ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #12 : มองโลกจากดาวอื่น

    • อัปเดตล่าสุด 17 มิ.ย. 54


     
     
    การเฝ้ามองดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะ ด้วยความรู้สึกสวยงามและ
    ชื่นชมมีความประทับใจ ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่มีโอกาส มองโลกจากดาว
    เคราะห์อื่นๆ จะมีความรู้สึกเช่นเดียวกันหรือไม่และการมองจากระยะไกล โลกจะ
    มีขนาดเล็กเพียงใด ภาพที่นำแสดงนี้เป็นภาพจริงจากต้นฉบับแท้ ของเจ้าของภาพ
    แต่ละสถาบัน ไม่ได้ตกแต่งใดๆ
     
     
     
    มองขอบชั้นบรรยากาศโลกและดวงจันทร์ จากสถานีอวกาศนานาชาติ

    ภาพถ่ายจากนักบินอวกาศ บน International Space Station ขณะดวงจันทร์เต็ม
    ดวง ลอยเด่นเหนือขอบบรรยากาศ เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 จากระดับความ
    สูง 350 กิโลเมตร

    สถานีอวกาศนานาชาติ โคจรระดับ Low Earth Orbit (LEO) ระหว่าง 160 - 2,000
    กม.เหนือผิวโลก ด้วยความเร็วเฉลี่ย 27,700 กม./ชม. เพราะฉะนั้นโคจรรอบโลก
    ได้ 15.7 รอบต่อวัน
     
     
     
    20
    มองโลกจากดวงจันทร์

    ถ่ายโดยนักบินอวกาศจากยานสำรวจ Apollo 11 เมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1969
    หากมองโลกจากดวงจันทร์ โลกจะมีความสุกใส สว่าง กว่าดวงจันทร์เต็มดวง ราว
    50 เท่า ภาพนี้เป็นการมองโลก จากระยะห่าง 384,400 กม.
     
     
     
    มองโลกจากดาวพุธ

    ภาพเมื่อ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 โดยยานสำรวจ MESSENGER จากดาวพุธ
    เป็นการมองโลกจากระยะห่าง 29.6 ล้านกิโลเมตร (ดวงจันทร์อยู่เบื้องหลังมีระยะ
    ถัดออกไปอีก 384,400 กม.). แสดงให้เห็นว่าเมื่อมองโลกจากดาวดวงอื่น โลกจะ
    มีความสว่างกว่าดวงจันทร์
     
     
     
    มองโลก ดวงจันทร์ และดาวพฤหัสจากดาวอังคาร

    ภาพจาก Mars Global Surveyor (MGS) ขณะโคจรรอบดาวอังคาร เมื่อวันที่ 8
    พฤษภาคม ค.ศ. 2003 เป็นตำแหน่งที่มองโลกจาก MGS ราว 139 ล้านกิโลเมตร
    และ ดาวพฤหัส มีตำแหน่งระยะทางห่างจาก MGS ประมาณ 1,000 ล้่านกิโลเมตร
    ส่วนดวงจันทร์มองเห็นลางเลือนมาก

    (หมายเหตุ ภาพนี้ปรับเฉพาะส่วนความยาวลง 70% เพื่อความสะดวกในการโหลด
    เพราะฉะนั้นในความเป็นจริง จะมีช่องระยะห่าง ของดาวพฤหัสและโลกมากกว่านี้
    สำหรับขนาดวัตถุไม่ได้ปรับแต่ง)
     
     
     
     
    มองโลก และดวงจันทร์ จากดาวอังคาร

    ภาพถ่ายจากยานสำรวจ Mars Reconnaissance ขณะอยู่ในวิีถีโคจร ดาวอังคาร
    เมื่อ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2007 เป็นการมองโลกจากระยะห่าง 142 ล้านกิโลเมตร
    จากภาพมองเห็นโลกและดวงจันทร์ ครึ่งเดียวเพราะด้านข้างที่สว่างนั้นอยู่ตรงข้าม
    กับดวงอาทิตย์ เมื่อมองจากดาวอังคาร
     
     
     
    มองโลกจากดาวเสาร์

    ภาพนี้มองดูคล้ายภาพเขียนขึ้น ข้อเท็จจริงเป็นภาพถ่ายจากกล้อง Wide-angle
    (มุมกว้าง) บนยานสำรวจ Cassini ประกอบขึ้นด้วยจำนวน 165 ภาพ มีขบวนการ
    ด้านเทคนิคองค์ประกอบดิจิตอลของ Ultraviolet , Infrared และ Clear-filter
    โดยนักวิทยาศาสตร์ ให้สีใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ให้ภาพใส จนสามารถ
    เห็นตำแหน่งโลกเป็น จุดเล็กใต้แนววงแหวนของ ดาวเสาร์นั่นหมายความเป็นการ
    มองโลกจากดาวเสาร์ ย้อนเข้ามามีระยะทาง 8.55 AU.
     
     
     
     
     
    ดาวโลกขึ้น-และดาวโลกตก

    เป็นผลงานของ The Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และ
    NHK (Japan Broadcasting Corporation) โดยยานสำรวจดวงจันทร์ KAGUYA
    (SELENE) สังเกตการณ์เหนือผิวดวงจันทร์ 100 กม.เพื่อถ่ายภาพ ปรากฎการณ์
    โลกขึ้นและโลกตกบนดวงจันทร์ ให้ผู้คนบนโลกมีโอกาสเห็นเมื่อ 7 พฤศจิกายน
    ค.ศ. 2007 เป็นการมองโลกจากระยะห่าง 384,400 กม.

    ภาพบน พื้นที่ดวงจันทร์บริเวณขั้วเหนือ เป็นตำแหน่งที่สามารถสังเกตเห็นจาก
    Arabian Peninsula และ Indian Ocean ได้
    ภาพกลาง พื้นที่ดวงจันทร์บริเวณขั้วใต้ เป็นตำแหน่งที่สามารถสังเกตเห็นจาก
    กลุ่มทวีป Australian และทวีป Asian ได้
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×