ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #8 : ดาวตก จากดาวหางฮัลเล่ย์

    • อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 54




    ฝนดาวตก (Meteor shower) เป็นปรากฎการณ์ปกติของฟากฟ้า ถ้าสภาพอากาศ เปิดทุกครั้งที่มองเห็นฝนดาวตก อาจทำให้จิตนาการเ ปรียบเสมือนสงครามบน
    ท้องฟ้า เพราะมีการแตกระเบิดขึ้นเป็นระยะๆ ทั้งหมดเกิดในชั้นบรรยากาศที่ห่าง
    ไกลโลก

    Halley's Comet (ดาวหางฮัลเล่ย์) นับเป็นดาวหางซึ่งเป็นที่รู้จักดี โดยมีคาบโคจร
    เข้ามายังดวงอาทิตย์
    (Sun) ทุกๆ 76 ปี แต่ละครั้งที่หมุนวนเข้ามา จะเข้าปะทะกับ
    ไอร้อนของดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งและหิน ของนิวเคลียส (Nucleus) ดาวหางนี้
    ละลายหายไปราวๆ 6 เมตร หลงเหลือกลายเป็นผงธุลี เศษซากเม็ดทราย วิ่งลาก
    ออกเป็นทางยาวตามทางโคจร ในอวกาศ เศษชิ้นจิ๋วดังกล่าว เรียกว่า สะเก็ดดาว
    หรือดาวตก
    (Meteor)

    การโปรยปรายของฝนดาวตก ออกมาเป็นสะเก็ดดาว มีส่วนประกอบของจุลชีพ
    จากต่างดาว ในวันนี้มีหลักฐานถึง ต้นกำเนิดแห่งชีวิตบนโลก
    (Origin of Life)
    ดังนั้นดาวหาง เปรียบเสมือนแมลงตัวเล็กๆในระบบสุริยะ ที่วนเวียนนำพาเอา
    องค์ประกอบทางเคมี เข้ามาในระบบสุริยะชั้นในเสมอมา


    นิวเคลียส (Nucleus) ของ ดาวหาง


    เราจะมีโอกาสพบกับ Halley's Comet จริงๆ ในปี ค.ศ. 2061 คือ อีกราว 50 ปี
    ข้างหน้า จากครั้งสุดท้ายเมื่อ 26 ปีมาแล้ว ในปี ค.ศ. 1986 เพราะทางโคจรของ
    Halley's Comet นั้นยาวไกลมาก ลึกออกไปยัง ระบบสุริยะชั้นนอก (Outer solar
    system)

    แต่สิ่งที่หลงเหลือทิ้งไว้ คือ เศษซากแสดงตัว เป็นฝนดาวตก (Meteor shower)
    ปีละ 2 ครั้ง จะพบ ในเดือน พฤษภาคม เรียกว่าฝนดาวตก Eta Aquarids (อีต้า-
    อะควอลิค) และเดือนตุลาคม เรียกว่าฝนดาวตก Orionids (โอไลโอนิค) ทุกปี

    ความสำคัญของปี ค.ศ.2011 คือ ฝนดาวตก Eta Aquarids เกิดขึ้นในช่วงเดือน
    มืดปราศจากแสงจันทร์รบกวน โดยมีอัตราสูงสุด 120 ดวงต่อชั่วโมง (อย่างน้อย
    เห็นได้ 10-40 ดวงต่อชั่วโมง) มีความเร็วในการเคลื่อนที่ 66 กิโลเมตร/วินาที
    หรือ 148,000 ไมล์/ชั่วโมง บริเวณตำแหน่งกลุ่มดาว Aquarius (คนแบกหม้อน้ำ)
    ด้านทิศตะวันออกของท้องฟ้า ในวันที่ 5-6-7 พฤษภาคม 2554 ตั้งแต่ 02.00 น.
    เป็นต้นไปจนรุ่งสาง ยกเว้นสภาพอากาศมีเฆมมากอาจเป็นอุปสรรคได้


    ตำแหน่ง ฝนดาวตก Eta Aquarids ในวันที่ 5-6-7 พฤษภาคม 2554 ตั้งแต่ 02.00 น.เป็นต้นไป


    ภาพถ่าย Halley's Comet (ดาวหางฮัลเล่ย์) เยือนโลกเมื่อ ค.ศ. 1986

    Halley's Comet (ดาวหางฮัลเล่ย์) ร่างขึ้นโดยฝีมือ Caroline Herschel เมื่อ ค.ศ. 1836

    ข้อแนะนำการเตรียมตัว ดูฝนดาวตก
    -----------------------------------------
    สำหรับการดูฝนดาวตก ไม่จำเป็นต้องใช้กล้องดูดาว สามารถมองด้วยตาเปล่า
    ชัดเจน โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

    1.ควรศึกษาวัน-เวลา และทิศ ที่จะปรากฎของฝนดาวตก ไว้ล่วงหน้า
    2.ควรตรวจสอบสภาพอากาศ ในวันที่จะปรากฎของฝนดาวตก ไว้ล่วงหน้า
    3.เลือกสถานที่ ที่จะสังเกตการณ์ฝนดาวตก เช่น บริเวณชนบท ชานเมือง
    หรือในทุ่งโล่ง ที่ไม่มีต้นไม้ อาคารบังแนวทิศของฝนดาวตก
    4.ควรเป็นบริเวณห่างจากแสงไฟถนน ไฟอาคาร บ้านเรือน กลุ่มควันทุกชนิด
    5.บริเวณที่จะสังเกตการณ์ฝนดาวตกนอกเมือง ควรพิจารณาความปลอดภัยไว้
    ด้วย เช่น จากสัตว์ป่า ฯลฯ
    6.กรณีดูบนอาคารสูง บนหลังคาในเมือง ให้ระมัดระวังอันตราย จากการพลัดตก
    7.ควรสวมเสื้อผ้ามิดชิด สวมหมวก เพื่อป้องกันสภาพอากาศ และแมลงต่างๆ

    อย่างไรก็ตาม หากสภาพอากาศปิด เช่น มีเมฆฝน ฝนตก หรือในเขตเมืองมี
    แสงไฟสว่างมาก จะไม่สามารถมองเห็นฝนดาวตกได้



    แนวเส้นขอบฟ้า (Horizon) เพื่อการสังเกตวัตถุบนท้องฟ้า
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×