ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #13 : เตือนภัย พายุอวกาศ

    • อัปเดตล่าสุด 26 มิ.ย. 54




    ตลอดช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ (Sun) ก่อให้เกิดพายุสุริยะรุนแรง
    (Solar storms) กระทบไปเป็นวงกว้าง เรียกว่า พายุอวกาศ (Space storm)
    ดูเหมือนจะมีความผิดปกติ เพราะได้สร้างความเสียหายกับดาวเทียมและระบบ
    สื่อสารบางส่วน บนพื้นโลกมาแล้ว ทำให้เกิดคำถามว่า จะเกิดเหตุการณ์อะไร
    รุนแรงหรือไม่ ?

    ในปัจจุบันนี้ บนโลกของเรามีระบบเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเช่น โครงข่ายระบบไฟฟ้า (Smart power grids) บนท้องฟ้ามีดาวเทียมกว่า 20,000 ดวง บางส่วนเกี่ยว
    ข้องกับระบบสื่อสารอินเตอร์เนท ร่วมทั้งระบบ GPS นำร่องการคมนาคม ทาง
    บกทางเรือและทางอากาศ

    สิ่งเหล่านี้แน่นอนว่ามีความเสี่ยงเพราะ พายุสุริยะรุนแรงนั้นเต็มไปด้วยอนุภาค
    ไฟฟ้าสามารถทำให้ระบบต่างๆนั้น ขัดข้องได้ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ใน
    ชีวิตประจำวัน

    ผลจากรายงานของ National Academy of Sciences ในปี ค.ศ. 2008 ที่ผ่าน
    มาระบุไว้ว่าในช่วงศตวรรษนี้ หากเกิดพายุสุริยะรุนแรง อาจจะส่งผลกระทบด้าน
    เศรษฐกิจเป็น 20 เท่า เมื่อเทียบกับของการเกิดพายุ Hurricane Katrinas ใน
    ประเทศอเมริกา ซึ่งได้สร้างความเสียหายขนานใหญ่มาแล้ว

    ดูเหมือนว่า สถานะการณ์ ในปี 2011 จะรุนแรง และยุ่งยากมากขึ้น ด้วยระบบ
    GPS ถูกไม่ไว้วางใจจากสายการบิน และเรือเดินสมุทร ระบบธนาคารเริ่มกังวล
    อาจจะต้องหยุดชะงัก ธุรกรรมทางการเงิน จากระบบ Online ล้มเหลวลงจาก
    พายุสุริยะรุนแรง จากที่ต้องอาศัยการสื่อสารจากดาวเทียม หรือปัญหาระบบ
    โครงข่ายไฟฟ้าหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้่าลง



    สิ่งเหล่านั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ จำเป็นต่อเร่งเรียนรู้ต่อภาวะเสี่ยงภัยดังกล่าว
    เพื่อเป็นหนทาง การแก้ไขในบางเรื่อง โดยสถาบัน GSFC Space Weather Lab
    ได้พัฒนาโปรแกรมการตรวจ สอบทิศทาง พายุสุริยะรุนแรง แบบ 3 dimensions
    แสดงผลการพุ่งปะทะโลก เพื่อเป็นระบบแจ้งเตือนภัยจากอวกาศได้ล่วงหน้า
    ซึ่งจะช่วยปกป้อง ระบบเทคโนโลยี ต่างๆที่อาจต้องพบกับ เหตุการณ์สุดขั้วของ
    การเกิดของ กิจกรรมบนดวงอาทิตย์ (Solar activity) ที่จะส่งต่อมายังโลก

    การพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวนั้น ใช้ข้อมูลจากยานสำรวจจำนวนมาก คอยเก็บ
    ข้อมูลอยู่รอบๆดวงอาทิตย์ โดยประมวลผลลงในระบบ Supercomputers ภาย
    ใน 1 ชั่วโมง หลังเกิดเหตุการณ์บนดวงอาทิตย์ เพียงพอที่จะแจ้งเตือนผลกระทบ
    บนพื้นที่โลก

    โดยจะวิเคราะห์ผล คาดการเส้นทาง แนววิถีการพัด มาของพายุสุริยะรุนแรง
    ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่ นักวิทยาศาสตร์ ต้องพยากรณ์เหตุการณ์สำคัญต่อโลก
    เพื่อการเตือนภัยเช่นนี้ เรียกว่า Emergence of serious physics-based space
    weather models หรือ แบบจำลองภาวะฉุกเฉิกร้ายแรง ของฟิสิกส์ในสภาพ
    บรรยากาศอวกาศ
     
    การเก็บข้อมูลหลัก ประกอบไปด้วยยานสำรวจ Stereo A และ Stereo B โคจรรอบดวงอาทิตย์ ทั้งด้านบน และด้านหลัง และยานสำรวจ Messenger โคจรรอบดาวพุธ
     
     
    Emergence of serious physics-based space weather models
     
    ทางโคจรของ ยานสำรวจ SOHO และ Stereo A และ Stereo B
     
     
    แบบจำลองนี้มีความซับซ้อน สามารถพยากรณ์กระแสไฟฟ้าที่มากับพายุสุริยะ
    และไหลลงดิน เพื่อหาจุดอันตรายที่จะเกิดกับ โครงข่ายระบบไฟฟ้าบนพื้นโลก
    ก่อนล่วงหน้า โดยหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อ
    ชีวิตและทรัพย์สิน

    แน่นอนว่าระบบการเตือนภัย ยังสามารถแจ้งเตือนไปยังประชาชนให้หลีกเลี่ยง
    การเดินทางออกไปนอกบ้านเพื่อความปลอดภัย ถ้าจำเป็น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ
    ต่อการเตรียมพร้อม

    แต่ปัญหาคือ หากเตือนแล้วผู้คนไม่เข้าใจก็จะไม่มีประโยชน์ใดๆเลย อย่างไร
    ก็ตามการคิดอ่าน เพื่อการเตรียมพร้อม ของทีมนักวิทยาศาสตร์นี้นับว่าเป็น
    สิ่งที่ดีเป็นการป้องกัน แม้ข้อมูลที่ผ่านมายังไม่เคยแสดงผลอันตรายต่อชีวิต

    วันข้างหน้าเราคงจะฟังข่าวรายงานอากาศในโทรทัศน์ เรื่องสภาพบรรยากาศ
    อวกาศไปพร้อมๆกับรายงานข่าวอากาศบนโลก และคงซื้อ Application บน
    iTunes ไว้ใน iPhone และ iPod ไว้คอยเตือนภัยส่วนตัว โดยแต่ละคนคงมีชุด
    The Bio-Suit System อยู่ในกระเป๋าข้างตัว หรือมีติดรถไว้ ป้องกันรังสีอันตราย
    ที่อาจหลุดรอดเข้ามาบนโลก ขณะอยู่นอกบ้าน ก็อาจเป็นได้
     
     
    Application ผลงานของ NASA Space Weather Version 1.0.1
    โดย National Aeronautics and Space Administration ใน iTunes
     
     
    The Bio-Suit System ใช้สำหรับมนุษย์อวกาศ สวมใส่ไว้ภายใน คล้ายเป็นชุดชั้นใน
    สามารถ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×