ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการลงทุนสไตล์VS

    ลำดับตอนที่ #7 : วิชาสถิติกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดย ไป่ฉี

    • อัปเดตล่าสุด 22 เม.ย. 49


    ช่วงนี้ของดทำนายหุ้นก็แล้วกัน กลัวจะถูกหาว่าเป็นตัวการทำให้หุ้นตก ผมก็คงเป็นหนึ่งในนักวิเคราะห์ที่ไม่มีความรู้ แต่เราก็วิเคราะห์ตามวิชาของเรา เอาเป็นพูดกันเฉพาะหลักการเผื่อนักลงทุนหน้าใหม่จะประยุกต์ใช้เอง

    การวิเคราะห์ทางเนคนิคแบ่งคร่าวๆได้ 2 ส่วนคือส่วนของ price-pattern รวมทั้ง wave และส่วนของ indicator ซึ่งถูกแปลงจาก price-pattern ให้ถูกวัดได้เป็นตัวเลขทดสอบได้

    การวิเคราะห์ price-pattern และ wave เป็นทักษะ วัดผลยาก หลายคนมักต่อว่าพวกวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นพวกเดาสุ่ม หลายคนอาจมองไม่ตรงกัน

    เรามาดู indicator กันดีกว่า จุดนี้พูดกันเข้าใจง่าย สามารถใช้ program ทดสอบง่าย Indicator แต่ละตัวจะมีความไว ก็คือถ้าดัชนีกลับตัวปั๊บดัชนีเหล่านี้มักจะบอกก่อน อีกส่วนคือความจำเพาะคือถ้าดัชนีเหล่านี้เกิดขึ้น จะมีความแน่นอนสูง

    Indicator ที่มีความไวสูงมักจะมีความจำเพาะต่ำกว่า แต่การใช้ indicator มักประกอบกับทิศทางด้วย ยกตัวอย่าง indicator ตัวหนึ่งสมมติมีความไว 80% มีความจำเพาะ 70% สมมติขาขึ้นถ้ามีโอกาสเกิดแท่งเขียว 70% ถ้าการทดสอบของ indicator ดังกล่าวเกิดสัญญาณปุ๊บ โอกาสถูก 86% ในทางตรงข้ามเป็นขาลงแท่งแดงมากกว่าแท่งเขียว สมมติว่าแท่งแดง 70% ถ้า indicator ดังกล่าวเกิดสัญญาณซื้อ โอกาสถูกเพียง 32% เท่านั้น ขาลงรายย่อยจะหงุดหงิดคล้ายถูกหลอกบ่อยๆ

    ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคต้องมองแนวโน้มก่อนเป็นสำคัญในขาลงแบบนี้เวลาซื้อก็ต้องซื้อเมื่อสัญญาณที่มีความจำเพาะสูง แต่ขายในสัญญาณที่มีความไวสูง คือขายเร็วแบบคนขี้ตกใจ

    แต่การมองทิศทางนั้นเป็นเรื่องสำคัญ หลายคนใช้ปัจจัยพื้นฐานช่วงนี้ก็ได้แก่ ดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน GDP บางคนนับ wave ส่วนตัวผมจะมองทิศทางของเงินเป็นหลัก หลังมองทิศทางแล้วค่อยเลือก indicator มาเป็นสัญญาณ ซื้ออีกที
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×