ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดความรู้ต่างๆจร้า

    ลำดับตอนที่ #6 : เรื่องของสิว

    • อัปเดตล่าสุด 2 มี.ค. 50


           สิว…ไม่ใช่ปัญหา “ขึ้นหน้าขึ้นตา” เท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาที่ขึ้นตามลำตัวได้ด้วย เช่น บริเวณไหล่ หลัง หน้าอก
           สิว อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
           
    1.สิวไม่อักเสบ ได้แก่ สิวหัวปิดหรือสิวหัวขาว จะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ หัวขาวๆ ไม่มีรูเปิด ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนัง มองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลาง เรียกว่า สิวหัวเปิดหรือสิวหัวดำ
           2.สิวอักเสบ เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย คือสิวที่หัวแดง ๆ หรือเป็นหนอง เม็ดโตๆ เช่นที่เรียกกันว่า "สิวหัวช้าง"

           ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ได้แก่
           
           1. ปริมาณไขมันที่สร้างจากต่อมไขมัน
           การอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรูขุมขนที่มีอยู่ตามผิวหนังของคนเรา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ต่อมไขมันบริเวณรูขุมขนมีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น แต่บางครั้งก็สร้างไขมันออกมามากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขนและเกิดการอักเสบ หากติดเชื้อแบคทีเรียด้วย ก็จะทำให้เป็นหัวสิวหรือตุ่มหนอง
           
           การสร้างไขมันขึ้นอยู่กับฮอร์โมนแอนโดรเจนและเอสโตรเจน แอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันในรูขุมขนผลิตไขมันออกมามากขึ้น โอกาสที่จะเกิดสิวจึงมีมากยิ่งขึ้นด้วย ขณะที่เอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิง จะยับยั้งการสร้างไขมัน วัยรุ่นชายจึงมักจะมีปัญหาเรื่องสิวมากกว่าวัยรุ่นหญิง สำหรับผู้หญิงจะเป็นสิวมากขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน
           
           วัยรุ่นเป็นช่วงที่เป็นสิวกันมาก เนื่องจากวัยนี้มีระดับฮอร์โมนเพศสูง เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือในช่วงอายุ 20 ปีเศษ สิวจะลดน้อยลงเอง แต่บางคนอายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว ยังเป็นสิวอยู่ก็มี
           
           2. ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
           พบว่าหากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้ามีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ และลอกหลุดง่ายกว่าปกติ อาจเกิดการอุดตันของรูขุมขน จนเกิดเป็นสิวขึ้นมาได้
           
           3. เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes ในระยะแรกที่เริ่มเกิดหัวสิวมักจะตรวจไม่พบเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว แต่ในระยะท้ายๆ หรือระยะที่มีการอักเสบจะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทุกราย แต่ละคนจะมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ไม่เหมือนกัน คนที่ไวมาก อาการก็จะรุนแรงมาก การรักษาสิวโดยใช้ยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลดีกับทุกราย
           ความรุนแรงของสิวในแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย องค์ประกอบที่ทำให้สิวเป็นมากหรือน้อย ได้แก่
           
           1.กรรมพันธุ์ พ่อแม่ที่เป็นสิวมากในช่วงวัยรุ่น ส่วนหนึ่งจะมีลูกหลานที่เป็นสิวมากเช่นกัน
           2.การทำงานของต่อมไขมัน ถ้าหน้ามันมาก ก็มีโอกาสเป็นสิวมาก
           3.ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงช่วงใกล้มีประจำเดือน หรือหญิงตั้งครรภ์ จะเป็นสิวมากขึ้น
           4.อารมณ์เสีย ความเครียด และการอดนอน ทำให้การอักเสบของสิวรุนแรงขึ้นได้
           5.อากาศ บางคนเป็นมากในฤดูร้อน บางคนเป็นมากในฤดูหนาว
           6.เครื่องสำอาง เช่น เครื่องแต่งหน้า ครีมบำรุงผิว สบู่ แชมพู รวมไปถึงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ก็ทำให้เกิดสิวได้
           7.การระคายเคือง เช่น การถูหรือนวดแรงๆ การบีบหรือแกะสิว จะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น และมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นเมื่อสิวหายแล้ว
           8.ยาบางอย่าง เช่น ยาที่มีสเตียรอยด์ผสมอยู่ ยากันชักบางตัว หรือยาคลายเครียด ก็ทำให้เกิดสิวได้
           9.สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดสิว เช่น ละอองไขมันจากการทำอาหาร น้ำมันเครื่อง เป็นต้น
           10.อาหาร เช่น ช็อกโกcลต ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเกิดสิว แต่หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่ารับประทานอาหารชนิดใดแล้วสิวขึ้นอยู่เสมอ ก็ควรหลีกเลี่ยง
           การดูแลรักษาสิว
           1.ล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ วันละไม่เกิน 2 ครั้ง แล้วซับน้ำออกเบาๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ยา เพราะอาจแรงเกินไป ทำให้ระคายเคืองผิว จนผิวแห้งและลอกได้ หากหน้ามันระหว่างวัน ล้างด้วยน้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว
           2.งดใช้เครื่องสำอางทุกชนิด ทั้งครีมทาหน้าและเครื่องแต่งหน้า แต่ถ้าหากคุณผู้หญิงทำใจไม่ได้ ก็ควรเลือกเครื่องสำอางที่ระบุว่าไม่ทำ
    ให้เกิดสิว และล้างออกให้สะอาดหมดจดหลังการใช้
           3.ไม่ควรถูหน้าแรงๆ เพราะจะทำให้เป็นสิวมากขึ้นได้
           4.ไม่บีบหรือแกะสิว เพราะจะทำให้การอักเสบลุกลามหรือรุนแรงขึ้น และทำให้เกิดแผลเป็น
           5.พักผ่อนให้เพียงพอ แม้การนอนดึกจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดสิว แต่ก็อาจทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้นได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะเชื้อแบคทีเรียถือโอกาสจู่โจมในช่วงที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ
           
           
    สำหรับยารักษาสิวมีทั้งยาทาและยารับประทาน ถ้าเป็นน้อย ใช้ยาทาเฉพาะที่ก็เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้รับยาที่เหมาะสม ซึ่งอาจหาซื้อใช้ได้เอง แต่ต้องอ่านวิธีใช้ให้เข้าใจก่อน
           
           ยารักษาสิวมีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่มยาปฏิชีวนะชนิดทา ช่วยทำให้สิวอุดตันหลุดออก ลดการอักเสบและยุบไป แพทย์จะบอกวิธีใช้โดยละเอียด เพราะยาทาทุกชนิดอาจเกิดการระคายเคืองได้
           ถ้าเป็นสิวอักเสบมาก แพทย์อาจให้ยารับประทานร่วมกับยาทาด้วย ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคนและดุลพินิจของแพทย์ ยารับประทานมักเป็นยาปฏิชีวนะ เพื่อไปลดจำนวนแบคทีเรีย ทำให้กรดไขมันลดลง ลดการอักเสบของสิว
           ถ้าเป็นสิวชนิดรุนแรงที่เป็นถุงซีสต์ แพทย์อาจให้ยารับประทานกลุ่มกรดวิตามินเอ ซึ่งต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ผิวหนังอย่างเคร่งครัด ไม่มีการซื้อมารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะมีผลข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อทารกในครรภ์ หากมีข้อสงสัยควรถามรายละเอียดจากแพทย์ที่ให้การรักษา

    si nd si nd
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×