ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #9 : เนบิวล่า

    • อัปเดตล่าสุด 6 พ.ค. 54


    การรวมตัว กลุ่มฝุ่นหมอกควันของก๊าซ ที่แพร่กระจาย คือมวลสสาร (Matter)
    หากมีความหนาแน่น และขนาดใหญ่เพียงพอ สามารถเป็นแหล่ง
    ก่อตัวของดาว

    ภายในกลุ่มก๊าซเหล่านี้มักมีดวงดาวเกิดใหม่ ความร้อนสูงมากปลดปล่อยพลังงาน
    ก๊าซมีส่วนประกอบ ของ Hydrogen ออกมากระทบ กลุ่มก๊าซอวกาศเกิดลักษณะ
    เหมือนแสง เรียกว่า Emission Nebula (เนบิวล่าแบบเรืองแสง) ซึ่งเป็นอะตอม
    และละอองของไอออน (Ionized) จากรังสี Ultraviolet ของดาว

    เนื่องจาก
    จักรวาล อุดมสมบูรณ์ไปด้วย Hydrogen ทั้งหมดผสมรวมใน Nebula
    สามารถแสดงปฏิกิริยาเป็นสีแดง สีเขียว ด้วยละอองของไอออน ที่แพร่กระจาย
    ด้วยการสะท้อนจาก Oxygen เราจึงเห็นภาพถ่าย Nebula เป็นสีต่างๆได้ตามธาตุ
    ของกลุ่มฝุ่นหมอกนั้นๆ

    ถ้าจำนวนรังสี Ultraviolet มีจำนวนมาก บริเวณ Nebula นั้นอาจมีความสว่างไสว
    มากกว่าดาว ส่วนบางกลุ่มดาว มีความร้อนน้อยกว่ากลุ่มก๊าซอวกาศจึงได้รับเพียง
    ผลกระทบสะท้อน แสงจากดาวมองเห็นเป็นแสงสีขาว หรือน้ำเงินอ่อนๆ (Bluish)
    เรียกว่า Reflection Nebula (เนบิวล่าแบบสะท้อนแสง)









    --------------------------------------------------------------------------------------------------------

    Planetary Nebula : เนบิวล่าคล้ายดาวเคราะห์

    เป็นการเปล่ง ปลดปล่อยแสงจากพลังงาน ที่เผาไหม้แกนกลางของดาว ในสถานะ
    ใกล้หมดลง ที่สุดบริเวณเปลือกของดาวฤกษ์นั้นเต็มไปด้วย มวลของก๊าซพลังงาน
    สูงมองเห็นแสงสว่างรอบๆ ลักษณะแสงที่เกิดขึ้นรอบๆนั้นมีรูปแบบปลดปล่อยออก
    มาแบบวูบวาวเป็นจังหวะทั้งกลุ่ม ขอบเขตใหญ่โตมาก

    การปลดปล่อยแสงดังกล่าวนั้น พร้อมการระเบิดพุ่งออกมา ด้วยลักษณะเศษซาก
    แตกกระจายคล้ายดาวหาง พุ่งกระจายตัวทุกทิศทาง มีควันเป็นทางยาวหลายไมล์

    มองเข้าไปส่วนใน เห็นดาวที่มีความร้อนแสงสว่างโชติช่วงอยู่ใจกลาง แสงที่เห็น
    เป็นชนิด Ultraviolet จากใจกลางที่เป็นก๊าซ เกิดจากละอองสนามแม่เหล็ก เป็น
    การเกิดขึ้นอย่างยาวนานต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่เหลืออยู่ อาจ นานนับหลาย
    พันหลายหมื่นปี หรือมากกว่านั้น เชื่อว่ากาแล็คซี่ทางช้างเผือก มีกว่า 10,000 แห่ง

    หมายเหตุ Planetary Nebula ไม่ใช่ ดาวเคราะห์ นักดาราศาสตร์สมัยโบราณใช้
    กล้องดูดาว ขนาดเล็กสังเกตเห็นว่าคล้ายดาวเคราะห์ จึงตั้งชื่อดังกล่าว










    -------------------------------------------------------------------------------------------------------

    Supernova Remnants Nebula : เนบิวล่าสว่างแบบฉับพลัน

    ดาวในจักรวาล มีความใหญ่โต กว่า ดวงอาทิตย์ อย่างน้อย 3เท่า หรือถึงหลายร้อย
    เท่า หลังจากปลดปล่อยพลังงานหมด จุดสิ้นสุดพัฒนาการกลายเป็น ดาวแคระขาว
    (White Dwarf) บางทีใกล้ก่อนถึงจุดนี้ จะเกิดปฏิกิริยาปะทุแตกกระจายตัวอย่าง
    รุนแรง แสงสว่างระเบิดเพิ่มขึ้นอีก ถึง 10 พันล้านเท่า เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์

    การผลักดันจากเปลือกดวงดาวครั้งยิ่งใหญ่ มหาศาล เรียกว่า Supernova Type II
    แต่ในทางกลับกัน หากมวลสสารของ ดาวแคระขาวลดลง แต่สามารถแตกกระจาย
    ได้เช่นกัน เรียกว่า Supernova Type I ทั้ง 2 ประเภทรวม เรียกว่า Supernova
    Remnants เช่น Crab Nebula Supernova Remnant





    Supernova Remnants Nebula
    ระเบิดแตกตัวอย่างรุนแรงใช้เวลายาวนานต่อเนื่องหลายแสนถึงหลายล้านปี
    (บนซ้าย-ขวา) เส้นผ่าศูนย์ 600 ปีแสงและ 1,500 ปีแสง
    (ล่างซ้าย) ขนาด 10,000 ปีแสง เป็นแบบ Supernova Type I
    (ล่างขวา) ขนาด 13,000 ปีแสง เป็นแบบ Supernova Type II

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    Dark Nebula : เนบิวล่ามืด

    คือ กลุ่มก๊าซหมอกหนาทึบ มองเห็นได้เพราะแสงจากวัตถุ ด้านหลังของเนบิวล่ามืด
    นั้นฉายผ่านออกมา มีความแตกต่างจากเนบิวล่าอื่นๆทั้งหมด ในบริเวณเนบิวล่ามืด
    จะไม่มีแสงจากดาวที่อยู่ใกล้เคียง



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×