ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดความรู้ต่างๆจร้า

    ลำดับตอนที่ #10 : ทาน “ปลาย่าง-ปลานึ่ง” ป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    • อัปเดตล่าสุด 3 มี.ค. 50


         “ปลา”ไม่ใช่เพียงแค่กินแล้วฉลาด แต่หากกินปลาอย่างฉลาด โดยการย่างหรือนึ่งจะช่วยป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งหากไม่ป้องกัน ดูแล มีโอกาสเสี่ยงสูงในการทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน และกลายเป็นอัมพาตในที่สุด
         ศ.นพ. เกียรติชัย ภูริปัญโญ อายุรแพทย์โรคหัวใจ สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท-ปิยะเวท กล่าวว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Atrial Fibrilllation ถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง สาเหตุเกิดมาจากมีจุด หรือ ตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจทำให้การหดตัวของหัวใจช่องบนผิดปกติ มีผลให้การหมุนเวียนของเลือดที่สูบฉีดในหัวใจติดขัด ทำให้เลือดค้าง และเกิดลิ่มเลือดขึ้นในตำแหน่งช่องบนของหัวใจ ซึ่งลิ่มเลือดนี้มีโอกาสที่จะหลุดจากหัวใจไปตามอวัยวะต่างๆ ขอร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะไปที่สมอง และทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน และกลายเป็นอัมพาตในที่สุด
         ผลที่ได้จากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมอายุรแพทย์หัวใจในอเมริกา (American Heart Association) ยังแนะนำด้วยว่า การรับประทานปลาทูน่า หรือปลาอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการย่างหรือนึ่งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะตั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ โดยเฉพาะในกลุ่มทั้งหญิงและชายที่สูงอายุ นอกจากนั้น ยังช่วยในเรื่องของการลดความดันโลหิตด้วย อย่างไรก็ตามหากรับประทานปลา แต่เป็นปลาทอด จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงนี้แต่อย่างใด
         ศ.นพ. เกียรติชัย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า อาหารหรือยาบางชนิดมีผลต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน(กาแฟ/ชา) บุหรี่ ยากระตุ้น ที่มีสารคาเฟอีน ยาแก้ปวดบางชนิด นอกจากนั้นอาจมีปัจจัยภายนอกอีกหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน การนอนหลับพักผ่อนไม่พอ ความเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป
         อย่างไรก็ตามในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากมีจุดลัดวงจรไฟฟ้า ปัจจุบันมีวิธีรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90-95 การรักษาโดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าผ่านสายสวนหัวใจ การรักษาดังกล่าวใช้วิธีการเจาะหลอดเลือดบริเวณต้นขา สอดสายสวนหัวใจเข้าไปหาตำแหน่งของทางลัดวงจรไฟฟ้าในหัวใจ เมื่อหาตำแหน่งได้แล้วก็ผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุผ่านสายสวนหัวใจไปยังตำแหน่งดังกล่าวกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ นั้น จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความร้อน และทำให้อุณหภูมิที่ปลายสายสวนหัวใจเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา หรือเท่ากับน้ำอุ่นๆ ทำให้ทางลัดวงจรไฟฟ้าดังกล่าวถูกทำลายไป ปัจจุบันการรักษาโดยวิธีจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้านี้ ทำให้คนไข้ประมาณร้อยละ 90-95 หายขาดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วันก็สามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ


    si ndsi nd
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×