ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #10 : กลุ่มดาราจักร

    • อัปเดตล่าสุด 9 พ.ค. 54





    Galaxy : กลุ่มกาแล็คซี่ หรือกลุ่มดาราจักร

    เกิดขึ้นด้วยความแข็งแกร่ง มั่นคง ด้วยการผูกมัดกันของแรงดึงดูด ขนาดใหญ่
    ซึ่งได้รวบรวม กลุ่มดาว กลุ่มสสารมืด (Dark matter) ทั้งฝุ่นหมอกอวกาศจึงรวม
    เป็นวัตถุ ที่มีขนาดกว้าง ยาว ใหญ่ขึ้น เต็มด้วยแสงโชติช่วง รังสีความร้อนสูงมาก
    ความหนาแน่นของมวล

    ความแตกต่างของ ประเภทกาแล็คซี่เกิดด้วยเงื่อนไขเหตุผล โดยสังเขปดังนี้
    ถ้าก่อนหน้า ก๊าซทั้งหมดที่เป็นวัตถุดิบ ทำให้การก่อตัวกำเนิดดาว มีเวลาเพียงพอ
    ต่อขบวนพัฒนาการของกาแล็คซี่เอง ก็จะก่อรูปร่างขึ้นเป็นแผ่นจานกลม (Disk)
    ทำให้เกิดกาแล็คซี่คล้ายรูปไข่ (Elliptical galaxy)

    ถ้าก๊าซทั้งหมด มีเวลาสร้างความมั่นคงและเสถียร ทำให้การก่อตัวภายในแผ่นจาน
    กลม ก่อให้เกิดกาแล็คซี่คล้ายกังหัน (Spiral galaxy)

    บางกรณีกาแล็คซี่คล้ายรูปไข่ สามารถแปรสภาพกลมกลืนไปกับกาแล็คซี่ประเภท
    อื่นได้ การสำรวจที่ผ่านมา มีการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงประเภทของกาแล็คซี่
    ดังนั้น กาแล็คซี่คล้ายกังหัน อนาคตอาจเป็นกาแล็คซี่คล้ายรูปไข่ได้เช่นกัน

    ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาใหญ่คือ มวลในกาแล็คซี่ ยังไม่ทราบทั้งหมด ถึงกลไกการ
    ก่อตัวกาแล็คซี่ ทั้งนี้เป็น การวิวัฒน์อย่างสืบเนื่องของจักรวาล โดยอาจมีเรื่องของ
    หลุมดำ และควอซาร์ เข้ามาเกี่ยวข้องใน ระบบกลไกการก่อตัวดังกล่าวด้วย

    โดยแบ่งประเภท ตามหลักเกณฑ์ของ Types of galaxies classified by Hubble
    หรือจากความนิยมทั่วไป ของนักดาราศาสตร์ ดังนี้

    Spiral Galaxy : ดาราจักรกังหัน

    ลักษณะแบบมี แผ่นจานของกาแล็คซี่ (Galactic disk) ขนาดใหญ่ ตรงกลางเป็น
    กระเปาะกลม มีแขน (Arm) เหยียดออกไป หลายอันเป็นเกลียว เหมือนกังหัน
    โดยมี2 องค์ประกอบหลัก

    องค์ประกอบที่ 1 ภายในเต็มไปด้วย มวลสสารของดวงดาว (Interstellar Matter)
    มีสีแดงเรือๆ (Reddish) หรือกลุ่มหมอกดำ มีกระจุกดาวใหม่เหตุด้วยมีมวลสาร
    เพียงพอต่อการก่อตัวดาว สังเกตว่าจะมีดาวแสงฟ้าอ่อน (Bluish) บริเวณแขนของ
    กาแล็คซี่ อยู่เป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars)

    องค์ประกอบที่ 2 เต็มไปด้วย กลุ่มดาวเก่าแก่ มักมี กระจุกดาวแบบทรงกลม อยู่ใน
    บริเวณกระเปาะ เห็นมวลรัศมี แสงกระจายวงกลมเด่นชัดอยู่ตรงกลาง เมื่อมองจาก
    ระยะไกล โดยกลุ่มดาวเก่าแก่ดังกล่าว มีอายุมากกว่าดวงอาทิตย์ เป็นพัฒนาการ
    ดาวก้าวไปสู่การขยายตัว เปลี่ยนสภาพเป็น ดาวยักษ์สีแดง (Red giants) สังเกต
    ว่าดาวเหล่านี้ มีสีแดงหรือส้ม ท้ายที่สุดเมื่อก็าซซึ่งเป็นวัตถุดิบพร่องลง ก็จะก้าวสู่
    สภาพดาวหมดอายุขัย


    NGC 3184 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 60 ล้านปีแสง ขนาด 30,000 ปีแสง
    ลักษณะตามองค์ประกอบที่ 1 คือ มีดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars) สีฟ้าอ่อน
    เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆบริเวณแขนกาแล็คซี่ ภายในมีสีแดงเรือๆ แสดงถึงลักษณะมวลสสาร


    NGC 3184 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 40 ล้านปีแสง
    ลักษณะตามองค์ประกอบที่ 1 คือ มีดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars) สีฟ้าอ่อน
    เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆบริเวณแขนกาแล็คซี่ ภายในมีสีแดงเรือๆ แสดงถึงลักษณะมวลสสาร

    M 51 Spiral Galaxy (Whirlpool) ห่างจากดวงอาทิตย์ 37 ล้านปีแสง ขนาด 118,000 ปีแสง
    ลักษณะตามองค์ประกอบที่ 1 คือ มีดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars) สีฟ้าอ่อน
    เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆบริเวณแขนกาแล็คซี่ ภายในมีสีแดงเรือๆ แสดงถึงลักษณะมวลสสาร


    M 81 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 11.6 ล้านปีแสง ขนาด 72,000 ปีแสง
    มีลักษณะตามองค์ประกอบที่ 2 คือ จุดศูนย์กลางมีมวลรัศมีใหญ่และชัด
    แสดงถึงกลุ่มกระจุกดาวเก่าแก่สีแดง เป็นจำนวนมาก และมีหลุมดำขนาดมวล 70 ล้านเท่า
    ของดวงอาทิตย์ อยู่บริเวณแกนกลางด้วย



    NGC 7742 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 72 ล้านปีแสง ขนาด 3,000 ปีแสง
    มีลักษณะตามองค์ประกอบที่ 2 คือ จุดศูนย์กลางมีมวลรัศมีใหญ่และชัดแสดงถึง
    กลุ่มกระจุกดาวเก่าแก่สีแดง เป็นจำนวนมาก และ มีหลุมดำอยู่บริเวณแกนกลางด้วย
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    Lenticular Galaxy : ดาราจักรคล้ายเลนซ์

    แท้จริงแล้วเป็น กาแล็คซี่แบบกังหัน แต่สั้นกว่า ไม่มีลักษณะขดเป็นวงแบบกังหัน
    ส่วนแผ่นจาน (Disk) ดูนุ่มนวล (Smooth) เนื่องจากมีการหยุดพัฒนา รูปแบบของ
    ดาวภายในกาแล็คซี่มายาวนาน

    เหตุผลมวลพลังงานได้ใช้ไปเกือบหมดสิ้นเป็นเงื่อนไข เกิดขึ้นจากองค์ประกอบที่
    2 (ของกาแล็คซี่แบบกังหัน) ซึ่งดาวเก่าแก่ภายในกาแล็คซี่ ถึงวาระหมดอายุขัย
    เป็นส่วนใหญ่ หากสังเกตกาแล็คซี่ ลักษณะคล้ายเลนซ์ มีลักษณะเกือบไม่แตกต่าง
    กับกาแล็คซี่รูปไข่ เมื่อมองจากระยะไกลจากโลก








    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------
    Elliptical Galaxy : ดาราจักรรูปไข่

    ลักษณะรูปทรงดูเหมือนไข่ อย่างชัดเจน (บางครั้งเรียกว่า Cosmic Football) โดย
    กาแล็คซี่แบบนี้ แต่ละมุมเหมือนมองแล้ว แทบไม่มีความเคลื่อนไหว ในความเป็น
    จริงการเคลื่อนไหว มีศูนย์กลางที่นิ่งมาก (โดยตามสถิติตัวเลขข้อมูลดาราศาสตร์
    มีการเปลี่ยนแปลง ของมุมน้อยมาก)

    เป็นกาแล็คซี่ขนาดเล็ก ไม่มีมวลสสารดวงดาว (Interstellar Matter) มีเงื่อนไข
    การก่อตัวแบบองค์ประกอบที่ 2 (ของกาแล็คซี่ แบบกังหัน) มวลรัศมีของแสงดู
    คล้ายกระเปาะของกาแล็คซี่แบบกันหัน แต่จะไม่มีแผ่นจาน (Disk)

    อย่างไรก็ตามเคยสำรวจพบว่าบางกาแล็คซี่แบบรูปไข่บางแห่งก็มี แผ่นจาน (Disk)
    ขนาดเล็กเป็นองค์ประกอบ อยู่ภายในเช่นกัน จึงอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของ
    ลักษณะรูปแบบของกาแล็คซี่ประเภทนี้








    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------
    Barred Spiral Galaxy : ดาราจักรกังหันมีแถบ (และกระเปาะตรงกลาง)

    เป็นดาราจักรแบบกังหัน ที่มีส่วนประกอบหลักแผ่นจานกลมตรงกลาง เป็นกระเปาะ
    กลมและมีแขนเชื่อมต่อหมุนออกมาโดยรอบ เป็นองค์ประกอบ ลักษณะของแถบ
    แนวขวาง (Bar) พาดผ่านใจกลางดาราจักร มักมีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่ง ของขนาด
    กังหันทั้งหมดในดาราจักร

    แถบแนวขวางนั้น เกิดจากผลกระทบ ระหว่างการเคลื่อนไหวจากกลุ่มก๊าซของดาว
    ภายในวงกังหันของดาราจักรตนเอง




    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    Irregular Galaxy : ดาราจักรรูปทรงผิดปกติ

    เหตุจากเกิดแรงดึงดูดของ กลุ่มมวลสสารอวกาศข้างเคียงทำให้เกิดการบิดเบี้ยวผิด
    รูปร่างไปเหมือนไร้รูปทรงที่ชัดเจน พบว่ามีส่วนบิดเบี้ยวของแผ่นจาน (Disk) จึงทำ
    ให้รูปร่างแปลกประหลาดกว่า กาแล็คซี่แบบอื่นๆ ในจักรวาล






    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    Interacting Galaxy : ดาราจักรเกิดปฎิกิริยาต่อกัน

    ด้วยดาราจักรหนึ่ง มีแรงโน้มถ่วงไปเกี่ยวพันกับดาราจักรอื่น จนเกิดการดึงดูดเข้า
    พุ่งเข้ารวมตัวกัน จากสาเหตุ ดาราจักรนั้นมี ดาราจักรบริวาร (Satellite galaxy)
    จึงมีความเกี่ยวพันกันแต่เดิม จากแขนกังหันของดาราจักร หรือจากกรณีชนปะทะ
    กัน (Collision) โดยลักษณะการรวมตัวจะมีความวุ่นวายภายใน ของมวลก๊าซลาก
    ยาวเป็นแนวทางยาวหลายร้อยปีแสง หรือมากกว่านั้นสำหรับดาราจักรขนาดใหญ่
    และใช้เวลานานมาก นับอีกหลายล้านปีจึงสงบนิ่ง




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×