ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : แกะรอยเศรษฐกิจฟองสบู่แตก
คอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 19 มกราคม 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 3550 (2750)
ข่าวส่งท้ายปีเก่า 2546 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา คือข่าวการจับแพะ และติดตามจับลูกแพะผู้บริหารบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งพอเปิดเผยชื่อออกมาแล้ว ประชาชนต่างก็ร้องยี้ เพราะเกือบจะไม่มีใครเคยได้ยินชื่อหรือรู้จักนอกจาก 2-3 ราย ที่พอจะมีชื่อเสียงหน่อย เช่น นายวีระ มานะคงตรีชีพ และนายวีระนนท์ ว่องไพฑูรย์ (ซึ่งอาจจะมีเส้นสายไม่พอ หรือขาดเงินวิ่งเต้นเอาตัวรอด) ซึ่งป่วยเป็นอัมพาตอยู่ในโรงพยาบาลทั้งๆ ที่เจ้าของตัวจริงของบริษัทไฟแนนซ์ทั้ง 56 แห่งนั้น ล้วนมีนามสกุลดังๆ เป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร หรือในบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯปัจจุบัน แม้แต่ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลชุดนี้ก็ยังมี แต่กลับไม่มีรายชื่ออยู่ในหมายจับของตำรวจ หรือเป็นคดีอยู่ที่กรมอัยการเลย
แต่ขณะนี้ได้มีรายงานของคณะกรรมการศึกษา และเสนอแนะมาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ระบบการเงินของประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (ศสปป.) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีตประธานคณะกรรมการกำกับการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน ได้เริ่มทยอยรายงาน เปิดเผยออกสู่สาธารณะบ้างแล้ว นอกจากบางรายงาน ที่ยังปิดลับอยู่ ซึ่งรายงานทั้งหมดของอนุกรรมการ 10 ชุดจะเปิดเผยว่า ใครคือผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติตัวจริง
ก่อนจะกล่าวถึงบทสรุปของรายงาน ก็คงต้องมาทำความรู้จักกับ ศสปป. ก่อน ศสปก.ได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 10 ชุด เพื่อศึกษาหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ต่อเนื่องจากการศึกษาของคณะกรรมการศึกษา และเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ 376/2540 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และคณะกรรมการศึกษารายงาน ศปร. (ศศปร.) ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 131/2541 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เพื่อชี้มูลความผิด และหาผู้กระทำความผิดหรือต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ทั้งนี้ เนื่องจากรายงานของคณะกรรมการ ศปร.ได้เรียบเรียง ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ และได้ระบุชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องไว้จำนวนมาก ทั้งที่อยู่ในตำแหน่ง และผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ไม่ได้ชี้มูลความผิด และผู้ที่กระทำผิดหรือต้องรับผิดชอบไว้ให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดไม่ได้สะท้อนถึงภาพรวมของวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องจากการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศในปัจจุบัน ยังมีปัญหาอีกหลายประการ ที่คณะกรรมการทั้ง 2 คณะยังไม่ได้ทำการศึกษา เช่น หลักการ วิธีการ และการบริหาร รวมถึงการจัดองค์กร เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) การปิดสถาบันการเงินจำนวนมาก และผลกระทบที่ตามมา ของการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ของประเทศ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนหนี้เอกชน มาเป็นหนี้สาธารณะของประเทศ เป็นต้น เพื่อเป็นบทเรียนมิให้เหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ ที่ร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศไทยอีก
ศสปป.จึงได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อศึกษาถึงการเสริมสร้างมาตรการป้องกัน และเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต้านทานกระแสเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ
บทสรุปของอนุกรรมการเกือบทุกชุด ออกมาคล้ายคลึงกันว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคผิดพลาด และการกำกับดูแลระบบการเงินในประเทศ หย่อนยานบกพร่องในการยับยั้งธุรกิจเอกชน และสถาบันการเงินกู้เงินเหรียญสหรัฐระยะสั้น เข้ามาใช้ในกิจการในประเทศ และการไหลเข้ามาของเงินทุนจากต่างประเทศในตลาดหุ้น แล้วถอนตัวออกไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีอยู่สุทธิ 39 พันล้านเหรียญ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2539 ไปเดิมพันรักษาค่าเงินบาทให้คงที่อย่างขาดสติ ประมาท ไร้ความรับผิดชอบ และขาดความเชี่ยวชาญ จนกระทั่งสูญเสียเกือบหมด เหลือเพียง 8 พันล้านเหรียญเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม 2540 (9 เดือน) เมื่อบวกกับภาระผูกพันเงินที่ไปทำไว้ และต้องจ่ายในอนาคตอีก (swap) ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตราไปถึง 33,000 ล้านเหรียญ หรือรายได้จากการส่งออกสุทธิทั้งปี (ยังไม่หักต้นทุน) ทำให้ต้องไปกู้เงินจากกองทุนระหว่างประเทศ และจำยอมรับเงื่อนไขที่มาซ้ำเติม กับระบบเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วให้สาหัสลงไปอีก
ความเสียหายที่ติดตามมาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ คือ ความเสียหายภาคอสังหาริมทรัพย์อีก 191,000 ล้านบาท ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เข้าไปแบกหนี้ของสถาบันการเงินโดยเฉพาะ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกองค์การการเงินระหว่างประเทศบงการให้ปิดอีก 1.4 ล้านล้านบาท (ถ้าหากว่าไม่สั่งปิดทั้งหมด แต่ให้รวมตัวกันเพื่อจะได้เข้มแข็งขึ้น ความเสียหายของเศรษฐกิจและของชาติจะน้อยกว่านี้อีกมาก)
ผู้สั่งการและกำกับนโยบายการเงินของชาติ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อประเทศชาติ เป็นจำนวนมหาศาลที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ อาชญากรเศรษฐกิจตัวจริง มิใช่ลูกแพะที่ไล่จับตามที่เป็นข่าวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ขอบเขตการศึกษาของ ศสปป.ยังครอบคลุมถึงกระบวนการ และวิธีการในการจัดการทรัพย์สิน ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจำหน่ายทรัพย์สินทุกประเภท ของสถาบันการเงิน และกิจการที่ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ รวมทั้งการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติ เพราะว่าการดำเนินการของ ปรส.ที่ผ่านมา สร้างความสงสัยคลางแคลงใจ ให้กับสังคมมากมายถึงความโปร่งใสในกระบวนการ และวิธีการในการจัดการทรัพย์สินของ ปรส.
ผลการศึกษาของอนุกรรมการชุดศึกษากระบวนการ และวิธีการในการจัดการทรัพย์สินขององค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผลงานเด่นที่น่าจะรอคอยรายงานออกมา เพราะว่าได้ศึกษาอย่างเจาะลึกเป็น กรณีๆ ถึงความไม่ชอบมาพากลในการขายสินทรัพย์ แบบไม่จำแนกเป็นสินทรัพย์ชั้นดี ชั้นกลาง ชั้นเลว และขายรวมเป็นกองใหญ่ ดังนั้น การขายรวมแบบกองใหญ่ จึงทำให้ทุนต่างชาติได้ประโยชน์ และรัฐได้รับเงินเฉลี่ยแล้ว ประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าสินทรัพย์ การไม่เปิดเผยข้อมูลกับบุคคลภายนอก (chinese wall) การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษา ซึ่งรู้ข้อมูลภายในเข้ามาประมูลทรัพย์สิน การทำสัญญาย้อนหลัง การยอมให้ผู้ประมูลสินทรัพย์จาก ปรส.โอนสิทธิให้กองทุนรวมโกลบอลไทย พร๊อพเพอร์ตี้ เพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษี และเพื่อเป็นช่องทางส่งกำไรออกนอกประเทศ รวมทั้งการที่เลขาธิการของ ปรส.ผู้หนึ่ง ได้ลงนามในสัญญากับบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง เพื่อยอมให้โอนสิทธิที่ประมูลได้ ในขณะที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 12 (4) แห่ง พ.ร.ก.องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เพราะไปรับตำแหน่งเป็นกรรมการของธนาคารแห่งหนึ่ง ดังนั้น สัญญาที่รัฐเสียเปรียบนั้นจะมีผลบังคับหรือไม่ ฯลฯ
ในเอกสาร TOR ได้ระบุถึงขอบเขตการศึกษาของอนุกรรมการชุดนี้มีดังนี้
1. เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการในการจัดการทรัพย์สินของ ปรส.ในภาพรวม พร้อมผลการดำเนินงานของ ปรส.
2. เพื่อศึกษาประเด็นหัวข้อการศึกษาเฉพาะกรณีที่ได้มีการอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์และเคลือบแคลงสงสัยโดยยังไม่มีการตรวจสอบพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน 7 ประเด็น คือ
2.1 กรณีที่ได้มีกลุ่มนักธุรกิจและนักวิชาการแสดงความคิดเห็นคัดค้านและเคลื่อนไหวทักท้วงให้ ปรส.ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินการในการจัดการทรัพย์สิน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อแผ่นดิน
2.2 กรณี ปรส.อนุญาตให้บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส จำกัด (ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99) ที่เป็นที่ปรึกษารายหนึ่งของ ปรส.เข้าร่วมประมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้
2.3 กรณี ปรส.ยินยอมให้บริษัท โกลด์แมน แซกส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด (GSA) เป็นผู้ชนะการประมูลโดยรับข้อเสนอการเจรจาแบ่งผลกำไร (profit sharing) โดยไม่ยอมล้มเลิกการประมูลเนื่องจากได้ราคาค่อนข้างต่ำ และได้จัดทำสัญญาแนบท้ายเพิ่มเติมสัญญาขายมาตรฐาน
2.4 กรณี ปรส.ยินยอมให้ บงล.เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ของ ปรส.ได้
2.5 กรณีการดำเนินงานของ ปรส.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส) ในฐานะผู้เข้าร่วมประมูลทุกครั้ง
2.6 กรณีการดำเนินงานของ ปรส.ในการจัดประมูลสินเชื่อเช่าซื้อประเภทรถยนต์
2.7 กรณี ปรส.อนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาเข้าร่วมประมูลทรัพย์สินของ ปรส.ได้
ก็ได้แต่หวังว่าผลการศึกษาทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสืบสวนสอบสวนต่อ เพื่อนำผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ในการก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย และนักเศรษฐ ศาสตร์ต่างประเทศเห็นว่าร้ายแรงถึงขนาดเป็นการล้มละลายของประเทศ (sovereign collapse) ส่วนนักเศรษฐศาตร์อิสระของไทยเห็นว่า เป็นการเสียเอกราชทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง ไม่แพ้กับเมื่อครั้งการทำสัญญาเบาริ่งในรัชกาลที่ 4
หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแล้วกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูก็ยังไม่โปร่งใสอันเป็นการซ้ำเติมภาวะเกือบ "สิ้นชาติ" ในขณะนั้นให้หนักหนาสาหัส และให้บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติที่ขาดจริยธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ เข้ามาประมูลทรัพย์สินชั้นดีในราคาถูกๆ ทำให้ประเทศชาติสูญเสียผลประโยชน์ไปอีก ประมาณ 5 แสนล้านบาท ที่กลายมาเป็นหนี้สาธารณะโดยการบริหารสินทรัพย์โดย ปรส.
ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ จะมีความกล้าหาญพอในการนำผลสรุปของอนุกรรมการ ศสปก.ทั้งหมดทุกชุดนำมาเป็นแนวทาง ในการติดตามหาผู้กระทำความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ประเทศชาติทั้งก่อน และหลังวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 เพื่อไม่ให้เกิดเยี่ยงอย่าง และป้องกันความย่ามใจ ที่จะกระทำอีกต่อไปในวันข้างหน้า
ปล. ใครมีผลสอบ ของ ศปร. ทั้งหมด ช่วยเอามาลงให้ทีครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง
ข่าวส่งท้ายปีเก่า 2546 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา คือข่าวการจับแพะ และติดตามจับลูกแพะผู้บริหารบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งพอเปิดเผยชื่อออกมาแล้ว ประชาชนต่างก็ร้องยี้ เพราะเกือบจะไม่มีใครเคยได้ยินชื่อหรือรู้จักนอกจาก 2-3 ราย ที่พอจะมีชื่อเสียงหน่อย เช่น นายวีระ มานะคงตรีชีพ และนายวีระนนท์ ว่องไพฑูรย์ (ซึ่งอาจจะมีเส้นสายไม่พอ หรือขาดเงินวิ่งเต้นเอาตัวรอด) ซึ่งป่วยเป็นอัมพาตอยู่ในโรงพยาบาลทั้งๆ ที่เจ้าของตัวจริงของบริษัทไฟแนนซ์ทั้ง 56 แห่งนั้น ล้วนมีนามสกุลดังๆ เป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร หรือในบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯปัจจุบัน แม้แต่ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลชุดนี้ก็ยังมี แต่กลับไม่มีรายชื่ออยู่ในหมายจับของตำรวจ หรือเป็นคดีอยู่ที่กรมอัยการเลย
แต่ขณะนี้ได้มีรายงานของคณะกรรมการศึกษา และเสนอแนะมาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ระบบการเงินของประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (ศสปป.) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีตประธานคณะกรรมการกำกับการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน ได้เริ่มทยอยรายงาน เปิดเผยออกสู่สาธารณะบ้างแล้ว นอกจากบางรายงาน ที่ยังปิดลับอยู่ ซึ่งรายงานทั้งหมดของอนุกรรมการ 10 ชุดจะเปิดเผยว่า ใครคือผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติตัวจริง
ก่อนจะกล่าวถึงบทสรุปของรายงาน ก็คงต้องมาทำความรู้จักกับ ศสปป. ก่อน ศสปก.ได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 10 ชุด เพื่อศึกษาหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ต่อเนื่องจากการศึกษาของคณะกรรมการศึกษา และเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ 376/2540 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และคณะกรรมการศึกษารายงาน ศปร. (ศศปร.) ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 131/2541 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เพื่อชี้มูลความผิด และหาผู้กระทำความผิดหรือต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ทั้งนี้ เนื่องจากรายงานของคณะกรรมการ ศปร.ได้เรียบเรียง ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ และได้ระบุชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องไว้จำนวนมาก ทั้งที่อยู่ในตำแหน่ง และผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ไม่ได้ชี้มูลความผิด และผู้ที่กระทำผิดหรือต้องรับผิดชอบไว้ให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดไม่ได้สะท้อนถึงภาพรวมของวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องจากการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศในปัจจุบัน ยังมีปัญหาอีกหลายประการ ที่คณะกรรมการทั้ง 2 คณะยังไม่ได้ทำการศึกษา เช่น หลักการ วิธีการ และการบริหาร รวมถึงการจัดองค์กร เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) การปิดสถาบันการเงินจำนวนมาก และผลกระทบที่ตามมา ของการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ของประเทศ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนหนี้เอกชน มาเป็นหนี้สาธารณะของประเทศ เป็นต้น เพื่อเป็นบทเรียนมิให้เหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ ที่ร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศไทยอีก
ศสปป.จึงได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อศึกษาถึงการเสริมสร้างมาตรการป้องกัน และเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต้านทานกระแสเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ
บทสรุปของอนุกรรมการเกือบทุกชุด ออกมาคล้ายคลึงกันว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคผิดพลาด และการกำกับดูแลระบบการเงินในประเทศ หย่อนยานบกพร่องในการยับยั้งธุรกิจเอกชน และสถาบันการเงินกู้เงินเหรียญสหรัฐระยะสั้น เข้ามาใช้ในกิจการในประเทศ และการไหลเข้ามาของเงินทุนจากต่างประเทศในตลาดหุ้น แล้วถอนตัวออกไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีอยู่สุทธิ 39 พันล้านเหรียญ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2539 ไปเดิมพันรักษาค่าเงินบาทให้คงที่อย่างขาดสติ ประมาท ไร้ความรับผิดชอบ และขาดความเชี่ยวชาญ จนกระทั่งสูญเสียเกือบหมด เหลือเพียง 8 พันล้านเหรียญเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม 2540 (9 เดือน) เมื่อบวกกับภาระผูกพันเงินที่ไปทำไว้ และต้องจ่ายในอนาคตอีก (swap) ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตราไปถึง 33,000 ล้านเหรียญ หรือรายได้จากการส่งออกสุทธิทั้งปี (ยังไม่หักต้นทุน) ทำให้ต้องไปกู้เงินจากกองทุนระหว่างประเทศ และจำยอมรับเงื่อนไขที่มาซ้ำเติม กับระบบเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วให้สาหัสลงไปอีก
ความเสียหายที่ติดตามมาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ คือ ความเสียหายภาคอสังหาริมทรัพย์อีก 191,000 ล้านบาท ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เข้าไปแบกหนี้ของสถาบันการเงินโดยเฉพาะ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกองค์การการเงินระหว่างประเทศบงการให้ปิดอีก 1.4 ล้านล้านบาท (ถ้าหากว่าไม่สั่งปิดทั้งหมด แต่ให้รวมตัวกันเพื่อจะได้เข้มแข็งขึ้น ความเสียหายของเศรษฐกิจและของชาติจะน้อยกว่านี้อีกมาก)
ผู้สั่งการและกำกับนโยบายการเงินของชาติ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อประเทศชาติ เป็นจำนวนมหาศาลที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ อาชญากรเศรษฐกิจตัวจริง มิใช่ลูกแพะที่ไล่จับตามที่เป็นข่าวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ขอบเขตการศึกษาของ ศสปป.ยังครอบคลุมถึงกระบวนการ และวิธีการในการจัดการทรัพย์สิน ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจำหน่ายทรัพย์สินทุกประเภท ของสถาบันการเงิน และกิจการที่ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ รวมทั้งการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติ เพราะว่าการดำเนินการของ ปรส.ที่ผ่านมา สร้างความสงสัยคลางแคลงใจ ให้กับสังคมมากมายถึงความโปร่งใสในกระบวนการ และวิธีการในการจัดการทรัพย์สินของ ปรส.
ผลการศึกษาของอนุกรรมการชุดศึกษากระบวนการ และวิธีการในการจัดการทรัพย์สินขององค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผลงานเด่นที่น่าจะรอคอยรายงานออกมา เพราะว่าได้ศึกษาอย่างเจาะลึกเป็น กรณีๆ ถึงความไม่ชอบมาพากลในการขายสินทรัพย์ แบบไม่จำแนกเป็นสินทรัพย์ชั้นดี ชั้นกลาง ชั้นเลว และขายรวมเป็นกองใหญ่ ดังนั้น การขายรวมแบบกองใหญ่ จึงทำให้ทุนต่างชาติได้ประโยชน์ และรัฐได้รับเงินเฉลี่ยแล้ว ประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าสินทรัพย์ การไม่เปิดเผยข้อมูลกับบุคคลภายนอก (chinese wall) การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษา ซึ่งรู้ข้อมูลภายในเข้ามาประมูลทรัพย์สิน การทำสัญญาย้อนหลัง การยอมให้ผู้ประมูลสินทรัพย์จาก ปรส.โอนสิทธิให้กองทุนรวมโกลบอลไทย พร๊อพเพอร์ตี้ เพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษี และเพื่อเป็นช่องทางส่งกำไรออกนอกประเทศ รวมทั้งการที่เลขาธิการของ ปรส.ผู้หนึ่ง ได้ลงนามในสัญญากับบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง เพื่อยอมให้โอนสิทธิที่ประมูลได้ ในขณะที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 12 (4) แห่ง พ.ร.ก.องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เพราะไปรับตำแหน่งเป็นกรรมการของธนาคารแห่งหนึ่ง ดังนั้น สัญญาที่รัฐเสียเปรียบนั้นจะมีผลบังคับหรือไม่ ฯลฯ
ในเอกสาร TOR ได้ระบุถึงขอบเขตการศึกษาของอนุกรรมการชุดนี้มีดังนี้
1. เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการในการจัดการทรัพย์สินของ ปรส.ในภาพรวม พร้อมผลการดำเนินงานของ ปรส.
2. เพื่อศึกษาประเด็นหัวข้อการศึกษาเฉพาะกรณีที่ได้มีการอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์และเคลือบแคลงสงสัยโดยยังไม่มีการตรวจสอบพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน 7 ประเด็น คือ
2.1 กรณีที่ได้มีกลุ่มนักธุรกิจและนักวิชาการแสดงความคิดเห็นคัดค้านและเคลื่อนไหวทักท้วงให้ ปรส.ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินการในการจัดการทรัพย์สิน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อแผ่นดิน
2.2 กรณี ปรส.อนุญาตให้บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส จำกัด (ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99) ที่เป็นที่ปรึกษารายหนึ่งของ ปรส.เข้าร่วมประมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้
2.3 กรณี ปรส.ยินยอมให้บริษัท โกลด์แมน แซกส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด (GSA) เป็นผู้ชนะการประมูลโดยรับข้อเสนอการเจรจาแบ่งผลกำไร (profit sharing) โดยไม่ยอมล้มเลิกการประมูลเนื่องจากได้ราคาค่อนข้างต่ำ และได้จัดทำสัญญาแนบท้ายเพิ่มเติมสัญญาขายมาตรฐาน
2.4 กรณี ปรส.ยินยอมให้ บงล.เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ของ ปรส.ได้
2.5 กรณีการดำเนินงานของ ปรส.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส) ในฐานะผู้เข้าร่วมประมูลทุกครั้ง
2.6 กรณีการดำเนินงานของ ปรส.ในการจัดประมูลสินเชื่อเช่าซื้อประเภทรถยนต์
2.7 กรณี ปรส.อนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาเข้าร่วมประมูลทรัพย์สินของ ปรส.ได้
ก็ได้แต่หวังว่าผลการศึกษาทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสืบสวนสอบสวนต่อ เพื่อนำผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ในการก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย และนักเศรษฐ ศาสตร์ต่างประเทศเห็นว่าร้ายแรงถึงขนาดเป็นการล้มละลายของประเทศ (sovereign collapse) ส่วนนักเศรษฐศาตร์อิสระของไทยเห็นว่า เป็นการเสียเอกราชทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง ไม่แพ้กับเมื่อครั้งการทำสัญญาเบาริ่งในรัชกาลที่ 4
หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแล้วกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูก็ยังไม่โปร่งใสอันเป็นการซ้ำเติมภาวะเกือบ "สิ้นชาติ" ในขณะนั้นให้หนักหนาสาหัส และให้บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติที่ขาดจริยธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ เข้ามาประมูลทรัพย์สินชั้นดีในราคาถูกๆ ทำให้ประเทศชาติสูญเสียผลประโยชน์ไปอีก ประมาณ 5 แสนล้านบาท ที่กลายมาเป็นหนี้สาธารณะโดยการบริหารสินทรัพย์โดย ปรส.
ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ จะมีความกล้าหาญพอในการนำผลสรุปของอนุกรรมการ ศสปก.ทั้งหมดทุกชุดนำมาเป็นแนวทาง ในการติดตามหาผู้กระทำความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ประเทศชาติทั้งก่อน และหลังวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 เพื่อไม่ให้เกิดเยี่ยงอย่าง และป้องกันความย่ามใจ ที่จะกระทำอีกต่อไปในวันข้างหน้า
ปล. ใครมีผลสอบ ของ ศปร. ทั้งหมด ช่วยเอามาลงให้ทีครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น