ลำดับตอนที่ #41
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #41 : ว่าด้วยการพิพากษาคดีชิมไปบ่นไปจากใจอดีตตุลาการศาลรธน.
จากใจ...อดีตตุลาการศาลรธน.
หาก จะทำนิติกรรมอะไรเราก็ต้องดูกฎหมายฉบับนั้นๆ หรือจะต้องไปดูพจนานุกรม ผมเห็นว่าในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ เมื่อจะดูเรื่องความเป็นลูกจ้างหรือไม่อย่างไร ก็ต้องไปดูกฎหมายแรงงานกฎหมายลูกจ้าง ไปดูว่ามีอะไรที่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดบ้าง โดยจรรยาบรรณของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติกันมานั้น หากมีข้อกฎหมายใดไม่ชัดเจน ไม่สามารถเอาผิดจำเลยได้ก็ต้องยกประโยชน์ให้กับจำเลยไป การจะไปตีความกฎหมายที่กว้างขวาง ผู้พิพากษาสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องเป็นคุณกับจำเลย ไม่ใช่มุ่งตีความอย่างกว้างเพื่อให้เป็นโทษหรือเอาผิดกับจำเลย
เมื่อ ครั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยมีการพูดกันเรื่องการตีความกฎหมายว่าควรจะตีความกว้างแค่ไหน ก็ยึดหลักการว่า ตีความอย่างกว้างได้แต่จะต้องเป็นคุณ หรือไม่ได้มุ่งเน้นที่จะไปเอาผิดกับจำเลย เพราะหากไปมุ่งที่จะเอาผิดใครนั้นถือว่าผิดวิสัยของตุลาการได้
กรณี ของนายสมัครนั้น ผมอยากให้มองว่าสิ่งที่เขาทำ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างไร เกิดความเสียหายส่วนร่วมอย่างไร ผมเกรงว่าหลังจากเรื่องนี้แล้ว คนอื่นจะตีความกฎหมายแบบแปลกๆ ออกมาบ้าง ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผมใช้บริการรถแท็กซี่อยู่เป็นครั้งคราว อย่างนี้จะถือได้ว่าแท็กซี่คือลูกจ้างของผมได้หรือเปล่า เช่นเดียวกันกับผมไปตัดเสื้อผ้าที่ร้านตัดเสื้อแห่งหนึ่ง จะบอกว่าช่างตัดเสื้อร้านดังกล่าวเป็นลูกจ้างก็ได้ใช่ไหม เรื่องนี้คงวุ่นวายเหมือนกัน
กับการตีความกฎหมายครั้งนี้ของศาลรัฐ ธรรมนูญ ผมยอมรับว่ารู้สึกผิดหวังและท้อ ที่ศาลไม่ได้ดูเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่กลับไปดูพจนานุกรมด้วย ผมเกรงว่าต่อไปศาลจะถูกมองว่าใจแคบ เพราะถ้าพิจารณาตามหลักคุณธรรม และวิสัยทั่วไปของผู้ที่เป็นศาลแล้วจะต้องใจกว้าง มีเมตตาต่อจำเลย หากข้อกฎหมาย หรือพฤติกรรมพฤติการณ์ใดที่ข้อกฎหมายเอาผิดไม่ชัดเจนก็ต้องยกประโยชน์ให้ จำเลยไป จะต้องไม่มุ่งตีความกฎหมายหรือนำเหตุอื่นๆ มาประกอบเพื่อเอาผิด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างนี้แล้ว ก็ต้องยอมรับ ....
จุมพล ณ สงขลา
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา http://www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=719264
หาก จะทำนิติกรรมอะไรเราก็ต้องดูกฎหมายฉบับนั้นๆ หรือจะต้องไปดูพจนานุกรม ผมเห็นว่าในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ เมื่อจะดูเรื่องความเป็นลูกจ้างหรือไม่อย่างไร ก็ต้องไปดูกฎหมายแรงงานกฎหมายลูกจ้าง ไปดูว่ามีอะไรที่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดบ้าง โดยจรรยาบรรณของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติกันมานั้น หากมีข้อกฎหมายใดไม่ชัดเจน ไม่สามารถเอาผิดจำเลยได้ก็ต้องยกประโยชน์ให้กับจำเลยไป การจะไปตีความกฎหมายที่กว้างขวาง ผู้พิพากษาสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องเป็นคุณกับจำเลย ไม่ใช่มุ่งตีความอย่างกว้างเพื่อให้เป็นโทษหรือเอาผิดกับจำเลย
เมื่อ ครั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยมีการพูดกันเรื่องการตีความกฎหมายว่าควรจะตีความกว้างแค่ไหน ก็ยึดหลักการว่า ตีความอย่างกว้างได้แต่จะต้องเป็นคุณ หรือไม่ได้มุ่งเน้นที่จะไปเอาผิดกับจำเลย เพราะหากไปมุ่งที่จะเอาผิดใครนั้นถือว่าผิดวิสัยของตุลาการได้
กรณี ของนายสมัครนั้น ผมอยากให้มองว่าสิ่งที่เขาทำ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างไร เกิดความเสียหายส่วนร่วมอย่างไร ผมเกรงว่าหลังจากเรื่องนี้แล้ว คนอื่นจะตีความกฎหมายแบบแปลกๆ ออกมาบ้าง ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผมใช้บริการรถแท็กซี่อยู่เป็นครั้งคราว อย่างนี้จะถือได้ว่าแท็กซี่คือลูกจ้างของผมได้หรือเปล่า เช่นเดียวกันกับผมไปตัดเสื้อผ้าที่ร้านตัดเสื้อแห่งหนึ่ง จะบอกว่าช่างตัดเสื้อร้านดังกล่าวเป็นลูกจ้างก็ได้ใช่ไหม เรื่องนี้คงวุ่นวายเหมือนกัน
กับการตีความกฎหมายครั้งนี้ของศาลรัฐ ธรรมนูญ ผมยอมรับว่ารู้สึกผิดหวังและท้อ ที่ศาลไม่ได้ดูเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่กลับไปดูพจนานุกรมด้วย ผมเกรงว่าต่อไปศาลจะถูกมองว่าใจแคบ เพราะถ้าพิจารณาตามหลักคุณธรรม และวิสัยทั่วไปของผู้ที่เป็นศาลแล้วจะต้องใจกว้าง มีเมตตาต่อจำเลย หากข้อกฎหมาย หรือพฤติกรรมพฤติการณ์ใดที่ข้อกฎหมายเอาผิดไม่ชัดเจนก็ต้องยกประโยชน์ให้ จำเลยไป จะต้องไม่มุ่งตีความกฎหมายหรือนำเหตุอื่นๆ มาประกอบเพื่อเอาผิด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างนี้แล้ว ก็ต้องยอมรับ ....
จุมพล ณ สงขลา
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา http://www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=719264
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น