ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระ(แนว)การ์ตูน

    ลำดับตอนที่ #4 : คุ้ยลึกกระบวนการตีพิมพ์การ์ตูนของแต่ละสำนักพิมพ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 640
      0
      21 เม.ย. 49

    วิบูลย์กิจ
    ข้อดี-การ์ตูนเยอะ การแปลและลักษณะรูปเล่มไม่เลวร้ายนัก magazineราคาถูก
    ข้อเสีย-ดอง ชอบซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนมากั๊กสะสมไว้เยอะๆ เซ็นเซอร์เยอะมากๆ กระดาษสีคล้ำขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หมึกเลอะติดมือง่าย ไสกาวแย่เนื่องจากทำด้วยมือมิใช่ด้วยเครื่อง กาวหลุดง่าย

    SIC
    ข้อดี-มักหน่วงราคาการ์ตูนทั่วไปให้คงราคาเดิมไว้นานที่สุด เซ็นเซอร์น้อยหรือไม่มีเลย
    ข้อเสีย-แปลห่วย ภาพไม่ชัด มีปัญหาเยอะมากๆในการทำรูปเล่มหนังสือ ดองเป็นบางโอกาส

    NED
    ข้อดี-แปลดี รูปเล่มสวย มีการคัดสรรการ์ตูนดีเยี่ยม มักมีรูปเล่มพิเศษดีๆให้สะสม
    ข้อเสีย-เป็นลูกไล่วิบูลกิจในการขึ้นราคาหนังสือ ในการขายรูปเล่มพิเศษในบางครั้งก็ตั้งราคาแพงเสียจนทุเรศ มีการ์ตูนดังในสังกัดอยู่น้อยเรื่อง

    กระดาษที่แต่ละสำนักพิมพ์ใช้

    VBK = กระดาษบรูฟ รีไซเคิล ( รีไซเคิล 70 % ใหม่ 30 % ในเนื้อกระดาษ) ถ้านึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงกระดาษ ดัลเมเชียน +ชิสุ ตามร้านเครื่องเขียน ความหนา อยู่ที่ 75 แกรม ราคาตามท้องตลาดตอนนี้ (ขนาดเท่า หนังสือพิมพ์รายวัน จำนวน 500 แผ่น ต่อ 1 รีม) อยู่ที่ 600 บาท ไม่รวม แวต
    กระดาษปก เนื้อในเรียก กระดาษ ขาวเทา หนา 120 แกรม ราคา จำไม่ได้ กระดาษปกหุ้มนอก เรียกกระดาษอาร์ต 220 แกรม รีมละ 1800 บาท อาบมัน ราคาปกละ 0.5-1.0 บาท(เฉพาะปก)

    SIC เรียกว่า กระดาษ กรีนรีด 75 แกรม เป็นเนื้อกระดาษผลืตในประเทศ ราคาตลาดตอนนี้ รีมละ 1320 บาท ไม่รวมแวต
    ปกใน เรียกขาวเทา เหมือน VBK แต่บางกว่า ปกหุ้มนอก
    อาร์ต 200 แกรม อาบมัน ราคา 1700 บาท

    NED เล่มปกติ เรียกว่ากระดาษบรู๊ฟนวล 60 แกรม เป็นกระดาษบรูฟ เกาหลี ราคารีมละ 680 บาท ไม่รวมแวต
    ส่วนเล่มแพงๆ เช่น chobits เรียกว่า กรีนรีด เกาหลี 75 แกรม ราคารีมละ 1450 บาท ไม่รวมแวต
    ส่วนเล่มละ 85 95 แบบ โดราเอมอน เรียกว่า กรีนรีดในกระเทศ รีมละ 1120 (หนา 75แกรม)
    ปก ขาวเทา 120 แกรม
    ปกหุ้มนอก อาร์ต 200 แกรม 1700 บาท
    อาบมัน เล่มละ 0.5- 1 บาท
    ปล. บางเล่ม เป็นกระดาษปอนด์ เช่นในหน้าสีของ vagabond คือปอนด์ 80 แกรม ราคารีมละ 1300 ซึ่ง 1 รีม 500 แผ่น สามารถพิมพ์ได้ เท่ากับ 500 คูณ *32 หน้า เท่ากับ 16000 หน้า ฉะนั้นตกเล่มละเท่าไหร่ ไปหารเอง

    บงกช ใช้กระดาษบรูฟ (แบบ ned) แต่หนากว่า

    เทคนิคการพิมพ์ของแต่ละสำนักพิมพ์

    VBk เทคนิคการพิมพ์ โอเค ภาพครบชัด มีการแต่งภาพ พองาม

    SIC เทคนิคการพิมพ์แย่มาก ทำให้ กระดาษดีดี เสียคุณค่าไปเลย เพราะ ใช้ระบบการพิมพ์คนละแบบ กับเจ้ามือ เน้นความเร็วอย่างเดียว (ความเร็วในการพิมพ์ ไม่ใช่ความเร็วในการออกหนังสือ 1 ปก)

    NED เทคนิคการพิมพ์ ดีที่สุด ต่อให้พิมพ์ในกระดาษที่แย่ ก็คมชัด ดูเหมือนกระดาษดีไปเลย (ความละเอียดของกระดาขึ้นกับ "แกรม" ส่วนความมันเรียบ ลื่น เป็น "ลักษณะ" เฉพาะของพื้นผิวกระดาษ ดูตัวอย่างหน้าสีของ c-kids เปรียบเทียบ หน้าสี ในบูม จิ กระดาษปอนด์ เหมือนกัน แต่ คุณภาพพิมพ์ไม่เท่ากัน ทำให้กระดาษ ของซีคิดส์ ด้อยไปถนัดตา ทั้งๆ ที่กระดาษแบบเดียวกัน (และโรงงงานเดียวกัน) <----- เป็นผลต่อเนื่องทางจิตวิทยา) เรื่องการพิมพ์ที่ดีนี่เอง ทำให้ มีผลต่อไปยังกระดาษ (ขอให้ดู นิตยสารอนิเมชั่นเปรียบเทียบ ทั้ง 2 ปก ใช้กระดาษปอนด์ หนาเท่ากัน (% ของแกรมเท่ากัน แต่โรงงานที่สั่งกระดาษคนละโรงงาน) แต่ เทคนิคการพิมพ์ และ อาร์ตเวิร์คแตกต่างกัน ทำให้ เล่มหนึ่งมี "ระดับ" สูงกว่าอีกเล่มหนึ่งไปเลย เมื่อพิจารณาเฉพาะเรื่องกระดาษ)

    การแปล
    ned ดีสุด
    vbk ที่สอง
    sic แย่สุด
    แต่ไม่ว่า สนพ.ไหน ทำไม่ดีเท่า T.rex ของบงกช ที่จะมีเชิงอรรถ อธิบายในเคสที่ไม่เข้าใจ (t.rex แปลการ์ตูนฝรั่งหน่ะ แต่ การ์ตูนญี่ปุ่นก็น่าจะทำแบบนี้ ยกเคส "โคนัน" เล่มล่าสุด ที่ "เล่น" เรื่องตุ๊กตาญี่ปุ่น มีคนกี่คนกันเชียว ที่เข้าใจ "มุก" ของเขา )
    บงกชเทคนิคการพิมพ์ พอๆ กับ VBK แต่ดีกว่า SIC แน่นอน

    ต้นทุนการพิมพ์
    ได้ราคากระดาษแล้ว เราลองมาคำนวณหาต้นทุนการ์ตูนกันเล่นๆ ดีกว่า
    การ์ตูน ไซส์ปกติ เนี่ย เขาเรียกไซส์ 16 หน้ายก หมายความว่า เครื่องพิมพ์หมุน 1 รอบ ได้มา 16 หน้า แม้พิมพ์นี้เรียกว่า "เพลท" ถ้าเป็นสีเดียว เพลทจะตกอยู่ที่ไม่เกินเพลทละ 1000 บาท
    สมมุติว่า 1 เล่มมี 160 หน้า ก็เท่ากับว่าใช้เพลท 10 เพลทในการพิมพ์

    ถ้ามีหน้าสี 4 สี ก็ราคาเพลทนึง (4 แผ่นประกอบ) ไม่น่าเกิน 3500 บาท เวลาพิมพ์ก็ได้ 16 หน้า แล้วค่อยมาจับแยกๆ ลงไปในเล่ม (คือเหตุผลว่า ทำไมหน้าหลังๆ ของกันดั้ม จึงเป็นหน้าโฆษณา "สี" ก็เพลทมันเหลือนี่ครับ จะไม่พิมพ์ ก็ไม่ได้ หน้าเสียเปล่า เพราะในเล่ม มันไม่ครบยก (แปลว่า จำนวนหน้าสี หาร 4 ไม่ลงตัว) )

    การเข้าเล่ม ของ SIC กะ NED เข้าใจว่าใช้เครื่องจักรสำเร็จรูปในการเข้าเล่ม ส่วน VBk (รู้สึกว่าจะยังใช้มืออยู่ รูปเล่มแต่ละเล่มเลยไม่ค่อยเท่ากัน)
    ที่ไม่รู้คือค่า ลิขสิทธิ์ ค่าแรงในการพิมพ์ (เช่นคนงานคุมเครื่อง นับ พับปกหุ้มนอก ใส่ถุง สี ค่าไฟ ) ถ้าได้ข้อมูลครบเมื่อไหร่ จะกดราคาหารมาให้เพื่อนๆ ดูแล้วกัน
    แต่โดยเฉลี่ย ประมาณด้วยสายตา ต้นทุนการ์ตุน 40 บาท น่าจะอยู่ที่ 17-20 บาท ซึ่งเมื่อไปถึงสายส่ง (ส่วนมากพวกเขาก็ทำสายส่งกันเองนี่หว่า) พวกเขาจะส่งที่ 60 %ของราคาปก (24 บาท) ซึ่งกว่าจะถึงยี่ปั้ว (ส่งที่ 70 % 28 บาท) และร้านขายส่ง (ส่งที่ 75 -80 % คือ30- 32 บาท) ก็มีการหักเปอร์เซนต์ไปเรื่อยๆ จนถึง ส่วนลด 10% ที่หน้าแผง (ขาย 36- 40 บาท)

    ปล. ไอ้ร้านที่ลด 20 % (ขายปลีก) ได้หน่ะ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ร้าน เพราะเขาไป "กด" ราคา จาก สนพ. อีกที (ได้ข่าวว่ามากกว่า 40 % แล้วเอาไปขาย "ตัดราคา " ร้านค้าขายส่งร้านอื่นๆ ที่ได้เปอร์เซนต์น้อยกว่า ทำให้ระบบ ทำให้ร้านค้าส่งอื่นๆ ขายไม่ได้ พาลไม่รับของไปหมด ของที่มีอยู่ในร้านนั้นบางเล่ม จะไม่ไปโผล่ที่ร้านอื่นก็มี เพราะร้านขายส่งอื่นๆ ไม่รับ ทั้งๆที่ พูดถึง VOL.รวมแล้ว ร้านอื่นๆ ที่เหลือ มีแขนขาส่งของได้กว้างไกลกว่ากัน คิดๆ แล้วก็เสียดายแทนที่หนังสือมันไม่กระจาย (การ์ตูนจีนบางเรื่องนั่นแล เช่น นพ. นิวเวฟ (ตอนนี้เจ๊งไปแล้ว ส่ง ร้านอื่นไม่ได้ เขาคืนของหมด เพราะ ร้าน 20 % ไปตัดราคาคนอื่นจนเขาไม่รับฝากวาง เลยมีขายอยู่ที่เดียว ถ้าส่งร้านอื่นๆ ได้หมดก็จะขายได้ราว 1-2 หมื่นเล่ม แต่ถ้าส่งร้าน 20 % อย่างมากขายได้ 1 พันเล่มเอง (แต่คนซื้อชอบเพราะได้ถูก ผมเองก็ไปซื้อมาจากร้านนี้ เหอๆๆๆๆ ) สำนักพิมพ์หน้าใหม่ๆ ไม่ค่อยมีคนอยากไปวางขายหรอก (ดู BU จิ))

    ราคาการ์ตูนของ sic ปีหน้า ก็ว่าจะขึ้นแล้ว
    ที่ยังไม่ขึ้น ก็เพราะว่า จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ ไปแล้ว (แต่พิมพ์ออกมาไม่ทัน) ถ้าแอบขึ้นโดยไม่ได้ดูเงื่อนไขของสัญญาลิขสิทธิ์ โอกาส โดน "เฉ่ง" มีสูง

    ส่วนของ สนพ.อื่น ถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ ก็คงเป็นสัญญาลิขสิทธิ์ใหม่ ส่วนเรื่องดองๆ ก็คงเป็นการเซ้นสัญญาฉบับใหม่ด้วยพอดี แต่ไม่ได้หมายความว่า "ค่าลิขสิทธิ์" มันขึ้น นะ เพราะต้นทุนหนักๆ ของสิ่งพิมพ์ ตกอยู่กับ ค่าพิมพ์ ค่ากระดาษ เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด เรียกว่า 70% ของต้นทุน เป็นค่าจัดพิมพ์ล้วนๆ (10-15 % เป็นค่าลิขสิทธิ์ อีก 10-15 % เป็นค่าจัดการพวกแรงงานทั้งหลาย และการประสานงาน สัดส่วนของต้นทุนนะ ไม่ใด้คิดจากราคาหน้าปก ด้วย อย่าสับสน (ถ้าปก 40 บาท ต้นทุน น่าจะอยู่ที่ 17- 24 บาท เอา 17- 24 ตรงนี้ไปคูณหาสัดส่วนของค่ากระดาษ ค่าแรงกันเอง) เพียงแต่ว่า เงื่อนไขในสัญญาลิขสิทธิ์ มันจะระบุข้อตกลงในการแบ่งรายได้ ถ้าขึ้น แล้วไม่ได้แก้ตรงนี้ ก็มีโอกาส โดนเฉ่ง ดังนั้น พวกดองๆ มันอยู่ระหว่าง เซ้นสัญยางวดใหม่พอดี เลยแก้ไขตรงนี้ไปด้วย
    ส่วน ใครจะแอบลักไก่ในเรื่องไหนไปบ้างนั้น ไม่รู้ ไม่อยากรู้ ด้วย

    sic มีสต็อกกระดาษอยู่เยอะ อย่างน้อยก็ซื้อได้ราคาถูกกว่าชาวบ้าน เขาจึงยังอั้นเรื่องค่ากระดาษได้บ้าง คิดว่าตอนนี้อยู่ระหว่างปรับแต่รายละเอียดในข้อสัญญา เสร็จแล้วก็คงขึ้นหล่ะ

    สำหรับราคาค่ากระดาษ เมื่อต้นปี 2547 (ยกตัวอย่างกระดาษบรูฟนะ เพราะ ตัวอื่นก็ขึ้นในสัดส่วนใกล้เคียงเหมือนกัน) กระดาษบรูฟ รีมละ 580 บาท กลางๆ ปี ขึ้นมาเป็น 620 บาท แถม ไม่มีของด้วย ต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเดือน
    ช่วงเดือนตุลา มาเป็น 680-720 บาท แล้วทรงๆ ตัวอยู่ที่ 680 บาท ในตอนนี้ ถ้าเทียบแล้วก็คือขึ้นมา 100 บาท ต่อรีม หรือราว 18 % นั่นเอง
    การขึ้น 5 บาท ของการ์ตูน ก็สมเหตุสมผล เพราะ 5 บาทที่ขึ้นมา ทางสนพ.ได้ไปเพียงเล่มละ 3 บาท (ก็คือเพิ่มขึ้น 20 % จาก "ที่เคยได้" คิดแบบโง่ๆ คือ กระดาษขึ้น 17 % แต่ขึ้นราคาไป 20 % ส่วน 3 % ที่เหลือ ก็ต้อง ปันไปให้ทางค่าลิขสิทธิ์ด้วย เพราะค่าลิขสิทธิ์คิดตาม "จำนวนเล่มคูณราคาปก" ที่ตีพิมพ์ (อธิบายง่ายๆ คือ ขึ้นราคา 5 บาท ก็ต้องแบ่งให้ญี่ปุ่น มากขึ้นกว่าตอนที่ราคา 35 บาท) แต่ผมไม่ได้หมายความ 3 % ตรงนี้ เป็นการขึ้นราคาค่าลิขสิทธิ์นะครับ ตรงนี้อาจมีการเจรจา หรือว่า แอบมั่ว หรือว่า เก็บเป็นผลกำไรก็ได้ ตรงนี้ ต้องดูอย่างละเอียดอีกที เป็นเรื่องๆ เป็นสนพ. ไป) อีก 2 บาทที่เหลือ ตกหล่นอยู่ตามร้านขายส่ง ยี่ปั้ว แผงหนังสือ และคนอ่านนั่นเอง

    กระดาษที่ดีไม่ได้ดูที่ราคานะครับ และไม่ได้ดูที่ความหนาด้วย หรือน้ำหนักแกรมด้วย มันอยู่ที่ "การนำไปใช้" อย่างไร ให้ดูดีต่างหาก ในเคส SIC กับ NED ถึงแม้ว่ากระดาษ NED จะถูกกว่าก็จริง แต่ ปัจจัยอื่นๆ มาทำให้กระดาษที่ถูกกว่า กลายมาเป็น "ผลิตภัณฑ์" หนังสือการ์ตูนที่งามกว่า อันนี้ ก็ต้องชมฝ่ายจัดทำ+ประสานงานรูปเล่มของเขาครับ ซึ่งแน่นอนว่า ประสิทธิภาพแบบนี้ คงต้องแลกมากับ"การดูแลการผลิต" ที่เข้มงวด ซึ่งตรงนี้อาจจะใช้ค่าแรง+ต้นทุนรวมๆ แล้วมากกว่า การใช้กระดาษดีดี (แปลว่า พอดูแลการผลิตดีดี ก็อาจต้องจ่ายตังค์เพิ่ม ทำให้ต้นทุนราคาหนังสือก่อนไปถึงแผนกสายส่ง ราคาพอๆ กันก็ได้ ) ก็ได้นะ

    กรีดรีด มีหลายเกรดครับ

    ที่สังจาก ไทยเปเปอร์ ก็แบบนึง
    กระดาษกรีนรีด เกาหลีก็อีกแบบหนึ่ง

    ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับ "ล็อต" ของที่เขามาด้วยครับ บางที ของเข้ามา เที่ยวเรือเดียวกัน แต่ดัน คนละสี ก็มี
    เนื่องจาก ระบบการผลิตของกระดาษกรีนรีด (เก่า 60 % ใหม่ 40 % ) ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานแบบเดียวกัน แปลว่า เทคนิคการผลิต มันยังไม่คงตัวเป็นformat เดียวกัน เหมือนพวก ปอนด์ หรืออาร์ต (ไม่นับตัวแปร พวกการเก็บ
    รักษา และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ) เอาง่ายๆ ลองดูกระดาษของสนพ. BU จิ กระดาษ แบบเดียวกันแท้ๆ แต่ละเล่ม (หมายถึงแต่ละเล่มใน เรื่องเดียวกัน เช่น มังกือหยก เล่ม xx กะ เล่ม xy กระดาษแบบเดียวกันแท้ๆ แต่คนละสี ก็มี )

    เอาง่ายๆ อีกหน่อย เล่มที่กรีนรีดแบบ chobit ยังต่างจาก กรีนรีดแบบ Say hello to BJ และต่างจาก โดราเอม่อน เล่มละ 85- 95 บาทเลย ไม่นับว่า มันยังต่างจาก พ็อตเก็ตบุ้คของ สนพ. อิมเมจ (เรื่องริง) ซึ่ง มันก็ไม่เหมือนกับ กระดาษของพ็อตเกกตบุ้คของสนพ.รหัสคดี (เช่นเรื่อง ลูแปง)เลย
    ทั้งๆ ที่บอกมาเนี่ย กรีนรีด ล้วนๆ เลยนะ (ของอิมเมจ +รหัสคดี เป็นกรีนรีดของไทยเปเปอร์)

    ขอบคุณข้อมูลจากคุณ : หน้าม้า - [ วันสิ้นปี 18:10:31 A:61.91.66.31 X: TicketID:034605 ]

    กระดาษของ SIC ไม่ใช่กรีนรีดส์นะครับ แต่เป็นปอนด์ครีมราวๆ 90 แกรมที่เรียกว่าลักส์ครีมต่างหากราคาไม่เท่ากรีนรีดส์หรอกห่างเยอะเลย 1 รีม 1120 กว่าๆ มั๊ง ถ้า75แกรมก็900กว่าๆ แต่ก็นับว่าดีที่สุดสำหรับการ์ตูนที่ราคาเดียวกันแล้ว น่าสงสาร SIC นะครับที่โดนต่อว่าต่อขานอยู่เสมอๆ สำหรับผมผมคิดว่า SIC มีความพยายามจะพัฒนามากกว่าคนอื่นเลยทีเดียว(นับแค่เจตนานะ) แต่น่าเสียดายที่องค์กรไม่เป็นใจ เรื่องการที่กระดาษยับหมึกติดมือเป็นปัญหาการพิมพ์ที่มีคนด้านบนแจ้งข้อมูลไปแล้ว(แต่ยับนี่อยู่ที่กระดาษด้วย) หากจะให้ SIC พิมพ์ดีเหมือน NED ก็ต้องลงทุนอีกเป็น 100 ล้านเพื่อเปลี่ยนแท่นพิมพ์ของสำนักพิมพ์ทั้งหมดนั่นแหละครับ แต่บนตลาดการ์ตูนที่กำลังจะตาย(พูดจริงๆนะ) ไม่มีใครกล้าหรอกครับ ในขณะที่ NED เป็นสำนักพิมพ์ที่มีการตลาดแรงที่สุดกลับได้ใจของนักอ่านไปครอง ผมไม่ได้เกลียด NED นะ แต่ต้องยอมรับว่าปกปิดข้อเสียนำเสนอข้อเด่นได้เก่งมั่กๆ C-Kids กับ Boom เป็นตัวอย่างที่น่ากลัวอันหนึ่งเลยทีเดียว ใครจะคิดว่าการที่ NED ไปตบหัวแย่งคนเขียนฮันเตอร์มาจาก SIC แค่เรื่องเดียวจะเป็นชนวนที่ทำให้ C-Kids ย่ำแย่ลงจนถึงวันนี้ หากพิจารณาจริงๆ แล้ว NED เป้นสำนักพิมพ์ที่บริการคนอ่านน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ เรื่องไหนดอง เรื่องไหนมีปัญหาตัดทิ้งแล้วเงียบกริบรอจนข่าวซา เรื่องไหนขายดีต้องรีบเอาหน้าว่าเห็นใหมเราทำเพื่อคนอ่านขนาดไหน เรื่องไหนขายยากทำราคามันแพงซะดื้อๆ มาร์จินมันจะได้ลดลงกำไรเท่าเดิม ยังไงคนอ่านก็น้อยอยู่แล้วแถมไม่ดังไม่มีคนพูดถึงหรอก ถ้าสังเกตแนวคิดนี้จะมีอยู่แต่ NED ที่เดียวนะครับกับราคาที่หลกหลายตามแนวการตลาดที่แตกต่าง ถามว่าผิดใหมไม่ก็ไม่ผิดหรอกไม่น่าเกลียดด้วย แต่ผมแค่สงสารสำนักพิมพ์อื่นที่มีใจเท่ากันหรือมากกว่าแต่สภาพไม่อำนวยเท่านั้นเอง...

    จากคุณ : Aha301 - [ 2 ม.ค. 48 15:00:54 ]
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×