ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #109 : ใครเป็นใครใน“พรรคการเมืองใหม่”ฉบับอัพเดตรับกรรมการบริหารชุดใหม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.16K
      1
      4 ก.ค. 53

    ในที่สุดผลจากมติของมวลชน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ก้าวเข้าสู่การเมืองรัฐสภา ด้วยการตั้งพรรคการเมืองที่ชื่อว่า “การเมืองใหม่”

    โดยมีแกนนำพันธมิตรฯ “สมศักดิ์ โกศัยสุข” เป็นหัวหน้าพรรคชั่วคราว และ “สุริยะใส กตะศิลา” เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งเตรียมยื่นจดทะเบียนขอจัดตั้งพรรคอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มิถุนายนนี้

    ชื่อของ “พรรคการเมืองใหม่” ถูกเสนอในคอลัมน์คนปลายซอย ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยคอลัมนิสต์ เปลว สีเงิน เห็นว่า ชื่อ “พรรคการเมืองใหม่” น่าจะมีความเหมาะสมที่สุด

    เนื่อง จากพรรคใหม่นี้จะต้องไม่เป็นของคนเสื้อเหลือง ทั้งจะต้องเป็นพรรคที่ไม่มีแบ่งแยกสีเสื้อต่างๆ ส่วนชื่อพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นควรจะสงวนไว้ให้เป็นสมบัติ กลางของมวลชน และนำไว้ใช้ย้ำเตือนถึงปณิธานของการเคลื่อนไหวแต่ดั้งเดิมด้วย

    ในที่ประชุมได้ข้อสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าจะใช้ชื่อ “พรรคการเมืองใหม่” โดยมีเหตุผลว่า ชื่อพรรคการเมืองใหม่ มีนัยที่แสดงถึงการต่อสู้ที่ต้องการจะให้เกิดการเมืองใหม่ ที่มีพลังบริสุทธิ์ และเป็นพลังที่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบเก่าไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยจะใช้ชื่อตัวย่อภาษาไทย คือ ก.ม.ม. และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า NEW POLITICS PARTY ชื่อย่อ N.P.S.P.

    ขณะที่ชื่อของคณะกรรมการบริหาร พรรคการเมืองใหม่ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นแกนนำพันธมิตรฯ จากแต่ละภูมิภาค และแนวร่วมที่เคยสนับสนุนการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็น นางภินันทน์ โชติรสเศรณี รองหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ และเป็นแกนนำพันธมิตรฯ กาญจนบุรี

    นางลักขณา ดิษยะศริน เหรัญญิกพรรค เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ ดิ อเมริกัน ออฟ แบงค็อก ซึ่งมี น.ส.ลักขณา ดิษยะศริน (ตะเวทิกุล) ผู้จัดการโรงเรียน เจ้าของบริษัท ยูนิคอม จำกัด ที่เคยผลิตรายการเด็กในตำนานอย่างจิ๋วแจ๋วเจาะโลก เป็นกรรมการบริหารพรรคร่วมด้วย พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ โฆษกพรรค อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง (นปข.) กองทัพเรือ

    กรรมการบริหารพรรค อย่างนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นแกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก, นางชญาบุญ เพชรพรหม หรือ "เจ๊กอบ" ก็เป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี, น.ส.นิตายา กุระคาน แกนนำพันธมิตรฯ จ.ตาก และภาคเหนือตอนล่าง, น.ส.อาภารัตน์ ชาติชุติกำจร แกนนำพันธมิตรฯ จ.ภูเก็ต, น.ส.ฉัตรกุล คำมีอ่อน นายกสโมสรโรตารี-คุณหญิงโมโคราช (2551-2552), นางชญาดา ศริญญามาศ แกนนำพันธมิตรฯ พิมาย จ.นครราชสีมา

    นายวิลิต เตชะไพบูลย์ ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลเตชะไพบูลย์ อดีตเก้าอี้กรรมการผู้จัดการโรงแรมรีเจนท์ชะอำ ที่ผันตัวเองเป็นชาวนา และเป็นแกนนำเครือข่ายเกษตรกรแห่งประเทศไทย, นายสมศักดิ์ อิสมันยี หรือ อ๊อด ศิลปินจากวงคีตาญชลี , นางเสาวนีย์ รุ่งช่วง แกนนำพันธมิตรฯ ปากช่อง จ.นครราชสีมา, น.ส.พรชุลี คงขวัญ ญาติของ น.ส.กมลวรรณ หมื่นหนู หรือน้องโบ ที่เสียชีวิตจากระเบิดในการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่30 พฤศจิกายน 2551, นางเสน่ห์ หงส์ทอง แกนนำโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ภริยาของนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย , ทพญ.กาญจนา กาญจนเสวี แพทย์อาสาพันธมิตรฯ 

    อย่างไรก็ตาม ในเช้าวันนี้ (4 มิถุนายน) ซึ่งเป็นวันที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นจดทะเบียนพรรคการ เมืองใหม่ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีชื่อของกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม ได้แก่

    นายอมรเทพ (อมร) อมรรัตนานนท์ เป็นคนเดือนตุลา อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี 2519 เคยเข้าป่าถือปืนร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เขตงานสุราษฎร์ธานี โดยมีเพื่อนร่วมเขตงานเดียวกันคือ สุวิทย์ วัดหนู

    ใน เหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้เข้าร่วมกับ คณะการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ขับไล่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และต่อมาเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา ปี 2540-2542 จากนั้นเข้าทำงานในพรรคไทยรักไทย หนึ่งในคณะทำงานงานของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แต่ลาออกมา กระทั่งเข้าร่วมชุมนุมขับไล่อดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร่วมกับพันธมิตรฯ

    เคยลงสมัคร ส.ส.พรรคมัชฌิมาธิปไตย ลงเลือกตั้งในเขต 12 (บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา) แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการชุมนุมของพันธมิตรฯ ขับไล่นายกฯ สมัคร สุนทรเวช เขาทำหน้าที่เป็นโฆษกบนเวที และถูกรัฐบาลสมัครตั้งข้อหากบฎร่วมกับแกนนำพันธมิตรฯ และแนวร่วม 9 คน

    นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ ผู้ประสานงานสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย เลขาธิการเครือข่ายชาวนาภาคกลาง ซึ่งโดยอาชีพเธอเป็นชาวนา จ.ชัยนาท

    นายสุทิน ธราทิน ตัวแทนสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) ซึ่งมีความใกล้ชิดกับนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เคยเป็นแกนนำหยุดงานเพื่อต่อต้านบริษัทเอกชนฯ ที่ได้สัมปทานจากการรถไฟฯ นำรถมาวิ่งบนเส้นทางของการรถไฟฯ จนถูกเอาเปรียบเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ค่าจ้าง และวันเวลาในการทำงาน เมื่อปี 2531 เคยเป็นผู้จัดการแผนงานสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    นายชาลี ลอยสูง ประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาน

    น.ส.นริศวรรณ ศรีประยูรธรรม เท่าที่ทราบไม่มีข้อมูล แต่เมื่อค้นข้อมูลย้อนหลัง บุคคลที่เป็นนามสกุลใกล้เคียง คือ พ.ต.ท.นริศ ศรีประยูรธรรม พนักงานสอบสวน (สบ3) กองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (บก.ปปป.)

    ที่น่าตะลึงสำหรับชื่อของ “นายบรรจง นะแส” แกนนำพันธมิตรสงขลาเพื่อประชาธิปไตยและผู้ประสานงานพันธมิตร 14 จังหวัดภาคใต้ และเคยเป็นแกนนำคัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ก็มีชื่อติดโผเป็นกรรมการบริหารพรรค

    ส่วน รองเลขาธิการพรรค สำหรับชื่อของ “นายพิชิต ไชยมงคล” หรือ “ตาตั้ม” บนเวทีพันธมิตรฯ อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2546 ซึ่งถือว่าเป็นคนใกล้ชิดนายสุริยะใส ในฐานะคณะทำงานของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขณะที่นางภาณุมาศ พรหมสูตร ซึ่งเป็นผู้จดทะเบียนพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กกต.ไม่อนุญาตให้จดทะเบียน ก็มีชื่อเป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค

    อาจกล่าวได้ว่า คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ในเบื้องต้น ล้วนแล้วแต่เป็นแกนนำและแนวร่วมพันธมิตรฯ แทบทั้งหมด แต่ก็คนที่ขับเคลื่อนภาคประชาชนมาก่อน ซึ่งต่อไปนี้การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะยังคงยึดเสื้อสีเหมือนการเคลื่อนไหว ของพันธมิตรฯ แต่ก่อนหรือไม่ คงต้องติดตามหลังการก่อตั้งพรรคการเมืองแห่งนี้เกิดขึ้นมาแล้ว

    แม้ “สนธิ ลิ้มทองกุล” จะยังไม่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ในขณะนี้ แต่ก็กล่าวว่า พร้อมที่จะนำพลพรรคพันธมิตรฯ เดินเข้าสู่ระบอบรัฐสภา ซึ่งเขากล่าวว่ากระแสโจมตีตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันได้เจอมาหมดแล้ว ซึ่งมาถึงจุดนี้คงไม่มีอะไรต้องกลัว

    แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังเชื่อว่า พรรคของพันธมิตรฯ ที่เกิดขึ้นขณะนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเป็นเครื่องมือของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้น ถ้าพรรคการเมืองปฏิบัติตัวไม่เป็นในสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง พันธมิตรฯ จะถอยตัวออกห่างทันที

    คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่

    1. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค
    2. นางภินันทน์ โชติรสเศรณี เป็นรองหัวหน้าพรรค
    3. นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค
    4. นายพิชิต ไชยมงคล เป็นรองเลขาธิการพรรค
    5. นางลักขณา ดิษยะศริน เป็นเหรัญญิกพรรค
    6. นางภาณุมาศ พรหมสูตร เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค
    7. พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค
    8. นายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นกรรมการบริหารพรรค
    9. นางชญาบุญ เพชรพรหม กรรมการบริหารพรรค
    10. น.ส.นิตายา กุระคาน กรรมการบริหารพรรค
    11. น.ส.อาภารัตน์ ชาติชุติกำจร กรรมการบริหารพรรค
    12. น.ส.ฉัตรกุล คำมีอ่อน กรรมการบริหารพรรค
    13. น.ส.จีรนันท์ อินทร์สุริวงศ์ กรรมการบริหารพรรค
    14. นางลักขณา ดิษยะศริน กรรมการบริหารพรรค
    15. นายบรรจง นะแส กรรมการบริหารพรรค
    16. นางชญาดา ศริญญามาศ กรรมการบริหารพรรค
    17. นายวิลิต เตชะไพบูลย์ กรรมการบริหารพรรค
    18. นายสมศักดิ์ อิสมันยี กรรมการบริหารพรรค
    19. นางเสาวนีย์ รุ่งช่วง กรรมการบริหารพรรค
    20. น.ส.พรชุลี คงขวัญ กรรมการบริหารพรรค
    21. นางเพลินพิศ ทองวล กรรมการบริหารพรรค
    22. นางเสน่ห์ หงส์ทอง กรรมการบริหารพรรค
    23. นางกาญจนา กาญจนเสวี กรรมการบริหารพรรค
    24. นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ กรรมการบริหารพรรค
    25. นายสุทิน ธราทิน กรรมการบริหารพรรค
    26. นายชาลี ลอยสูง กรรมการบริหารพรรค
    27. น.ส.นริศวรรณ ศรีประยูรธรรม กรรมการบริหารพรรค
    28. นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์ กรรมการบริหารพรรค

    Weblog OknationของKittinunn(อดีตaloha007ในพันทิป)

    โครงสร้างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

    ภาคเหนือ
    1. กลุ่มพันธมิตรพิษณุโลก มีนายภูริทัต สุธาธรรม เป็นแกนนำ[8]
    2. ชุมนุมลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยประชาชนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิเช่น ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ฯลฯ

    ภาคตะวันออก
    1. กลุ่มพันธมิตรภาคตะวันออก มีนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นประธานเครือข่าย ประกอบด้วยประชาชนจากอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี อาทิเช่น อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง อ.สัตหีบ อ.บางละมุง อ.บ่อทอง อ.หนองใหญ่ อ.พานทอง อ.เกาะสีชัง รวมถึงประชาชนจากจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด
    2. กลุ่มพันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง-พนัส มีนายยงยุทธ เมธาสมภพ เป็นประธานเครือข่าย
    3. คณะทำงานพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดเลย มี นายหินชนวน อโศกตระกูล เป็นแกนนำ

    ภาคอีสาน
    1. สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น มีนางเครือมาศ นพรัตน์ เป็นประธานสมัชชาประชาชนฯ และนายเธียรชัย นนยะโส เป็นรองประธานฯ
    2. สมัชชาประชาชนภาคอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มีนางสำเนียง สุภัณพจน์ เป็นประธาน มีแนวร่วมเป็นองค์กรเครือข่าย 18 องค์กร

    ภาคใต้

    1. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสตูล มี นางอุดมศรี จันทร์รัศมีและ อ.ประโมทย์ สังหาร เป็นแกนนำ
    2. สมัชชาภาคใต้ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (กำลังก่อตั้ง)

    สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

    * ประกอบด้วยกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 43 แห่ง กลุ่มหลักอยู่ที่ สหภาพ รสก. การไฟฟ้า, สหภาพ รสก. การรถไฟ
    * ดูเพิ่มเติม สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจแรงงานสัมพันธ์ (สรส.) ประกอบด้วย สร.กสท. (การสื่อสารแห่งประเทศไทย), สร.ท. (ทศท.) , สร.กปน. (การประปานครหลวง), สร.กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย), สร.กบท. (การบินไทย) 

    แกนนำสหภาพฯ

    * ศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
    * นาย สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และอดีตแกนนำสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย (สายของ สมศักดิ์ โกศัยสุข )
    o นายสุภิเชษฐ์ สุวรรณชาตรี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่
    o นายสาทร สินปรุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สาขานครราชสีมา
    o นายพงษ์ฐิติ พงษ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
    o นายสนาน บุญงอก ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) กำลังคน : สหภาพมีพนักงานขับรถและกระเป๋ารถเมล์รวม 9 พันคน แต่หากรวมกับพนักงานในส่วนอื่น ๆ ด้วยจะมีถึง 1.5 หมื่นคน
    o สหภาพการบินไทย
    o นายสมชาย ศรีนิเวศ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การประปานครหลวง ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาลว่า ต่อจากนี้ไปทางสหภาพฯ กปน.จะปฏิบัติการเชิงรุกตามแนวคิดของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี
    o นาย ไพโรจน์ กระจ่างโพธิ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 1 ก.ย. นี้ จะมีแถลงชี้แจงภายหลังการประชุมร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารของรัฐ ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธ.ก.ส. เพื่อแสดงจุดยืนหรือแนวทางการเคลื่อนไหว 
    * นาย อำนาจ พละมี คณะกรรมการฝ่ายการเมือง สรส.
    * นาย คมสันต์ ทองศิริ รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง 

    เครือข่ายสันติอโศก

    เครือข่ายสันติอโศก มีพุทธสถานสันติอโศกและสาขาอีก 8 สาขา ดังต่อไปนี้

    1. พุทธสถานสันติอโศก ตั้งอยู่ถนนสุขาภิบาล 1 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพ
    2. พุทธสถานปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
    3. พุทธสถานศรีษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ
    4. พุทธสถานศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์
    5. พุทธสถานสีมาอโศก จังหวัดนครราชสีมา
    6. พุทธสถานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
    7. พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ จังหวัดเชียงใหม่
    8. พุทธสถานทักษิณอโศก จังหวัดตรัง
    9. พุทธสถานหินผา 

    เครือข่าย NGO
    1. NGO ภาคใต้ มีแกนนำโดย บรรจง นะแส
    2. NGO ภาคเหนือ มีแกนนำโดย สุริยันต์ ทองหนูเอียด
    3. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 

    กลุ่มนักวิชาการ

    1. กลุ่มรัฐศาสตร์จุฬาฯ: ศ. ดร.จรัส สุวรรณมาลา, ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ดร.สุริชัย หวันแก้ว, ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง, ดร.ไชยันต์ ไชยพร, ดร.วีระ สมบูรณ์, ดร.นฤมล ทับจุมพล
    2. กลุ่มนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายผู้จัดการ (อาทิ ศ. ดร. ชัยอนันต์ สมุทวานิช, ดร. ปราโมทย์ นาครทรรพ)
    3. กลุ่มนักวิชาการอื่นๆ อาทิ ดร. สุวินัย ภรณวลัย, รพี สาคริก, สิริอัญญา, ศ. ดร. ภูวดล ทรงประเสริฐ 

    กลุ่มสว.

    * 20 สว. อาทิ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เข้าให้กำลังใจพันธมิตร ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น. โดยประกาศขอเข้าร่วมกับพันธมิตรเป็นทัพหน้า เพราะหลายคนเกิดจากเวทีพันธมิตร โดยนายสนธิ ได้ขึ้นบนเวทีประกาศแนะนำตัวกลุ่ม ส.ว.แต่ละคน รวมถึง พล.อ.อ.ณพฤกษ์ มัณฑะจิตร อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศที่เข้าให้กำลังใจด้วย

    กลุ่มศิลปิน

    * กลุ่มศิลปินสายบันเทิง อาทิ ศรัญญู (ตั้ว) วงศ์กระจ่าง
    * กลุ่มศิลปินเพื่อชีวิต ไพวรินทร์ ขาวงาม, คมทวน คันธนู, วสันต์ สิทธิเขตต์, ซูซู, เศก ศักดิสิทธิ์, คีตาญชลี, คาราวาน, นิด กรรมาชน, วงโฮป, จีวัน, ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ, แสง ธรรมดา, คนด่านเกวียน, สุนทรี เวชานนท์
    * กวี อาทิ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, อังคาร กัลยาณพงศ์, 

    กลุ่มสื่อมวลชน

    * กลุ่มผู้จัดการ : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, เว็บไซต์ผู้จัดการ, ASTV, นิตยสาร Positioning, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์, วิทยุชุมชนเจ้าฟ้า
    * กลุ่มแนวหน้า
    * กลุ่มไทยโพสต์ 

    กลุ่มแนวร่วมอื่นๆ

    * แนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเขตเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์, เขตวงเวียน 22 กรกฎา

    ทนายความ

    * เป็นกลุ่มทนายด้านสิทธิมนุษยชน ของสภาทนายความ และเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนพอสมควร เนื่องจากเป็นทีมทนายที่รับว่าความกับชาวบ้านและเอ็นจีโอกลุ่มต่างๆ มานาน ได้แก่ สุวัตร อภัยภักดิ์ อีกคนก็ นิติธร ล้ำเหลือ


    พรรคประชาภิวัฒน์ อีก1พรรคแนวร่วมของพันธมิตร

    สุทัศน์ นั่งหน.พรรคประชาภิวัฒน์ ขัดตาทัพ โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    คอการเมืองคงจับตา หลังสนามรบเปลี่ยนผ่านสมรภูมิเสื้อเหลือง-เสื้อแดงไปแล้ว การเมืองค่อยคลี่คลายเงียบสงบลง

    หลายๆ กลุ่มทางการเมือง ซุ่มรวมกำลังพล จัดตั้งพรคการเมือง มีเสียงแว่วว่าพล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ จะลาออกจากส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ รวบรวมเพื่อนสนิท มิตรสหายจัดตั้งพรรคใหม่ ใช้ชื่อว่า"พรรคประชาภิวัฒน์" ตามรูปแบบการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร ที่ชูคำขวัญ"การเมืองใหม่"

    พรรคดังกล่าวได้มีการยื่นจดทะเบียนพรรค ต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว โดยมี"สุทัศน์ จันทร์แสงศรี"เป็นหัวหน้าพรรค ขัดตาทัพไปพลางๆก่อน

    "สุทัศน์ "เกิดเมื่อ 29 มีนาคม 2500 จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต ม.ขอนแก่น และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากนิด้า

    ผ่านงานการเมืองเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน จังหวัด และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และอดีตส.ว.จังหวัดเพชรบูรณ์มาแล้ว

    แต่ทว่า ก็มีประวัติถูกใบเหลืองจากการจับกุมและยึดเงินจำนวน1.3ล้านบาทที่บ้านหัวคะแนนของนายสุทัศน์เอง หลังได้คะแนนเลือกตั้งสส.เพชรบูรณ์ เขต1ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ3 เลือกตั้งซ่อมก็แพ้ให้กับพรรคคู่แข่งแนวร่วมเสื้อแดงได้แค่48000ต่อ108000คะแนนเท่านั้น

    นั่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาภิวัฒน์ ขัดตาทัพไปพลางก่อน เพื่อจดทะเบียนพรรคการเมือง ก่อนที่จะมีผู้ใหย่เข้ามาเสียบแทน

    เชื่อว่าพรรคนี้ คงจะได้แนวร่วมจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร ในการขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาแล้ว มีข่าวมาว่าดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ จะมาร่วมก๊วนด้วย

    เพราะหากอยู่พรรคประชาธิปัตย์ รอเข้าคิวยาวที่จะได้ตำแหน่งรัฐมนตรี 

    ที่แน่ๆคือสุทัศน์ จันทร์แสงศรี นั่งหัวหน้าพรรคไปก่อน ก่อนจะปรับขบวนกันอีกครั้ง

    เพิ่มเติม นายชุมพล สังข์ทอง เป็นอดีตผู้สมัครสส.เขต5 ชัยภูมิ พรรคประชาธิปัตย์ และยังเป็นทนายความประจำตัวของนายไทกร พลสุวรรณ ที่ร่วมกันเล่นงานพรรคไทยรักไทยจนถูกยุบมาแล้ว

    เผยชื่อ 25 กรรมการบริหารพรรคแล้ว

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงาน ด้วยว่า ต่อมาเวลาประมาณ 21.00 น. ได้มีการเปิดตัวกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ หลังจากสมาชิกได้หย่อนบัตรเลือกตั้งกรรมการบริหารส่วนที่เหลือ 12 คน และนับคะแนนเสร็จสิ้น ทำให้ได้กรรมการบริหารพรรคครบ 25 คน ประกอบด้วย 
    นายสนธิ ลิ้มทองกุล หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคส่วนที่หัวหน้าพรรคเสนอ 12 คน ได้แก่ 
    ขณะที่กรรมการบริหารพรรคส่วนที่หัวหน้าพรรคเสนอ 12 คน คือ

    1.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค เกิดที่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเลขาธิการสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เมื่อพ.ศ. 2548 มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเคยยื่นหนังสือคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ และเป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

    2.นายสุริยะใส กตะศิลา ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรค เกิดเมื่อ 27 มี.ค.15 ที่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ จบปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เป็นผู้ประสานงาน ครป. และได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการ ครป. ก่อนที่จะลาออกภายหลังก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ โดยเป็นผู้ประสานงานองค์กรต่าง ๆที่เข้าร่วมการขับไล่ ทักษิณ

    3.พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเหรัญญิกพรรค อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง (นปข.) กองทัพเรือเในช่วงการชุมนุมพันธมิตร 193 วัน เป็นผู้ร่วมจัดตั้ง “คณะกรรมการพลังแผ่นดิน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ร่วมกับ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ

    4.นายบรรจง นะแส ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ในฐานะที่ยืนหยัดเคียงข้างชาวประมงพื้นบ้าน ในตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองทะเลไทย เป็นคน จ.สงขลา ร่วมทำงานกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านมาตั้งแต่ ปี 2524 อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จากการถูกละเมิดสิทธิของชาวประมงพื้นบ้านตลอด 2 ชายฝั่งในพื้นที่ 13 จังหวัดในภาคใต้เป็นอย่างดี รวมทั้งต่อสู้ปัญหาโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่อ.จะนะ สมัยทักษิณ

    5.นายประพันธ์ คูณมี ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เกิด 14 มิ.ย. 2497 ที่จ.ขอนแก่น เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมทำงานร่วมกับสหพันธ์นักศึกษาเสรี และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้หลบหนีเข้าป่า ร่วมงานกับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จบนิติศาสตร์ รามคำแหง และปริญญาโท ม.เกษตรศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 37 ประกาศทำงานร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

    6.นายสุทธิ อัฌชาศัย ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เป็นคนจ.ระยอง โดยกำเนิด เป็นนักสู้ภูธร ที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องในฐานะผู้ประสานงานภาคตะวันออกโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม จากปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำมาจนถึงการต่อสู่ปัญหามลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

    7.นายชาลี ลอยสูง ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เป็นรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคประเทศไทย ต่อสู้กับปัญหาแรงงานในทุกรัฐบาล ลงมาแก้ไขปัญหาการเลิกจ้าง มีส่วนร่วมกับนโยบายลดเงินสมทบผู้ประกันตนจากฝ่ายนายจ้าง จาก 5% เหลือ 3%

    8.นายชุมพล สังข์ทอง ได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนพรรค เกิด 29 ม.ค.2508 เป็นคน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ เป็นนักกฎหมาย จากรั้วมหาวิทยารามคำแหง เป็นทนายความคู่ทุกข์คู่ยากกับประพันธ์ คูณมี และถูกตั้งข้อครหาว่า ใกล้ชิดกับน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

    9.นางสาวอาภารัตน์ ชาติชุติกำจร ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้ประสานงานพันธมิตรจ.ภูเก็ต เป็นผู้ที่ร่วมต้อสู้กับพันธมิตรฯมาตั้งแต่ต้น พวกเราจะเห็นเธอได้จากแสดงความเป็นคนไทยที่นักชาติอย่างชัดเจน ในการร่วมขบวนเพื่อรักษาแผ่นดินพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร อ.กันทราลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

    10.นายสำราญ รอดเพชร ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกพรรค เกิดกันยายน 2499 ที่นครศรีธรรมราชเป็นแกนนำพันธมิตรฯ รุ่นที่ 2 เป็นสื่อมวลชนชื่อดังในยุคก่อนหน้าวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 มีบทบาทเป็นพิธีกรและโฆษกของเวทีพันธมิตรฯในการขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สนช.

    11.นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค “พี่ตั้ว” เกิด 17 ต.ค. 2503 ที่ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ถือเป็นแกนนำพันธมิตรฯ รุ่นที่ 2 เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ปัจจุบัน เป็นผู้ผลิตรายการและดำเนินรายการ “จอเหลือง” ในสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี

    12.นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย ผู้ต่อสู้การทำเอฟทีเอที่ไม่โปร่งใสช่วงรัฐบาลทักษิณ จนมีผลในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 รวมทั้งเป็นผู้เริ่มที่จะดำเนินการปฏิรูประบบเกษตรกรรมและพัฒนาสิทธิเกษตรกร

    ส่วนกรรมการบริหารพรรคส่วนที่สมาชิกลงคะแนนเลือกตั้ง12คนจากการเลือกตั้งจากสมาชิก 2,300 คนโดยเรียงจากคะแนนผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากมากที่สุด ได้แก่ 
    14. นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก กรรมการบริหารพรรค พ.ศ. 2549 เข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรร่วมจัดรายการบนเวทีและในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง เคย สมัครรับเลือกตั้งใน จ.สมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ปัจจุบันจัดรายการ "จับตา(ย)ประเทศไทย" ทางเอเอสทีวี

    15. พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ กรรมการบริหารพรรค อดีตผู้บังคับการตำรวจ ภาค 4 อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล โด่งดังและรู้จักกันในนาม "มือปราบตี๋ใหญ่"

    16.นายเทิดภูมิ ใจดี กรรมการบริหารพรรค อดีตผู้นำกรรมกร คู่กับ ประสิทธิ์ ไชโย การชุมนุมประท้วงความไม่เป็นธรรมกรณีต่างๆ ที่มีนักศึกษาประชาชนเข้าร่วม ดำเนินไปอย่างดุเดือด เข้มข้นในช่วง 3 ปีตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519

    17. พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ กรรมการบริหารพรรค อดีตผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม( สมัย ชวน หลีกภัย เป็นนายก) อดีตนายทหารราชองครักษ์เวร เมื่อปี2545 เป็นคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตผู้สมัครลงเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์

    18.นางลักขณา ดิษยะศริน ตะเวทิกุล กรรมการบริหารพรรค ผู้จัดการโรงเรียนนานาชาติดิอเมริกันสกูลออฟแบงค็อก

    19.นางเสน่ห์ หงส์ทอง กรรมการบริหารพรรค ผู้ประสานงานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เป็นผู้จัดรายการวิทยุรายการ เสียงจากกรรมกร ทางคลื่น F.M. 98.25 MHz และที่สำคัญที่สุดคือ เป็น ภรรยานายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท)คนปัจจุบัน

    20.นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์ กรรมการบริหารพรรค อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนนักศึกษาปี 2519 เคยสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ในเขต 12 กรุงเทพ มหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตบางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

    21.นายพิชิต ไชยมงคล รักษารองเลขาธิการพรรค รองเลขาฯสนนท.กลุ่มศึกษาพรรคการเมืองทางเลือกภาคประชาชน อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2546 ซึ่งถือว่าเป็น คนใกล้ชิดนายสุริยะใส ในฐานะคณะทำงานของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

    22.นายธัญญา ชุนชฎาธาร กรรมการบริหารพรรค สามีนางมาลีรัตน์ แก้วก่า เป็นนักวิชาการ นักเขียน อดีตผู้นำนักศึกษา 1 ใน 13 กบฎรัฐธรรมนูญ จากเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 กำลังศึกษาในระดับ ปริญญาเอก สาขาผู้นำทางเศรษฐศาสตร์ การเมือง และสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นพิธีกรหลายรายการ ของทาง ASTV

    23.นางทัศนีย์ บุญประสิทธิ์ กรรมการบริหารพรรค แกนนำพันธมิตรฯ อุบลราชธานี เจ้าของสถานีวิทยุชุมชน อ.พิบูลมังสาหาร ทีมที่ปรึกษานายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และ ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

    24.นายสราวุธ นิยมทรัพย์ กรรมการบริหารพรรค แกนนำพันธมิตรฯ นครปฐม อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครปฐม และส.ส.หลายสมัย

    25.นายรังษี ศุภชัยสาคร กรรมการบริหารพรรค แกนนำเครือข่ายพันธมิตรฯ อุดรธานี

    หลังจากทั้ง 25 คน ได้ปรากฏตัวบนเวที นางรัตนา ร้อยพรเกษมสุข ได้เป็นตัวแทนผู้บาดเจ็บพิการ และญาติผู้เสียชีวิตระหว่างการชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ยื่นรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต พร้อมทั้งข้อเสนอนโยบายต่อพรรคการเมืองใหม่ โดยระบุว่า พรรคการเมืองใหม่เป็นความหวังของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วน ร่วม จึงได้แสดงเจตนารมณ์ดังกล่าวต่อหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ และขอมอบนโยบายที่ได้จากการประชุมสัมมนาของตัวแทนผู้บาดเจ็บ พิการ ญาติวีรชนที่เสียชีวิตจากการชุมนุมร่วมกับพันธมิตรฯ เพื่อหวังให้มีการปฏิรูปเมืองและปฏิวัติสังคมไปสู่สังคมอุดมสุขต่อไป

    หลังจากนั้น นายสนธิ ได้เปิดเผยรายชื่อคณะที่ปรึกษาพรรคการเมืองใหม่ 15 คน ดังนี้ 
    1. ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย รักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ หนึ่งในทนายความของประเทศไทยที่ว่าความคดีปราสาทเขาพระวิหารต่อ ศาลโลกในปี 2505
    2. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ใน หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ
    3. นายอุดร ตันติสุนทร อดีต ส.ว.ตาก อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
    4. นายสมพจน์ ปิยะอุย เครือโรงแรมดุสิตธานี
    5. นายพิภพ ธงไชย ด้วยประสบการณ์การเคลื่อนไหวมวลชนมานยาวนาน บวกกับบุคคลิกสุขุม สุภาพเรียบร้อย แต่แน่นด้วยเนื้อหาสาร เพื่อนพ้องมากมายทำให้เขากลายเป็น 1 ในแกนนำพันธมิตร และเป็นอีก 1 ใน คนใกล้ชิดอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
    6. พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
    7. พล.อ.อ.สามารถ โสตสถิตย์ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
    8. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการประปานครหลวง
    9. นายสมศักดิ์ อิสมันยี หรือ อ๊อด คีตาญชลี สมศักดิ์ และ สุรินทร์ อิสมันยี (ริน) สองสามีภรรยาชาวเพชรบุรี เดิมใช้ชื่อว่า วง "สายทิพย์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คีตาญชลี" ตามชื่อกวีนิพนธ์ของ รพินทรนาถ ฐากูร กวีชาวอินเดีย มีความหมายว่า "คารวะด้วยเสียงเพลง"
    10. ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)
    11. รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เข้าร่วมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่ง
    12. รศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนิทสนมกับ.รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย
    13.อาจารย์สมบัติ เบญจศิริมงคล อดีตนายกสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมัน เคยสมัคร สส. ปี 2548 ในนามพรรคมหาชน (อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรค)
    14. ดร.ประยูร อัครบวร อดีตผู้นำนักศึกษา 6 ตุลา อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    15.นายอัมรินทร์ คอมันตร์ นักวิชาการ ผู้ที่เคยนำต่อต้านกฎหมาย 11 ฉบับ ที่เรียกกันว่า กฎหมายขายชาติ ขึ้นเวทีพันธมิตรในปี พ.ศ. 2549

    "สมศักดิ์ โกศัยสุข" นั่งหัวหน้าพรรค "การเมืองใหม่" แทนสนธิ
    Sun, 2010-07-04 03:03

    พรรคการเมืองใหม่ประชุมใหญ่วิสามัญเลือกกรรมการบริหารและหัวหน้าพรรคแทน "สนธิ ลิ้มทองกุล" มีผู้ได้รับเสนอชื่อชิงตำแหน่ง 6 คน คือสมศักดิ์-สุริยะใส-ประพันธ์-อัญชะลี-พล.ร.ท.ประทีป-พล.อ.กิตติศักดิ์ ปรากฏว่าทุกคนถอนตัวหมดยกเว้น "สมศักดิ์ โกศัยสุข" ก่อนที่จะมีการลงคะแนนรับรองสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ด้วยคะแนนท่วมท้น เจ้าตัวลั่นนำพาพรรคการเมืองใหม่ให้เข้มแข็งพร้อมสานต่ออุดมการณ์พันธมิตรฯ

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อวานนี้ (3 ก.ค.) ว่า ที่อาคารนิมิบุตร ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ พรรคการเมืองใหม่ได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2553 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งรวมทั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ลาออกจากสมาชิกและหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2553 ที่ประชุมได้เสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันรวมทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วยนายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายสุริยะใส กตะศิลา,นายประพันธ์ คูณมี,พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ,น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก,พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมย์ ซึ่งปรากฏว่าทุกคนถอนตัวยกเว้นนายสมศักดิ์ ซึ่งที่ประชุมได้ลงคะแนนลับ รับรองนายสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ด้วยคะแนนท่วมท้น

    จากนั้นที่ประชุมได้เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคอีก 24 คน โดยส่วนแรก 12 คน เป็นกรรมการที่หัวหน้าพรรรคนใหม่เสนอให้ที่ประชุมลงคะแนนรับรองประกอบด้วย 
    1)นายพิเชฏฐ พัฒนโชติ เป็นรองหัวหน้าพรรค 
    2)นางภินันทน์ โชติรสเศรณี รองหัวหน้าพรรค 
    3)นายเทิดภูมิ ใจดี รองหัวหน้าพรรค 
    4)นายสำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าพรรคและโฆษกพรรค 
    5)นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค 
    6)นายศรัณยู วงษ์กระจ่าง รองเลขาธิการพรรค 
    7)นางสาวเสน่ห์ หงษ์ทอง นายทะเบียนสมาชิกพรรค 
    8)นางสาวสุวันนี ไวศรีแสง เหรัญญิกพรรค 
    9)นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ กรรมการ 
    10)นายบรรจง นะแส กรรมการ 
    11)นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ กรรมการ ปัจจุบันเป็นประธานคณะทำงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้ค้าสนามหลวง
    12)ดร.สมบัติ เบญจศิริมงคล

    หลังจากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเลือกกรรมการในส่วนที่สมาชิกเสนออีก 12 คน จากที่เสนอทั้งหมด 17 คน โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือก 12 คนประกอบด้วย 
    1)พลเอกกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ 
    2)นางทัศนีย์ บุญประสิทธิ์ 
    3)นายประเสริฐ เลิศยะโส อดีตส.ส.บุรีรัมย์ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ปี2518 และเคยลงสมัครในนามพรรคเล็กหลายครั้ง
    4)พันเอกไพโรจน์ นิยมพันธุ์ อดีตคณะเสนาธิการกองทัพบก
    5)นายพิชิต ไชยมงคล 
    6)นางสาวอาภารัตน์ ชาติชุติกำจร 
    7)นายทศพล แก้วทิมา แกนนำพันธมิตรและสลิ่ม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
    8)นายรังษี ศุภชัยสาคร 
    9)นางนิตยา กุระคาน 
    10)นายณัฐดิษฐ์ นันท์วิมลวุฒิ เลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย (ศรท.)
    11)นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์ 
    12)นายสราวุธ นิยมทรัพย์

    นายสมศักดิ์ได้กล่าวขอบคุณที่ประชุมพร้อมประกาศว่ากรรมการบริหารพรรคชุดใหม่คือผู้อาสานำพาพรรคให้เข้มแข็งรองรับการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ โดยโครงสร้างและปรัชญาการทำงานของพรรคนั้น พรรคจะยังมีทีมงานในส่วนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งและส่วนที่พร้อมจะทำงานบริหารประเทศ ซึ่งทั้งส่วนที่จะเป็น ส.ส.และผู้บริหารประเทศในอนาคตจะต้องนำข้อเสนอเรียกร้อง อุดมการณ์เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ของสมาชิกพรรคและพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปปฏิบัติให้เป็นจริงในทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจที่มีปัญหารวยกระจุกจนกระจาย,ปัญหาการเสียเอกราชดินแดน,ปัญหา การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ,ปัญหาการศึกษา,ปัญหาโครงสร้างตำรวจและการบังคับใช้กฎหมายที่ล้มเหลว เป็นต้น

    NoteจากBlogger : จากนี้ไปขอให้ทุกท่านได้จดจำชื่อของคนพวกนี้ไว้ด้วย เพราะใครก็ตามเมื่อต้องเข้ามาเกลือกกลั้วกับการเมืองแล้ว ย่อมไม่สามารถที่จะหลีกหนีพ้นจากวัฏจักรแห่งผลประโยชน์ไปได้เลย
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×