newton บทที่3 ไบซ์นิส - นิยาย newton บทที่3 ไบซ์นิส : Dek-D.com - Writer
×

    newton บทที่3 ไบซ์นิส

    ผู้เข้าชมรวม

    50

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    50

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  สืบสวน
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  7 มี.ค. 58 / 00:00 น.
    e-receipt e-receipt
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    บทที่3   Leibniz

                      

                           กอลฟรีต  วิลเฮล์ม  ไบซ์นิส  นักปรัชญา  นักการทูต  บรรณารักษ์  และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง   บิดาแห่งวิชาแคลคูลลัสร่วมกับนิวตัน

                           อัลเฟรด  ฟิลปป์  พ่อบ้าน  นักเล่นแร่แปรธาตุ  ช่างไม้  นักประดิษฐ์   และกุ๊กฝีมือดี

     

                           เวลา  12.00 น.  อุณหภูมิประมาณ  23 องศาเซนเซียน  ณ เมืองไลพ์ซิส  ประเทศเยอรมัน  ในบ้านของไบซ์นิส

    “เท่าที่เห็นก็ไม่มีอะไรที่จะบ่งบอกว่าเขาเป็นคนวางแผน   อืม....... เขาคงไม่ใช้คนวางแผน  เท่าที่เห็นก็มีแต่กระดาษที่มีสูตรแคลคูลลัสจดไว้เต็มไปหมด  แล้วก็หนังสือปรัชญาเต็มไปหมด  เป็นไปได้ว่าไบซ์นิสคงไม่ใช้คนร้าย”  นี่คือคำพูดของนิวตัน  ในขณะที่เขากำลังหาหลักฐานที่จะนำมามัดตัวไบซ์นิส  ในบ้านของไบซ์นิสโดยการลักลอบเข้ามา “ถ้าหยั่งงั้นเราคงต้องกลับลอนดอนเพื่อนำเรื่องนี้ไปบอกเขาคนนั้น ”   และนิวตันก็เดินทางกลับลอนดอนทันที

                            วันถัดมา  เวลา  8.45 น.  อุณหภูมิประมาณ  18.5 องศาเซนเซียน  ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ  ที่ตลาดค้าปลา   พ่อบ้านอัลเฟรด  ได้ออกมาจ่ายตลาดยามเช้า  เพื่อที่จะได้นำไปทาอาหารเช้าให้กับไบซ์นิส   ในระหว่างที่เขากำลังจ่ายตลาดอยู่ เขาก็ได้พบกับนิวตัน  “ว่าไง นิวตัน”  อัลเฟรดทักนิวตัน

    นิวตันอ้าว ว่าไงอัลเฟรด  เป็นผู้ช่วยให้ไบซ์นิส เป็นไงบ้างละ

    อัลเฟรด : ก็ดี  แต่ไบซ์นิส  นี่ใช้งานคนได้เก่งจริงๆ

    นิวตัน : คนที่ชอบใช้ชีวิตไฮโซก็งี้แหละ

    อัลเฟรด : ก็ต้องทำใจ  เดี๋ยวฉันไปซื้อข้าวซื้อของ ก่อนนะ  เล้วไว้เจอกันใหม่

    นิวตัน : แล้วเจอกัน  แล้วก็ว่างๆมาทำอาหารให้ฉันกินบ้างนะ

    อัลเฟรด : เข้าใจแล้ว เดี๋ยวว่างๆจะทำให้กิน

                           จริงๆแล้วคนที่แนะนำอัลเฟรดให้ไปเป็นพ่อบ้าน และผู้ช่วยให้ไบซ์นิสต่อทางบัณฑิตราชยสมาคมแห่งลอนดอนก็คือ นิวตัน นั้นเอง

     

     

     

     

                 นิวตันกับอัลเฟรด ทั้งคู่เป็นเพื่อนรักกันตั้งแต่สมัยเด็กๆ  ทั้งคู่มีความสามารถที่คล้ายๆกันอยู่หลายด้าน  แต่นิสัยนั้นค่อนข้างจะต่างกันบ้าง      อัลเฟรดจะเป็นคนที่ใจเย็นและไม่มุทะลุเหมือนนิวตัน  ทำให้เวลาที่นิวตันมีปัญหาอะไรเขาก็จะไปปรึกษาอัลเฟรดเพื่อนรักของเขา   บ้านของอัลเฟรดนั้นอยู่ไม่ไกลจากบ้านของนิวตันเท่าไรนัก  จึงง่ายต่อการเดินทาง  สำหรับนิวตันแล้ว อัลเฟรดเป็นคนที่เก่งมากในเรื่อง งานบ้าน  และด้านการประดิษฐ์งานฝีมือต่างๆ   บ้านของอัลเฟรดเป็นครอบครับช่างไม้แต่ช่วงหลังมานี้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ลูกค้าเริ่มน้อยลง  ทำให้ครอบครัวของอัลเฟรดไม่มีเงินพอที่จะเลี้ยงดูคนในครอบครัว  อัลเฟรดไม่รู้จะทำอย่างไรดี จึงไปปรึกษากับนิวตันเพื่อนรักของเขา  แล้วมีหรือที่นิวตันจะไม่ช่วยเพื่อนรักของเขา  เนื่องจากอัลเฟรดมีความสามารถทางด้านการเล่นแร่แปรธาตุอยู่บ้าง  นิวตันจึงแนะนำเขาให้กับทางบัณทิตราชยสมาคมช่วยหางานให้เขาทำ  ซึ่งพอดีกับช่วงที่ไบซ์นิสเดินทางมาถึงลอนดอนพอดี  ทางบัณทิตราชสมาคมจึงไหว้วานให้อัลเฟรดไปเป็นพ่อบ้านและผู้ช่วยของไบซ์นิส  ซึ่งอัลเฟรดก็ยอมรับข้อเสนอนี้อย่างไม่ต้องสงสัย

     

                                     เวลา  9.40 น. อุณหภูมิประมาณ  20 องศาเซนเซียน   บ้านพักของไบซ์นิส ในกรุงลอนดอน

     อัลเฟรด : อาหารเช้าได้แล้วครับคุณไบซ์นิส

    ไบซ์นิส : อาหารเช้านี้เป็นอะไรล่ะ

    อัลเฟรด : อาหารเช้านี่  ปลาดอลลี่ย่างเกลือ  กับสลัดผักปลาลทูน่า  เสริมพร้อมกับชานมฝรั่งเศสขอรับ

     

                                     เวลา  10.20 น. หลังจากไบซ์นิสรับประทานอาหารเช้าเสร็จไม่นาน  ในขณที่เขากำลังนั่งทำงานอยู่บนโต๊ะ ไบซ์นิสเกิดอาการช็อคและล้มลง  พ่อบ้าอัลเฟรดมาเห็นเข้าจึงรีบพาไบซ์นิสไปส่งที่โรงพยาบาลแต่ไม่ทันการไบซ์นิสได้เสียชีวิตลงเสียก่อน  แพทย์ได้วินิฉัยการตายของไบซ์นิสว่าเกิดจากอาการเครียดมากเกิดไปบวกกับการที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว   ศพของไบซ์นิสได้นำกลับมาที่เยอรมันในทันที

     

     

     

     

     

     

                            วันที่ 4 พฤศจิกายน  คริสต์ศักราช  1716

     เราได้เสียอัจฉริยะบุคคล ท่านหนึ่งของโลกไป

                    ในวันงานศพของไบซ์นิส  มีผู้มาร่วมพิธีงานที่จัดอย่างยิ่งใหญ่เพื่อรำลึกถึงไบซ์นิส   แฮรี่   โจณาธาน   สเตลี่ส  ฮอยเกนณ์   พ่อบ้านของเขาอัลเฟรด   นักวิทยาศาสตร์  นักปรัชญา  และนักการทูตจากประเทศต่าง   แต่ไร้วี่แวว ของนิวตัน  หลังจากทำพิธีเสร็จสิ้น  ทุกคนในงานกลับกันหมดเหลือเพียง  แฮรี่กับอัลเฟรด  “จริงหรือแฮรี่ที่ว่าไม่ใช้เขา”  อัลเฟรดถาม

    “จริงๆครับคุณ นิวตัน ”  แฮรี่ตอบกลับอัลเฟรด

                   

                      ความจริงแล้วอัลเฟรดนั้นแหละที่คือนิวตัน  ความเก่งในด้านการประดิษฐ์ของนิวตัน  เขาได้ทำหน้ากากซีรีโคน ขึ้นมา  โดยรายละเอียดของใบหน้านั้นนิวตันได้เรียนแบบ  มาจากอัลเฟรดเพื่อนรักของเขา        ความประณีต  ความงดงาม  และที่สำคัญคือความเหมือนจริง   สมบูรณ์แบบหน้ากากที่เหมือนหน้าคนจริงๆ

     

                      นิวตันได้ฉีกหน้ากากออกแล้ววางเอาไว้ข้างหลุมศพของไบซ์นิสและจากไปพร้อมกับแฮรี่

     

                   วันถัดมาหลังจากจบงานศพของไบซ์นิส เวลา  13.25 น. อุณภูมิประมาณ  24.5 องศาเซนเซียน  ณ โรงกษาปณ์แห่งกรุงลอนดอน

                    ได้เกิดการปล้นขึ้นที่โรงกษาปณ์แห่งกรุงลอนดอน  กรมตำรวจแห่งลอนดอนสามารถจับกุมคนร้ายทั้ง 9 คนได้สำเร็จ โดยการช่วยเหลือของนิวตัน

                      

      

     

     

     

     

     

                              ย้อนกลับไปในวันที่ไบซ์นิสนำสูตรแคลคูลลัสของนิวตันวางไว้ในที่เกิดเหตุครั้งที่ 3 

    “ก็ฉันอยากจะเล่นเกมนี้ด้วยน่ะสิ”  คำพูดนั้นที่ไบซ์นิสพูดขึ้นมาหลังจากการสนทนาระหว่างเขากับอัลเฟรดซึ่งก็คือนิวตัน

    ไบซ์นิสพยายามอย่างหนักเพื่อที่จะหาว่ารหัสแคลคูลลัสของเขานั้นมีอะไรกันแน่คนร้ายถึงทิ้งเอาไว้  และเขาก็คิดออกว่ามันคือตัวบอกพิกัดในการปล้นนั้น  คืนๆหนึ่งหลังจากที่อัลเฟรดพาไบซ์นิสไปเข้า เขาได้พบกับกระดาษใบนั้นเข้า  นิวตันที่อยู่ภายใต้หน้ากากของอัลเฟรดฉุดคิดขึ้นมาได้ว่าไม่มีใครจะรู้จักรหัสแคลคูลลัสของไบซ์นิสได้มากกว่าตัวเขา  หลังจากนั้นอัลเฟรดหรือนิวตันจึงได้ขอเข้ามาร่วมใช้ความคิดในการไขรหัสนี้ไบซ์นิสจนกระทั่งเขาทั้งคู่ได้รู้สถานที่ทุกแห่งที่คนร้ายจะปล้นในครั้งต่อๆไปซึ่งครั้งที่ 4 ก็คือโรงกษาปณ์ แห่งลอนดอนนั้นเอง

     

                              ความดีความชอบครั้งใหญ่นี้ นิวตันได้รับยศเป็น เซอร์ ไอแซก นิวตัน และยังได้กลายเป็นผู้ดูแลกองเหรียญกษาปณ์แห่งลอนดอน อีกทั้งยังเป็นผู้ดูแลบัณฑิตราชยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งลอนดอนอีกด้วย  นิวตันเป็นนักวิทยาศาสตร์แรกและคนเดียวที่ได้รับเกียร์ติสูงสุดเช่นนี้

     

     

    บทรำพึงบั้นปลายชีวิต   

                                      “ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าข้าพเจ้าจะปรากฏต่อโลกอย่างไร....แต่สำหรับข้าพเจ้าเองแล้วก็เปรียบดั่งเด็กเล็กๆที่เล่นสนุกอยู่บนชายหาดนานๆครั้งจะได้พานพบก้อนกรวดผิวเรียบหรือเปลือกหอยลายสวยแปลกตากว่าที่พบเห็นทั่วไป ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันกว้างใหญ่แผ่ไกลอยู่เบื้องหน้ายังคงไร้ผู้สำรวจ”

                                                                                           เซอร์ ไอแซก นิวตัน จูเนียร์

     

     

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น