ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคกลาง
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคกลาง
ชัยนาท
นายอนุสรณ์ นาคาศัย
ฐานเสียงของตระกูลนาคาศัยกับสงฆ์ประชา
ผลคะแนนการเลือกตั้งนายก องค์การบริหารจังหวัดชัยนาท ซึ่งมีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ๓ ราย ลำดับ ๑ นายอนุสรณ์ นาคาศัย ได้ ๖๗,๔๔๕ คะแนน ลำดับ ๒ นางจิรดา สงฆ์ประชา ได้ ๖๕,๘๒๔ คะแนน ลำดับ ๓ นางสาวธมน ศักดิ์จารุดล ได้ ๔,๘๒๑ คะแนนสรุป ยอดผู้มาใช้สิทธิ ๑๔๕,๓๑๘ คน จากยอดผู้มีสิทธิ ๒๕๒,๑๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๖๔ บัตรเสีย ๔,๑๕๓ บัตร คิดเป็น ร้อยละ ๒.๘๖ ไม่ประสงค์ลงคะแนน ๓,๐๗๕ บัตร คิดเป็นร้อยละ ๒.๑๒
นครนายก
ฐานเสียงของตระกูลกิตติธเนศวร ,บุญ-หลงกับอิสระเสนารักษ์
ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.นครนายก ปรากฏว่า นายสัญญา บุญ-หลง อดีตสว. และผู้สมัครสส. ได้คะแนนสูงสุด 49,412 คะแนน ส่วนคู่แข่ง นายนรเศรษฐ์ เอี่ยมอาจหาญ อดีตนายกอบจ.ได้ 48,079 คะแนน สำหรับผลการเลือกตั้ง ส.อบจ. 24 เขต ปรากฏว่า ลูกทีมนายสัญญาได้รับเลือกตั้ง 15 เขต ส่วนลูกทีมนายนรเศรษฐ์ได้รับเลือกตั้ง 9 เขตรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับนายสัญญา มีกลุ่มกำนันผู้ใหญ่และฐานเสียงพรรคพลังประชาชนสนับสนุน ส่วนนายนรเศรษฐ์ ได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะจากนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์
นครสวรรค์
นายอำนาจ ศิริชัย
ฐานเสียงของตระกูลตั้งภากรณ์,ศิริวันสาณฑ์,คำประกอบ,นิโรจน์,มั่นศิลป์,เจริญชัยฤทธิ์,จุลพงศธร,วรทองและศิริชัย
ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเลือกนายก และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ นั้น นายอำนาจ ศิริชัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครสวรรค์ มีคะแนนนำในการเลือกตั้งนายก อบจ.นครสวรรค์ ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครสวรรค์ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้มีการเลือกตั้งเมื่อ 15 มิ.ย. ได้มีการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันนี้ 16 มิ.ย. ปรากฎว่า ผู้ที่ได้คะแนนนำมาเป็นอันดับ 1 ในส่วนของผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้สมัคร 6 คน ผลคะแนนนำ ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 2 นายอำนาจ ศิริชัย ทีมพลัง ท้องถิ่น อดีตนายก อบจ. มีคะแนนนำถึง 198,166 คะแนน ทิ้งคู่แข่งหมายเลข 1 นายภิญโญ นิโรจน์ ทีมพัฒนานครสวรรค์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์ 6 สมัย ซึ่งได้คะแนนเพียง 157,562 คะแนน ห่างกันถึง 40,604 คะแนน
ขณะที่ผู้สมัครสมาชิก อบจ. จำนวน 36 เขต จากทีมพลังท้องถิ่น หมายเลข 2 ทุกเขต ซึ่งนำทีมโดย นายอำนาจ ศิริชัย ยังสามารถคว้าชัยไปได้ถึง 24 เขต หรือ 24 ที่นั่ง ขณะที่ทีมพัฒนานครสวรรค์ นำโดย นายภิญโญ นิโรจน์ หมายเลข 1 ทุกเขตเช่นกันได้ไปเพียง 12 เขต หรือ 12 ที่นั่ง สรุปในภาพรวมของการออกมาใช้สิทธิลงคะแนน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ 773,342 คน มาใช้สิทธิ์ 414,385 คน คิดเป็นร้อยละ 53.58 เป็นบัตรเสียถึง 22,118 บัตร คิดเป็นร้อยละ 5.34 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 19,643 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.74
ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการดังนี้
อำเภอเมือง
เขต1 นายกวี อัศวรัตน์ หมายเลข 2 ได้ 4,047 คะแนน
เขต2 นายสมเดช ตั้งจิตต์ถาวรกุล หมายเลข 2 ได้ 4,103 คะแนน
เขต3 นายนพดล สันติภาพจันทรา หมายเลข 2 ได้ 5,478 คะแนน
เขต4 นายวิทูร เจริญชัยฤทธิ์ หมายเลข 2 ได้ 5,776 คะแนน
เขต5 นายเจริญศักดิ์ มั่นศิลป์ หมายเลข 2 ได้ 7,491 คะแนน
เขต6 ดาบตำรวจธงชัย วจีสัจจะ หมายเลข 1 ได้ 7,832 คะแนน
เขต7 นายสุรจิต บัวทองศรี หมายเลข 2 ได้ 5,704 คะแนน
เขต8 นายธำรง วรทอง หมายเลข 2 ได้ 6,171 คะแนน
อำเภอชุมแสง
เขต 1 นายไพโรจน์ จุลพงศธร หมายลข 2 ได้ 5,055 คะแนน
เขต 2 นายวินัย ธัญญวินิชกุล หมายเลข 2 ได้ 7,002 คะแนน
อำเภอท่าตะโก
เขต 1 นางจิตรา หมีทอง หมายเลข 2 ได้ 8,771 คะแนน
เขต 2 นายมานพ ศรีผึ้ง หมายเลข 3 ได้ 6,973 คะแนน
อำเภอตาลี
เขต1 นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ หมายเลข 1 ได้ 6,524 คะแนน
เขต2 นายเผชิญ พวงสมบัติ หมายเลข 1 ได้ 5,977 คะแนน
เขต3 นายกิติรัตน์ ภัทรปรีชาสกุล หมายเลข 2 ได้ 4,814 คะแนน
อำเภอตากฟ้า
เขต1 นายศิริชัย ปานอุดมลักษณ์ หมายเลข 1 ได้ 9,006 คะแนน
อำเภอไพศาลี
เขต1 นายสรุวิทย์ ฤทธิ์ฉ่ำ หมายเลข 2 ได้ 6,240 คะแนน
เขต2 นายภราดร อุดมการณ์เกษตร หมายเลข 2 ได้ 3,479 คะแนน
เขต3 นายนิยมศักดิ์ ภักดีจันทร์ หมายเลข 2 ได้ 6,484 คะแนน
อำเภอหนองบัว
เขต1 นางดลฤดี ติยะโสภณจิต หมายเลข 2 ได้ 5,315 คะแนน
เขต2 นายขาว พัดศรี หมายเลข 2 ได้ 7,607 คะแนน
อำเภอโกรกพระ
เขต1 นายวุฒิชัย ปอตระกูล หมายเลข 1 ได้ 9,222 คะแนน
อำเภอเก้าเลี้ยว
เขต1 นายสุชาติ เรืองชัยเสรีพงษ์ หมายเลข 5 ได้ 4,933 คะแนน
อำเภอชุมตาบง
เขต1 นายสุนทร รอดพุ่ม หมายเลข 2 ได้ 3,136 คะแนน
อำเภอแม่เปิน
เขต1 นายยสพล ไกรวิริยะ หมายเลข 1 ได้ 4,386 คะแนน
อำเภอแม่วงก์
เขต1 นายณรงค์ ขาวบัว หมายเลข 2 ได้ 5,078 คะแนน
เขต2 นายธนยศ ปริบุญณะ หมายเลข 2 ได้ 5,419 คะแนน
อำเภอลาดยาว
เขต1 นายประมวญ สมัครธัญญากรณ์ หมายเลข 1 ได้ 5,676 คะแนน
เขต2 นางสาวชุติมา เสรีรัฐ หมายเลข 2 ได้ 5,038 คะแนน
เขต3 นายอภิสิทธิ์ อินทสิทธิ์ หมายเลข 2 ได้ 4,627 คะแนน
อำเภอพยุหะคีรี
เขต1 นายมีคม ศกุนรักษ์ หมายเลข 2 ได้ 9,066 คะแนน
เขต2 นางบุญลือ ส่งเสริมอุดมชัย หมายเลข 2 ได้ 8,098 คะแนน
อำเภอบรรพตพิสัย
เขต1 นายสุทิน พิลึก หมายเลข 2 ได้ 6,115 คะแนน
เขต2 นางอังสุมาลย์ เชี่ยวชาญเวช หมายเลข 2 ได้ 6,899 คะแนน
เขต3 นายวินัย ดวงสุทธา หมายเลข 1 ได้ 4,760 คะแนน
สำหรับบรรยากาศการรับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ.นครสวรรค์ แทนนายอำนาจ ศิริชัย อดีตนายก อบจ.ที่ถูกมือปืนสังหารเสียชีวิตขณะดูการแข่งขันฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 โดย กกต.นครสวรรค์ ได้ประกาศรับสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. ตั้งแต่วันที่ 2-6 สิงหาคม
เบอร์ 1 นายมานพ ศรีผึ้ง เป็นกลุ่มคนในตระกูล “นิโรจน์” นักการเมืองท้องถิ่นดั้งเดิมของปากน้ำโพ เคยเป็นเจ้าของค่ายมวย น.ศรีผึ้ง โด่งดังในศึกอัศวินดำ พัฒนาเป็นโปรโมเตอร์มวย ต่อมานายมานพ ถูกชักจูงสู่ถนนการเมืองสมัยครั้งที่ นายภิญโญ นิโรจน์ เป็น ส.ส. และปัจจุบันทราบกันดีว่าอยู่ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
ก่อนหน้านี้ นายภิญโญ นิโรจน์ อดีตสส.6สมัยก็เคยขึ้นป้ายพร้อมกับประกาศตัวมาจะลงสมัครชิงเก้าอี้นายก อบจ.ปากน้ำโพ ด้วยเช่นกัน แต่ก็ถอนตัวไปโดยอ้างเหตุผลว่ามารดาไม่ให้ลงสมัคร
นายมานพ ศรีผึ้งเป็นผู้สมัครที่มาจากการคัดเลือกของ ส.อบจ. ที่อยู่ในสภาขณะนี้ทั้งสิ้น 36 คน ที่ต้องการส่งผู้สมัครคนใดคนหนึ่งที่เป็น ส.อบจ. ลงแข่งขันในนามของ ส.อบจ. โดยปฏิเสธคนนอกอย่างสิ้นเชิง รวมถึงรองนายก อบจ.สมัยที่ผ่านมาด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเสียงของ ส.อบจ.ทั้ง 36 คน จะเป็นปึกแผ่นทั้งหมด ทราบว่ายังมี ส.อบจ.บางส่วนราว 10 คน ที่แปรพักร์ไปให้การสนับสนุนผู้สมัครรายอื่น และทราบต่อไปว่าได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองใหญ่ของจังหวัดข้างเคียงอีกด้วย
ขณะนี้ไม่ว่าเราจะขับรถผ่านไปทางไหนเราก็จะเห็นป้ายหาเสียงเกลื่อนเมืองไปหมด มีรถแห่ทั้งที่วิ่งกันเป็นขบวนและออกวิ่งแบบเดี่ยวๆ เป็นระยะๆ ไปตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ ในขณะเดียวกันก็จัดทีมงานเดินเคาะประตูบ้านแจกบัตรแนะนำตัวกันทุกวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ ส่วน ส.อบจ.ส่วนใหญ่ที่ให้การสนับสนุนก็มีเสียงอยู่ในมือพอสมควร ซึ่งแต่ละคนนั้นเมื่อฝีไม้ลายมือในการหาเสียงนั้นไม่มีใครเป็นรองใคร สามารถที่จะกอบโกยคะแนนเสียงในพื้นที่ได้เป็นกอบเป็นกำ
เบอร์ 2 ร.ต.ต.จำเริญ วรทอง อดีตเป็นรอง นายก อบจ. ทีมงาน และอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมัยที่แล้ว และเป็นรองนายก อบจ.ของ นายอำนาจ ศิริชัย เป็นมือทำงานที่ได้รับการไว้วางใจ การลงสมัครเลือกตั้งครั้งนี้ก็ได้กระแสของ นายอำนาจ ศิริชัย ค่อนข้างสูงมากทีเดียว เป็นการสวมฐานเดิมทำให้เบาแรงในการหาเสียงไปได้มากทีเดียว โดยมี นางอรพินท์ มั่นศิลป์ อดีต ส.ว.ที่ถูกใบแดง 5 ปี อดีตภรรยา นายอำนาจ ศิริชัย และ นางศรีสกุล มั่นศิลป์ ที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ว. คนปัจจุบันแทน นางอรพินท์ มั่นศิลป์ ซึ่งเป็นน้องสาวแท้ๆ ให้การสนับสนุนอีกทางหนึ่ง โดยมีป้าย...ทำไมต้องฆ่าผมด้วย...ของ นายอำนาจ ศิริชัย ติดประกบทั่วไป และที่เห็นไม่ต่างกันก็เป็นการเดินเคาะประตูบ้านแจกบัตรแนะนำตัวกันตลอดเช้ามืดยันมืด อีกกลยุทธหนึ่งที่เห็นจนชินหูชินตาก็เป็นรถแห่ทั้งที่ออกวิ่งเดี่ยวๆ และวิ่งเป็นขบวนๆละหลายคัน ไปตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ส่วนเบอร์ 3 นายวีระ บำรุงศรี อดีตรองนายก อบจ. ของ นายอำนาจ ศิริชัย และ เบอร์ 4 นายไตรภพ ประสาทแก้ว อดีตผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ว. หลายสมัย
นายมานพ กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจาก ส.อบจ.ทั้ง 36 เขต มีมติให้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้โดยใช้ทีมงานชุดเดิมกับนายอำนาจ มั่นใจว่าจะชนะการเลือกตั้ง เพราะต้องการเข้ามาสานต่อนโยบายของนายอำนาจ ศิริชัย อดีตนายก เพราะว่าทำงานกลุ่มเดียวกันมา โดยเน้นยุทธศาสตร์เรื่องบึงบอระเพ็ด เรื่องมหาวิทยาลัยมหิดล ประตูสู่ภาคเหนือ และการกีฬาของจังหวัด
ด้าน ร.ต.ต.จำเริญ อดีตรองนายก ซึ่งเคยทำงานร่วมกับนายอำนาจเช่นกัน กล่าวว่า นายอำนาจประกาศนโยบายทำจริง ไม่ทิ้งประชาชน ส่วนตนจะใช้สโลแกน สานฝันให้เป็นจริง ไม่ทิ้งประชาชน "นครสวรรค์เมืองน่าอยู่ ประตูสู่ภาคเหนือ เมืองแห่งการศึกษา บึงบอระเพ็ดตระการตา น้ำทำไร่นาพอเพียง" จะชูนโยบายนี้ในการหาเสียง เพราะว่าเป็นนโยบายของนายอำนาจที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ดี
ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการดังนี้
หมายเลข 1 นายมานพ ศรีผึ้ง ได้คะแนน 207,850 คะแนน
หมายเลข 2 ร้อยตำรวจตรี จำเริญ วรทอง ได้คะแนน 129,619 คะแนน
หมายเลข 3 นายวีระ บำรุงศรี ได้คะแนน 8,668 คะแนน
หมายเลข 4 นายไตรภพ ประสาทแก้ว ได้คะแนน 5,251 คะแนน
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 782,823 คน มาใช้สิทธิ์ 393,709 คน คิดเป็นร้อยละ 50.29 ,บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 25,935 บัตร คิดเป็นร้อยละ 6.59 และบัตรเสีย 16,386 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.16
พระนครศรีอยุธยา
นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล
ฐานเสียงของตระกูลพันธ์เจริญวรกุล ,แขวัฒนะกับพรรคเพื่อไทย
นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ (นายก อบจ.) หมายเลข 1 ได้ 201,879 คะแนน เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ กกต.จังหวัดฯ กำหนดไว้
ส่วนสมาชิกสภาจังหวัดฯ หรือ ส.อบจ. 30 เขต ประกอบด้วย อ.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 นางสาวภัทรี สุภานุกานนท์ ได้ 3,087 คะแนน เขต 2 นายจิระศักดิ์ มดทองดำ ได้ 3,343 คะแนน เขต 3 นาย อรรถพล เทียมมโน ได้ 4,727 คะแนน เขต 4 นางประทุม ชัยโกศล ได้ 5,119 คะแนน เขต 5 นางอรอุมา ปิ่นประเสริฐ ได้ 6,020 คะแนน อ.บางปะอิน เขต 1 นายยุทธนา ก้อนทอง ได้ 6,134 คะแนน เขต 2 นาย ประสิทธิ์ โชคกิจ ได้ 5,312 คะแนน เขต 3 นายอเนก ตันจรา รักษ์ ได้ 5,677 คะแนน อ.เสนา เขต 1 นายวิเชียร อเนกลาภ ได้6,294 คะแนน เขต 2 นายทองอยู่ พุฒใจกล้า ได้ 3,380 คะแนน เขต 3 นายองอาจ วชิรพงษ์ ได้ 5,326 คะแนน อ.ท่าเรือ เขต 1 นายสุรเดช บุญเดช ได้ 5,163 คะแนน เขต 2 นายมาโนช ตั้งใจรักษ์ ได้ 7,093 คะแนน อ.บางปะหัน เขต 1 จ. ส.ต.รังสรรค์ กิจพิพัฒน์ ได้ 5,949 คะแนน เขต 2 นายสมศักดิ์ ทองสีเข้ม ได้ 3,964 คะแนน อ.อุทัย เขต 1 นายชีวิน ปิยะทัศน์ศรี ได้ 7,156 คะแนน เขต 2 นายมนตรี รักษาดี ได้5,638 คะแนน อ.ผักไห่ เขต 1 นายทวีศักดิ์ ตั้งชมน์จำรัส ได้ 4,353 คะแนน เขต 2 นายสมภพ พัฒนะพีระพงษ์ ได้ 4,242 คะแนน อ.บางไทร เขต 1 นางกรองทอง รามศักดิ์ ได้ 6,498 คะแนน เขต 2 นายอุทัย ไกรเดชา ได้ 6,633 คะแนน อ.วังน้อย เขต 1 นายธวัชชัย พันธ์เจริญวรกุล คะแนน 7,693 เขต 2 นายสมชาย ศิลาเจริญธนกิจ ได้ 5,676 คะแนน อ.นครหลวง เขต 1 นายวันชัย รักษาสกุล ได้ 5,375 คะแนน อ.บางซ้าย เขต 1 นายสมศักดิ์ กอบัวแก้ว ได้ 3,123 คะแนน อ.บางบาล เขต 1 นางรัตนา หวังเทพอนุเคราะห์ ได้ 8,568 คะแนน อ.บ้านแพรก เขต 1 นายฤทธี อยู่ประเสริฐ ได้ 2,676 คะแนน อ.ภาชี เขต 1 นายธีรพงศ์ รัตนพันธุ์ศรี ได้ 7,272 คะแนน อ.มหาราช เขต 1 นายชูศักด์ ทองประพิศกุล ได้ 7,120 คะแนน อ.ลาดบัวหลวง เขต 1 นาย จิระทัศ ไกรเดชา คะแนน 7,334
สำหรับการเลือกตั้ง ส.อบจ. ในครั้งนี้เกิดการพลิกล๊อคในหลายเขต อาทิ เขต 3 อ.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 อำเภอท่าเรือ เขต 2 อำเภอบางปะหัน เขต 2 อำเภออุทัย และเขต 1 อำเภอ ผักไห่ เขต 2 อำเภอบางไทร เขต 1 อำเภอนครหลวง เขต 1 อำเภอภาชี เขต 1 อำเภอมหาราช และเขต 1 อำเภอลาดบัวหลวง โดยผู้ชนะเกือบทั้งหมด มีนักการเมืองระดับชาติให้การสนับสนุนในครั้งนี้ด้วย
สรุปผลการเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ. พระนครศรีอยุธยา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 269,906 จากผู้มีสิทธิ 551,552 คน คิดเป็นร้อยละ 48.94 บัตรเสีย 42,874 ใบ คิดเป็นร้อยละ 15.88 ผู้ไม่ประสงลงคะแนน 25,153 คน คิดเป็นร้อยละ 9.32 ส่วนผลการเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 269,688 คน จากทั้งหมด 550,997 คิดเป็นร้อยละ 48.95 บัตรเสียจำนวน 14,572 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.40 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 21,269 ใบ คิดเป็นร้อยละ 7.89
ลพบุรี
นายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช
ฐานเสียงของตระกูลวรปัญญากับจิระพันธุ์วาณิช
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ประจำปี 2551 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2551 แบบไม่เป็นทางการ มีดังนี้ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมดของจังหวัดลพบุรี 536,474 คน มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 208,841 คน คิดเป็นร้อยละ 38.92 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมด มีบัตรดี 191,520 ใบ บัตรเสีย 7,486 ใบ และผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,835 คน คิดเป็นร้อยละ 91.70 , 3.58 , 4.70 ตามลำดับ
โดยรวมผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ผลปรากฏว่า นายสุบรรณ จิระพันธ์วานิช ได้คะแนนรวมทั้งหมด 143,060 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68.50 ของผู้มาเลือกตั้ง ส่วนนายทรงพล เกียรติวินัยสกุล 48,460 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 23.20 ของผู้มาเลือกตั้ง ทั้งหมด
สมุทรสงคราม
นายโยธิน ตันประเสริฐ
3 ผู้สมัครนายกอบจ.ประกอบด้วย หมายเลข 1 นายอำนวย ลิขิตอำนวยชัย อดีตนายก อบจ.สมุทรสงคราม 2 สมัย หัวหน้ากลุ่ม"อาสาพัฒนาท้องถิ่น" หมายเลข 2 นายโยธิน ตันประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)บางแก้ว 2 สมัย หัวหน้ากลุ่ม"คนทำงาน" และหมายเลข 3 นางกานต์ทิตา รอดรัศมี หัวหน้ากลุ่ม"ประชาธิปัตย์" น้องสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์
โดยทั้ง 3 กลุ่มส่งผู้สมัครสมาชิกสภา อบจ. ครบทั้ง 24 เขต ซึ่งแบ่งเป็น อ.เมือง 13 เขต อ.อัมพวา 7 เขต และอ.บางคนที 4 เขต นอกจากนี้มีผู้สมัครอิสระอีก 21 คนกระจายกันกันตามเขตของแต่ละอำเภอแบ่งเป็น อ.เมือง 16 คน อัมพวา 3 คน และ อ.บางคนที 2 คน
วินาทีนี้ หากวิเคราะห์เจาะลึกศึกเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.แม่กลองในครั้งนี้ "มีได้มีเสียและมีลุ้น"
เริ่มจากนายอำนวย นายก อบจ.แม่กลอง 2 สมัย คุณงามความดีมีมาก อีกทั้งของฝากของขวัญของกำนัลในอดีตไว้เยอะ รวมทั้งผลงานที่ผ่านมาเข้าตากรรมการบ้างไม่เข้าบ้าง
ทีแรกคิดว่าลอยลำมาแบบสบายๆ แต่พอปลายมือสมุนหรือขุนพล ถูกทีมคนทำงานของเสี่ยต๋องดูดไปเกือบหมดค่าย ต้องเลือกเฟ้นยอดขุนพลขึ้นมาใหม่ แต่จะทันเหตุการณ์หรือไม่อันนี้ต้องวัดดวง
แต่ที่ได้แน่ๆ คือ ได้ตัว นายพิศิษฐ์ เสือสมิง ผู้รับเหมารายใหญ่ในแม่กลองมาเป็นนายทุน และยังผู้รับเหมาจากอำเภอบางคนที นายสุพรรณ ลิ้มสัจจาพานิช อดีตนายกเล็กกระดังงา มาเป็นกระเป๋าให้ ในตำแหน่งรองนายก เรียกว่านายอำนวย เตรียมทำศึกเต็มที่ "ลูกสมุนอาจถูกฆ่าตายแต่นายต้องยังอยู่" มีผู้สงสัยคือนายพิศิษฐ์ ในอดีตซี้ปึ๊กกับนางสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงครามและจะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายอำนวยตลอดมา แต่ทำมาทำไปหันมาจูบปากกับนายอำนวย และผลักไสไล่ส่งนางสาวรังสิมา พ้นจากเส้นทาง อันสัจธรรมทางการเมืองที่ว่า "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรยังใช้ได้อยู่ชั่วนิรันดร"
สำหรับเสี่ยต๋อง หรือ โยธิน ตันประเสริฐ อดีตนายก อบต.บางแก้ว 2 สมัย เจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในสมุทรสงคราม เป็นคนทำงานที่มีความสามารถมาก สามารถดึงคนนายของนายอำนวยออกมาได้เกินครึ่งสภา เรียกว่าระดับขุนพลทัพหน้าของนายอำนวยมาอยู่กับเสี่ยต๋องเกือบหมด เหลือ ไว้ให้นายอำนวยดูต่างหน้าประมาณ 10 คน
แต่ชาวบ้านกลับมองไปว่า ตำรามาเร็วกลับเร็ว
เสี่ยต๋อง ในอดีตประทะกับนายอำนวยมาแล้วในครั้งเลือกตั้งเมื่อครั้งก่อน ปรากฏว่าเข้ามาที่ 3 โดยมีนายพิศิษฐ์ ที่สมัยนั้นยังอยู่กับประชาธิปัตย์ ตัดที่ 2 ไปกินแบบเส้นยาแดงผ่าแปด เสี่ยต๋อง ปูพรมทางการเมืองท้องถิ่นมาหลายปี หมดกระสุนไปเป็นจำนวนมาก แต่ยังไปไม่ถึงดวงดาว สำหรับในครั้งนี้ต้องขอลุ้น
ท้ายสุดนางสาวกานต์ทิตา รอดรัศมี (เจ๊โอ๋) น้องสาวนางสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ แต่การจัดทีเลือกตั้งในครั้งนี้ใช้ชื่อทีมว่าประชาธิปัตย์
เรียกว่าเป็นทีมที่คอยเก็บตกได้ เพราะลูกสมุนที่คัดจัดมาทำศึกในครั้งนี้ล้วนแต่ผ่านการคัดเลือกมาจาก 2 ทีมที่กล่าวมา แต่ก็ไม่ธรรมดาเพราะใครๆก็รู้ดีว่าเจ๊โอ๋ไม่ธรรมดา เมื่อเลือกตั้ง สส. ครั้งที่ผ่านมาเก็บคะแนนสงสารเสียต้อง 6 หมื่นกว่า คะแนน เล่นเอาคู่ปรับ เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋ากลับบ้านไปหลายราย
เสี่ยต๋อง นายโยธิน ตันประเสริฐ เจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในสมุทรสงคราม อดีตนายกอบต.บางแก้ว2สมัย หัวหน้าทีมฅนทำงาน หมายเลข 2 ได้ 30,885 คะแนน ชนะนายอำนวย ลิขิตอำนวยชัย ทีมอาสาพัฒนาท้องถิ่น อดีตนายก อบจ. หมายเลข 1 ที่ได้ 26,985 คะแนน และนางกานต์ทิตา รอดรัศมี ทีมประชาธิปัตย์ น้องสาว น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 3 ที่ได้ 15,198 คะแนน
สระบุรี
นายเฉลิม วงษ์ไพร
ฐานเสียงของตระกูลอดิเรกสาร
มีผู้สมัครนายก อบจ. จำนวน 7 คนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย หมายเลข 1 นางกัณฐิกา โพธิปัญญา หมายเลข 2 นายภิญญู สิงหจารุ หมายเลข 3 นายรวย เชื้อสุวรรณ หมายเลข 4 นายเฉลิม วงษ์ไพร อดีตนายกอบจ.สระบุรี หมายเลข 5 น.ส.แพรวพรรณ จีนประสพ หมายเลข 6 นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา อดีต สว.และผู้สมัคร สส.พรรคพลังประชาชน และหมายเลข 7 นายอรรถพล วงษ์ประยูร
ตำแหน่งนายก อบจ.สระบุรี ครั้งนี้น่าจะเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่าง นายเฉลิม วงษ์ไพร อดีตนายก อบจ.สระบุรี และนายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา อดีต สว.สระบุรี ที่ต่างฝ่ายต่างมีฐานเสียงที่แน่นหนาพอๆ กัน ชนิดชวนให้ได้ลุ้น
สำหรับ นายเฉลิม วงษ์ไพร อดีต นายก อบจ. สระบุรี เบอร์ 4 อดีตแชมป์เก่าที่ผ่านมาให้การสนับสนุนทุกพรรคการเมืองมาระยะหลังตีจากออก ห่างไม่ไปยุ่งเกี่ยว เชื่อว่าสมัยที่เป็นนายก ทำการบ้านดีมาโดยตลอด ดังนั้นเลือกตั้งที่จะถึงนี้ นายเฉลิมเชื่อมั่นตัวเองมากเนื่องจากมีฐานคะแนนเป็น ส.อบจ.และผู้นำท้องถิ่นกระจัดกระจายทั่วจังหวัด ดูแล้วนายเฉลิม วงษ์ไพรไม่มีอาการเครียดแต่อย่างใด และก็ไม่หนักใจที่มีคู่แข่งเป็นถึงอดีต สว.และผู้สมัคร สส.เชื่อได้ว่าประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง
ด้าน นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ผู้สมัครนายก อบจ.เบอร์ 6 อดีต สว.และผู้สมัคร สส.พรรคพลังประชาชน เขต 1 สระบุรี จะมีฐานเสียงส่วนมากเป็นลูกความเพราะนายบรรฑูรย์ เป็นทนายความคะแนนเสียงอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้นำท้องถิ่น ดูบรรยากาศวันไปสมัครไม่ตึงเครียดกล่าวเพียงสั้นๆ ว่าประชาชนเรียกร้องให้มาสมัคร นายก อบจ.สระบุรี ทางด้านผู้สมัคร นายก อบจ. สระบุรี คนอื่นๆ ดูแล้วคงจะเป็นแค่ไม้ประดับลงมาเพื่อให้มีสีสันเท่านั้น
เช่นเดียวกันกับผู้สมัคร ส.อบจ.สระบุรี ต่างมี สส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่งหลังบ้านลงสมัคร ส.อบจ.เขต 3 อ.หนองแค ทำให้บรรยากาศคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้สมัคร ส.อบจ.สระบุรีนั้นมีนักการเมืองหน้าใหม่และเก่าแห่มาสมัครถึง 181 คน เมื่อได้เบอร์กันเรียบร้อยผู้สมัครติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามเสาไฟฟ้ากัน เกลื่อน ตามทางร่วมทางแยกเดิมเคาะประตูบ้านขอคะแนนกันหามรุ่งหามค่ำไม่มีคำว่าเหน็ด เหนื่อย
หลัง ปิดหีบผลปรากฏว่า ไม่พลิกโผ "เสี่ยเฉลิม" ชนะด้วยคะแนน 131,037 คะแนน ทิ้งนายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา หลายช่วงตัว ได้คะแนนเพียง 45,820 เสียง
สิงห์บุรี
นายสรกฤช เทียนถาวร
ฐานเสียงของตระกูลเทียนถาวรกับธนาคมานุสรณ์
นายสรกฤช เทียนถาวร เป็นพี่ชายของนายศุภวัฒน์ เทียนถาวร สว.สิงห์บุรี อดีตนายกอบจ.2สมัย
สุพรรณบุรี
นายบุญชู จันทร์สุวรรณ
ฐานเสียงของตระกูลศิลปอาชา,โพธสุธนและเที่ยงธรรม
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 ที่ผ่านมา มีการเลือกตั้ง อบจ.สุพรรณบุรี ครั้งนั้นมีผู้สมัคร นายก อบจ.หลายคน หนึ่งในนั้นมีนายบุญชู จันทร์สุวรรณ นักการเมืองหน้าใหม่ของ จ.สุพรรณบุรี ที่เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเทศบาล ต.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี มาก่อน แต่มีบ้านเกิดอยู่ที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี และเป็นบุตรชายคนโปรดของ นายดิน จันทร์สุวรรณ อดีตกำนันคนดังที่ชาว อ.ด่านช้าง ที่ชาวสุพรรณบุรี รู้จักกันดี และยังเป็นคนสนิทของ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ลงสมัครในครั้งนั้นและยังเป็นตัวเต็ง ซึ่งก็ไม่พลาดนายบุญชู ได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนท้วมท้น ทำให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สุพรรณบุรี
โดยมี นพดล มาตรศรี และนายสุวัฒน์ จันทร์สว่าง เป็นรอง นายก อบจ. มีสมาชิก อบจ.จำนวน 30 คน ประกอบด้วย นายมนูญ ศรีสุพรรณ นายสรพงศ์ สุจิตต์ นายสล้าง พันธุ์สถิตย์ นายณรงค์ เกิดพงษ์ นายสุชาติ กลิ่นจุ่น นายสุภัทร ลีอารีย์กุล นายพงษ์เกียรติ อุดมอานุภาพสุข นายสำเภา วีรานนท์ นายสุรัตน์ จันทร์สว่าง นายธีระ จันทรวัฒนาวนิช นายคงสิทธิ์ ห้วยหงส์ทอง นายชัยวัฒน์ มาตรศรี นายทวีศักดิ์ ฐานบัญชา นายปริญญา เรืองสุขอุดม นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ นายหริพล พนากิจกุล นายเสมียน หงส์โต นายกอบชัย พลเสน นายสว่าง พันธุ์พฤกษ์ นายสุพัฒน์ รบอุดงค์ นายศักดา จาละ นายธวัช อ่ำทอง น.ส.นุชรีย์ เงินเกื้อกูล นายสำเริง ผลโภชน์ นายสุกิจ อ่ำทอง นายสานัน สภาปกาญพงศ์ นายดิเรก รัศมีแก้ว นายสุธี โควอุดมประเสริฐ นายเอนก ปาลวงษ์ และนางสุนิสา สินไพบูลย์ผล
ผลการเลือกตั้งที่ผ่านไป
เบอร์1 น.ส.ศรีวิไล สมพงษ์อินทร์ ได้ 68,889 คะแนน
เบอร์2 นายบุญชู จันทร์สุวรรณ ได้183,666 คะแนน
อ่างทอง
นายสุรเชษ นิ่มสกุล
ฐานเสียงของตระกูลปริศนานันทกุลกับเปาอินทร์
คู่ท้าชิงคือนายอุดม นวมจิตร์ อดีตประธานสภา อบจ.อ่างทอง ๒ สมัย อายุ ๔๕ ปี จบ ปวช. บ้านอยู่ อ.ไชโย ประวัติเข้ามาเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น ลงเล่นการเมืองระดับสมาชิกสภาจังหวัดอ่างทอง ส.จ. เมื่อวันที่ ๒๐ตุลาคม ๒๕๓๓ ได้เข้าทำหน้าที่ในสภาจนครบวาระ และเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๘ มีการเลือกตั้งใหม่ ได้รับเลือกเข้าสภาอีก หลังจากนั้น ยังได้รับการโหวตจากสมาชิกในสภาให้นั่งตำแหน่งประธานสภาด้วย ในความคิดของนายอุดม ที่จะพัฒนาสภาจังหวัดให้เข้มแข็ง เพื่อกลั่นกรองกฎหมาย และพิจารณาบงประมาณให้ฝ่ายบริหารใช้จ่ายงบประมาณอย่างโปร่งใส ในยุคนั้น ที่สำคัญ ยังหวังเกินร้อยที่จะให้สมาชิกสภาจังหวัดมีความาเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงวางกรอบว่าทุกเดือนจะมีการประชุมสภานอกรอบ สัญจร ไปทุกอำเภอ เพื่อ ส.จ. ทุกนายจะได้มีโอกาสสัมผัสกับปัญหาของประชาชนทุกอำเภออย่างแท้จริง เพื่อการตั้งงบพัฒนาจะได้ตรงตามเป้าหมายของสภา เมื่อปี ๒๕๔๒ การประชุมสภาสัญจรครั้งแรกที่ อ.สามโก้ ผ่านได้ด้วยดี ครั้งที่ ๒ ส.จ.เขต อ.เมือง รับเป็นเจ้าภาพ หลังเสร็จการประชุมและงานเลี้ยง ก็มีเสียงปืนดังขึ้น ถูกนายอุดม กระสุนถูกอวัยวะสำคัญ ทำให้ท่อนล่างหมดความรู้สึก เคลื่อนไหวไม่ได้ ทุกวันนี้ ต้องใช้รถเข็นเดินทาง และด้วยใจทีต้องการรับใช้ประชาชนชาวอ่างทอง การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ส.อบจ.อ่างทอง ก็ลงสมัคร และได้รับเลือกเข้าทำหน้าที่ในสภาจนถึงปัจจุบัน และตัดสินใจลาออกเพื่อสมัครในตำแหน่งนายก อบจ. (เดลินิวส์ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑)
มี ผู้สมัคร 3 คน หมายเลข 1 อุดม นวมจิตร์ อดีต ประธานสภา อบจ.อ่างทอง 2 สมัย และ ส.อบจ .อ่างทอง เขต อ.ไชโย หมายเลข 2 สุรเชษ นิ่มกุล อดีต นายก อบจ.อ่าง ทอง หัวหน้ากลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด และ หมายเลข 3 สุขสันต์ สวนมะม่วง ( หลานชาย หมายเลข 2) โดยมีการกำหนดให้วันที่ 20 ม.ค.51 เป็นวันเลือกตั้งนายก อบจ.อ่างทอง
โดยนายอุดม นั้นได้รับแรงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากพรรคการเมืองใหญ่หลายพรรค แต่ระยะหลังการเมืองในสภาไม่โดดเด่นเนื่องจากมีปัญหาด้านร่างกาย แต่เป็นคนมีพวกมาก มีทั้งทรัพย์สินเงินทอง และบารมี บอกกับเป็นคนใจกว้างและจริงใจ จึงมีพรรคพวกเพื่อนฝูงและผู้ใหญ่ที่ เคารพนับทั้งในและต่างจังหวัดให้การสนับสนุน การสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้มีเวลาเตรียมตัวน้อย เนื่องจากไม่คาดฝันว่า นายสุรเชษ นิ่มกุล ผู้สมัครนายก อบจ.อ่างทอง หมายเลข 2 จะลาออกจากตำแหน่งกะทันหัน
สำหรับสุรเชษ หรือ กำนันตี๋ นั้น เป็นที่รับทราบกันมาตลอดว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพรรคชาติไทย เพราะเคยเป็นอดีตประธานวาขาพรรคชาติไทยที่อ่างทอง โดย มีนัการเมืองระดับชาติในพื้นที่สนับสนุนอย่างเต็มที่ ประกอบกับการเมืองในอ่างทอง ต่าง เอื้อซึ่งกันและกันทุกระดับ โดยเฉพาะฐานเสียงในอ่างทองเป็นของพรรคชาติไทยมาช้านาน และผู้สมัคร เบอร์ 2 ดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. อ่างทอง แม้จะเป็น สมัยแรกก็จริง แต่การดำเนินงานทางการเมืองท้องถิ่นก็เป็นไปด้วยดี
นอกจากนี้ยังมีผลงานโดดเด่น ทุ่มทั้งงบประมาณ วัสดุ และอุปกรณ์พัฒนาพื้นที่ จนสามารถสร้างผลงานและเกิดประโยชน์กับประชาชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ จึงทำให้มีคะแนนนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกขณะที่นั่ง ตำแหน่งนายก อบจ.อ่างทอง ได้ไม่ถึง สองปี สามารถแผ่บารมีถึง เทศบาล อบต.และหน่วยงานอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นในการเลือกตั้งท้องถิ่นทุกระดับ จึงหนีไม่พ้นบุคคลที่กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดของกำนันตี๋สนับสนุนจะได้รับ เลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
ส่วนหมายเลข 3 นั้นถือว่าเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนมากนักและเชื่อว่าจะช่วยผู้สมัครหมายเลข 2 หาเสียง ดังนั้นจึงคาดว่าการแข่งขันจริงๆ จะเกิดขึ้นระหว่างหมายเลข 1 อุดม นามจิตร์ อดีตประธานสภา อบจ.อ่างทอง 2 สมัย กับหมายเลข 2 สุรเชษ นิ่มกุล อดีตนายก อบจ อ่างทอง
จ.อ่างทอง หลังจากนายสุรเชษ นิ่มสกุล อดีตนายก อบจ.ที่ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 เพื่อช่วย นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และนายภราดร ปริศนานันทกุล ลูกชายนายสมศักดิ์ หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา ได้รับเลือกกลับเข้ามา ด้วยคะแนน 69,594 คะแนน ชนะนายอุดม นวมจิตร์ โดยการสนับสนุนของผู้สมัครสส.จากพรรคพลังประชาชนที่ได้ 31,454 คะแนน เนื่องจากนายสุรเชษเป็นอดีตหัวหน้าสำนักงานพรรคชาติไทย สาขาอ่างทอง โดยผู้มีสิทธิ 210,048 คน มาใช้สิทธิ 106,322 คน หรือร้อยละ 50.62 บัตรเสีย 4,164 บัตร หรือร้อยละ 3.91 ไม่ไปลงคะแนน 4,981 บัตร หรือร้อยละ 4.68
นายสุรเชษกล่าวว่า ต้องขอบคุณประชาชนที่ให้ความเชื่อถือ ไว้วางใจเลือกกลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดถึง 20 คน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาจังหวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น อีก 4 เขตแม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม แต่ถือว่าทุกคนเป็นพวกเดียวกัน เพียงแต่ความคิดอาจต่างกันได้ ดังนั้น การทำงานจะไม่ยึดถือว่าใครมาจากกลุ่มไหน แต่แต่จะถือว่าทุกคนคือ ส.อบจ. เป็นเพื่อนร่วมงาน มีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะล้วนเป็นบุคคลที่ประชาชนให้ความไว้วางใจเหมือนกัน และคาดว่าทุกคนจะให้การสนับสนุนการทำงานพัฒนาจังหวัดด้วยดี
อุทัยธานี
นายเผด็จ นุ้ยปรี
ฐานเสียงของตระกูลไทยเศรษฐ,ทุ่งทอง,โต๋วสัจจาและมงคลศิริ
ผู้สนใจแข่งขั้นจำนวนทั้งสิ้น 3 คน ประกอบด้วย นายเผด็จ นุ้ยปรี หมายเลข 1 พ.ต.ท.สรานนท์ จันทร์สม หมายเลข 2 และ นายจักรกริศน์ ทิพย์รังษี หมายเลข 3 ทำให้การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานีคึกคักขึ้นมาทันที
เหตุเพราะนายเผด็จ นุ้ยปรี นั้น มีดีกรีเป็นถึงแชมป์เก่า สร้างผลงานเป็นที่เด่ดชัด และโดนใจชาวบ้านพอสมควร แต่ที่อาจจะสะดุดอยู่บ้างตรงที่เป็นกุนซือและทีมงานหลักในการหาเสียงให้กับ นายศิลป์ชัย เชษฐ์ศิลป์ อดีต ส.ส.4 สมัยและ อดีต ส.ว. 1 สมัย ซึ่งเป็นพี่ชายในไส้ แต่นายศิลป์ชัย ได้มีการเปลี่ยนนามสกุล ลงสู้ศึกเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา แต่น่าเสียดายสอบตก ทำให้ความมั่นใจอาจลดลง
อย่างไรก็ตามนายเผด็จ ก็ได้เปรียบในเชิงยุทธ์ของคู่แข่งอยู่หลายขุม และมีฐานเสียงยังหนาแน่น และคอการเมืองหลายสำนักต่างฟันธงตรงกันว่า ยังเป็นตัวเต็ง เพราะสร้างผลงานเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะโครงการขุดสระน้ำแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่กระจายครอบคลุมไปทุกพื้นที่ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และโครงการก่อสร้างฝายต่างๆ ที่นายเผด็จ เข้าไปผลักดันอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ยังมี มีสมาชิก ส.อบจ.อุทัยธานีทั่วทุกพื้นที่ คอยสนับสนุน และเป็นหัวหอกทะลุทะลวงสู้ศึกอย่างเต็มที่ และแว่วว่า นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.ป้ายแดงโดด และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี จะกระโดดเข้าสนับสนุน และหากเป็นจริง มั่นใจได้เลยว่าลอยมาแน่
ส่วน พ.ต.ท.สรานนท์ จันทร์สม นั้น ถือว่ากล้าหาญอย่างยิ่งในการลงชิงชัยครั้งนี้ แม้จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่ชั้นเชิงถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ที่สำคัญเป็นนายตำรวจเก่า เคยทำงานในเขตพื้นที่อ.เมืองอุทัยธานี และอ.ลานสัก จนคุ้นเคยกับชาวบ้านเป็นอย่างดี และฐานเสียงส่วนใหญ่จะมาจากคนในวงการเดียวกัน ทำให้หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า พ.ต.ท.สรานนท์ มีสิทธิลุ้น
นอกจากนี้ยังอาจจะได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายตรงข้ามของนายเผด็จ เพราะยังมีนักการเมืองท้องถิ่นบางส่วนไม่พอใจการทำงานของนายเผด็จ ดังนั้นในช่วงโค้งสุดท้ายคะแนนอาจจะพลิกก็เป็นได้ เพราะนพ.ประเสริฐ มงคลศิริ ผู้สมัคร ส.ส.สอบตก ที่คะแนนมาอันดับ 4 หวังจะเทคะแนนเสียงให้ และหากเป็นจริงดังว่า การแข่งขันก็จะเข้มข้นหลายเท่าตัว และเกิดการหวั่นไหวอย่างช่วยไม่ได้
ชัยนาท
นายอนุสรณ์ นาคาศัย
ฐานเสียงของตระกูลนาคาศัยกับสงฆ์ประชา
ผลคะแนนการเลือกตั้งนายก องค์การบริหารจังหวัดชัยนาท ซึ่งมีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ๓ ราย ลำดับ ๑ นายอนุสรณ์ นาคาศัย ได้ ๖๗,๔๔๕ คะแนน ลำดับ ๒ นางจิรดา สงฆ์ประชา ได้ ๖๕,๘๒๔ คะแนน ลำดับ ๓ นางสาวธมน ศักดิ์จารุดล ได้ ๔,๘๒๑ คะแนนสรุป ยอดผู้มาใช้สิทธิ ๑๔๕,๓๑๘ คน จากยอดผู้มีสิทธิ ๒๕๒,๑๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๖๔ บัตรเสีย ๔,๑๕๓ บัตร คิดเป็น ร้อยละ ๒.๘๖ ไม่ประสงค์ลงคะแนน ๓,๐๗๕ บัตร คิดเป็นร้อยละ ๒.๑๒
นครนายก
ฐานเสียงของตระกูลกิตติธเนศวร ,บุญ-หลงกับอิสระเสนารักษ์
ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.นครนายก ปรากฏว่า นายสัญญา บุญ-หลง อดีตสว. และผู้สมัครสส. ได้คะแนนสูงสุด 49,412 คะแนน ส่วนคู่แข่ง นายนรเศรษฐ์ เอี่ยมอาจหาญ อดีตนายกอบจ.ได้ 48,079 คะแนน สำหรับผลการเลือกตั้ง ส.อบจ. 24 เขต ปรากฏว่า ลูกทีมนายสัญญาได้รับเลือกตั้ง 15 เขต ส่วนลูกทีมนายนรเศรษฐ์ได้รับเลือกตั้ง 9 เขตรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับนายสัญญา มีกลุ่มกำนันผู้ใหญ่และฐานเสียงพรรคพลังประชาชนสนับสนุน ส่วนนายนรเศรษฐ์ ได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะจากนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์
นครสวรรค์
นายอำนาจ ศิริชัย
ฐานเสียงของตระกูลตั้งภากรณ์,ศิริวันสาณฑ์,คำประกอบ,นิโรจน์,มั่นศิลป์,เจริญชัยฤทธิ์,จุลพงศธร,วรทองและศิริชัย
ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเลือกนายก และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ นั้น นายอำนาจ ศิริชัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครสวรรค์ มีคะแนนนำในการเลือกตั้งนายก อบจ.นครสวรรค์ ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครสวรรค์ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้มีการเลือกตั้งเมื่อ 15 มิ.ย. ได้มีการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันนี้ 16 มิ.ย. ปรากฎว่า ผู้ที่ได้คะแนนนำมาเป็นอันดับ 1 ในส่วนของผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้สมัคร 6 คน ผลคะแนนนำ ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 2 นายอำนาจ ศิริชัย ทีมพลัง ท้องถิ่น อดีตนายก อบจ. มีคะแนนนำถึง 198,166 คะแนน ทิ้งคู่แข่งหมายเลข 1 นายภิญโญ นิโรจน์ ทีมพัฒนานครสวรรค์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์ 6 สมัย ซึ่งได้คะแนนเพียง 157,562 คะแนน ห่างกันถึง 40,604 คะแนน
ขณะที่ผู้สมัครสมาชิก อบจ. จำนวน 36 เขต จากทีมพลังท้องถิ่น หมายเลข 2 ทุกเขต ซึ่งนำทีมโดย นายอำนาจ ศิริชัย ยังสามารถคว้าชัยไปได้ถึง 24 เขต หรือ 24 ที่นั่ง ขณะที่ทีมพัฒนานครสวรรค์ นำโดย นายภิญโญ นิโรจน์ หมายเลข 1 ทุกเขตเช่นกันได้ไปเพียง 12 เขต หรือ 12 ที่นั่ง สรุปในภาพรวมของการออกมาใช้สิทธิลงคะแนน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ 773,342 คน มาใช้สิทธิ์ 414,385 คน คิดเป็นร้อยละ 53.58 เป็นบัตรเสียถึง 22,118 บัตร คิดเป็นร้อยละ 5.34 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 19,643 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.74
ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการดังนี้
อำเภอเมือง
เขต1 นายกวี อัศวรัตน์ หมายเลข 2 ได้ 4,047 คะแนน
เขต2 นายสมเดช ตั้งจิตต์ถาวรกุล หมายเลข 2 ได้ 4,103 คะแนน
เขต3 นายนพดล สันติภาพจันทรา หมายเลข 2 ได้ 5,478 คะแนน
เขต4 นายวิทูร เจริญชัยฤทธิ์ หมายเลข 2 ได้ 5,776 คะแนน
เขต5 นายเจริญศักดิ์ มั่นศิลป์ หมายเลข 2 ได้ 7,491 คะแนน
เขต6 ดาบตำรวจธงชัย วจีสัจจะ หมายเลข 1 ได้ 7,832 คะแนน
เขต7 นายสุรจิต บัวทองศรี หมายเลข 2 ได้ 5,704 คะแนน
เขต8 นายธำรง วรทอง หมายเลข 2 ได้ 6,171 คะแนน
อำเภอชุมแสง
เขต 1 นายไพโรจน์ จุลพงศธร หมายลข 2 ได้ 5,055 คะแนน
เขต 2 นายวินัย ธัญญวินิชกุล หมายเลข 2 ได้ 7,002 คะแนน
อำเภอท่าตะโก
เขต 1 นางจิตรา หมีทอง หมายเลข 2 ได้ 8,771 คะแนน
เขต 2 นายมานพ ศรีผึ้ง หมายเลข 3 ได้ 6,973 คะแนน
อำเภอตาลี
เขต1 นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ หมายเลข 1 ได้ 6,524 คะแนน
เขต2 นายเผชิญ พวงสมบัติ หมายเลข 1 ได้ 5,977 คะแนน
เขต3 นายกิติรัตน์ ภัทรปรีชาสกุล หมายเลข 2 ได้ 4,814 คะแนน
อำเภอตากฟ้า
เขต1 นายศิริชัย ปานอุดมลักษณ์ หมายเลข 1 ได้ 9,006 คะแนน
อำเภอไพศาลี
เขต1 นายสรุวิทย์ ฤทธิ์ฉ่ำ หมายเลข 2 ได้ 6,240 คะแนน
เขต2 นายภราดร อุดมการณ์เกษตร หมายเลข 2 ได้ 3,479 คะแนน
เขต3 นายนิยมศักดิ์ ภักดีจันทร์ หมายเลข 2 ได้ 6,484 คะแนน
อำเภอหนองบัว
เขต1 นางดลฤดี ติยะโสภณจิต หมายเลข 2 ได้ 5,315 คะแนน
เขต2 นายขาว พัดศรี หมายเลข 2 ได้ 7,607 คะแนน
อำเภอโกรกพระ
เขต1 นายวุฒิชัย ปอตระกูล หมายเลข 1 ได้ 9,222 คะแนน
อำเภอเก้าเลี้ยว
เขต1 นายสุชาติ เรืองชัยเสรีพงษ์ หมายเลข 5 ได้ 4,933 คะแนน
อำเภอชุมตาบง
เขต1 นายสุนทร รอดพุ่ม หมายเลข 2 ได้ 3,136 คะแนน
อำเภอแม่เปิน
เขต1 นายยสพล ไกรวิริยะ หมายเลข 1 ได้ 4,386 คะแนน
อำเภอแม่วงก์
เขต1 นายณรงค์ ขาวบัว หมายเลข 2 ได้ 5,078 คะแนน
เขต2 นายธนยศ ปริบุญณะ หมายเลข 2 ได้ 5,419 คะแนน
อำเภอลาดยาว
เขต1 นายประมวญ สมัครธัญญากรณ์ หมายเลข 1 ได้ 5,676 คะแนน
เขต2 นางสาวชุติมา เสรีรัฐ หมายเลข 2 ได้ 5,038 คะแนน
เขต3 นายอภิสิทธิ์ อินทสิทธิ์ หมายเลข 2 ได้ 4,627 คะแนน
อำเภอพยุหะคีรี
เขต1 นายมีคม ศกุนรักษ์ หมายเลข 2 ได้ 9,066 คะแนน
เขต2 นางบุญลือ ส่งเสริมอุดมชัย หมายเลข 2 ได้ 8,098 คะแนน
อำเภอบรรพตพิสัย
เขต1 นายสุทิน พิลึก หมายเลข 2 ได้ 6,115 คะแนน
เขต2 นางอังสุมาลย์ เชี่ยวชาญเวช หมายเลข 2 ได้ 6,899 คะแนน
เขต3 นายวินัย ดวงสุทธา หมายเลข 1 ได้ 4,760 คะแนน
สำหรับบรรยากาศการรับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ.นครสวรรค์ แทนนายอำนาจ ศิริชัย อดีตนายก อบจ.ที่ถูกมือปืนสังหารเสียชีวิตขณะดูการแข่งขันฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 โดย กกต.นครสวรรค์ ได้ประกาศรับสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. ตั้งแต่วันที่ 2-6 สิงหาคม
เบอร์ 1 นายมานพ ศรีผึ้ง เป็นกลุ่มคนในตระกูล “นิโรจน์” นักการเมืองท้องถิ่นดั้งเดิมของปากน้ำโพ เคยเป็นเจ้าของค่ายมวย น.ศรีผึ้ง โด่งดังในศึกอัศวินดำ พัฒนาเป็นโปรโมเตอร์มวย ต่อมานายมานพ ถูกชักจูงสู่ถนนการเมืองสมัยครั้งที่ นายภิญโญ นิโรจน์ เป็น ส.ส. และปัจจุบันทราบกันดีว่าอยู่ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
ก่อนหน้านี้ นายภิญโญ นิโรจน์ อดีตสส.6สมัยก็เคยขึ้นป้ายพร้อมกับประกาศตัวมาจะลงสมัครชิงเก้าอี้นายก อบจ.ปากน้ำโพ ด้วยเช่นกัน แต่ก็ถอนตัวไปโดยอ้างเหตุผลว่ามารดาไม่ให้ลงสมัคร
นายมานพ ศรีผึ้งเป็นผู้สมัครที่มาจากการคัดเลือกของ ส.อบจ. ที่อยู่ในสภาขณะนี้ทั้งสิ้น 36 คน ที่ต้องการส่งผู้สมัครคนใดคนหนึ่งที่เป็น ส.อบจ. ลงแข่งขันในนามของ ส.อบจ. โดยปฏิเสธคนนอกอย่างสิ้นเชิง รวมถึงรองนายก อบจ.สมัยที่ผ่านมาด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเสียงของ ส.อบจ.ทั้ง 36 คน จะเป็นปึกแผ่นทั้งหมด ทราบว่ายังมี ส.อบจ.บางส่วนราว 10 คน ที่แปรพักร์ไปให้การสนับสนุนผู้สมัครรายอื่น และทราบต่อไปว่าได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองใหญ่ของจังหวัดข้างเคียงอีกด้วย
ขณะนี้ไม่ว่าเราจะขับรถผ่านไปทางไหนเราก็จะเห็นป้ายหาเสียงเกลื่อนเมืองไปหมด มีรถแห่ทั้งที่วิ่งกันเป็นขบวนและออกวิ่งแบบเดี่ยวๆ เป็นระยะๆ ไปตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ ในขณะเดียวกันก็จัดทีมงานเดินเคาะประตูบ้านแจกบัตรแนะนำตัวกันทุกวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ ส่วน ส.อบจ.ส่วนใหญ่ที่ให้การสนับสนุนก็มีเสียงอยู่ในมือพอสมควร ซึ่งแต่ละคนนั้นเมื่อฝีไม้ลายมือในการหาเสียงนั้นไม่มีใครเป็นรองใคร สามารถที่จะกอบโกยคะแนนเสียงในพื้นที่ได้เป็นกอบเป็นกำ
เบอร์ 2 ร.ต.ต.จำเริญ วรทอง อดีตเป็นรอง นายก อบจ. ทีมงาน และอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมัยที่แล้ว และเป็นรองนายก อบจ.ของ นายอำนาจ ศิริชัย เป็นมือทำงานที่ได้รับการไว้วางใจ การลงสมัครเลือกตั้งครั้งนี้ก็ได้กระแสของ นายอำนาจ ศิริชัย ค่อนข้างสูงมากทีเดียว เป็นการสวมฐานเดิมทำให้เบาแรงในการหาเสียงไปได้มากทีเดียว โดยมี นางอรพินท์ มั่นศิลป์ อดีต ส.ว.ที่ถูกใบแดง 5 ปี อดีตภรรยา นายอำนาจ ศิริชัย และ นางศรีสกุล มั่นศิลป์ ที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ว. คนปัจจุบันแทน นางอรพินท์ มั่นศิลป์ ซึ่งเป็นน้องสาวแท้ๆ ให้การสนับสนุนอีกทางหนึ่ง โดยมีป้าย...ทำไมต้องฆ่าผมด้วย...ของ นายอำนาจ ศิริชัย ติดประกบทั่วไป และที่เห็นไม่ต่างกันก็เป็นการเดินเคาะประตูบ้านแจกบัตรแนะนำตัวกันตลอดเช้ามืดยันมืด อีกกลยุทธหนึ่งที่เห็นจนชินหูชินตาก็เป็นรถแห่ทั้งที่ออกวิ่งเดี่ยวๆ และวิ่งเป็นขบวนๆละหลายคัน ไปตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ส่วนเบอร์ 3 นายวีระ บำรุงศรี อดีตรองนายก อบจ. ของ นายอำนาจ ศิริชัย และ เบอร์ 4 นายไตรภพ ประสาทแก้ว อดีตผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ว. หลายสมัย
นายมานพ กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจาก ส.อบจ.ทั้ง 36 เขต มีมติให้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้โดยใช้ทีมงานชุดเดิมกับนายอำนาจ มั่นใจว่าจะชนะการเลือกตั้ง เพราะต้องการเข้ามาสานต่อนโยบายของนายอำนาจ ศิริชัย อดีตนายก เพราะว่าทำงานกลุ่มเดียวกันมา โดยเน้นยุทธศาสตร์เรื่องบึงบอระเพ็ด เรื่องมหาวิทยาลัยมหิดล ประตูสู่ภาคเหนือ และการกีฬาของจังหวัด
ด้าน ร.ต.ต.จำเริญ อดีตรองนายก ซึ่งเคยทำงานร่วมกับนายอำนาจเช่นกัน กล่าวว่า นายอำนาจประกาศนโยบายทำจริง ไม่ทิ้งประชาชน ส่วนตนจะใช้สโลแกน สานฝันให้เป็นจริง ไม่ทิ้งประชาชน "นครสวรรค์เมืองน่าอยู่ ประตูสู่ภาคเหนือ เมืองแห่งการศึกษา บึงบอระเพ็ดตระการตา น้ำทำไร่นาพอเพียง" จะชูนโยบายนี้ในการหาเสียง เพราะว่าเป็นนโยบายของนายอำนาจที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ดี
ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการดังนี้
หมายเลข 1 นายมานพ ศรีผึ้ง ได้คะแนน 207,850 คะแนน
หมายเลข 2 ร้อยตำรวจตรี จำเริญ วรทอง ได้คะแนน 129,619 คะแนน
หมายเลข 3 นายวีระ บำรุงศรี ได้คะแนน 8,668 คะแนน
หมายเลข 4 นายไตรภพ ประสาทแก้ว ได้คะแนน 5,251 คะแนน
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 782,823 คน มาใช้สิทธิ์ 393,709 คน คิดเป็นร้อยละ 50.29 ,บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 25,935 บัตร คิดเป็นร้อยละ 6.59 และบัตรเสีย 16,386 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.16
พระนครศรีอยุธยา
นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล
ฐานเสียงของตระกูลพันธ์เจริญวรกุล ,แขวัฒนะกับพรรคเพื่อไทย
นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ (นายก อบจ.) หมายเลข 1 ได้ 201,879 คะแนน เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ กกต.จังหวัดฯ กำหนดไว้
ส่วนสมาชิกสภาจังหวัดฯ หรือ ส.อบจ. 30 เขต ประกอบด้วย อ.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 นางสาวภัทรี สุภานุกานนท์ ได้ 3,087 คะแนน เขต 2 นายจิระศักดิ์ มดทองดำ ได้ 3,343 คะแนน เขต 3 นาย อรรถพล เทียมมโน ได้ 4,727 คะแนน เขต 4 นางประทุม ชัยโกศล ได้ 5,119 คะแนน เขต 5 นางอรอุมา ปิ่นประเสริฐ ได้ 6,020 คะแนน อ.บางปะอิน เขต 1 นายยุทธนา ก้อนทอง ได้ 6,134 คะแนน เขต 2 นาย ประสิทธิ์ โชคกิจ ได้ 5,312 คะแนน เขต 3 นายอเนก ตันจรา รักษ์ ได้ 5,677 คะแนน อ.เสนา เขต 1 นายวิเชียร อเนกลาภ ได้6,294 คะแนน เขต 2 นายทองอยู่ พุฒใจกล้า ได้ 3,380 คะแนน เขต 3 นายองอาจ วชิรพงษ์ ได้ 5,326 คะแนน อ.ท่าเรือ เขต 1 นายสุรเดช บุญเดช ได้ 5,163 คะแนน เขต 2 นายมาโนช ตั้งใจรักษ์ ได้ 7,093 คะแนน อ.บางปะหัน เขต 1 จ. ส.ต.รังสรรค์ กิจพิพัฒน์ ได้ 5,949 คะแนน เขต 2 นายสมศักดิ์ ทองสีเข้ม ได้ 3,964 คะแนน อ.อุทัย เขต 1 นายชีวิน ปิยะทัศน์ศรี ได้ 7,156 คะแนน เขต 2 นายมนตรี รักษาดี ได้5,638 คะแนน อ.ผักไห่ เขต 1 นายทวีศักดิ์ ตั้งชมน์จำรัส ได้ 4,353 คะแนน เขต 2 นายสมภพ พัฒนะพีระพงษ์ ได้ 4,242 คะแนน อ.บางไทร เขต 1 นางกรองทอง รามศักดิ์ ได้ 6,498 คะแนน เขต 2 นายอุทัย ไกรเดชา ได้ 6,633 คะแนน อ.วังน้อย เขต 1 นายธวัชชัย พันธ์เจริญวรกุล คะแนน 7,693 เขต 2 นายสมชาย ศิลาเจริญธนกิจ ได้ 5,676 คะแนน อ.นครหลวง เขต 1 นายวันชัย รักษาสกุล ได้ 5,375 คะแนน อ.บางซ้าย เขต 1 นายสมศักดิ์ กอบัวแก้ว ได้ 3,123 คะแนน อ.บางบาล เขต 1 นางรัตนา หวังเทพอนุเคราะห์ ได้ 8,568 คะแนน อ.บ้านแพรก เขต 1 นายฤทธี อยู่ประเสริฐ ได้ 2,676 คะแนน อ.ภาชี เขต 1 นายธีรพงศ์ รัตนพันธุ์ศรี ได้ 7,272 คะแนน อ.มหาราช เขต 1 นายชูศักด์ ทองประพิศกุล ได้ 7,120 คะแนน อ.ลาดบัวหลวง เขต 1 นาย จิระทัศ ไกรเดชา คะแนน 7,334
สำหรับการเลือกตั้ง ส.อบจ. ในครั้งนี้เกิดการพลิกล๊อคในหลายเขต อาทิ เขต 3 อ.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 อำเภอท่าเรือ เขต 2 อำเภอบางปะหัน เขต 2 อำเภออุทัย และเขต 1 อำเภอ ผักไห่ เขต 2 อำเภอบางไทร เขต 1 อำเภอนครหลวง เขต 1 อำเภอภาชี เขต 1 อำเภอมหาราช และเขต 1 อำเภอลาดบัวหลวง โดยผู้ชนะเกือบทั้งหมด มีนักการเมืองระดับชาติให้การสนับสนุนในครั้งนี้ด้วย
สรุปผลการเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ. พระนครศรีอยุธยา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 269,906 จากผู้มีสิทธิ 551,552 คน คิดเป็นร้อยละ 48.94 บัตรเสีย 42,874 ใบ คิดเป็นร้อยละ 15.88 ผู้ไม่ประสงลงคะแนน 25,153 คน คิดเป็นร้อยละ 9.32 ส่วนผลการเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 269,688 คน จากทั้งหมด 550,997 คิดเป็นร้อยละ 48.95 บัตรเสียจำนวน 14,572 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.40 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 21,269 ใบ คิดเป็นร้อยละ 7.89
ลพบุรี
นายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช
ฐานเสียงของตระกูลวรปัญญากับจิระพันธุ์วาณิช
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ประจำปี 2551 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2551 แบบไม่เป็นทางการ มีดังนี้ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมดของจังหวัดลพบุรี 536,474 คน มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 208,841 คน คิดเป็นร้อยละ 38.92 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมด มีบัตรดี 191,520 ใบ บัตรเสีย 7,486 ใบ และผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,835 คน คิดเป็นร้อยละ 91.70 , 3.58 , 4.70 ตามลำดับ
โดยรวมผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ผลปรากฏว่า นายสุบรรณ จิระพันธ์วานิช ได้คะแนนรวมทั้งหมด 143,060 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68.50 ของผู้มาเลือกตั้ง ส่วนนายทรงพล เกียรติวินัยสกุล 48,460 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 23.20 ของผู้มาเลือกตั้ง ทั้งหมด
สมุทรสงคราม
นายโยธิน ตันประเสริฐ
3 ผู้สมัครนายกอบจ.ประกอบด้วย หมายเลข 1 นายอำนวย ลิขิตอำนวยชัย อดีตนายก อบจ.สมุทรสงคราม 2 สมัย หัวหน้ากลุ่ม"อาสาพัฒนาท้องถิ่น" หมายเลข 2 นายโยธิน ตันประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)บางแก้ว 2 สมัย หัวหน้ากลุ่ม"คนทำงาน" และหมายเลข 3 นางกานต์ทิตา รอดรัศมี หัวหน้ากลุ่ม"ประชาธิปัตย์" น้องสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์
โดยทั้ง 3 กลุ่มส่งผู้สมัครสมาชิกสภา อบจ. ครบทั้ง 24 เขต ซึ่งแบ่งเป็น อ.เมือง 13 เขต อ.อัมพวา 7 เขต และอ.บางคนที 4 เขต นอกจากนี้มีผู้สมัครอิสระอีก 21 คนกระจายกันกันตามเขตของแต่ละอำเภอแบ่งเป็น อ.เมือง 16 คน อัมพวา 3 คน และ อ.บางคนที 2 คน
วินาทีนี้ หากวิเคราะห์เจาะลึกศึกเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.แม่กลองในครั้งนี้ "มีได้มีเสียและมีลุ้น"
เริ่มจากนายอำนวย นายก อบจ.แม่กลอง 2 สมัย คุณงามความดีมีมาก อีกทั้งของฝากของขวัญของกำนัลในอดีตไว้เยอะ รวมทั้งผลงานที่ผ่านมาเข้าตากรรมการบ้างไม่เข้าบ้าง
ทีแรกคิดว่าลอยลำมาแบบสบายๆ แต่พอปลายมือสมุนหรือขุนพล ถูกทีมคนทำงานของเสี่ยต๋องดูดไปเกือบหมดค่าย ต้องเลือกเฟ้นยอดขุนพลขึ้นมาใหม่ แต่จะทันเหตุการณ์หรือไม่อันนี้ต้องวัดดวง
แต่ที่ได้แน่ๆ คือ ได้ตัว นายพิศิษฐ์ เสือสมิง ผู้รับเหมารายใหญ่ในแม่กลองมาเป็นนายทุน และยังผู้รับเหมาจากอำเภอบางคนที นายสุพรรณ ลิ้มสัจจาพานิช อดีตนายกเล็กกระดังงา มาเป็นกระเป๋าให้ ในตำแหน่งรองนายก เรียกว่านายอำนวย เตรียมทำศึกเต็มที่ "ลูกสมุนอาจถูกฆ่าตายแต่นายต้องยังอยู่" มีผู้สงสัยคือนายพิศิษฐ์ ในอดีตซี้ปึ๊กกับนางสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงครามและจะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายอำนวยตลอดมา แต่ทำมาทำไปหันมาจูบปากกับนายอำนวย และผลักไสไล่ส่งนางสาวรังสิมา พ้นจากเส้นทาง อันสัจธรรมทางการเมืองที่ว่า "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรยังใช้ได้อยู่ชั่วนิรันดร"
สำหรับเสี่ยต๋อง หรือ โยธิน ตันประเสริฐ อดีตนายก อบต.บางแก้ว 2 สมัย เจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในสมุทรสงคราม เป็นคนทำงานที่มีความสามารถมาก สามารถดึงคนนายของนายอำนวยออกมาได้เกินครึ่งสภา เรียกว่าระดับขุนพลทัพหน้าของนายอำนวยมาอยู่กับเสี่ยต๋องเกือบหมด เหลือ ไว้ให้นายอำนวยดูต่างหน้าประมาณ 10 คน
แต่ชาวบ้านกลับมองไปว่า ตำรามาเร็วกลับเร็ว
เสี่ยต๋อง ในอดีตประทะกับนายอำนวยมาแล้วในครั้งเลือกตั้งเมื่อครั้งก่อน ปรากฏว่าเข้ามาที่ 3 โดยมีนายพิศิษฐ์ ที่สมัยนั้นยังอยู่กับประชาธิปัตย์ ตัดที่ 2 ไปกินแบบเส้นยาแดงผ่าแปด เสี่ยต๋อง ปูพรมทางการเมืองท้องถิ่นมาหลายปี หมดกระสุนไปเป็นจำนวนมาก แต่ยังไปไม่ถึงดวงดาว สำหรับในครั้งนี้ต้องขอลุ้น
ท้ายสุดนางสาวกานต์ทิตา รอดรัศมี (เจ๊โอ๋) น้องสาวนางสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ แต่การจัดทีเลือกตั้งในครั้งนี้ใช้ชื่อทีมว่าประชาธิปัตย์
เรียกว่าเป็นทีมที่คอยเก็บตกได้ เพราะลูกสมุนที่คัดจัดมาทำศึกในครั้งนี้ล้วนแต่ผ่านการคัดเลือกมาจาก 2 ทีมที่กล่าวมา แต่ก็ไม่ธรรมดาเพราะใครๆก็รู้ดีว่าเจ๊โอ๋ไม่ธรรมดา เมื่อเลือกตั้ง สส. ครั้งที่ผ่านมาเก็บคะแนนสงสารเสียต้อง 6 หมื่นกว่า คะแนน เล่นเอาคู่ปรับ เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋ากลับบ้านไปหลายราย
เสี่ยต๋อง นายโยธิน ตันประเสริฐ เจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในสมุทรสงคราม อดีตนายกอบต.บางแก้ว2สมัย หัวหน้าทีมฅนทำงาน หมายเลข 2 ได้ 30,885 คะแนน ชนะนายอำนวย ลิขิตอำนวยชัย ทีมอาสาพัฒนาท้องถิ่น อดีตนายก อบจ. หมายเลข 1 ที่ได้ 26,985 คะแนน และนางกานต์ทิตา รอดรัศมี ทีมประชาธิปัตย์ น้องสาว น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 3 ที่ได้ 15,198 คะแนน
สระบุรี
นายเฉลิม วงษ์ไพร
ฐานเสียงของตระกูลอดิเรกสาร
มีผู้สมัครนายก อบจ. จำนวน 7 คนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย หมายเลข 1 นางกัณฐิกา โพธิปัญญา หมายเลข 2 นายภิญญู สิงหจารุ หมายเลข 3 นายรวย เชื้อสุวรรณ หมายเลข 4 นายเฉลิม วงษ์ไพร อดีตนายกอบจ.สระบุรี หมายเลข 5 น.ส.แพรวพรรณ จีนประสพ หมายเลข 6 นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา อดีต สว.และผู้สมัคร สส.พรรคพลังประชาชน และหมายเลข 7 นายอรรถพล วงษ์ประยูร
ตำแหน่งนายก อบจ.สระบุรี ครั้งนี้น่าจะเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่าง นายเฉลิม วงษ์ไพร อดีตนายก อบจ.สระบุรี และนายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา อดีต สว.สระบุรี ที่ต่างฝ่ายต่างมีฐานเสียงที่แน่นหนาพอๆ กัน ชนิดชวนให้ได้ลุ้น
สำหรับ นายเฉลิม วงษ์ไพร อดีต นายก อบจ. สระบุรี เบอร์ 4 อดีตแชมป์เก่าที่ผ่านมาให้การสนับสนุนทุกพรรคการเมืองมาระยะหลังตีจากออก ห่างไม่ไปยุ่งเกี่ยว เชื่อว่าสมัยที่เป็นนายก ทำการบ้านดีมาโดยตลอด ดังนั้นเลือกตั้งที่จะถึงนี้ นายเฉลิมเชื่อมั่นตัวเองมากเนื่องจากมีฐานคะแนนเป็น ส.อบจ.และผู้นำท้องถิ่นกระจัดกระจายทั่วจังหวัด ดูแล้วนายเฉลิม วงษ์ไพรไม่มีอาการเครียดแต่อย่างใด และก็ไม่หนักใจที่มีคู่แข่งเป็นถึงอดีต สว.และผู้สมัคร สส.เชื่อได้ว่าประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง
ด้าน นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ผู้สมัครนายก อบจ.เบอร์ 6 อดีต สว.และผู้สมัคร สส.พรรคพลังประชาชน เขต 1 สระบุรี จะมีฐานเสียงส่วนมากเป็นลูกความเพราะนายบรรฑูรย์ เป็นทนายความคะแนนเสียงอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้นำท้องถิ่น ดูบรรยากาศวันไปสมัครไม่ตึงเครียดกล่าวเพียงสั้นๆ ว่าประชาชนเรียกร้องให้มาสมัคร นายก อบจ.สระบุรี ทางด้านผู้สมัคร นายก อบจ. สระบุรี คนอื่นๆ ดูแล้วคงจะเป็นแค่ไม้ประดับลงมาเพื่อให้มีสีสันเท่านั้น
เช่นเดียวกันกับผู้สมัคร ส.อบจ.สระบุรี ต่างมี สส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่งหลังบ้านลงสมัคร ส.อบจ.เขต 3 อ.หนองแค ทำให้บรรยากาศคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้สมัคร ส.อบจ.สระบุรีนั้นมีนักการเมืองหน้าใหม่และเก่าแห่มาสมัครถึง 181 คน เมื่อได้เบอร์กันเรียบร้อยผู้สมัครติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามเสาไฟฟ้ากัน เกลื่อน ตามทางร่วมทางแยกเดิมเคาะประตูบ้านขอคะแนนกันหามรุ่งหามค่ำไม่มีคำว่าเหน็ด เหนื่อย
หลัง ปิดหีบผลปรากฏว่า ไม่พลิกโผ "เสี่ยเฉลิม" ชนะด้วยคะแนน 131,037 คะแนน ทิ้งนายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา หลายช่วงตัว ได้คะแนนเพียง 45,820 เสียง
สิงห์บุรี
นายสรกฤช เทียนถาวร
ฐานเสียงของตระกูลเทียนถาวรกับธนาคมานุสรณ์
นายสรกฤช เทียนถาวร เป็นพี่ชายของนายศุภวัฒน์ เทียนถาวร สว.สิงห์บุรี อดีตนายกอบจ.2สมัย
สุพรรณบุรี
นายบุญชู จันทร์สุวรรณ
ฐานเสียงของตระกูลศิลปอาชา,โพธสุธนและเที่ยงธรรม
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 ที่ผ่านมา มีการเลือกตั้ง อบจ.สุพรรณบุรี ครั้งนั้นมีผู้สมัคร นายก อบจ.หลายคน หนึ่งในนั้นมีนายบุญชู จันทร์สุวรรณ นักการเมืองหน้าใหม่ของ จ.สุพรรณบุรี ที่เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเทศบาล ต.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี มาก่อน แต่มีบ้านเกิดอยู่ที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี และเป็นบุตรชายคนโปรดของ นายดิน จันทร์สุวรรณ อดีตกำนันคนดังที่ชาว อ.ด่านช้าง ที่ชาวสุพรรณบุรี รู้จักกันดี และยังเป็นคนสนิทของ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ลงสมัครในครั้งนั้นและยังเป็นตัวเต็ง ซึ่งก็ไม่พลาดนายบุญชู ได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนท้วมท้น ทำให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สุพรรณบุรี
โดยมี นพดล มาตรศรี และนายสุวัฒน์ จันทร์สว่าง เป็นรอง นายก อบจ. มีสมาชิก อบจ.จำนวน 30 คน ประกอบด้วย นายมนูญ ศรีสุพรรณ นายสรพงศ์ สุจิตต์ นายสล้าง พันธุ์สถิตย์ นายณรงค์ เกิดพงษ์ นายสุชาติ กลิ่นจุ่น นายสุภัทร ลีอารีย์กุล นายพงษ์เกียรติ อุดมอานุภาพสุข นายสำเภา วีรานนท์ นายสุรัตน์ จันทร์สว่าง นายธีระ จันทรวัฒนาวนิช นายคงสิทธิ์ ห้วยหงส์ทอง นายชัยวัฒน์ มาตรศรี นายทวีศักดิ์ ฐานบัญชา นายปริญญา เรืองสุขอุดม นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ นายหริพล พนากิจกุล นายเสมียน หงส์โต นายกอบชัย พลเสน นายสว่าง พันธุ์พฤกษ์ นายสุพัฒน์ รบอุดงค์ นายศักดา จาละ นายธวัช อ่ำทอง น.ส.นุชรีย์ เงินเกื้อกูล นายสำเริง ผลโภชน์ นายสุกิจ อ่ำทอง นายสานัน สภาปกาญพงศ์ นายดิเรก รัศมีแก้ว นายสุธี โควอุดมประเสริฐ นายเอนก ปาลวงษ์ และนางสุนิสา สินไพบูลย์ผล
ผลการเลือกตั้งที่ผ่านไป
เบอร์1 น.ส.ศรีวิไล สมพงษ์อินทร์ ได้ 68,889 คะแนน
เบอร์2 นายบุญชู จันทร์สุวรรณ ได้183,666 คะแนน
อ่างทอง
นายสุรเชษ นิ่มสกุล
ฐานเสียงของตระกูลปริศนานันทกุลกับเปาอินทร์
คู่ท้าชิงคือนายอุดม นวมจิตร์ อดีตประธานสภา อบจ.อ่างทอง ๒ สมัย อายุ ๔๕ ปี จบ ปวช. บ้านอยู่ อ.ไชโย ประวัติเข้ามาเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น ลงเล่นการเมืองระดับสมาชิกสภาจังหวัดอ่างทอง ส.จ. เมื่อวันที่ ๒๐ตุลาคม ๒๕๓๓ ได้เข้าทำหน้าที่ในสภาจนครบวาระ และเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๘ มีการเลือกตั้งใหม่ ได้รับเลือกเข้าสภาอีก หลังจากนั้น ยังได้รับการโหวตจากสมาชิกในสภาให้นั่งตำแหน่งประธานสภาด้วย ในความคิดของนายอุดม ที่จะพัฒนาสภาจังหวัดให้เข้มแข็ง เพื่อกลั่นกรองกฎหมาย และพิจารณาบงประมาณให้ฝ่ายบริหารใช้จ่ายงบประมาณอย่างโปร่งใส ในยุคนั้น ที่สำคัญ ยังหวังเกินร้อยที่จะให้สมาชิกสภาจังหวัดมีความาเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงวางกรอบว่าทุกเดือนจะมีการประชุมสภานอกรอบ สัญจร ไปทุกอำเภอ เพื่อ ส.จ. ทุกนายจะได้มีโอกาสสัมผัสกับปัญหาของประชาชนทุกอำเภออย่างแท้จริง เพื่อการตั้งงบพัฒนาจะได้ตรงตามเป้าหมายของสภา เมื่อปี ๒๕๔๒ การประชุมสภาสัญจรครั้งแรกที่ อ.สามโก้ ผ่านได้ด้วยดี ครั้งที่ ๒ ส.จ.เขต อ.เมือง รับเป็นเจ้าภาพ หลังเสร็จการประชุมและงานเลี้ยง ก็มีเสียงปืนดังขึ้น ถูกนายอุดม กระสุนถูกอวัยวะสำคัญ ทำให้ท่อนล่างหมดความรู้สึก เคลื่อนไหวไม่ได้ ทุกวันนี้ ต้องใช้รถเข็นเดินทาง และด้วยใจทีต้องการรับใช้ประชาชนชาวอ่างทอง การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ส.อบจ.อ่างทอง ก็ลงสมัคร และได้รับเลือกเข้าทำหน้าที่ในสภาจนถึงปัจจุบัน และตัดสินใจลาออกเพื่อสมัครในตำแหน่งนายก อบจ. (เดลินิวส์ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑)
มี ผู้สมัคร 3 คน หมายเลข 1 อุดม นวมจิตร์ อดีต ประธานสภา อบจ.อ่างทอง 2 สมัย และ ส.อบจ .อ่างทอง เขต อ.ไชโย หมายเลข 2 สุรเชษ นิ่มกุล อดีต นายก อบจ.อ่าง ทอง หัวหน้ากลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด และ หมายเลข 3 สุขสันต์ สวนมะม่วง ( หลานชาย หมายเลข 2) โดยมีการกำหนดให้วันที่ 20 ม.ค.51 เป็นวันเลือกตั้งนายก อบจ.อ่างทอง
โดยนายอุดม นั้นได้รับแรงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากพรรคการเมืองใหญ่หลายพรรค แต่ระยะหลังการเมืองในสภาไม่โดดเด่นเนื่องจากมีปัญหาด้านร่างกาย แต่เป็นคนมีพวกมาก มีทั้งทรัพย์สินเงินทอง และบารมี บอกกับเป็นคนใจกว้างและจริงใจ จึงมีพรรคพวกเพื่อนฝูงและผู้ใหญ่ที่ เคารพนับทั้งในและต่างจังหวัดให้การสนับสนุน การสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้มีเวลาเตรียมตัวน้อย เนื่องจากไม่คาดฝันว่า นายสุรเชษ นิ่มกุล ผู้สมัครนายก อบจ.อ่างทอง หมายเลข 2 จะลาออกจากตำแหน่งกะทันหัน
สำหรับสุรเชษ หรือ กำนันตี๋ นั้น เป็นที่รับทราบกันมาตลอดว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพรรคชาติไทย เพราะเคยเป็นอดีตประธานวาขาพรรคชาติไทยที่อ่างทอง โดย มีนัการเมืองระดับชาติในพื้นที่สนับสนุนอย่างเต็มที่ ประกอบกับการเมืองในอ่างทอง ต่าง เอื้อซึ่งกันและกันทุกระดับ โดยเฉพาะฐานเสียงในอ่างทองเป็นของพรรคชาติไทยมาช้านาน และผู้สมัคร เบอร์ 2 ดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. อ่างทอง แม้จะเป็น สมัยแรกก็จริง แต่การดำเนินงานทางการเมืองท้องถิ่นก็เป็นไปด้วยดี
นอกจากนี้ยังมีผลงานโดดเด่น ทุ่มทั้งงบประมาณ วัสดุ และอุปกรณ์พัฒนาพื้นที่ จนสามารถสร้างผลงานและเกิดประโยชน์กับประชาชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ จึงทำให้มีคะแนนนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกขณะที่นั่ง ตำแหน่งนายก อบจ.อ่างทอง ได้ไม่ถึง สองปี สามารถแผ่บารมีถึง เทศบาล อบต.และหน่วยงานอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นในการเลือกตั้งท้องถิ่นทุกระดับ จึงหนีไม่พ้นบุคคลที่กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดของกำนันตี๋สนับสนุนจะได้รับ เลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
ส่วนหมายเลข 3 นั้นถือว่าเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนมากนักและเชื่อว่าจะช่วยผู้สมัครหมายเลข 2 หาเสียง ดังนั้นจึงคาดว่าการแข่งขันจริงๆ จะเกิดขึ้นระหว่างหมายเลข 1 อุดม นามจิตร์ อดีตประธานสภา อบจ.อ่างทอง 2 สมัย กับหมายเลข 2 สุรเชษ นิ่มกุล อดีตนายก อบจ อ่างทอง
จ.อ่างทอง หลังจากนายสุรเชษ นิ่มสกุล อดีตนายก อบจ.ที่ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 เพื่อช่วย นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และนายภราดร ปริศนานันทกุล ลูกชายนายสมศักดิ์ หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา ได้รับเลือกกลับเข้ามา ด้วยคะแนน 69,594 คะแนน ชนะนายอุดม นวมจิตร์ โดยการสนับสนุนของผู้สมัครสส.จากพรรคพลังประชาชนที่ได้ 31,454 คะแนน เนื่องจากนายสุรเชษเป็นอดีตหัวหน้าสำนักงานพรรคชาติไทย สาขาอ่างทอง โดยผู้มีสิทธิ 210,048 คน มาใช้สิทธิ 106,322 คน หรือร้อยละ 50.62 บัตรเสีย 4,164 บัตร หรือร้อยละ 3.91 ไม่ไปลงคะแนน 4,981 บัตร หรือร้อยละ 4.68
นายสุรเชษกล่าวว่า ต้องขอบคุณประชาชนที่ให้ความเชื่อถือ ไว้วางใจเลือกกลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดถึง 20 คน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาจังหวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น อีก 4 เขตแม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม แต่ถือว่าทุกคนเป็นพวกเดียวกัน เพียงแต่ความคิดอาจต่างกันได้ ดังนั้น การทำงานจะไม่ยึดถือว่าใครมาจากกลุ่มไหน แต่แต่จะถือว่าทุกคนคือ ส.อบจ. เป็นเพื่อนร่วมงาน มีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะล้วนเป็นบุคคลที่ประชาชนให้ความไว้วางใจเหมือนกัน และคาดว่าทุกคนจะให้การสนับสนุนการทำงานพัฒนาจังหวัดด้วยดี
อุทัยธานี
นายเผด็จ นุ้ยปรี
ฐานเสียงของตระกูลไทยเศรษฐ,ทุ่งทอง,โต๋วสัจจาและมงคลศิริ
ผู้สนใจแข่งขั้นจำนวนทั้งสิ้น 3 คน ประกอบด้วย นายเผด็จ นุ้ยปรี หมายเลข 1 พ.ต.ท.สรานนท์ จันทร์สม หมายเลข 2 และ นายจักรกริศน์ ทิพย์รังษี หมายเลข 3 ทำให้การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานีคึกคักขึ้นมาทันที
เหตุเพราะนายเผด็จ นุ้ยปรี นั้น มีดีกรีเป็นถึงแชมป์เก่า สร้างผลงานเป็นที่เด่ดชัด และโดนใจชาวบ้านพอสมควร แต่ที่อาจจะสะดุดอยู่บ้างตรงที่เป็นกุนซือและทีมงานหลักในการหาเสียงให้กับ นายศิลป์ชัย เชษฐ์ศิลป์ อดีต ส.ส.4 สมัยและ อดีต ส.ว. 1 สมัย ซึ่งเป็นพี่ชายในไส้ แต่นายศิลป์ชัย ได้มีการเปลี่ยนนามสกุล ลงสู้ศึกเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา แต่น่าเสียดายสอบตก ทำให้ความมั่นใจอาจลดลง
อย่างไรก็ตามนายเผด็จ ก็ได้เปรียบในเชิงยุทธ์ของคู่แข่งอยู่หลายขุม และมีฐานเสียงยังหนาแน่น และคอการเมืองหลายสำนักต่างฟันธงตรงกันว่า ยังเป็นตัวเต็ง เพราะสร้างผลงานเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะโครงการขุดสระน้ำแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่กระจายครอบคลุมไปทุกพื้นที่ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และโครงการก่อสร้างฝายต่างๆ ที่นายเผด็จ เข้าไปผลักดันอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ยังมี มีสมาชิก ส.อบจ.อุทัยธานีทั่วทุกพื้นที่ คอยสนับสนุน และเป็นหัวหอกทะลุทะลวงสู้ศึกอย่างเต็มที่ และแว่วว่า นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.ป้ายแดงโดด และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี จะกระโดดเข้าสนับสนุน และหากเป็นจริง มั่นใจได้เลยว่าลอยมาแน่
ส่วน พ.ต.ท.สรานนท์ จันทร์สม นั้น ถือว่ากล้าหาญอย่างยิ่งในการลงชิงชัยครั้งนี้ แม้จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่ชั้นเชิงถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ที่สำคัญเป็นนายตำรวจเก่า เคยทำงานในเขตพื้นที่อ.เมืองอุทัยธานี และอ.ลานสัก จนคุ้นเคยกับชาวบ้านเป็นอย่างดี และฐานเสียงส่วนใหญ่จะมาจากคนในวงการเดียวกัน ทำให้หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า พ.ต.ท.สรานนท์ มีสิทธิลุ้น
นอกจากนี้ยังอาจจะได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายตรงข้ามของนายเผด็จ เพราะยังมีนักการเมืองท้องถิ่นบางส่วนไม่พอใจการทำงานของนายเผด็จ ดังนั้นในช่วงโค้งสุดท้ายคะแนนอาจจะพลิกก็เป็นได้ เพราะนพ.ประเสริฐ มงคลศิริ ผู้สมัคร ส.ส.สอบตก ที่คะแนนมาอันดับ 4 หวังจะเทคะแนนเสียงให้ และหากเป็นจริงดังว่า การแข่งขันก็จะเข้มข้นหลายเท่าตัว และเกิดการหวั่นไหวอย่างช่วยไม่ได้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น