ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีทำปุ๋ยหมัก - นิยาย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีทำปุ๋ยหมัก : Dek-D.com - Writer
×

    ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีทำปุ๋ยหมัก

    ผู้เข้าชมรวม

    410

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    410

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  8 ก.พ. 60 / 12:32 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



        


      ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีทำปุ๋ยหมัก

     

     

     
    ปราชญ์ชาวบ้าน อาจารย์สมศักดิ์ สาลีรัตน์

         ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืชวัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว
     
           ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน้ำตาลดำ มีความร่วนซุย และมีกลิ่นฉุนของการหมัก เมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงเกษตรก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น

    วิธีทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
         ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
          วิธีผสม   : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ  ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
    ประโยชน์ปุ๋ยหมัก
                   1. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
                   2. ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ทำให้ธาตุอาหารถูกพืชนำไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น
                   3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
                   4. ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน
                   5. ทำให้ดินมีความร่วนซุย จากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่ เหมาะสม
                   6. ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
                   7. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่นที่เกษตรกรใส่
                   8. ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา

    ทำไมเราจึงต้องช่วยกันอนุรักสิ่งแวดล้อม
            การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็หมายถึง  การเก็บรักษา  สงวน  ซ่อมแซม  ปรับปรุง  และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไป

     
    แล้วทำไมเราจึงต้องช่วยกันอนุรักสิ่งแวดล้อม
           โดยสรุป:-
            เพราะทรัพยากรธรรมชาติเป็นบ่อเกิดแห่งปัจจัยสี่และเครื่องอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของมนุษย์  เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมีมากขึ้น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้อย่างมากมายและรวดเร็ว ถ้าไม่ช่วยกันดูแลบำรุงรักษาไว้  ในที่สุดทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนจำกัดบางชนิดก็อาจสูญสิ้นไปจากโลก  ทรัพยากรบางชนิดอาจถูกใช้จนมีสภาพเสื่อมโทรมลง  จนไม่สามารถใช้การได้ดีเหมือนอย่างเดิม และบางครั้งมนุษย์อาจทำให้ทรัพยากรบางชนิดเกิดความเป็นพิษ จนเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช 
                   ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการรักษา ดุลแห่งธรรมชาติ ให้คงอยู่อย่างเหมาะสม เพราะสิ่งแวดล้อมทั้งหลายมีความสำคัญ และสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การเกิดขึ้นมา การดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปลง การถูกทำลายให้สูญสิ้น ย่อมเป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือกระบวนการของธรรมชาติ  เพราะกระบวนการของธรรมชาติทั้งหลาย มีการสร้างและทำลายไปพร้อมๆ กัน  เพื่อให้สิ่งแวดล้อมดำรงอยู่ได้อย่างเหมาะสม หากทรัพยากรธรรมชาติชนิดใดเกิดมีความผิดปกติ เช่น เกิดการเสื่อมโทรมลงหรือมีการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว  จะทำให้ดุลแห่งธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมเสียไปด้วย ทรัพยากรอื่นๆ จะได้รับความกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหายขึ้นได้   และจะส่งผลไปยังการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังเช่นภัยพิบัติต่างๆ อันเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าที่มนุษย์เราได้รับอยู่ทุกวันนี้ 
     
    ที่สำคัญ เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนให้กับโลกของเราได้ 
     
             ดังนั้น พวกเราจงจำไว้ว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมนั้น เราต้อง ใช้อย่างฉลาด  การจะใช้  ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี  ผลเสีย  ความขาดแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างถี่ถ้วน จงใช้อย่าง ประหยัด เก็บ รักษา สงวน ของที่หายาก และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตัวเราและ โลกของเรา 

     

    ภาพประกอบกิจกรรม




    (ปราชญ์ชาวบ้าน อาจารย์สมศักดิ์ สาลีรัตน์ กำลังบรรยายความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์)





    (นักศึกษากำลังกำลังค้นคว้าทำความเข้าใจโดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มเติม
    และบ้างก็บันทึกตาม
    ปราชญ์ชาวบ้านบรรยายในสมุดบันทึกขณะฟัง)





    (นี้คือปุ๋ยอินทรีย์ที่เตรียมไว้เพื่อปฏิบัติลงพื้นท่ี่จริง นักศึกษาจะร่วมกันโรยปุ๋ยต้นไม้ในเขตบางน้ำผึ้ง)






    (ช่ายกันคนละไม้ละมือนำปุ๋ยไปใส่ต้นไม้ ด้วยความตื่นเต้นและสนุกสนาน)





    (โลกสดใจขึ้น เพราะคุณภาพปุ๋ยที่ดี มีประโยชน์)





    (ปุ๋ยงาม แต่งไม่แพ้ความสวยและความดีงามเลยครับอาจารย์เก๋)





    (เหนื่อยไหมครับ 555)





    (ถ้าหากฉันเป็นต้นไม้นะ จะขอตามเธอไปบ้านด้วย ฉันชอบคนพกปุ๋ย)





    (เพื่อนรักต่างเผ่าพันธุ์ เราพึ่งพาอัาศัยกัน)





    (เด็กสื่อสารน่าจะเรียนภาษาต้นไม้ด้วย เราจะได้เข้าใจกันมากขึ้น)





    (ป่าไม้ของเราน่าอยู่ คุณครูใจดีทุกคน พาเด็กๆ ชื่อชมความงาม)





    (ช่วยกันเทปุ๋ยลงดินเยอะๆ ขอบคุณชาวโลกมากๆ เลยครับ)

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น