ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดความรู้ต่างๆจร้า

    ลำดับตอนที่ #31 : นิทาน กระตุ้นไอคิวอีคิว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.41K
      1
      5 พ.ค. 50




       คงต้องยอมรับกันว่า การเลี้ยงลูกมีส่วนสำคัญมากในการสร้างไอคิวอีคิวเด็กเป็นอย่างมาก และในทางการแพทย์นั้นมีผลการวิจัยยืนยันชัดเจนว่ามีส่วนสูงถึง 70% เลยทีเดียว
         ทั้งนี้ หนึ่งในวิธีการที่ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งก็คือ การเล่านิทาน
       นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อคิดเห็นว่า กระทรวงได้สนับสนุนให้พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังตั้งแต่ทารก ตลอดจนสนับสนุนให้พี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ 17,000 แห่ง เล่านิทานให้เด็กฟัง เพื่อสร้างไอคิวอีคิวเด็กไทย เนื่องจากการศึกษาในต่างประเทศซึ่งเก็บข้อมูลเด็ก 450 คนต่อเนื่องนานถึง 40 ปี พบว่าไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการทำงานได้ดี ปัจจัยที่สามารถทำนายถึงความสำเร็จด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ดีกว่ากลับเป็นความสามารถด้านต่าง ๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์และการเข้ากับบุคคลอื่น ๆ ได้ดี ซึ่งหมายถึงอีคิวนั่นเอง
       นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาในกลุ่มที่จบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ 80 คน ตั้งแต่ตอนที่ยังศึกษาอยู่จนถึงบั้นปลายชีวิตในวัย 70 ปี พบว่าความสามารถทางด้านอารมณ์และสังคม มีส่วนทำให้ประสบผลสำเร็จในวิชาชีพและมีชื่อเสียงมากกว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวถึง 4 เท่า
       ขณะเดียวกันการเล่านิทานยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เล่ากับเด็กสร้างความมั่นใจ ความเชื่อมั่นให้เด็ก กล้าแสดงความคิดเห็น มีสมาธิ ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบของไอคิวหรือความฉลาดทางปัญญา นิทานยังเป็นการขยายเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ช่วยสร้างความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวให้เด็กอยู่ในสังคมได้
       นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่านิทานในเด็กเล็กอาจจะมีการจัดทำเป็นหนังสือ โดยเสริมการสัมผัสหรือที่เรียกว่าหนังสือสัมผัส มีภาพประกอบใหญ่ ๆ คล้ายของจริง เช่น ภาพ ผลไม้ เป็นหนังสือที่มีผลดีต่อเด็กมาก ระหว่างเล่าเด็กจะมองที่ปากคนเล่าและเด็กจะขยับปากตาม ซึ่งมีส่วนกระตุ้นพัฒนาทางภาษา เมื่อเด็กได้จับรูปภาพ จะกระตุ้นพัฒนากล้ามเนื้อ กระตุ้นการมองสี แยกแยะสีต่าง ๆ ได้ แต่จากการศึกษาสถานการณ์การเล่านิทานของครอบครัวไทย พบว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างน่าห่วง ในช่วง 2 ปีมานี้ พ่อแม่มีเวลาเล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันไม่ถึง 50% เนื่องจากต้องทำงานนอกบ้าน ผู้เล่านิทานเป็นแม่มากกว่าพ่อ
       ด้าน นพ.สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมอนามัยได้ศึกษาสถานการณ์การเล่านิทานของครอบครัวไทยทั่วประเทศกว่า 3,389 ครอบครัวในปี 2546 พบว่าเพียงร้อยละ 2 ที่พ่อแม่เริ่มเล่านิทานตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ พ่อแม่ 2 ใน 3 เริ่มเล่าเมื่อลูกอายุ 1-3 เดือน ขณะที่พ่อแม่ 1 ใน 3 ไม่เคยเล่านิทานให้ลูกฟังเลยในรอบ 1 เดือน วิธีการเล่า 41% จะอ่านนิทานให้ลูกฟัง มีเพียง 1 ใน 6 ที่ใช้อุปกรณ์และแสดงท่าทางประกอบการเล่านิทานที่นิยมเล่ามากที่สุด ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน รองลงมาคือนิทานสอนคติธรรม นิทานนานาชาติ และการ์ตูน
       ส่วนประโยชน์ของการเล่านิทาน พ่อแม่ 28% บอกว่าทำให้ลูกมีสมาธิดี รองลงมาคือสร้างความผูกพันพ่อแม่ลูก ทำให้เด็กมีจินตนาการเกิดความคิดสร้างสรรค์ และเด็กได้คติเตือนใจ
       อย่างไรก็ตาม เพื่อกระตุ้นพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก กรมอนามัยแนะนำว่าปัจจุบันมีนิทานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งในเรื่องการบริโภคอาหาร การแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพอื่น ๆ
    - -si nd
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×