจุบันนี้ ความแตกต่างทางความคิดมันมีมากขึ้น ดังนั้นการผันสมการกลับจึงมีมากขึ้น บางคนหนักกว่านั้น ผันกลับไปแล้ว แยกทางกันเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ
ชีวิตคู่และความรัก...อยู่กับทุกคนจะเลือกทำนะครับ
3. สปอนนิฟิเคชั่น สังคมไทยเป็นแบบนี้หรือไม่
สปอนนิฟิเคชั่น จริงๆ คล้ายกับสมการในข้อ 2 ต่างตรงที่ว่าตอนแรกเราไม่เอากรดมาลงเลย แต่เราเอาเบสมาลงแทน ซึ่งปฎิกิริยานี้จะทำให้ได้สบู่
สปอนนิฟิเคชั่น สำคัญกับคนสมัยก่อนมาก เพราะสมัยก่อนสบู่มีราคาแพง ดังนั้นคนในสมัยนั้นจึงเอาน้ำมันมะพร้าวมาผสมใส่โซดาไฟ แล้วตั้งทิ้งไว้เดือนสองเดือน แต่อันตรายคือถ้าเทียบสัดส่วนไม่ดี โซดาไฟเป็นเบสแก่ มีผลทำให้แสบผิวได้ แต่จะแสบแบบลื่นๆ และถ้าดมโซดาไฟเข้าไปตอนผสมสาร โซดาไฟจะไปกัดจมูก ดังนั้นจึงอันตรายมากถ้าไม่ระมัดระวัง
สมการสปอนนิฟิเคชั่นมี 2 ส่วน คือ เบสลง แล้ว กรดแยก ดังนี้
สมการแรก เราจะเห็นว่าตอนแรกสารทั้งสองตัว คือตัวละครของเรารวมกันอยู่ดีๆ พอเราใส่โซดาไฟ (NaOH) เข้าไปปุ๊บ ก็จะเกิดปฎิกิริยาขึ้นมา แต่พอมันแยกทีนี้ ตัวที่เป็นคาร์บอกซิลิกของเรา หรือ กรดอะซิติก มันไม่รวมกับของเดิม มันไปรวมโซเดียมที่เราใส่ไปเมื่อกี้ ส่วนแอลกฮอลล์ หรือ เอทานอลในเรื่องนี้ ก็กลับมาเป็นตัวตนเก่าดังเดิม
สมการที่สอง เราเอาตัวอะซิติกที่ผสมกับโซเดียมมาแยกโดยใช้กรด เมื่อแยกแล้วจะออกมาเป็นกรดอะซิติกดังเดิม และจะมีตะกอนด้วย ในที่นี้จะได้ตะกอนคือ NaCl (โซเดียมคลอไรด์) หรือเกลือแกงที่ใช้กันทั่วไป แต่ไม่ขอเขียนนะครับ >
ทั้งนี้ ปกติสปอนนิฟิเคชั่น จะใช้แค่สมการแรกเพื่อทำสบู่ เพราะถ้าใช้สมการสอง ทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม เสียเวลามากกว่า สู้ไปไฮโดรไลซิสไม่ดีกว่าเหรอ ?
เปรียบเทียบกับความรักได้อย่างไร
เราสามารถเขียนสมการได้ว่า
เขาและเธอ + มือที่สาม ------------> เขาและมือที่สาม + เธอ
เขาและมือที่สาม + การแก่งแย่ง ------------> เขา + ความเศร้า
สำคัญ สมการนี้อาจจะกลับเพศได้ เช่น คนที่มาแย่งอาจจะเป็นผู้ชายแทนผู้หญิง เป็นต้น
มาดูทีละเหตุการณ์เลยนะครับ
ตอนแรก คนรักอยู่ด้วยกันทั้งสองคน ทั้งสองคนมีความสุขกันดีมาก เพราะเหมือนเป็นคนๆ เดียวกัน จากนั้นก็มีมือที่สามทำท่าจะยื้อแย่งไป
มือที่สามก็เหมือนกับคนเราหลายๆ คน เรามีความโลภ อยากได้คนที่มีคนรักแล้วมาเป็นของเรา ซึ่งเราพบได้ในละครหลายๆ เรื่อง
จากนั้นถ้ามือที่สามเก่งมากๆ ก็จะทำปฎิกิริยาได้สำเร็จ แล้วทีนี้คนที่ถูกมือที่สามจีบ ก็จะไปกับมือที่สาม
สำหรับเหตุการณ์นี้ จะเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ในเพลงทั่วไป ที่ฝ่ายชายนั้นมาร้องเพลงอกหัก แนวๆว่า "เธอไปกับเขา..." เป็นต้น แต่ส่วนมากแล้ว เหตุการณ์จะเกิดต่อๆ กัน
จากนั้นถ้าฝ่ายที่ถูกทิ้งไม่ยอม ก็จะตามตื๊อไปเรื่อยๆ และการตามตื๊อบางครั้ง อาจจะจบลงด้วยความน่าเศร้าเราอาจจะเห็นข่าวในหลายๆ ครั้ง ที่เป็นเรื่องของการเกี่ยวพันเชิงชู้สาว แล้วมีการทำร้ายกันเกิดขึ้น ซึ่งนี่แหละเป็นโศกนาฎกรรมความรัก ที่มีแต่เสียกับเสียทั้งๆ ที่มีนิยามว่า ความรักทำให้โลกสีขาวแท้ๆ
ท้ายสุด เมื่อตื๊อกันมากๆ บางทีไม่มีใครได้อะไรเลย ทุกคนต่างผิดหวังกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากตัณหาของเราทั้งสิ้น หากเรามีความรักเดียวใจเดียว เคารพซึ่งกันและกัน และยึดมั่นศีลข้อ 3 แน่นอนว่าปฎิกิริยาข้อนี้ในสังคมไทยจะไม่มีอย่างแน่นอน
สรุปจบ
สำหรับตอนนี้ ได้มีการพูดถึงสมการเคมีที่เกิดจากเมทานอล สมการไฮโดรไลซิส เอสเทอร์ริฟิเคชั่น และ สปอนนิฟิเคชั่น ซึ่งแต่ละตัวนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของเราเป็นอย่างมาก และได้ยกตัวอย่างเป็นที่เรียบร้อยหมดแล้ว
สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับความรัก คือ เราจะต้องมีความจริงใจ ซื่อตรง และรับแต่พอเพียง เพราะคนเราเกิดมาเพื่อดำรงชีวิต รักเป็นแค่เพียงองค์ประกอบเท่านั้น
ผลงานอื่นๆ ของ I'm none ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ I'm none
ความคิดเห็น