ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

    ลำดับตอนที่ #6 : เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคใต้

    • อัปเดตล่าสุด 19 ธ.ค. 52


    รายชื่อนายกองค์บริหารส่วนจังหวัดภาคใต้

    กระบี่
    นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล
    ฐานเสียงของตระกูลกิตติธรกุล,เกี่ยวข้องและเอ่งฉ้วน
    นายเสฎฐสิฎฐ สิทธิมนต์ อดีต ส.ส.กระบี่ 2 สมัย ทีมประชาธิปัตย์ หมายเลข 1 ซึ่งนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล และนายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ ให้การสนับสนุน ได้ 61,182 คะแนน แพ้นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล อดีตนายก อบจ. หมายเลข 2 หัวหน้ากลุ่มรักกระบี่ ที่ได้ 96,779 คะแนนโดยมี นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ ปชป.ให้การสนับสนุน
    และกลุ่มรักกระบี่ ยังได้ที่นั่ง สมาชิก อบจ.ได้ถึง 19 คน ส่วนผู้สมัครในนามกลุ่มประชาธิปัตย์ ได้เพียง 5 คน จากเดิม 16 คน
    "กิตติธรกุล" ฮึดสู้ทุน ปชป.ในศึกเลือกตั้งใหญ่ในามของพปช.
    สำหรับสนามการเมือง จ. กระบี่มี ส.ส. 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ยังยึดครองเก้าอี้ได้ตลอดกาล โดยส่งผู้สมัครหน้าเดิม คือ 1.นายอาคม เอ่งฉ้วน อดีตครูประชาบาล ปัจจุบันแปรฐานะมาเป็นเจ้าของธุรกิจสวนปาล์มหลายพันไร่
    2.นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีตทนายความชื่อดัง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นเจ้าของโรงแรมกระบี่เมอริไทม์ และโรงแรมปะกาใส และยังเป็นเจ้าของสวนปาล์ม สวนยางพารา และปั๊มน้ำมัน และ 3.นายสาคร เกี่ยวข้อง ญาตินายสัญญา เกี่ยวข้อง กุนซือการเมืองของนายพิเชษฐ นายสาครเป็นทนายความ และเป็น สมาชิกสภา อบจ.
    สำหรับว่าที่ผู้สมัครพรรคพลังประชาชนล้วน แต่มีอาชีพเป็นทนายความทั้ง 3 คน นำโดย นายสฤษพงศ์ เกี่ยวข้อง เขยตระกูล "กิตติธรกุล" จึงได้แรงสนับสนุนจากนายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายก อบจ.กระบี่ นายสมเกียรติ กิตติธรกุล เจ้าของโรงแรมหลายแห่งในพื้นที่เกาะพีพี เจ้าของเรือโดยสารระหว่างพีพี-กระบี่ และ พีพี-ภูเก็ต และตระกูลกิตติธรกุล ยังทำธุรกิจสัมปทานรังนกในพื้นที่ จ.กระบี่ พังงา และจังหวัดใกล้เคียง
    แต่ เนื่องจาก "กำนันแดง" ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่สายบู๊ได้เสียชีวิตแล้ว กลุ่มกิตติธรกุลจึงขาดมือบู๊ ส่วนผู้สมัครอีก 2 คน คือนายอรรถพล หิรัญพงศ์ และนายสวัสดิ์ พยายาม
     
    ชุมพร
    นายอำนวย บัวเขียว
    ฐานเสียงของตระกูลอ่อนละมัยกับพะลัง
    “อำนวย บัวเขียว” หรือ "โกไห" อดีตนายก อบจ.ชุมพร 2 สมัย ที่พรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุนวางให้เป็นว่าที่นายก อบจ.อีกสมัย ประกาศก่อนจะมีการรับสมัครเลือกตั้ง จะไม่ยอมยกเก้าอี้ตัวนี้ให้ใคร ทำให้บรรดานักการเมืองท้องถิ่น ขยาดที่จะลงต่อกรด้วย บรรยากาศการเลือกตั้งของจ.ชุมพร กร๋อยลงทันที
    อย่างไรก็ตาม ภายหลัง "ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย" หรือ "เสี่ยตึ่ง" หรือ "พรมาลัย" ที่ชาวชุมพรเรียกจนติดปาก ก็ตัดสินใจกระโดดลงสนามร่วมชิงชัยด้วย เป็นผลให้อุณหภูมิการเมืองในดินแดนแห่งนี้ร้อนแรงขึ้นทันที เพราะคู่ต่อกรอย่าง “ศิริศักดิ์” ไม่ใช่หมูจานร้อนที่ "อำนวย" จะผ่านไปได้ง่ายๆ
    แม้ว่า "อำนวย" จะถูกมองว่าทางพรรคประชาธิปัตย์อยู่หลังฉากให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน รวมถึงยังมี ส.ส. “ธีรชาติ ป่าววิรุณรักษ์” “จ.ส.ต.ชุมพล จุลใส” และ “สุวโรช พะลัง” ส.ส.แบบสัดส่วนของชุมพร รวมถึงส.ว.ในพื้นที่ของชุมพร หนุนหลังอย่างออกนอกหน้าก็ตาม แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า "อำนวย" เดินเข้าสภา อบจ.ได้ทันที
    เพราะหากเช็คฐานกำลังของ "อำนวย" ดูผิวเผินเหมือนกับจะเหนือกว่าคู่แข่ง แต่หากเช็คไพร่พลดู พบว่ามีสมาชิกอบจ.ที่ฝักใฝ่อยู่กับเขาเพียงไม่กี่คน ขณะที่ฐานเสียงในระดับ อบต.และผู้นำชุมชนก็ดูคู่คี่กับคู่แข่ง
    หากไปสัมผัสกับชาวบ้าน กลับพบว่าความนิยมที่เคยมีในตัว "อำนวย" ลดน้อยลง โดยเฉพาะกรณีน้ำท่วมเมื่อเร็วนี้ ดูจะติดลบในสายตาชาวบ้านค่อนข้างมาก ทั้งนี้ยังไม่รวมในเรื่องของงบประมาณที่ได้จากแผนพัฒนาจ.ชุมพร ก็ถูกมองไปในเชิงไม่โปร่งใส สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ภาพพจน์ และเสียงที่เคยฝักใฝ่อยู่กับเขาเริ่มแปรปรวน และกลายเป็นช่องโหว่ ให้คู่แข่งหยิบยกมาโจมตี
    ประกอบกับคู่แข่ง อย่าง "ศิริศักดิ์" เสมือนเป็น "หมูเขี้ยวตัน" เพราะนอกจากจะมีสายเลือดประชาธิปัตย์เต็มตัวแล้ว การที่เขายอมตัดชื่อตัวเองออกจากการลงสนามส.ส. และใส่ชื่อ "สราวุธ อ่อนละมัย" ลูกชายเป็นตัวแทนลงสมัครจนได้เป็นส.ส.เขต 1. แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในฐานเสียงที่เขามีอยู่ในพื้นที่เขต 1 อย่างชัดเจน
    การลดเกรดตัวเองลงสมัครนายก อบจ.ครั้งนี้ เขาย่อมมีความมั่นใจว่าจะฝ่าฟันไปได้เช่นกัน เพราะจากการเป็น ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ 6 สมัยติดต่อกัน ย่อมการันตีถึงคุณสมบัติ และประสบการณ์ทางการเมือง ที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง
    เมื่อเช็คขุมกำลังของ “ศิริศักดิ์” มีทั้งพลพรรคสมาชิกอบจ.ราว 16 คน ทั้งจากพื้นที่ อ.เมือง ท่าแซะ ประทิว ทุ่งตะโก และละแม ดูเหนือกว่าแชมป์เก่าคู่แข่งอย่างชัดเจน ทั้งนี้ยังไม่รวมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และฐานเสียงเก่าในพื้นที่เขต 1 ที่เขาเคยบุกเบิกสร้างเอาไว้เป็นกำลังเสริมอีก ทั้งนี้ยังไม่รวมคะแนนเสียงจาก ส.ส.ในพื้นที่เขต 1 ของประชาธิปัตย์ รวมถึงตัวของ "สราวุธ" ลูกชาย
    นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ทีมชุมพรฟ้าใส (อดีตสส.ชุมพร ปชป.6สมัย บิดาของนายสราวุธ สส.คนปัจจุบัน) ได้ 75,626 คะแนน แพ้ให้กับนายอำนวย บัวเขียว(อดีตนายกอบจ.ในนามกลุ่มปชป.) ได้ 104,803 คะแนน
    ส่วนตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของ ผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้มี  จำนวน  195,976  คน  จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น  จำนวน  338,514  คน  คิดเป็นร้อยละ  57.89   จำนวนบัตรดี  180,429  บัตร  คิดเป็นร้อยละ  92.07   จำนวน บัตรเสีย  8,012  บัตร  คิดเป็นร้อยละ  4.09    และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนมีจำนวนทั้งสิ้น  7,535  บัตร  คิดเป็นร้อยละ  3.84 
     
    ตรัง
    นายกิจ หลีกภัย
    ฐานเสียงของตระกูลหลีกภัย,โล่สถาพรพิพิธและอุทัยเวียนกุล
    จากกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วน จังหวัด (อบจ.) ตรัง ว่า อาจจะมี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ บางคนจะขอใช้ชื่อพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งทีม เพื่อส่งผู้ลงสมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ตรัง ลงแข่งขันด้วย เพราะไม่พอใจการจัดสรรตัวผู้ลงสมัคร ส.อบจ.ของทีมกิจปวงชนที่มี นายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ.ตรัง 2 สมัย และพี่ชายของ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าทีม
    โดยเฉพาะเขต อ.ห้วยยอด อ.วังวิเศษ และ อ.รัษฎา ซึ่งมีจำนวนเก้าอี้ทั้งหมดรวมกัน 9 ที่นั่ง เพราะผู้นำชุมชนบางคนได้ช่วยงานพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่มาโดยตลอด แต่สุดท้ายกลับไม่มีชื่อลงสมัคร ส.จ.ในนามทีมกิจปวงชนนั้น
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 กล่าวว่า การเมืองในจังหวัดตรังเป็นการเมืองที่มี 2 ขั้วมาโดยตลอด คือ ฝ่ายที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ กับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนชาวตรังให้การสนับสนุนด้วยดีตลอด ทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น
    โดยในการเลือกตั้งนายก อบจ.ตรัง และ ส.อบจ.ครั้งที่แล้ว นายกิจ หลีกภัย ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มตัว แต่พอมาถึงการเลือกตั้ง อบจ.ในครั้งนี้ นายกกิจเลือกที่จะไม่ขอใช้ชื่อพรรคประชาธิปัตย์ในการลงสมัคร ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ที่จะสามารถกระทำได้
    อย่างไรก็ตาม ผลการพิจารณาผู้ลงสมัคร ส.อบจ.ของทีมกิจปวงชนในบางเขตเลือกตั้ง กลับมีรายชื่อของผู้ลงสมัครบางคนซึ่งเป็นที่น่ากังขา ทั้งนี้ เพราะต้องยอมรับว่า นายกิจ กับพรรคประชาธิปัตย์ นั้น เป็นเนื้อเดียวกัน ขณะที่ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา และ อ.วังวิเศษ ก็เป็นพื้นที่ต่อสู้เข้มข้นในการเลือกตั้งระดับชาติ กับอดีต ส.ส.ที่ย้ายไปจากพรรคประชาธิปัตย์
    และว่า ที่ผู้ลงสมัครสมาชิก ส.อบจ.ของทีมกิจปวงชนในพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอ ก็มีจำนวนถึง 5 คน ที่เคยเป็นคนสนับสนุนอดีต ส.ส.คนดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้คนของพรรคประชาธิปัตย์ จึงจำเป็นที่จะต้องตั้งข้อสังเกตหรือตั้งคำถามขึ้นมา
    นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้นพูดเรื่องนี้ และก็ไม่ได้เริ่มต้นจากผู้ที่จะลงสมัคร ส.อบจ. แต่เกิดจากคณะกรรมการสาขาพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นคนตั้งข้อสังเกต หรือตั้งคำถามขึ้นมา เพราะมีว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.บางคนได้ไปพูดจาเยาะเย้ยถากถางให้คนของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยินว่า ถึงไม่ได้เชียร์พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ได้ลงสมัคร ส.อบจ.ในนามทีมกิจปวงชน
    “แต่มีการพยายามบิดเบือนว่า ผมและผู้ที่จะลงสมัคร ส.อบจ.นำเรื่องนี้ออกมาพูด เพื่อสร้างกระแสว่าเกิดความไม่พอใจกันขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ โดยส่วนตัวยอมรับว่าหลังคณะกรรมการสาขาพรรคนำเรื่องนี้มาพูดกัน ผมก็ได้อาสาไปพูดคุยกับนายกิจมาแล้ว 2-3 ครั้ง” นายสาทิตย์ กล่าวและว่า
    ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง คะแนนอย่างไม่เป็นทางการหมายเลข 1 นายเอกรินทร์ นิลสวัสดิ์ ได้ 59,223 คะแนน หมายเลข 2 นายกิจ หลีกภัย หัวหน้าทีมกิจปวงชน ได้รับการเลือกตั้ง 146,500 คะแนน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดตรัง 420,267 คน ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 235,382 คน คิดเป็นร้อยละ 56.01% ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 13,270 คะแนน บัตรเสีย 16,389 คะแนน ส่วนผู้สมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังนั้นทีมกิจปวงชนส่ง 26 คน ได้ 21 คน ทีมประชาธิปัตย์ ส่ง 6 คน ได้ 2 คน ส่วนที่เหลือเป็นผู้สมัครอิสระ 7 คน
     
    นครศรีธรรมราช
    นายวิฑูรย์ เดชเดโช
    ฐานเสียงของตระกูลศักดิเศรษฐ,บุญยเกียรติ,เสนพงษ์,แก้วภราดัย,มาศดิตถ์และพิศสุวรรณ
    นายวิฑูรย์ เดชเดโช อดีตนายก อบจ. หัวหน้าทีมพลังเมืองนคร ญาติสนิทของนายชำนิ ศักดิเศรษฐ สส.สัดส่วน ปชป. ได้266,257คะแนน ชนะนายพิชัย บุณยเกียรติ อดีตสว.นครศรีธรรมราช หัวหน้าทีมประชาธิปไตย(น้องชายของนายชินวรณ์ บุญยเกียรติ สส.ปชป.คนปัจจุบัน) ที่ได้251,343คะแนน
    ตระกูลเกตุชาติยังคงครองฐานเสียงในเขตเทศบาลนคร
    นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครศรีธรรมราช โดยลูกชายอย่างดร.กณพ เกตุชาติ ก็เป็นอดีตผู้สมัครสส.เขต1พรรคทรท.
     
    นราธิวาส
    นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน
    ฐานเสียงของตระกูลยาวอหะซัน,อุตรสินธิ์และแวดาโอ๊ะ
    ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ นายก อบจ.นราธิวาส นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน บิดาของนายวัชระ ยาวอหะซัน สส.นราธิวาส พรรคชาติไทยพัฒนาที่ได้ 105,327 คะแนน และนายรำรี มามะ ได้ 87,973 คะแนน

    ปัตตานี
    นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี
    ฐานเสียงของตระกูลโต๊ะมีนา
    ผู้ชนะการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการคือ นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี ผู้สมัครหมายเลข 3 และเป็นอดีตนายก อบจ.ปัตตานีมาแล้วถึง 2 สมัย คนสนิทกลุ่มวาดะห์ ได้คะแนน 98,854 คะแนน มากเป็นอันดับ 1 ทิ้งห่างคู่แข่งที่ได้อันดับ 2 ถึงกว่า 25,000 คะแนน คือนายอนุมัติ ซูสารอ ผู้สมัครหมายเลข 2 เด็กเพื่อแผ่นดิน ซึ่งได้คะแนน 73,781 คะแนน ขณะที่อันดับ 3 คือนายฟรีดี เบญฮิบรอน พรรคปชป. ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้คะแนนเพียง 41,030 คะแนน
    ขณะที่ยอดจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบจ. มีทั้งสิ้น 239,717 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 60.18 ซึ่งถือว่ามีผู้มาใช้สิทธิ์ต่ำกว่าเป้าที่ทาง กกต.ปัตตานีวางไว้คือ 70 % ซึ่งสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากปัญหาความไม่สงบ ในจำนวนนี้มีบัตรเสีย 6.29 % และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4.58 %
     
    พังงา
    นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์
    ฐานเสียงของตระกูลลักษณะวิศิษฐ์
    มี ผู้สมัครชิงชัยในตำแหน่งดังกล่าวจำนวน 3 คน ประกอบด้วย หมายเลข 1 ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ หมายเลข 2 บำรุง ปิยนามวาณิช และ หมายเลข 3 กระจ่าง เพชรบูรณ์ 
    สำหรับนาย ฉกาจ นั้น เป็นอดีต ส.อบจ.พังงา เขตอำเภอท้ายเหมืองและอดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)จังหวัดพังงา และดูเหมือนว่าจะจับจุดของคนพังงาได้จึงหาเสียงด้วยการประกาศว่า ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด นอกจาก “พรรคประชาธิปัตย์”อันเป็นการอ้อนที่ได้ผลไม่น้อยทีเดียว
    โดยมีพื้นที่ที่น่าจะเป็นฐานเสียงอย่างแน่นหนาคือ อำเภอตะกั่วป่าอำเภอกะปง และ อำเภอท้าย เหมืองรอบในและ อำเภอเกาะยาวบางส่วน มีกัณตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ 
    ขณะที่ บำรุง หรือ นายกหลี่ อดีต ส.จ.พังงา 3 สมัย ตำแหน่งล่าสุดเป็นเจ้าของเก้าอี้ นายก อบจ.พังงา ที่ผู้สมัครทุกคนต่างก็หวังที่จะครอบครอง โดยเป็นผู้สมัครอีก คนหนึ่งที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัติย์ ใช้ผลงานตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาเป็นตัวดึงคะแนน พร้อมกับมุ่งที่จะสานงานต่อก่องานใหม่   ภายใต้สโลแกนที่ว่า “เชื่อมั่นพังงา ศรัทธาอนาคตร่วม กัน” นับ เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี 2 พี่น้อง อย่าง จุรินทร์ - จุฤทธิ์ ลักษณะวิศิษฎ์ ให้การสนับสนุน อย่างแท้จริง มีฐานคะแนน เสียงสำคัญอยู่ที่อดีต สมาชิกสภา อบจ.พังงา สมัยที่ผ่านมา และมีกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน    กลุ่ม อสม.และบุคลากรทางการศึกษา ช่วยหนุนเสริมอีกแรง ทำให้มีฐานคะแนนที่ค่อนข้าง หนาแน่น
    ส่วน กระจ่าง ข้าราชการบำนาญผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าและพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนานา ประการเพื่อให้มีโอกาส เดินอยู่บนถนนสายการเมืองที่ตัวเองรัก โดยประกาศกับประชาชนขอเป็นทางเลือกที่ 3 ด้วยนโยบาย “รวบรวมปัญหานำมาแก้ไข พร้อมรับใช้พี่น้องชาวพังงา”
    สภากาแฟ อันเป็นที่รวมของคอการเมืองได้วิจารณ์การเลือกตั้ง นายก อบจ.พังงา ครั้งนี้ว่า ฉกาจ กับ นายกหลี่ นับ เป็นคู่ชิงที่สมน้ำสมเนื้อ ทุกกระบวนท่าในเชิงยุทธ และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี่ยงพล้ำแม้แต่จังหวะเดียว ก็อาจทำให้อีกฝ่ายลอยลำไปนั่งในตำแหน่งนายก อบจ.พังงานได้ทันที
    สำหรับ กระจ่าง ดูจากแนวทาง นโยบายเชื่อว่าเป็นความหวังของประชาชน แต่คงต้องรอในสมัยหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้จึงขอเพียงใช้โอกาสนี้ในการแนะนำตัวและแนวนโยบายในการ พัฒนาพื้นที่เพื่อกรุยทางสู่ถนนสายการเมืองในอนาคตก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว
    สำหรับผลไม่เป็นทางการทั้ง 8 อำเภอ ปรากฏว่า นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีต ส.ว.พังงา ได้คะแนนสูงสุด คือ 42,904 คะแนน หมายเลข 2 นายบำรุง ปิยะนามวานิช อดีตนายก อบจ.พังงา คนก่อน ได้คะแนน 40,671 คะแนน หมายเลข 3 นายกระจ่าง เพชรบูรณ์ ได้คะแนน 9,571 คะแนน
     
    พัทลุง
    ฐานเสียงของตระกูลธรรมเพชร
    ผู้สมัครหมายเลข 3 นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี กลุ่มรักพัทลุง คนสนิทของนายวีระ มุสิกพงศ์ อดีต ส.ส.พัทลุง ได้คะแนน 82,381 คะแนน ทิ้งห่างจากพรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีตสส.พัทลุง 6สมัย16ปี พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนเพียง 75,050 คะแนน ส่วนผู้สมัครหมายเลข 1 นางนที รัชกิจประการ กลุ่มพัทลุงก้าวหน้า ได้ 68,796 คะแนน และหมายเลข 4 นางสาวพรรณฉวี สุภัทรพงศ์ ผู้สมัครอิสระ ได้ 3,659 คะแนน
    ส่วนผู้สมัคร ส.อบจ.พัทลุง 105 คน จาก 30 เขตเลือกตั้ง ปรากฏว่า กลุ่มพัทลุงก้าวหน้า ชนะเข้ามา 7 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 17 ที่นั่ง และ กลุ่มรักพัทลุง ได้ 6 ที่นั่ง
     
    ภูเก็ต
    นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
    ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง นายก อบจ.และสมาชิกสภา อบจ.ภูเก็ตที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 21 เมษายน ปรากฎว่าผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 1 นางอัญชลี วานิช เทพบุตร อดีตนายกอบจ.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 39,085 คะแนน ส่วนหมายเลข 2 นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ อดีตสว.ภูเก็ตปี43 ได้ 59 ,994
    ด้านของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ใน 24 เขตเลือกตั้ง ผลปรากฎว่า เขตอำเภอเมือง ซึ่งมีจำนวน 15 เขต เลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนเยาวราช ถนนหงส์หยกอุทิศ ถนนโกมารภัจจ์ ถนนนคร ซอยสามกอง ซอยพะเนียง ซอยวชิระ ซอยหางนกยูง และตรอกสุ่นอุทิศ หมายเลข 1 นายสมควร ตันสกุล ได้ 1,662 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนเทพกระษัตรี ถนนชุมพร ถนนทุ่งคา ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนสุทัศน์ ถนนดำรง ถนนเชิงคีรี ถนนโต๊ะแซะ ถนนปะเหลียน ถนนกำนัน ถนนตรัง ถนนนริศร ถนนผู้ใหญ่บ้าน ซอยรมณีย์ ซอยมงคล ซอยเทศา หมายเลข 2 นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส ได้ 1,504 คะแนน
    เขตเลือกตั้งที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนอำเภอ ถนนหลวงพ่อ ถนนสุรินทร์ ถนนศรีสุทัศน์ ถนนศรีเสนา ถนนอนุภาษภูเก็ตการ ถนนติลกอุทิศ ถนนชนะเจริญ ถนนถาวรว่องวงศ์ ถนนนิมิต ซอยสุรินทร์ หมายเลข 2 นายบุญอุ้ม เอื้อจิตตระกูล ได้ 2,096 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนภูเก็ต ถนนพังงา ถนนมนตรี ถนนวีรพงศ์หงษ์หยก ถนนอ๋องซิมผ่าย ถนนกระ ถนนตะกั่วทุ่ง ซอยสะพานหิน ซอยต้นโพธิ์ ซอยประดิษฐ์ หมายเลข 2 นายประสิทธิ์ สินเสาวภาคย์ ได้ 2,363 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนรัษฎา ถนนตะกั่วป่า ถนนรัตนโกสินทร์ ถนนบางกอก ถนนพูนผล ถนนศักดิเดช ถนนพัฒนา ถนนเจ้าฟ้า ถนนวิรัชหงษ์หยก ถนนปฏิพัทธ์ ซอยตลิ่งชัน หมายเลข 1 นายหัตถ์ กตัญชลีกุล ได้ 1,915 คะแนน
    เขตเลือกตั้งที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนวิชิตสงคราม ถนนแม่หลวน ถนนกระบี่ ถนนสตูล ถนนระนอง ซอยภูธร ซอยขจร หมายเลข 1 นายพงษ์สุระ คู่พงศกร ได้ 1,620 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 7 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเกาะแก้ว ตำบลรัษฎา หมู่ที่ 2 หมายเลข 2 นายศุภโชค ละอองเพชร ได้ 3,214 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 8 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลรัษฎา หมู่ที่ 3, 5, 6 หมายเลข 2 นายจิรทีป นาวารักษ์ ได้ 2,827 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 9 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลรัษฎา หมู่ที่ 1, 4, 7 หมายเลข 2 นายชัยวัฒน์ แซ่ตัน ได้ 1,931 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 10 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลวิชิต หมู่ที่ 1 หมายเลข 2 นายธีระ เจี่ยสกุล ได้ 1,849 คะแนน
    เขตเลือกตั้งที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลวิชิต หมู่ที่ 2, 3, 4, 5 หมายเลข 1 หมายเลข 2 นายประดิษฐ์ แสงจันทร์ ได้ 2,240 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลวิชิต หมู่ที่ 6, 7, 8, 9 หมายเลข 2 นายสมาน การะเกศ ได้ 1,640 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 13 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลฉลอง หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 หมายเลข 2 นายสุวิทย์ ว่องไว ได้ 2,183 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 14 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลราไวย์ หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7 หมายเลข 2 นายไกรวุฒิ คุ้มบ้าน ได้ 2,105 คะแนน และเขตเลือกตั้งที่ 15 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลกะรน ตำบลฉลอง หมู่ที่ 10 ตำบลราไวย์ หมู่ที่ 1 หมายเลข 1 นายพรเทพ ชามขาว ได้ 1,785 คะแนน หมายเลข
    เขตอำเภอถลาง จำนวน 6 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลศรีสุนทร หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 หมายเลข 1 นายอานุภาพ เวชวนิชสนอง ได้ 3,298 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลไม้ขาว หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 หมายเลข 2 นายณรงค์ สิงห์ฆาฬะ ได้ 2,905 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลป่าคลอก หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 หมายเลข 2 นายสวัสดิ์ มัจฉาเวช ได้ 2,771 คะแนน
    เขตเลือกตั้งที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเชิงทะเล หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5 หมายเลข 5 นายสมมิตร สืบสิน ได้ 2,017 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเทพกระษัตรี หมู่ที่ 1, 2, 4, 7, 9, 11 และตำบลเชิงทะเล หมู่ที่ 6 หมายเลข 2 นายศานิต สิริวัฒน์ ได้ 3,627 คะแน เขตเลือกตั้งที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลสาคู หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5 และตำบลเทพกระษัตรี หมู่ที่ 3, 5, 6, 8, 10 หมายเลข 2 นายศักดิ์ชาย เชาวน์ไวย ได้ 2,765 คะแนน
    เขตอำเภอกะทู้ จำนวน 3 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลกะทู้ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7 หมายเลข 2 นายบุญยง จิรพิสุทธิกุล ได้ 2,505 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนพิศิษฐ์กรณีย์ ถนน 50 ปี ถนนราชปาทานุสรณ์ ถนนราษฎร์อุทิศ 200 ปี ถนนทวีวงศ์ ถนนหมื่นเงิน ถนนเฉลิมพระเกียรติ ถนนหาดป่าตอง ถนนสวัสดิรักษ์ ถนนไสน้ำเย็น ถนนนาใน ถนนสิริราชย์ ถนนประชานุเคราะห์ ถนนร่วมใจ ถนนบางลา ถนนเพชรกูด หมายเลข 1 นายประสาน ประทีป ณ ถลาง ได้ 1,410 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลกมลา หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตำบลกะทู้ หมู่ที่ 6 ถนนพระบารมี ตลอดสาย ซอยพระบารมี 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 หมายเลข 1 นายสนธยา สุนธารักษ์ ได้ 2,299 คะแนน
    สำหรับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภูเก็ต แบ่งเป็น อำเภอเมือง จำนวน 62,651 คน อำเภอถลาง จำนวน 33,061 คน อำเภอกะทู้ จำนวน 13,177 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 201 ,957 คน คิดเป็นร้อยละ 53.92 บัตรเสีย จำนวน 4,059 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.73 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 5,759 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.29
    ขณะที่จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็น อำเภอเมือง จำนวน 62,366 คน อำเภอถลาง จำนวน 33,025 คน อำเภอกะทู้ จำนวน 13,149 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 200 ,717 คน คิดเป็นร้อยละ 54.08 บัตรเสีย จำนวน 2,253 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.08 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 4,287 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.95
    ผลการการเลือกตั้งในครั้งนี้ส่งผลให้ นางไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ จากกลุ่มคนบ้านเรา มีคะแนนทิ้งห่าง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ซึ่งเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และพรรคประชาธิปัตย์ส่งลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ต สูงถึง 20,909 คะแนน
    สำหรับนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นั้นเล่นการเมืองครั้งแรกในสนามเลือกตั้ง ส.ว.ภูเก็ต และรับความไว้วางใจจากชาวจังหวัดภูเก็ตอย่างท่ามท้นเลือกตั้งเข้ามาให้เป็น ส.ว.คนแรกของจังหวัด นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต
    ส่วนในวงการนักธุรกิจ ถือว่านายไพบูลย์เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพยชั้นแนวหน้าของจังหวัด ภูเก็ต โดยโครงการบ้านจัดสรรที่รู้จักกันดีภายชื่อโครงการภูเก็ตวิลล่า ซึ่งแต่ละโครงการจะได้รับการตอบรับที่ดีมากขายหมดภายในพริบตา
     
    ยะลา
    ฐานเสียงของตระกูลมะทา
    นายมุขตาร์ มะทา (น้องชายนายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา) อดีตรองนายก อบจ.ยะลา และหัวหน้าทีมยะลาพัฒนา ผู้สมัครหมายเลข 2 เป็นนายกอบจ. โดยเอาชนะคู่แข่ง คือ “นายดาวุฒิ ซา”ผู้สมัครหมายเลข 1 จากทีมประชาธิปัตย์ ไป

    ระนอง
    นายนภา นทีทอง
    ฐานเสียงของตระกูลร่มเย็นและฉัตรมาลีรัตน์
    ผลการเลือกตั้งนายกอบจ.ระนอง ปรากฎว่า นายนภา นทีทอง ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดระนอง ที่มี นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุน ได้รับการเลือกตั้ง ด้วยคะแนน 26,450 คะแนน เอาชนะ นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ทีมระนองก้าวหน้า ผู้สมัครหมายเลข 2 ลูกชายนายบดินทร์ ฉัตรมาลีรัตน์ หรือ นายฮั้งเพ้ง เจ้าของลูกชิ้นหมูชื่อดัง อดีตนายกอบจ.ระนอง ที่ได้ 23,684 คะแนน จากการตรวจสอบคะแนนจากทุกอำเภอ พบว่า นายคงกฤษ มีคะแนนนำใน 4 อำเภอคือ กระบุรี กะเปอร์ ละอุ่น และสุขสำราญ แต่ นายนภา มีคะแนนนำเฉพาะในเขตอำเภอเมืองระนองเท่านั้น แต่มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด และส่วนใหญ่เลือกผู้สมัครทีมประชาธิปัตย์ทั้งนายก และส.อบจ. เมื่อรวมกันแล้วนายนภาเป็นผู้ชนะในที่สุด ส่วน นายอติคม ธนบัตร ผู้สมัครหมายเลข 3 ทีมคนของเรา อดีตผู้สมัคร สส.ระนองพรรค เพื่อแผ่นดิน ได้ 10,972 คะแนน มาเป็นอันดับ 3
    สำหรับผลการนับคะแนน ส.อบจ.ระนอง ทั้ง 24 เขต มีผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนี้ อ.เมืองระนอง เขต 1 นายสมทวน ตันจู เขต 2 ด.ต.ประนอม รอดแคล้ว เขต 3 นายประโมทย์ เทพนุรักษ์ เขต 4 นายภูมิพัฒน์ วิภาคกิจอนันต์ เขต 5 นายนริศ น้อยราช เขต 6 นายบุญเลิศ ลิ่มตั้ง เขต 7 นายวรานนท์ เกลื่อนสิน เขต8 นางสาวอุรชา เมธานันท์ เขต 9 นางสุธาทิพย์ ฐอสุวรรณ เขต 10 นายพลณรงค์ ศรีพิบูลย์ เขต 11 นายธนกร บริสุทธิญาณี เขต 12 นายประภาส พัฒน์ชูชีพ อ.กระบุรี เขต 1 นายประสิทธิ์ โยธารักษ์ เขต 2 นางอรุณรัตน์ ใสสุข เขต 3 นายธวัช ใจดี เขต 4 นายภักดี พรหมสุวรรณ เขต 5 นายสุรพล ศรีบุญเรือง เขต 6 นายเธียรชัย สายน้ำใส
    อ.กะเปอร์ เขต 1 นายอุดม ยกทอง เขต 2 นายสมควร ทองสุกใส เขต 3 นาย สุรพล ชูศรี อ.ละอุ่น เขต 1 นายสมบัติ หีดคีรี เขต 2 นายพิทักษ์ หีบเพชร และ อ.สุขสำราญ เขต 1 นายอิสหาก สาลี
    สรุปว่า ทีมระนองก้าวหน้าชนะ 14 เขต ประชาธิปัตย์ 7 เขต อยู่ในเขต อ.เมืองทั้งหมด ผู้สมัครอิสระ 2 เขต และทีมคนของเรา 1 เขต มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 64,602 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 109,802 คน คิดเป็นร้อยละ 58.83 บัตรเสีย 2,500 บัตร ร้อยละ 3.87 และบัตรไม่ลงคะแนน 2,123 บัตร ร้อยละ 3.29

    สงขลา
    นายอุทิศ ชูช่วย
    ฐานเสียงของตระกูลเสนเนียม,พัฒโน กับบุญญามณี
    ผลการเลือกตั้งนายกและ ส.อบจ.สงขลา เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา นายนวพล บุญญามณี หัวหน้าทีมสงขลาพัฒนา ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนรวม 234,353 คะแนน ในขณะที่ นายวรวิทย์ ขาวทอง หัวหน้าทีมรักสงขลา ได้ 228,623 คะแนน แพ้ชนะกัน 5,730 คะแนน โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 899,976 คน ผู้มาใช้สิทธิ์ 510,885 คน คิดเป็น 56.77 % บัตรเสีย 20,175 ใบ คิดเป็น 3.95 % และไม่ประสงค์ลงคะแนน 27,734 ใบ คิดเป็น 5.43 %
    ส่วนผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 36 เขตเลือกตั้ง อย่างไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย
    อำเภอเมืองสงขลา เขต 1 นายวิชัย กุหลาบวรรณ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,427 คะแนน เขต 2 นายศิริชัย เอกพันธ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,392 คะแนน เขต 3 นายนราเดช คำทัปน์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 7,079 คะแนน เขต 4 นายสุรชัย สุริแสง ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,382 คะแนน
          
    อำเภอหาดใหญ่ เขต 1 นายพินิจ ทิพย์แก้ว ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,800 คะแนน เขต 2 นายนิพัทธ์ ศิริรัตน์ ทีมรักสงขลาได้คะแนนเสียง 4,021 คะแนน เขต 3 นายเจตภัทร ทองวงศ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 4,235 คะแนน เขต 4 นายพิพัฒน์ เจือละออง ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,332 คะแนน เขต 5 นายณัฐวุฒิ ไชยชูลี ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,861 คะแนน เขต 6 นายเขียน จินนะวงศ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,809 คะแนน เขต 7 ด.ต.นิคม ทองมุณี ทีมสงขลาพัฒนาได้คะแนนเสียง 9,276 คะแนน เขต 8 นายประวัติ สวนแก้ว ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง5,976 คะแนน เขต 9 นายพยม พรหมเพชร ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง4,959 คะแนน เขต 10 นายดำรงค์ เพ็ชรพงศ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 6,378คะแนน
    อำเภอสะเดา เขต 1 นายธนพล ศรีเนตร ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 5,099 คะแนน เขต 2 นายนิรุธ สุวรรณรักษา ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 6,597 คะแนน เขต 3 นายสุเมธ ศศิธร ทีมอิสระได้คะแนนเสียง 7,0798 คะแนน
    อำเภอจะนะ เขต 1 นายร่อเหตุ รักหมัด ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 8,311 คะแนน เขต 2 นายสุภาพ ทองเพชร ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 10,821 คะแนน
    อำเภอสิงหนคร เขต 1 นายฉัตรเพชร ครุอำโพธิ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 8,680 คะแนน เขต 2 นายวิสุทธิ์ รุจิเรข ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 8,647 คะแนน
    อำเภอรัตภูมิ เขต 1 จ.ส.ต.จรูญ เรืองฤทธิ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 8,831 คะแนน เขต 2 นายอดุลย์ สงดวง ทีมรักสงขลา 7,617 คะแนน
    อำเภอระโนด เขต 1 ว่าที่ ร.ต.ไกรธนู แกล้วทนงค์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 8,946 คะแนน เขต 2 นายอำนาจ นวลทอง ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,799 คะแนน
    อำเภอสะบ้าย้อย เขต 1 นายกุศล ขุนดำ ทีมอิสระได้คะแนนเสียง 3,804 คะแนน เขต 2 นายปิยะ อุ่นแดง ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 9,536 คะแนน
    อำเภอเทพา เขต 1 นายวรพงศ์ ปราบ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 4,843 คะแนน เขต 2 นายอธิวัตร ใบสะเม๊าะ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 5,685 คะแนน
    อำเภอสทิงพระ เขต 1 นายสุวัฒน์ นิยมเดชา ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 11,427 คะแนน
    อำเภอควนเนียง เขต 1 นายมิตร แก้วประดิษฐ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 7,638 คะแนน
    อำเภอกระแสสินธุ์ เขต 1 นายเปรม ทองเนื้อแข็ง ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,601 คะแนน
    อำเภอบางกล่ำ เขต 1 นายบุญเจอ กัลยาศิริ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,119 คะแนน
    อำเภอคลองหอยโข่ง เขต 1 นายสาธิต สุวรรณชาตรี ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 7,139 คะแนน
    อำเภอนาทวี เขต 1 ส.อ.กุณฑล เสนะพันธุ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 17,296 คะแนน
    อำเภอนาหม่อม นายอาคม ประสมพงศ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,964 คะแนน
    สรุปทีมสงขลาพัฒนา นายก อบจ.สงขลา 1 คน ส.อบจ.สงขลา 18 คน ทีมรักสงขลา ส.อบจ.สงขลา 16 คน และอิสระ 2 คน
    สำหรับการเลือกตั้งนายกฯและ ส.อบจ.สงขลา ในครั้งนี้มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 899,976 คน ผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน 510,885 คน คิดเป็นร้อยละ 56.77 จำนวนบัตรเสีย 20,175 คิดเป็นร้อยละ 3.95 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 27,734 คิดเป็นร้อยละ 5.43
    ชัยชนะของ นวพล พร้อมกับการหิ้ว ส.อบจ.เข้ามา 18 ที่นั่ง เสียให้ทีมรักสงขลา 16 ที่นั่ง และทีมอิสระ 2 ที่นั่ง แต่ก็มากพอที่จะช่วยให้ฝ่ายบริหารทำงานได้อย่างราบรื่น ผลการเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นการย้ำแค้นสมัยที่ 2 หลังจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว นวพล ก็ชนะวรวิทย์ มาแล้ว ส่งผลให้ชื่อนายกชาย กลายเป็นอดีตต่ออีก 4 ปี และนายกแกน ก็ได้ต่ออีก 4 ปี การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันชิงตราปชป.มากกว่าแข่งกันที่นโยบาย นวพล มีแรงหนุนจากพี่ชาย นิพนธ์ บุญญามณี และ 2 ส.ส.สงขลา ประพร เอกอุรุ และนราชา สุวิทย์ ส่วนวรวิทย์ มีถึง 6 คน ซึ่งเป็น ส.ส.สงขลาทั้งหมด
    ชัยชนะของนวพล มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือผลงานเก่า 4 ปีที่ผ่านมา และภาพความเป็น ปชป.ที่ชัดกว่า ขณะที่วรวิทย์ ห่างสนามไปถึง 4 ปี และเคยสวมเสื้อไทยรักไทย แม้มี 6 ส.ส.สนับสนุนก็สู้ไม่ไหว และตัวแปรสำคัญคือการที่ประชาชนจำนวนมากเบื่อหน่ายการเลือกตั้งทำให้มีผู้มา ใช้สิทธิ์แค่ 56 % เท่านั้น บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนและบัตรเสียกว่า 4..7 หมื่นใบ สะท้อนถึงความเบื่อหน่ายของผู้ใช้เลือกตั้งที่ไม่รู้จะเลือกใครจึงออกมาใช้ สิทธิ์ตามกฎหมายเท่านั้น
    นายนวพล บุญญามณี เกิดเมื่อ 7 ตุลาคม 2506 เป็นชาวอำเภอเมืองสงขลา การศึกษาปริญญาโท สำเร็จการศึกษาจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์(M.P.A)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) ประสบการณการทำ เป็นผู้ก่อตั้งสมาพันธ์นักศึกษา 14 จังหวัดภาคใต้ ผู้ช่วยดำเนินงาน ส.ส. นิพนธ์ บุญญามณี และเป็นกรรมการรองผู้จัดการบริษัท อาคเนย์คอนกรีต จำกัด พ.ศ. 2358 ได้รับเลือกเป็นสมชิกสภาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2539 รับเลือกเป็นรองประธานสภาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2542 ได้เลือกเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาคนที่ 1, พ.ศ. 2547 ได้รับเลือกการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,นายกสมาคม กีฬาจังหวัดสงขลา
    แต่แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำตัดสินที่ กกต. เสนอให้ "ใบเหลือง" แก่ นวพล บุญญามณี อดีตนายก อบจ.สงขลา 2 สมัย

    มีผู้สมัคร 3 คน ประกอบด้วย หมายเลข 1 วรวิทย์ ขาวทอง อดีตนายก อบจ.สงขลา 2 สมัย ทีมรักสงขลา หมายเลข 2 อุทิศ ชูช่วย อดีตนายกเทศมนตรีนครสงขลา 3 สมัย ทีมสงขลาพัฒนา หมายเลข 3 อนันต์ กาญจนสุวรรณ ทีมทางเลือกใหม่คนสงขลา
    แต่เซียนการเมืองที่นั่นมองว่าม้าสองตัวที่จะแย่งกันเข้าวินคงมีเพียง "วรวิทย์" กับ "อุทิศ" เท่านั้น ส่วนอนันต์คงต้องรอ "ส้มหล่น" หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองของสองคนแรกเท่านั้น
    นอกจากนี้แม้ข่าวหลายสำนักจะมองว่าศึกครั้งนี้เป็น "ศึกสายเลือด" ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลักษณะ "สงครามตัวแทน" ของ ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กับ นิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรค
    แต่นั่นคือภาพเก่าของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ เพราะทั้งวรวิทย์และอุทิศไม่มีใครขายความเป็นประชาธิปัตย์ แต่แข่งกันขายนโยบายส่วนตัวมากกว่า ซึ่งต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่ ส.ส.สงขลา ทั้ง 10 คน แบ่งข้างหนุนคนของตนชัดเจน
    โดยมี 8 ส.ส.หนุนวรวิทย์ ซึ่งเป็นคนของถาวร ส่วนอีก 2 คนหนุนนวพล ซึ่งเป็น "น้องชาย" ของนิพนธ์
    ว่ากันว่าเบื้องหลังการสวมคอนเวิร์สของสองตระกูลนี้ เนื่องจากอุทิศส่งน้องชาย คือ กิตติ ชูช่วย อดีตประธานสภาเทศบาลสงขลา ลงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลาในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้
    ขณะที่นิพนธ์ต้องการส่ง พีระ ตันติเศรณี อดีตรองนายกอบจ.สงขลา ลงสมัครนายกเทศมนตรีนครสงขลา เพื่อแลกกับการสนับสนุน อุทิศในเลือกตั้งนายก อบจ.
    แต่สุดท้ายเงื่อนไขดังกล่าวก็ต้องล่มกลางคันเมื่ออุทิศไม่ยอมถอย ทั้งยังส่งน้องชายลงสมัครแทนอีกต่างหาก !!
    จากนั้นการ "ลอยแพ" อุทิศจึงเกิดขึ้นเมื่อ ส.อบจ.6 คน ทีมสงขลาพัฒนาเดิมที่เป็นลูกทีมของนวพล ประกาศเปลี่ยนขั้วไปอยู่กับวรวิทย์แทน
    การสลับขั้วดังกล่าวทำให้เสียงในสภา อบจ.สงขลา ของวรวิทย์เพิ่มเป็น 22 คน จากจำนวน ส.อบจ.ทั้งหมด 36 คน ซึ่งทำให้ฐานเสียงของวรวิทย์ปึ้กมากในพื้นที่ อ.ระโนด อ.เมืองสงขลา และ อ.หาดใหญ่
    โดยเฉพาะพื้นที่ อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นสนามชี้ขาดการเลือกตั้งครั้งก่อน เพราะมี ส.อบจ.ถึง 10 คน และครั้งก่อนมี "ใบสั่ง" ให้ผู้สมัครคนหนึ่งเทคะแนนไปให้นวพล จึงทำให้วรวิทย์พ่ายนวพลไปอย่างน่าเจ็บกระดองใจ
    นอกจากนี้วรวิทย์ยังดึง ทิพวรรณ พัฒโน อดีต ส.ว.สงขลา ภรรยาของ ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เข้ามาอยู่ในทีมรองนายก อบจ.สงขลา ด้วย จึงน่าจะเสริมเขี้ยวเล็บให้วรวิทย์ได้อีกมาก
    ส่วนในพื้นที่ อ.ระโนด ซึ่งเป็นจุดบอดของวรวิทย์อีกจุดได้ สวัสดิ์ แกล้วทนง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมดึง ส.อบจ.ธนู แกล้วทนง หลานชายจากทีมสงขลาพัฒนา พ่วงท้ายด้วย ส.ส.ประพร เอกอุรุ ส.ส.สงขลา เข้ามาช่วยอีกแรง
    อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกมองว่าเป็นรอง และมีข่าวว่าจะถอดใจ เพราะถูกนิพนธ์ลอยแพ แต่อุทิศก็ยังสวมหัวใจสิงห์สู้ต่อ โดยชูประสบการณ์ในตำแหน่ง "นายกเทศมนตรีนครสงขลา 3 สมัย" เป็นเครื่องการันตี
    โดยเฉพาะผลงานการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวของเมืองสงขลาด้วยการปลุก "หาดสมิหลา" เป็น "ห้องรับแขก" ของภาคใต้
    เมื่อผนวกกับการเตรียมพร้อมด้วยการเรียกประชุมฐานเสียงในทุกอำเภออย่าง ต่อเนื่อง จึงทำให้ไม่อาจประมาทอุทิศไปได้เลย โดยเฉพาะ "คะแนนสงสาร" ที่อาจทำให้ "การเมืองระดับชาติ" ต้องสะอื้นอีกครั้ง
    การเลือกตั้งนายกอบจ.สงขลา 11 ตุลาคม 52 นี้ดูเหมือนว่าไม่ใช่เป็นการแข่งขันของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น 2 กลุ่ม + 1 กลุ่มใหม่ คือการเมืองของทีมรักสงขลา ของวรวิทย์ ขาวทอง ทีมสงขลาพัฒนาของอุทิศ ชูช่วย และทีมทางเลือกใหม่คนสงขลา ของอนันต์ กาญจนสุวรรณ
    ต้องพูดกันตามตรงว่า ทีมรักสงขลา และสงขลาพัฒนา คือคู่ต่อกรกันตัวจริงส่วนทีมทางเลือกใหม่คนสงขลา โอกาสสอดแทรถึงขนาดขึ้นมาแซง 2 ทีมแรกคงยากมาก อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งคราวนี้ดูเหมือนชัดเจนแล้วว่าไม่ใช่การแข่งขัน ระหว่างอุทิศ กับวรวิทย์ เสียแล้ว แต่เป็นการแข่งขันระหว่างอุทิศ กับวรวิทย์ + 9 ส.ส.ปชป.
    ทราบดีว่าสงขลาบ้านเราปชป.กินเรียบด้วย ส.ส.เขต 8 คน แถมส.ส.สัดส่วนอีก 2 คน ที่นำทีมโดยถาวร เสนเนียม มท.3 นำทีม โดยประพร เอกอุรุ ส.ส.สงขลาประกาศชัดบนเวทีช่วยหาเสียงให้วรวิทย์ ว่า 8 คนของปชป.+ ดร.สามสี ไตรรงค์ สุวรรณคีรี หนุนวรวิทย์ บอกนัยยะกับชาวสงขลาว่าถึงไม่ใช่ลงในนามพรรคก็ยิ่งใหญ่กว่าในนามพรรคเสียอีก
    ส่วนอุทิศ ชู่ช่วย ดูเหมือนว่านับตั้งแต่มีปัญหากันภายในทีมสงขลาพัฒนา ก็ขาดหายคนในปชป.มีเพียง นิพนธ์ บุญญามณี ที่ยืนหนุนในฐานะเพื่อนรักแต่ไม่ได้ออกหน้ามาก รวมทั้งอดีตนายกนวพล ก็หายไปจากเวทีช่วยหาเสียงและสจ.บางคนก็ย้ายสังกัดไปอยู่ทีมรักสงขลา ภาวะเช่นนี้ดูเหมือนว่าอุทิศ กำลังเดียวดาย
    ในเขตเมืองหาดใหญ่ ไพร พัฒโน ก็ส่งเมียรัก ทิพวรรณ พัฒโน ลงทีมรองนายกกับวรวิทย์ และขึ้นไปช่วยหาเสียงแทบทุกเวทีแถมประกาศสโลแกนเดียวกับปชป.ว่า "ชาวสงขลา ต้องมาก่อน" ซึ่งถ้าดูจากตรงนี้ต้องบอกว่าแต้มต่อที่วรวิทย์ มีสูงมาก สูงจนมีเสียงจากทีมงานออกมาบอกว่า "ชนะแน่ๆ"
    อุทิศ ชุช่วย แม้จะลงสนามมานาน เดินสายเปิดตัวมาตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดีนวพล แต่เมื่อเจอลูกหนุนจาก ปชป. แรงขับเคลื่อนจากคนที่เคยได้ชื่อว่าลูกหม้อปชป.ก็แทบหายไปจากตัวอุทิศ แต่ความเป็นลูกรักป๋าเปรม ของอุทิศ ยังมีอยู่เปี่ยมล้น ภาพที่ตรึงตาชาวสงขลา คือไม่ว่าครั้งใดสมัยไหน ในยามที่มีคนเข้ามาโจมตีป๋าเปรม คนแรกที่ลุกมาปกป้องเขาคนนั้นคือ อุทิศ ชูช่วย
    ผลงานการพัฒนานครสงขลา ภายใต้การนำของอุทิศ มีผลเป็นรูปธรรมในหลายโครงการ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในความเป็นนักพัฒนา ว่ากันว่าแรงหนุนจากกลุ่มคนระดับกลางและชาวบ้านส่วนใหญ่ยอมรับในผลงาน ซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยดึงคะแนนได้ในระดับหนึ่ง แต่การมาต่อสู่กับ ส.ส.สงขลาทั้งพรรคจึงเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร
    ในวันนี้ อุทิศ บอกว่ายังไม่ท้อและขอเดินสายพบปะประชาชนให้มากที่สุดที่สำคัญในการเปิดเวที ปราศรัยทุกครั้ง คนฟังยังมาฟังมากมายและทำให้พอมั่นใจได้ว่าการเมืองระดับชาติกับท้องถิ่น นั้นต่างกัน และหากอุทิศ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งคราวนี้ต้องบอกว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่
    ฟาก ฝั่งวรวิทย์ ในการเดินสายเปิดเวทีทุกครั้งก็ต้องมีส.ส.ปชป.หรือคนอื่นๆในสังกัดไปร่วมแจมด้วยแถมบอกว่าช่วงท้ายจะดึงคนมาช่วยหาเสียงหลายคนรวมทั้ง ส.ส.จังหวัดอื่นมาช่วยด้วย คราวนี้เรียกว่ายิ่งใหญ่กว่าเลือกตั้งซ่อมส.ส.เสียอีก
    และมีคำถามปิด ท้ายว่าส.ส.สงขลาออกโรงหนุนวรวิทย์ แบบหมดหน้าตักเช่นนี้ไม่ปล่อยให้ท้องถิ่นเป็นเรื่องของท้องถิ่นแล้วถ้าผลการเลือกตั้งออกมาว่าคนสงขลาไม่เอาคนที่ท่านส.ส.เสนอ ท่านจะรับผิดชอบอย่างไร ลากออกทั้งจังหวัดดีไหม
    คำถามนี้คงไม่ต้องการคำตอบ แต่เชื่อว่าชาวสงขลามีคำตอบให้ตัวเองในใจแล้ว ว่าจะเลือกใคร
    สรุปผลการนับคะแนนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อย่างเป็นทางการ)
    นายอุทิศ ชูช่วย เบอร์2 ได้ไป 249,496 คะแนน 
    นายวรวิทย์ ขาวทอง เบอร์1 ได้ไป 228,565 คะแนน
    นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ เบอร์3 ได้ไป 21,055 คะแนน
    ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 909,569 คน  
    ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 545,688 คน คิดเป็นร้อยละ 59.99
    บัตรเสีย จำนวน 14,750 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.70
    บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 31,822 บัตร คิดเป็นร้อยละ  5.83

    สงขลา 2 พ.ย. - “พีระ ตันติเศรณี” ชนะเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลา ได้คะแนนทิ้งห่างน้องชายนายก อบจ.สงขลา กว่า 1 หมื่นคะแนน
    ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลนครสงขลาอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่านายพีระ ตันติเศรณี ผู้สมัครนายกเทศมนตรีฯ ทีมสงขลาใหม่ หมายเลข 1 ได้ 19,814 คะแนน ชนะนายกิตติ ชูช่วย ทีมสงขลาพัฒนา ซึ่งเป็นน้องชายนายอุทิศ ชูช่วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ที่ได้ 9,453 คะแนน ส่วนผลการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสงขลาแทนตำแหน่งที่ว่าง เขตเลือกตั้งที่ 1 นายวัลลภ วุฒิภูมิ ทีมสงขลาใหม่ ได้ 3,821 คะแนน ชนะ นางสุนิดา คงอินทร์ ทีมสงขลาพัฒนา ที่ได้ 1,634  คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 นายเชาว์ สุชนสถิต ทีมสงขลาใหม่ ได้ 4,501 คะแนน ชนะ นายถวิล แก้วดำ ทีมสงขลาพัฒนา ที่ได้ 2,244 คะแนน และนายจรัญ วงศ์กระจ่าง ทีมอิสระ ที่ได้ 131 คะแนน ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 4 นายชาคริต นิยมเดชา ทีมสงขลาใหม่ ได้ 4,659 คะแนน ชนะ นายประจวบ จันทร์เพ็ญ ทีมสงขลาพัฒนา ที่ได้ 2,935 คะแนน
     
    สตูล
    นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์
    หลังจาก นายธานินทร์ ใจสมุทร ถูกใบแดง ทำให้ต้องเว้นวรรคทางการเมือง ซึ่งมีผู้สมัครลงชิงนายกถึง 4 ท่าน ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างคึกคัก ถึงแม้ว่าประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์เพียง 66%
    โดยหมายเลข 1 นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ ได้ 77,417 คะแนน หมายเลข 2 นายมาวิน หลีเส็น ทีมสตูลก้าวใหม่ จากค่าย ส.ส.อสิ มะหะมัดยังกี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย ซึ่งเป็นพี่เขย ได้ 4,260 คะแนน หมายเลข 3 นายอิสมาแอล ขุนดำ อดีต ส.จ.เขตเมือง จ.สตูล ได้ 4,787 คะแนน และหมายเลข 4 นายอามีน มันยามีน ทีมสมานฉันท์ ผู้สมัครในนามนายธานินทร์ ใจสมุทร อดีต ส.ส. 5 สมัย และอดีตนายก อบจ. 9 เดือน ที่เคยถูกใบแดง 2 ใบซ้อน ได้ 30,500 คะแนน
    ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 7,570 คน บัตรเสีย 3,859 ใบ โดยในจังหวัดสตูลมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 192,982 คน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 128,393 คน คิดเป็น 66.53 %

    ครั้งนี้ นายธานินทร์ ได้ส่งครูแมน หรือ นายอามีน มันยามีน ลงรับสมัครเลือกตั้ง และส่งนางแก้วตา ใจสมุทร เป็นที่ปรึกษา ซึ่งก็ยังได้รับการสนับสนุนจากนายฮอชาลี ม่าเหร็ม ส.ส. 2 สมัย พรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย จึงพกเอาความมั่นใจว่าจะสามารถปราบคู่ต่อสู้ได้อย่างราบคาบ โดยเฉพาะหมายเลข 1 นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ ที่ค่อนข้างมาแรง แต่ท้ายสุดก็ไม่เป็นตามคาด
    ทั้งนี้ นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ จบการศึกษาปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโท มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา เป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ พร้อมเป็นนักพัฒนามืออาชีพที่เคยสร้างความโด่งดังให้เทศบาลตำบลกำแพงถึง 3 สมัย เคยได้รับรางวัลธรรมาภิบาล และรางวัลน้อยใหญ่ถึง 15 รางวัล จนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ และองค์กรท้องถิ่น
    การถล่มพรรคประชาธิปัตย์อย่างราบคาบครั้งนี้ นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ เป็นคนที่ทำการบ้านมาดีและใช้แผนแบบพรรคประชาธิปัตย์ คือการเปิดเวทีปราศรัย ชี้แจงนโยบาย ทุกพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอ ไม่ว่าจะมีคนดูหรือไม่มีคนดู เขาจะทำการปราศรัยอย่างเต็มร้อย และเป็นคนที่มีความพร้อม ดังนั้นผลชนะในครั้งนี้ถือว่าเป็นการรวมพลังของประชาชนในพื้นที่ จ.สตูล ทุกเชื้อชาติศาสนา เพื่อต้องการเอาคนที่ดีที่สุดเข้ามาบริหารจังหวัด โดยเฉพาะ อบจ.สตูล ที่มีงบประมาณและอำนาจหน้าที่ในการพัฒนา จ.สตูล
    ด้าน นายธานินทร์ ใจสมุทร ควงคู่มากับ นายฮอชาลี ม่าเหร็ม ซึ่งถือได้ว่าทั้งสองคนเป็น ส.ส.ที่มีคุณภาพของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพรรคให้ความไว้วางใจทั้งคู่
    การลงสนามในครั้งนี้พกเอาความมั่นใจและความเป็นต่อมาโดยตลอด แต่การส่งครูแมน หรือนายอามีน มันยามีน ซึ่งเป็นอดีต ส.จ.หลายสมัยลงสนาม กลับถูกมองว่า "เอาคนรุ่นเก่าเข้ามาร่วมทำงานใน อบจ." ทั้งที่นายธานินทร์ ใจสมุทร อดีตนายก อบจ.สตูล ได้มีนโยบายอย่างชัดเจนที่จะพัฒนา จ.สตูล หลายโครงการที่เด่นชัดสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชนและข้าราชการ เอกชนในท้องที่เป็นอย่างมาก แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่มั่นใจว่า นายอามีน มันยามีน จะมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเหมือนนายธานินทร์ ผู้สนับสนุนหรือไม่!
    บวกกับการที่นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้เสนอนโยบายอย่างชัดเจนที่จะพัฒนา จ.สตูล แบบต้องการความเปลี่ยนแปลงคนสตูล จึงรวมพลังเลือกของใหม่ เพื่อให้ดีกว่าเก่า จึงเป็นบทพิสูจน์ว่า "สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์" ผู้ล้มนายธานินทร์ ใจสมุทร และ ส.ส.อสิ ลงอย่างราบคาบ จะต้องทำงานหนักเพื่อชิงเอาใจพี่น้องประชาชนกลับมาให้ได้
     
    สุราษฎร์ธานี
    นายมนตรี เพชรขุ้ม
    ฐานเสียงของตระกูลเทือกสุบรรณและนิลวัชรมณี
    สำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ. สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2551 นายธานี เทือกสุบรรณ น้องชายนายสุเทพ ได้รับเลือกตั้งให้เป็น นายก อบจ. แต่นายมนตรี เพชรขุ้ม ผู้สมัครนายก อบจ.ทีมสุราษฎร์ร่มเย็น ได้ยื่นเรื่องคัดค้านการประกาศผลเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.อบจ.สุราษฎร์ธานี โดยอ้างว่า ในช่วง 60 วันก่อน วาระดำรงตำแหน่ง นายธานี ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ด้วยการมอบทุนการศึกษาแก่สถาบันการศึกษา และนักเรียนจำนวน 52 โรงเรียนในเขต จ.สุราษฎร์ธานี และนายสุเทพ ซึ่งเป็น ส.ส. จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพี่ชาย พร้อมด้วยนายสุริญญา ยืนนาน ผู้สมัคร ส.อบจ. จงใจกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ด้วยการแจกผ้าห่ม ซึ่งได้ปักชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ และปักชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งนายธานี ร่วมกับ พล.ต.ต.ภูวดล กระแสอินทร์ ด้วยการโฆษณาโดยใช้แผ่นประกาศแนะนำตัว เพื่อใช้ในการหาเสียงระบุว่า พล.ต.ต.ภูวดล เป็นรอง นายก อบจ. และได้แจกจ่ายแผ่นประกาศดังกล่าว ไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต จ.สุราษฎร์ธานี แต่ต่อมา พล.ต.ต.ภูวดล ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งนายก อบจ.
    ส่วนตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้มี  จำนวน 328,055  คน  จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น จำนวน  677,600  คน  คิดเป็นร้อยละ 48 อย่างไรก็ตาม ทีมประชาธิปัตย์ต้องเสียเก้าอี้ ส.อบจ.ให้กับผู้สมัครอิสระไปถึง 11 คน จากทั้งหมด 30 เขต มีผู้สมัครหน้าใหม่ได้รับเลือกเข้ามาถึง 16 คน

    ผลการเลือกตั้งซ่อม นายก อบจ.สุราษฎร์ธานีแทนนายธานี เทือกสุบรรณ น้องชายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ได้ใบเหลือง พลิกโผเป็นครั้งแรก
    เมื่อ”มนตรี เพชรขุ้ม” อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.ปี 2550 อดีตนายกอบต.ท่าเรือ เจ้าของ/ผู้จัดการ ร้านอาหาร มาดามซิม เกาะสมุย และสถานีบริการน้ำมัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี 6 ปี
    อาของ”วรพจน์ เพชรขุ้ม”วีระบุรุษเหรียญเงินโอลิมปิกสามารถโค่นตระกูล”เทือกสุบรรณ”ที่ผูกขาดการเมืองระดับชาติและท้องถิ่นได้สำเร็จ ถือว่าเป็นนายก อบจ.สุราษฎร์ธานีคนแรกที่ฝ่าฟันตระกูลเทือกสุบรรณได้ นับเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
    -โดยมนตรี เพชรขุ้ม ผู้สมัครหมายเลข 3 ทีมสุราษฎร์ร่มเย็น ได้คะแนน 113,340 คะแนน คว้าตำแหน่งนายก อบจ.คนใหม่ เฉือนคะแนนของดำรง เทือกสุบรรณ ลูกพี่ลูกน้องของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพียง 1,564 คะแนน โดยดำรงได้คะแนนเป็นอันดับ 2 จำนวน 111,776 คะแนน ส่วนประวิช นิลวัชรมณี อดีต ส.ว. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 5 สมัย ได้คะแนนเป็นอันดับ 3 จำนวน 72,136 คะแนน
    -อย่างไรก็ตามสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้นับว่ามีผู้ใช้สิทธิ์ เลือกตั้งน้อยมาก จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งจังหวัด 676,850 คน ใช้สิทธิ์เพียง 322,768 คนคิดเป็นร้อยละ 47.68 % บัตรดี 297,252 บัตร คิดเป็นร้อยละ 92.09 % บัตรเสีย 5,933 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.84 % บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 19,583 บัตร คิดเป็นร้อยละ 6.07 %
    -อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งซ่อม นายก อบจ.สุราษฎร์ธานี ครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ของชาวสุราษฎร์ธานีที่ตระกูลอื่นโค่น ตระกูลเทือกสุบรรณได้สำเร็จ เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างหนาหูทั้งข้าราชการและประชาชนทั่วไป
    -ส่วนผลการเลือกตั้ง ส.อบจ.ท่าชนะ นายบุญยิ่ง ย้งลี ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 12,264 คะแนน ส่วน ส.อบจ.เกาะสมุย นายเจริญ จันทรา อดีตนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 8,422 คะแนน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×