Stigma ตราประทับอันตราย - นิยาย Stigma ตราประทับอันตราย : Dek-D.com - Writer
×

    Stigma ตราประทับอันตราย

    โดย I L L R E I

    ในปีที่ 666 หรือก็คือปีแห่งมารปีศาจ ความชั่วร้ายได้แทรกตัวออกมาจากขุมนรก ตัวแทนแห่งบาปมหันต์ทั้ง 7 จะล่อลวงผู้ทรงศีลให้กระทำบาป เหยียบย่ำทำลายความดีงามทั้งปวง

    ผู้เข้าชมรวม

    11,893

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    53

    ผู้เข้าชมรวม


    11.89K

    ความคิดเห็น


    260

    คนติดตาม


    88
    หมวด :  แฟนตาซี
    จำนวนตอน :  11 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  23 ก.พ. 55 / 13:03 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


    Stigma ตราประทับอันตราย

    กลัทโทนี่ (Gluttony) บาปแห่งความตะกละ

    (Original Character - ลิขสิทธิ์ฟารา)

    (วาดโดย dreamworm ค่ะ)
     

     

    ในปีที่ 666 หรือก็คือปีแห่งมารปีศาจ ความชั่วร้ายได้แทรกตัวออกมาจากขุมนรก

    พวกมันจะล่อลวงผู้ทรงศีลให้กระทำบาป เหยียบย่ำทำลายความดีงามทั้งปวง

    โฮลี่เมเด้น สตรีศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียว สมบัติแห่งพระเจ้า

    กลัทโทนี่ ตัวตลกฆาตกรผู้ถือครองบาปแห่งความตะกละ

    เอ็นวี่ ตัวแทนแห่งความริษยา ผู้กำความลับที่สั่นคลอนศาสนจักร

    ความรักต้องห้าม ความลับที่ไม่ควรเปิดเผย

    ชะตากรรมของทั้งสามคน ดิ้นรนอยู่ในวังวนที่บิดเบี้ยวอย่างทรมาน

     

    เอ็นวี่ / กลัทโทนี่ / โฮลี่เมเด้น


    Hall of Fame - ขอบคุณมากค่ะดีใจจริงๆ เป็นเรื่องที่ 2 ที่ติดนักเขียนไฮไลท์แล้วค่ะ /ซึ้ง

     
     

    Stigma ตราประทับอันตราย
     


    MusicPlaylist
    Music Playlist at MixPod.com

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ Stigma ตราประทับอันตราย"

    (แจ้งลบ)

    นิยายแฟนตาซีที่มีเรื่องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ของ ฟารา เรื่อง Stigma ตราประทับอันตราย นับเป็นนิยายแฟนตาซีที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามเรื่องหนึ่ง แม้ว่าเพิ่งจะโพสต์ไปได้เพียง 11 ตอน และหากจะนับเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องจริงๆ ก็มีเพียง 5 ตอนเท่านั้น นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้นำความเชื่อทางคริสต์ศาสนามาเป็นปมสำคัญในการดำเนินเรื่อง นั่นก็คือสต ... อ่านเพิ่มเติม

    นิยายแฟนตาซีที่มีเรื่องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ของ ฟารา เรื่อง Stigma ตราประทับอันตราย นับเป็นนิยายแฟนตาซีที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามเรื่องหนึ่ง แม้ว่าเพิ่งจะโพสต์ไปได้เพียง 11 ตอน และหากจะนับเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องจริงๆ ก็มีเพียง 5 ตอนเท่านั้น นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้นำความเชื่อทางคริสต์ศาสนามาเป็นปมสำคัญในการดำเนินเรื่อง นั่นก็คือสติกมา (stigma) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “รอยประทับแห่งมลทิน หรือความอดสู ที่มีมาจากบาดแผลห้าแห่งที่พระเยซูได้รับจากการตรึงไม้กางเขน” โดยเน้นไปที่สติกมาแห่งบาป ในที่นี้ก็คือบาปมหันต์ทั้ง 7 ประการตามความเชื่อของคริสต์ศาสนานั่นเอง ในช่วงต้นเรื่องก็เปิดตัวแทนของบาปดังกล่าวไปแล้ว 2 ตัวคือ เอ็นวี่แห่งริษยา และกลัทโทนี่แห่งตะกละ และตัวละครทั้งสองก็ได้สร้างความปั่วป่วนให้กับศาสนจักรแห่งนครนีโอวาติกันอย่างมาก โดยลักพาตัว โฮลี่เมเด้น ผู้ซึ่งเป็นแม่พระหนึ่งเดียวของสำนักวาติกันใหม่ และยังเป็นน้องสาวแท้ๆ ของพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันไป ก่อนอื่นต้องขอชื่นชม ฟารา ที่กล้านำเรื่องราวความเชื่อของคริสต์ศาสนามาเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญ การเขียนนิยายในลักษณะนี้นับเป็นดาบสองคม หากเขียนได้ดีอาจจะแค่เสมอตัว แต่ถ้ามีข้อมูลผิดพลาดก็จะได้รับการโจมตีหรือประณามจากผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาอย่างเคร่งครัดก็เป็นได้ เพราะมิได้เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นจากจินตนาการเหมือนกับนิยายแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ แต่มีข้อเท็จจริงในทางคริสต์ศาสนาเป็นกรอบกำหนดไว้อีกชั้นหนึ่งด้วย ดังจะเห็นตัวอย่างแล้วจากกรณีที่นิยายเลื่องชื่อ The Da Vinci Code ของแดน บราวน์ ก็ถูกโจมตีอย่างมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงต้องระมัดระวังในการนำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเหล่านั้นมาใช้ ในที่นี้จะพบว่า ฟารา ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี สังเกตได้จากข้อมูลที่สอดแทรกไว้ในเรื่องขณะกล่าวถึงสัญลักษณ์และความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่นำมาอธิบายขยายความเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรื่อง ทั้งเรื่อง “งู” ที่ล่อลวงอาดัมและอีฟ หรือแม้แต่บาปมหันต์ทั้ง 7 ประการ ขณะเดียวกันก็ยังมีการขยายความที่นอกเหนือจากตัวเรื่อง ทั้งในส่วนของเชิงอรรถ และบทคั่นเวลาต่างๆ เช่น “ห้องเรียนเรื่อง ‘stigma’ โดยคุณเมด” ทั้งยังรวมไปถึงภาพประกอบของภาพวาดและมหาวิหารต่างๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ฟารา ก็มิได้ดำเนินตามความเชื่อของคริสต์ศาสนาอย่างเคร่งครัดแต่เพียงอย่างเดียว หากเธอก็ตั้งคำถามกับความเชื่อในแง่มุมต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะให้กลัทโทนี่เป็นผู้ตั้งคำถามต่อโฮลี่เมเด้นเกี่ยวกับการเป็นพระผู้สร้างของพระผู้เป็นเจ้าว่า “เธอคิดว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกอย่างรึเปล่า?”… “ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าก็ต้องสร้าง ‘ความชั่วร้าย’ ขึ้นมาด้วยจริงไหม ... ในเมื่อความชั่วร้ายเป็นสมบัติของพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าเองก็คือความชั่วร้ายเช่นกัน!” ประเด็นคำถามในลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในนิยายเรื่องนี้เท่านั้น แต่มีการตั้งคำถามคล้ายๆ อย่างนี้มาแล้วในสังคมตะวันตกตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 และเข้มข้นมากขึ้นหลังช่วงสงครามโลก จนกระทั่งมีนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ Friedrich Nietzsche ออกมาประกาศเลยว่า “พระเจ้าตายแล้ว” เพราะหากพระเจ้ามีอยู่และพระองค์เป็นพระผู้เมตตาจริง ก็ไม่น่าที่จะสร้างสิ่งเลวร้ายขึ้นในโลก นอกจากนี้ยังให้ เอ็นวี่ วิพากษ์ความยุติธรรม ซึ่งเป็น 1 ใน 7 เทวทูตสำคัญว่า “ความยุติธรรม คือ ‘ข้ออ้าง’ ที่มนุษย์ใช้ควบคุมมนุษย์ด้วยกันเองต่างหาก ไม่มากและไม่น้อยไปกว่านั้น” การตั้งคำถามต่อความเชื่อต่างๆ ในเรื่องนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ขัดกับเรื่องในภาพรวม นั่นเป็นเพราะ ฟารา เลือกให้ตัวละครที่เป็นเสมือนปรปักษ์กับคริสต์ศาสนาเป็นตัวละครที่นำเสนอประเด็นเชิงวิพากษ์คริสต์ศาสนา ไม่ว่าจะเป็น เอ็นวี่ หรือ กลัทโทนี่ ขณะเดียวกันก็พบว่า ฟารา ยังสร้างเงื่อนไขครอบไว้อีกชั้นหนึ่งจนดูประหนึ่งว่า แม้จะเป็นปรปักษ์กัน แต่ตัวละครเหล่านี้ก็มิอาจที่จะหลุดพ้นจากอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอ็นวี่ ที่ไม่สามารถฆ่าตัวตายได้เพราะอยู่ภายใต้พระพรแห่งความเจ็บปวดอันถือเป็นคำสาปร้ายของพระเจ้า และบางครั้ง ฟารา ก็ยังให้ตัวละครที่นับถือศาสนาจักรอย่างเคร่งครัดเป็นผู้ตั้งคำถามขึ้นมาด้วยเช่นกัน เช่น การให้โฮลี่เมเด้นที่ตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเลือกหนทางที่ขัดกับพระประสงค์ของพระเจ้าเช่นเดียวกับอีฟ เธอก็ตั้งข้อสังเกตอันชวนคิดเกี่ยวกับการเลือกกินแอปเปิ้ลของอีฟตามคำชักชวนของงูว่า “บางที...ในยามที่อีฟตัดสินใจยอมรับผลไม้ต้องห้ามมาจากอสรพิษ บางทีแล้ว...อีฟอาจจะมีความสุขก็เป็นได้” หากจะพิจารณาในแง่ของกลวิธีการนำเสนอเรื่องจะเห็นได้ว่ามีกลวิธีที่สำคัญอย่างน้อย 2 วิธีที่ช่วยให้เรื่องราวนี้มีความเข้มข้นและน่าติดตาม ประการแรกคือ การใช้ลักษณะของคู่ตรงข้าม (binary opposition) ในเรื่องนี้จะเป็นภาวะของการแบ่งคู่ตรงข้ามอย่างชัดเจนของตัวละครสองกลุ่ม นั่นก็คือตัวละครฝ่ายพระเจ้า อันประกอบไปด้วยพระสันตะปาปา เทวทูตทั้ง 7 ภารดร และผู้นับถือคริสต์ศาสนา กับกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับพระเจ้า ที่นำทีมโดยเอ็นวี่ และ กลัทโทนี่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเป็นศัตรูกันอย่างเปิดเผย เพราะฝ่ายที่เป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้าออกมาประกาศตัวอย่างชัดเจนด้วยการลักพาตัวโฮลี่เมเด้น สตรีศักดิ์สิทธิ์ ผู้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของคริศต์ศาสนาที่ไม่อาจปล่อยให้ตกอยู่ในเงื้อมือของฝ่ายต่อต้านได้ ทั้งนี้ การปะทะระหว่างสองกลุ่มนับวันก็ยิ่งขยายวงกว้างออกไปและเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งช่วยสร้างความน่าตื่นเต้นและทวีความเข้มข้นให้กับเรื่องมากขึ้น นอกจากการสร้างคู่ตรงข้ามขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีการสอดแทรกลักษณะ ทวิภาวะ (duality) ของตัวละครหลักที่เป็นปรปักษ์ต่อกันไว้ด้วย นั่นก็คือการสร้างให้ เอ็นวี่ (ผู้นำของกลุ่มต่อต้านศาสนจักร) ถูกสร้างขึ้นจากความริษยาของโฮลี่เมเด้น (สัญลักษณ์สตรีศักดิ์สิทธิ์ของศาสนจักร เป็นดั่งพระผู้ไถ่ของมวลมนุษยชาติ) หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เอ็นวี่ก็คือบาปของโฮลี่เมเด้นนั่นเอง และตัวละครทั้งสองยังเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันด้วย ซึ่งทั้งสองคนแท้ที่จริงแล้วก็คือคนๆ เดียวกัน ซึ่งอาจจะแยกกันก็ตรงที่แบ่งให้ร่างซีกขวามีสัญลักษณ์แทนโฮลี่เมเด้น ไม่ว่าจะเป็นนัยน์ตาข้างขวาสีควอมารีน และสติกมารูปไม้กางเขนสีขาวที่หน้าอกข้างขวา ในขณะที่เอ็นวี่ครอบครองร่างกายด้านซ้าย นับตั้งแต่นัยน์ตาสีแดงข้างซ้าย และสติกมารูปกางเขนกลับหัวสีดำตรงหน้าอกเหนือตำแหน่งหัวใจข้างซ้าย ประการต่อมาคือ การสร้างความลับหรือปริศนาที่มาของตัวละคร ในช่วงแรก ฟารา สร้างเรื่องให้ผู้อ่านคาดเดาไปต่างๆ นานาว่า เอ็นวี่ กับ โฮลี่เมเด้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะทั้งสองมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันราวกับเป็นคนๆเดียวกัน ก่อนที่จะเฉลยว่าแท้ที่จริงแล้ว เอ็นวี่ ก็คือส่วนหนึ่งของโฮลี่เมเด้น นั่นเอง ปริศนาต่อมาที่เปิดปมไว้คือ ความลับอะไรที่ ลิฟ พยายามปกปิดไม่ให้คนรักของเธอ จัสติน เทวทูตแห่งความยุติธรรมรับรู้ ซึ่งความลับนี้น่าจะสอดคล้องกับแผนการณ์ที่เอ็นวี่วางไว้เพื่อดึงตัวลิฟเป็นพวกเดียวกับเธอต่อไป ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งที่ทำให้เรื่องนี้มีความน่าติดตามก็คือ ความสามารถในการเขียนของ ฟารา ทั้งในภาษาสนทนา และภาษาบรรยาย ซึ่งสังเกตได้ทั้งจากการบรรยายลักษณะของตัวละคร สถานที่ และบรรยากาศต่างๆ ไว้อย่างละเอียดจนผู้อ่านสามารถที่จะสร้างภาพดังกล่าวตามไปด้วยอย่างไม่ยากนัก นอกจากนี้ ฟารา ยังระมัดระวังในการเขียนมาก เพราะแทบจะไม่พบคำผิดเลย และเพื่อให้นิยายเรื่องนี้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น จึงอยากจะเสนอคำเขียนผิดที่พบไว้ด้วย ดังนี้ องครักษ์ เขียนเป็น องค์รักษ์ ยาเสพติด เขียนเป็น ยาเสพย์ติด กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ และในบทแนะนำตัวละคร เขียน งูจงอาง เป็น งูจงอาจ ยิ่งไปกว่านั้น Stigma ตราประทับอันตราย นับเป็นนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้อ่านไม่สามารถคาดเดาทิศทางของเรื่องในตอนต่อไป รวมทั้งตอนจบของเรื่องได้ล่วงหน้า เนื่องจาก ฟารา เปิดตัวละครและเปิดเรื่องเท่าที่จำเป็นในบทนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งนับเป็นกุศโลบายสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้อ่านที่อยากทราบว่าเรื่องจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือว่าจะจบแบบไหน ก็ต้องติดตามอ่านนิยายเรื่องนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบ ด้วยเหตุนี้ Stigma ตราประทับอันตราย จึงนับว่าเป็นนิยายแฟนตาซีแนวคริสต์ศาสนาที่น่าติดตามเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ ------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 1 มิ.ย. 54

    • 8

    • 0

    "ลองอ่านดูสิคะ ^^"

    (แจ้งลบ)

    สติ๊กมา เป็นเรื่องที่ในแบบที่น้อยคนนักจะกล้าเขียนนะคะ เพราะเป็นแนวที่ละเอียดอ่อน และต้องมีข้อมูลเยอะและแน่นพอสมควร (ไม่งั้นคงเขียนไม่ได้สมจริงหรอกจริงมั้ยคะ??) แถมยังต้องกล้า และมีความพยายามที่จะเีขยนออกมาแล้ว ไม่ไปกระทบจิตใจใครด้วยนะคะ ^^ นับถือตรงอย่างหลังนี่แหละค่ะ เพราะเรามองว่าเรื่องนี้เนื้อหาเป็นอะไรที่แอบอันตรายนิดหนึ่ง ถ้าเขียนไม่ดี ... อ่านเพิ่มเติม

    สติ๊กมา เป็นเรื่องที่ในแบบที่น้อยคนนักจะกล้าเขียนนะคะ เพราะเป็นแนวที่ละเอียดอ่อน และต้องมีข้อมูลเยอะและแน่นพอสมควร (ไม่งั้นคงเขียนไม่ได้สมจริงหรอกจริงมั้ยคะ??) แถมยังต้องกล้า และมีความพยายามที่จะเีขยนออกมาแล้ว ไม่ไปกระทบจิตใจใครด้วยนะคะ ^^ นับถือตรงอย่างหลังนี่แหละค่ะ เพราะเรามองว่าเรื่องนี้เนื้อหาเป็นอะไรที่แอบอันตรายนิดหนึ่ง ถ้าเขียนไม่ดีเนี่ย ดับได้ง่ายๆเลย แต่ฟาราทำได้ค่ะ คือไม่รู้สึกว่ามันกระทบหรืออะไร เหมือนเป็นอะไรที่ทั้งสมจริงและไม่ใช่ของจริงน่ะค่ะ.. คือยังไงดี มันดูสมจริง เพราะฟาราข้อมูลแน่น แต่ไม่ใช่ของจริง คือ ไม่ใช่อะไรที่อ่านแล้วจะนึกว่าเป็นเรื่องจริงได้ (อย่างเทวาซาตานอะไรงี้ ที่อ่านแล้ว แอบสงสัยหน่อยๆ นี่เรื่องจริงรึเปล่าเนี่ย?!?) ตัวละครมีเสน่ห์ค่ะ ขาดๆเกินๆ ตามแบบที่ฟาราว่า แต่ก็ดูเป็นผู้เป็นคนนะคะ คือถ้าไม่อ่านแล้วคิดอะไรมาก จะไม่นึกหรอกค่ะ ว่ามันแอบขาดเกินไปนิด ถ้ามองผ่านๆ อาจคิดว่ามันรุนแรงอะไรแบบนั้น ธีมเรื่อง.. ชอบค่ะ เป็นอะไรที่โดนใจอยู่นะคะ แต่เนื่องจากฟาราอาศัยการบรรยายแบบการ์ตูนเลยจะไม่ค่อยมีวัตถุดิบให้จินตนาการนัก ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียค่ะ ข้อดี คือ คนอ่านสร้างเองได้ตามใจชอบ แต่คนเสีย ถ้าคนอ่นไม่ได้มีประสบการณ์กับเรื่องแนวนี้อาจจะสร้างมโนภาพไม่ได้ แต่ฟาราก็แก้ไขด้วยการเอารูปมาลงให้ดูเสร้จสรรพ เลยชัดเจนค่ะ~ การบรรยาย อ่านง่ายค่ะ เพราะดูเหมือนกำลังอ่านการ์ตูนหน่อยๆ แต่ก็กลมกลืนไปกับการบรรยายที่ดูเป็นงานเป็นการ (ภาษาอีกระดับ) มันไม่ขัดแย้งกันเองค่ะ อ่านแล้วลื่นๆดี แต่ไม่รู้ว่ามันยังขาดอะไรนี่สิคะ.. เลยให้แค่ 9 ^^ นึกไม่ออกเหมือนกันค่ะ ว่ามันยังขาดอะไรไป เพราะงั้น การวิจารณ์คงจบแค่นี้แหละค่ะ อาจไม่ใช่มืออาชีพนัก แต่ก็วิจารณ์เท่าที่จะทำได้ค่ะ สุดท้าย ถ้าใครยังหาอะไรใหม่ๆอ่าน ก็ลองอ่านสติ๊กมานะคะ ถึงจะไม่แหวกแนวนัก (แต่น้อยคนที่กล้าเขียนนะคะ) แต่รับรองว่าสนุกค่า   อ่านน้อยลง

    White Manju | 3 ม.ค. 54

    • 7

    • 2

    ดูทั้งหมด

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ Stigma ตราประทับอันตราย"

    (แจ้งลบ)

    นิยายแฟนตาซีที่มีเรื่องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ของ ฟารา เรื่อง Stigma ตราประทับอันตราย นับเป็นนิยายแฟนตาซีที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามเรื่องหนึ่ง แม้ว่าเพิ่งจะโพสต์ไปได้เพียง 11 ตอน และหากจะนับเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องจริงๆ ก็มีเพียง 5 ตอนเท่านั้น นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้นำความเชื่อทางคริสต์ศาสนามาเป็นปมสำคัญในการดำเนินเรื่อง นั่นก็คือสต ... อ่านเพิ่มเติม

    นิยายแฟนตาซีที่มีเรื่องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ของ ฟารา เรื่อง Stigma ตราประทับอันตราย นับเป็นนิยายแฟนตาซีที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามเรื่องหนึ่ง แม้ว่าเพิ่งจะโพสต์ไปได้เพียง 11 ตอน และหากจะนับเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องจริงๆ ก็มีเพียง 5 ตอนเท่านั้น นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้นำความเชื่อทางคริสต์ศาสนามาเป็นปมสำคัญในการดำเนินเรื่อง นั่นก็คือสติกมา (stigma) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “รอยประทับแห่งมลทิน หรือความอดสู ที่มีมาจากบาดแผลห้าแห่งที่พระเยซูได้รับจากการตรึงไม้กางเขน” โดยเน้นไปที่สติกมาแห่งบาป ในที่นี้ก็คือบาปมหันต์ทั้ง 7 ประการตามความเชื่อของคริสต์ศาสนานั่นเอง ในช่วงต้นเรื่องก็เปิดตัวแทนของบาปดังกล่าวไปแล้ว 2 ตัวคือ เอ็นวี่แห่งริษยา และกลัทโทนี่แห่งตะกละ และตัวละครทั้งสองก็ได้สร้างความปั่วป่วนให้กับศาสนจักรแห่งนครนีโอวาติกันอย่างมาก โดยลักพาตัว โฮลี่เมเด้น ผู้ซึ่งเป็นแม่พระหนึ่งเดียวของสำนักวาติกันใหม่ และยังเป็นน้องสาวแท้ๆ ของพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันไป ก่อนอื่นต้องขอชื่นชม ฟารา ที่กล้านำเรื่องราวความเชื่อของคริสต์ศาสนามาเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญ การเขียนนิยายในลักษณะนี้นับเป็นดาบสองคม หากเขียนได้ดีอาจจะแค่เสมอตัว แต่ถ้ามีข้อมูลผิดพลาดก็จะได้รับการโจมตีหรือประณามจากผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาอย่างเคร่งครัดก็เป็นได้ เพราะมิได้เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นจากจินตนาการเหมือนกับนิยายแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ แต่มีข้อเท็จจริงในทางคริสต์ศาสนาเป็นกรอบกำหนดไว้อีกชั้นหนึ่งด้วย ดังจะเห็นตัวอย่างแล้วจากกรณีที่นิยายเลื่องชื่อ The Da Vinci Code ของแดน บราวน์ ก็ถูกโจมตีอย่างมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงต้องระมัดระวังในการนำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเหล่านั้นมาใช้ ในที่นี้จะพบว่า ฟารา ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี สังเกตได้จากข้อมูลที่สอดแทรกไว้ในเรื่องขณะกล่าวถึงสัญลักษณ์และความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่นำมาอธิบายขยายความเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรื่อง ทั้งเรื่อง “งู” ที่ล่อลวงอาดัมและอีฟ หรือแม้แต่บาปมหันต์ทั้ง 7 ประการ ขณะเดียวกันก็ยังมีการขยายความที่นอกเหนือจากตัวเรื่อง ทั้งในส่วนของเชิงอรรถ และบทคั่นเวลาต่างๆ เช่น “ห้องเรียนเรื่อง ‘stigma’ โดยคุณเมด” ทั้งยังรวมไปถึงภาพประกอบของภาพวาดและมหาวิหารต่างๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ฟารา ก็มิได้ดำเนินตามความเชื่อของคริสต์ศาสนาอย่างเคร่งครัดแต่เพียงอย่างเดียว หากเธอก็ตั้งคำถามกับความเชื่อในแง่มุมต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะให้กลัทโทนี่เป็นผู้ตั้งคำถามต่อโฮลี่เมเด้นเกี่ยวกับการเป็นพระผู้สร้างของพระผู้เป็นเจ้าว่า “เธอคิดว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกอย่างรึเปล่า?”… “ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าก็ต้องสร้าง ‘ความชั่วร้าย’ ขึ้นมาด้วยจริงไหม ... ในเมื่อความชั่วร้ายเป็นสมบัติของพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าเองก็คือความชั่วร้ายเช่นกัน!” ประเด็นคำถามในลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในนิยายเรื่องนี้เท่านั้น แต่มีการตั้งคำถามคล้ายๆ อย่างนี้มาแล้วในสังคมตะวันตกตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 และเข้มข้นมากขึ้นหลังช่วงสงครามโลก จนกระทั่งมีนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ Friedrich Nietzsche ออกมาประกาศเลยว่า “พระเจ้าตายแล้ว” เพราะหากพระเจ้ามีอยู่และพระองค์เป็นพระผู้เมตตาจริง ก็ไม่น่าที่จะสร้างสิ่งเลวร้ายขึ้นในโลก นอกจากนี้ยังให้ เอ็นวี่ วิพากษ์ความยุติธรรม ซึ่งเป็น 1 ใน 7 เทวทูตสำคัญว่า “ความยุติธรรม คือ ‘ข้ออ้าง’ ที่มนุษย์ใช้ควบคุมมนุษย์ด้วยกันเองต่างหาก ไม่มากและไม่น้อยไปกว่านั้น” การตั้งคำถามต่อความเชื่อต่างๆ ในเรื่องนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ขัดกับเรื่องในภาพรวม นั่นเป็นเพราะ ฟารา เลือกให้ตัวละครที่เป็นเสมือนปรปักษ์กับคริสต์ศาสนาเป็นตัวละครที่นำเสนอประเด็นเชิงวิพากษ์คริสต์ศาสนา ไม่ว่าจะเป็น เอ็นวี่ หรือ กลัทโทนี่ ขณะเดียวกันก็พบว่า ฟารา ยังสร้างเงื่อนไขครอบไว้อีกชั้นหนึ่งจนดูประหนึ่งว่า แม้จะเป็นปรปักษ์กัน แต่ตัวละครเหล่านี้ก็มิอาจที่จะหลุดพ้นจากอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอ็นวี่ ที่ไม่สามารถฆ่าตัวตายได้เพราะอยู่ภายใต้พระพรแห่งความเจ็บปวดอันถือเป็นคำสาปร้ายของพระเจ้า และบางครั้ง ฟารา ก็ยังให้ตัวละครที่นับถือศาสนาจักรอย่างเคร่งครัดเป็นผู้ตั้งคำถามขึ้นมาด้วยเช่นกัน เช่น การให้โฮลี่เมเด้นที่ตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเลือกหนทางที่ขัดกับพระประสงค์ของพระเจ้าเช่นเดียวกับอีฟ เธอก็ตั้งข้อสังเกตอันชวนคิดเกี่ยวกับการเลือกกินแอปเปิ้ลของอีฟตามคำชักชวนของงูว่า “บางที...ในยามที่อีฟตัดสินใจยอมรับผลไม้ต้องห้ามมาจากอสรพิษ บางทีแล้ว...อีฟอาจจะมีความสุขก็เป็นได้” หากจะพิจารณาในแง่ของกลวิธีการนำเสนอเรื่องจะเห็นได้ว่ามีกลวิธีที่สำคัญอย่างน้อย 2 วิธีที่ช่วยให้เรื่องราวนี้มีความเข้มข้นและน่าติดตาม ประการแรกคือ การใช้ลักษณะของคู่ตรงข้าม (binary opposition) ในเรื่องนี้จะเป็นภาวะของการแบ่งคู่ตรงข้ามอย่างชัดเจนของตัวละครสองกลุ่ม นั่นก็คือตัวละครฝ่ายพระเจ้า อันประกอบไปด้วยพระสันตะปาปา เทวทูตทั้ง 7 ภารดร และผู้นับถือคริสต์ศาสนา กับกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับพระเจ้า ที่นำทีมโดยเอ็นวี่ และ กลัทโทนี่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเป็นศัตรูกันอย่างเปิดเผย เพราะฝ่ายที่เป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้าออกมาประกาศตัวอย่างชัดเจนด้วยการลักพาตัวโฮลี่เมเด้น สตรีศักดิ์สิทธิ์ ผู้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของคริศต์ศาสนาที่ไม่อาจปล่อยให้ตกอยู่ในเงื้อมือของฝ่ายต่อต้านได้ ทั้งนี้ การปะทะระหว่างสองกลุ่มนับวันก็ยิ่งขยายวงกว้างออกไปและเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งช่วยสร้างความน่าตื่นเต้นและทวีความเข้มข้นให้กับเรื่องมากขึ้น นอกจากการสร้างคู่ตรงข้ามขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีการสอดแทรกลักษณะ ทวิภาวะ (duality) ของตัวละครหลักที่เป็นปรปักษ์ต่อกันไว้ด้วย นั่นก็คือการสร้างให้ เอ็นวี่ (ผู้นำของกลุ่มต่อต้านศาสนจักร) ถูกสร้างขึ้นจากความริษยาของโฮลี่เมเด้น (สัญลักษณ์สตรีศักดิ์สิทธิ์ของศาสนจักร เป็นดั่งพระผู้ไถ่ของมวลมนุษยชาติ) หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เอ็นวี่ก็คือบาปของโฮลี่เมเด้นนั่นเอง และตัวละครทั้งสองยังเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันด้วย ซึ่งทั้งสองคนแท้ที่จริงแล้วก็คือคนๆ เดียวกัน ซึ่งอาจจะแยกกันก็ตรงที่แบ่งให้ร่างซีกขวามีสัญลักษณ์แทนโฮลี่เมเด้น ไม่ว่าจะเป็นนัยน์ตาข้างขวาสีควอมารีน และสติกมารูปไม้กางเขนสีขาวที่หน้าอกข้างขวา ในขณะที่เอ็นวี่ครอบครองร่างกายด้านซ้าย นับตั้งแต่นัยน์ตาสีแดงข้างซ้าย และสติกมารูปกางเขนกลับหัวสีดำตรงหน้าอกเหนือตำแหน่งหัวใจข้างซ้าย ประการต่อมาคือ การสร้างความลับหรือปริศนาที่มาของตัวละคร ในช่วงแรก ฟารา สร้างเรื่องให้ผู้อ่านคาดเดาไปต่างๆ นานาว่า เอ็นวี่ กับ โฮลี่เมเด้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะทั้งสองมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันราวกับเป็นคนๆเดียวกัน ก่อนที่จะเฉลยว่าแท้ที่จริงแล้ว เอ็นวี่ ก็คือส่วนหนึ่งของโฮลี่เมเด้น นั่นเอง ปริศนาต่อมาที่เปิดปมไว้คือ ความลับอะไรที่ ลิฟ พยายามปกปิดไม่ให้คนรักของเธอ จัสติน เทวทูตแห่งความยุติธรรมรับรู้ ซึ่งความลับนี้น่าจะสอดคล้องกับแผนการณ์ที่เอ็นวี่วางไว้เพื่อดึงตัวลิฟเป็นพวกเดียวกับเธอต่อไป ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งที่ทำให้เรื่องนี้มีความน่าติดตามก็คือ ความสามารถในการเขียนของ ฟารา ทั้งในภาษาสนทนา และภาษาบรรยาย ซึ่งสังเกตได้ทั้งจากการบรรยายลักษณะของตัวละคร สถานที่ และบรรยากาศต่างๆ ไว้อย่างละเอียดจนผู้อ่านสามารถที่จะสร้างภาพดังกล่าวตามไปด้วยอย่างไม่ยากนัก นอกจากนี้ ฟารา ยังระมัดระวังในการเขียนมาก เพราะแทบจะไม่พบคำผิดเลย และเพื่อให้นิยายเรื่องนี้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น จึงอยากจะเสนอคำเขียนผิดที่พบไว้ด้วย ดังนี้ องครักษ์ เขียนเป็น องค์รักษ์ ยาเสพติด เขียนเป็น ยาเสพย์ติด กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ และในบทแนะนำตัวละคร เขียน งูจงอาง เป็น งูจงอาจ ยิ่งไปกว่านั้น Stigma ตราประทับอันตราย นับเป็นนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้อ่านไม่สามารถคาดเดาทิศทางของเรื่องในตอนต่อไป รวมทั้งตอนจบของเรื่องได้ล่วงหน้า เนื่องจาก ฟารา เปิดตัวละครและเปิดเรื่องเท่าที่จำเป็นในบทนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งนับเป็นกุศโลบายสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้อ่านที่อยากทราบว่าเรื่องจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือว่าจะจบแบบไหน ก็ต้องติดตามอ่านนิยายเรื่องนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบ ด้วยเหตุนี้ Stigma ตราประทับอันตราย จึงนับว่าเป็นนิยายแฟนตาซีแนวคริสต์ศาสนาที่น่าติดตามเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ ------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 1 มิ.ย. 54

    • 8

    • 0

    "ลองอ่านดูสิคะ ^^"

    (แจ้งลบ)

    สติ๊กมา เป็นเรื่องที่ในแบบที่น้อยคนนักจะกล้าเขียนนะคะ เพราะเป็นแนวที่ละเอียดอ่อน และต้องมีข้อมูลเยอะและแน่นพอสมควร (ไม่งั้นคงเขียนไม่ได้สมจริงหรอกจริงมั้ยคะ??) แถมยังต้องกล้า และมีความพยายามที่จะเีขยนออกมาแล้ว ไม่ไปกระทบจิตใจใครด้วยนะคะ ^^ นับถือตรงอย่างหลังนี่แหละค่ะ เพราะเรามองว่าเรื่องนี้เนื้อหาเป็นอะไรที่แอบอันตรายนิดหนึ่ง ถ้าเขียนไม่ดี ... อ่านเพิ่มเติม

    สติ๊กมา เป็นเรื่องที่ในแบบที่น้อยคนนักจะกล้าเขียนนะคะ เพราะเป็นแนวที่ละเอียดอ่อน และต้องมีข้อมูลเยอะและแน่นพอสมควร (ไม่งั้นคงเขียนไม่ได้สมจริงหรอกจริงมั้ยคะ??) แถมยังต้องกล้า และมีความพยายามที่จะเีขยนออกมาแล้ว ไม่ไปกระทบจิตใจใครด้วยนะคะ ^^ นับถือตรงอย่างหลังนี่แหละค่ะ เพราะเรามองว่าเรื่องนี้เนื้อหาเป็นอะไรที่แอบอันตรายนิดหนึ่ง ถ้าเขียนไม่ดีเนี่ย ดับได้ง่ายๆเลย แต่ฟาราทำได้ค่ะ คือไม่รู้สึกว่ามันกระทบหรืออะไร เหมือนเป็นอะไรที่ทั้งสมจริงและไม่ใช่ของจริงน่ะค่ะ.. คือยังไงดี มันดูสมจริง เพราะฟาราข้อมูลแน่น แต่ไม่ใช่ของจริง คือ ไม่ใช่อะไรที่อ่านแล้วจะนึกว่าเป็นเรื่องจริงได้ (อย่างเทวาซาตานอะไรงี้ ที่อ่านแล้ว แอบสงสัยหน่อยๆ นี่เรื่องจริงรึเปล่าเนี่ย?!?) ตัวละครมีเสน่ห์ค่ะ ขาดๆเกินๆ ตามแบบที่ฟาราว่า แต่ก็ดูเป็นผู้เป็นคนนะคะ คือถ้าไม่อ่านแล้วคิดอะไรมาก จะไม่นึกหรอกค่ะ ว่ามันแอบขาดเกินไปนิด ถ้ามองผ่านๆ อาจคิดว่ามันรุนแรงอะไรแบบนั้น ธีมเรื่อง.. ชอบค่ะ เป็นอะไรที่โดนใจอยู่นะคะ แต่เนื่องจากฟาราอาศัยการบรรยายแบบการ์ตูนเลยจะไม่ค่อยมีวัตถุดิบให้จินตนาการนัก ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียค่ะ ข้อดี คือ คนอ่านสร้างเองได้ตามใจชอบ แต่คนเสีย ถ้าคนอ่นไม่ได้มีประสบการณ์กับเรื่องแนวนี้อาจจะสร้างมโนภาพไม่ได้ แต่ฟาราก็แก้ไขด้วยการเอารูปมาลงให้ดูเสร้จสรรพ เลยชัดเจนค่ะ~ การบรรยาย อ่านง่ายค่ะ เพราะดูเหมือนกำลังอ่านการ์ตูนหน่อยๆ แต่ก็กลมกลืนไปกับการบรรยายที่ดูเป็นงานเป็นการ (ภาษาอีกระดับ) มันไม่ขัดแย้งกันเองค่ะ อ่านแล้วลื่นๆดี แต่ไม่รู้ว่ามันยังขาดอะไรนี่สิคะ.. เลยให้แค่ 9 ^^ นึกไม่ออกเหมือนกันค่ะ ว่ามันยังขาดอะไรไป เพราะงั้น การวิจารณ์คงจบแค่นี้แหละค่ะ อาจไม่ใช่มืออาชีพนัก แต่ก็วิจารณ์เท่าที่จะทำได้ค่ะ สุดท้าย ถ้าใครยังหาอะไรใหม่ๆอ่าน ก็ลองอ่านสติ๊กมานะคะ ถึงจะไม่แหวกแนวนัก (แต่น้อยคนที่กล้าเขียนนะคะ) แต่รับรองว่าสนุกค่า   อ่านน้อยลง

    White Manju | 3 ม.ค. 54

    • 7

    • 2

    ดูทั้งหมด

    ความคิดเห็น