ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : [บ่อนทำลายชาติ] แนวคิดในการก่อความไม่สงบ เรื่องที่คนไทยทุกคนควรรู้
..... รูปแบบปฎิบัติการสมัยใหม่ของพวกบ่อนทำลายชาตินั้นต่างก้อมีแนวคิดจากสมัยก่อนที่ได้รับการปรับปรุงมาให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป .........
ประชาชนที่ล่อแหลม (Vulnerable Population): สำหรับประชาชนที่ล่อแหลมนั้น รส.100-20 พ.ศ.2540 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “เป็นประชาชนที่ไม่พอใจต่อสถานภาพทาง สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะความแตกต่างระหว่างชนชั้นมียังมีอยู่มาก และการดูแลที่ไม่ทั่วถึงของรัฐบาล เพราะรัฐบาลของประเทศพัฒนามุ่งเน้นไปในเรื่องของการพัฒนาประเทศ และด้วยข้อจำกัดนานาประการที่ประเทศกำลังพัฒนานั้น ๆ ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ กระจายอย่างไม่ทั่งถึง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกระแสการไหลบ่าของวัฒนธรรมที่เป็นสากล หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ส่งผลให้รัฐบาลของประเทศนั้น ดำเนินโยบายที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชน หรือ เผ่าพันธุ์ที่เรียกได้ว่า เป็นชนกลุ่มน้อย หรือ Minority ซึ่งประชาชนที่ล่อแหลมนี้เองที่เป็นเป้าหมายของขบวนการก่อความไม่สงบมีความต้องการที่จะแย่งชิงให้มาเป็นพวกตน เพื่อจะได้ให้การสนับสนุนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ที่ต้องการ
การนำและชี้นำ (Direction and Leadership): สำหรับประชาชนที่ล่อแหลมนั้น โดยธรรมชาติแล้วจะไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เพื่อก่อความไม่สงบ ถึงแม้ประชาชนที่ล่อแหลมบางกลุ่มอาจจะมีระดับของความไม่พอใจที่สูง แต่กระนั้นประชาชนที่ล่อแหลมอาจมีการรวมตัวกันขึ้นถ้ามีการดำเนินการที่เรียกว่า “การนำและชี้นำ” โดยขบวนการก่อความไม่สงบ อย่างไรก็ดีการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นโดยประชาชนที่ล่อแหลมส่วนใหญ่แล้วยังมีระดับความคิดที่ไปไม่ถึงการก่อความไม่สงบเพื่อล้มล้างอำนาจรัฐบาล สำหรับการดำเนินการนำและชี้นำที่กระทำนั้น โดยส่วนใหญ่มีความไม่พอใจในระดับที่สูงจะมีพื้นฐานมาจากการที่ประชาชนล่อแหลมรู้สึกว่าตัวเองถูกเบียดบังผลประโยชน์ (Relative Deprivation) เพราะผลประโยชน์ที่ถูกเบียดบังนั้นสามารถใช้เป็นเรื่องที่ชี้นำทางความคิดได้ และ เรื่องของการถูกเบียดเบียนผลประโยชน์ เป็นเรื่องที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิวัติทางการเมืองตามแนวทางของ คาร์ล มาร์ค (Karl Marx) เฟรดริช เองเกลส์ (Friedrich Engels) และต่อมา วลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin) และ เหมาเซตุง (Mao Tsa-Tung) นำมาประยุกต์ ใช้ในการชี้นำเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมสู้เพื่อล้มอำนาจการปกครองของรัฐบาล
รัฐบาลขาดการควบคุม (Lack of Government Control): ประเทศใดที่รัฐบาลขาดการควบคุมดูแลปล่อยปละละเลย หรือ ดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดนั้น ขบวนการก่อความไม่สงบอาจจะฉวยโอกาสเข้าทำการเคลื่อนไหว โดยเป็นการนำหรือชี้นำเพื่อสนับสนุนการก่อความไม่สงบ เพราะรัฐบาลดูแลได้ไม่ทั่วถึง และถ้ารัฐบาลสามารถควบคุมดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ขบวนการก่อความไม่สงบก็จะยากที่จะเคลื่อนไหวใด ๆ ในทำนองกลับกัน ถ้ารัฐบาลมีการควบคุมอย่างเข้มงวด และดำเนินนโยบายที่เหมาะสมแล้ว การดำเนินการต่าง ๆ ของขบวนการก่อการร้ายจะกระทำได้ยาก
นอกเหนือจากปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดการก่อความไม่สงบเป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษาแล้วนั้น รูปแบบของการก่อความไม่สงบก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันรูปแบบของการก่อความไม่สงบ ทั้ง 4 รูปแบบดังนี้
1. การก่อความไม่สงบโดยการบ่อนทำลาย (Subversion Insurgency): ลักษณะของการก่อความไม่สงบประเภทนี้ฝ่ายก่อความไม่สงบจะทำการแทรกซึมเข้าไปฝังตัวในโครงสร้างทางการเมืองของประเทศ องค์กรทางสังคมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อหาทางการควบคุมโครงสร้างขององค์กรต่าง ๆ เหล่านั้น และใช้การโฆษณาชวนเชื่อทำการยุยงให้ องค์กรต่าง ๆ เกิดความขัดแย้ง และในบางองค์กรอาจก่อความไม่สงบขึ้น รวมถึงการชักจูงให้บุคคลระดับสูงขององค์กรเหล่านั้นให้มาเป็นพวก และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายแนวร่วมให้มากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายก่อความสงบที่ฐานการสนับสนุนทางการเมืองที่มั่นคงแล้ว จะเริ่มดำเนินการเรียกร้องต่อรัฐบาลในลักษณะที่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองได้ จึงส่งผลให้การดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐบาลมีความวุ่นวาย ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ การก่อความไม่สงบในรูปแบบนี้มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงโดยเปิดเผย ส่วนใหญ่แล้วสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการก่อความไม่สงบในลักษณะนี้ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่มีเสรีในการดำเนินการทางการเมือง การก่อความไม่สงบโดยการบ่อนทำลายสามารถยกระดับเป็นการก่อความไม่สงบโดยใช้แกนนำปฏิวัติ (Critical-Cell Insurgency) ได้อย่างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย ดังตัวอย่างของการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ และการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรป การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบลักษณะนี้เป็นหน้าที่หลักของหน่วยข่าวกรอง และตำรวจ ส่วนกำลังทหารจะมีบทบาทในการให้การสนับสนุนเท่านั้น
2. การก่อความไม่สงบโดยใช้แกนนำปฏิวัติ (Critical-Cell Insurgency): การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้ฝ่ายก่อความไม่สงบจะแทรกซึมไปในสถาบันต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อทำลายโครงสร้างการบริหารภายในระบบ ทั้งในทางลับและเปิดเผย เพื่อสร้างเงื่อนไขการปฏิวัติให้เกิดขึ้น โดยดำเนินการบ่อนทำลายในทางทั้งในทางลับและเปิดเผย และใช้ความรุนแรงดำเนินการในทางลับ และเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย (รัฐบาลอ่อนแอและฝ่ายก่อความไม่สงบมีความเข้มแข็ง) ฝ่ายก่อความไม่สงบจะเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังติดอาวุธ นอกจากนี้การก่อความไม่สงบลักษณะนี้มีการดำเนินงานออกได้ 2 ลักษณะคือ
2.1 การก่อความไม่สงบโดยใช้กลุ่มก่อความไม่สงบเล็ก ๆ (cell) ที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นอย่างดีเข้าไปในกลุ่มประชาชนที่ล่อแหลม เพื่อทำการปลุกระดมประชาชนให้ออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้กับรัฐบาล และเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวยกลุ่มก่อความไม่สงบเล็ก ๆ ดังกล่าวจะกลายเป็นแกนนำในการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาล และเมื่อยึดอำนาจได้ ฝ่ายก่อความไม่สงบจะออกมาชี้นำในการสถาปนาการปกครองใหม่ การปฏิวัติลักษณะนี้มักจะนิยมปฏิบัติการในเมือง ดังตัวอย่างการปฏิวัติในรัสเซีย
2.2 การก่อความไม่สงบโดยใช้ยุทธศาสตร์ของโฟโก้ (Foco) หรือ คิวบา โดยการส่งกำลังติดอาวุธขนาดเล็กเข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่ประชาชนมีความไม่พอใจรัฐบาล เพื่อเป็นแกนนำในการต่อต้านจัดตั้งเป็นกลุ่มกองโจรขึ้น และเมื่อกองโจรที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งก็จะเข้าทำการยึดอำนาจรัฐบาลด้วยการปฏิวัติ ความเข้มแข็งของกลุ่มก่อความไม่สงบเล็ก ๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์โฟโก การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้จะประสบความสำเร็จเมื่อรัฐบาลมีความอ่อนแอ ส่วนหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบจะเป็นหน้าที่ของ ตำรวจ และหน่วยข่าวกรอง ส่วนทหารจะเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน แต่อาจจะมีกรณีของการก่อความไม่สงบโดยใช้ยุทธศาสตร์ของโฟโก ที่อาจต้องใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการต่อกองโจรที่มีขนาดใหญ่
3. การก่อความไม่สงบโดยมุ่งเน้นมวลชน (Mass-Oriented Insurgency): การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้เป็นการสร้างความขัดแย้งที่ยาวนานกับฝ่ายรัฐบาล โดยการจัดตั้งองค์กรมวลชนจากประชาชนส่วนใหญ่ ให้สนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มก่อความไม่สงบ การจัดตั้งองค์กรมวลชนของการก่อความไม่สงบรูปแบบนี้จะมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน เพราะจะมีส่วนที่เป็นกองโจรติดอาวุธ และองค์กรมวลชนที่ใช้ในการต่อสู้กับรัฐบาล และมีการนำโดยการจัดตั้งรัฐบาลซ้อนขึ้นมา เพื่อพร้อมที่จะเข้าเป็นรัฐบาลแทนรัฐบาลในปัจจุบัน ตังอย่างของการก่อความไม่สงบรูปแบบนี้ได้แก่ สงครามปฏิวัติในจีน การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้เพื่อให้มีกรอบของการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมจะมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ
3.1 ขั้นที่ 1 ระยะซ่อนเร้น (Latent and Incipient): ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของการเริ่มการก่อความไม่สงบ เพราะฉะนั้นการดำเนินการต่าง ๆ จะต้องปกปิดเป็นความลับ การดำเนินการส่วนใหญ่แล้วจะใช้การบ่อนทำลายเป็นหลัก เมื่อเริ่มมีความเข้มแข็งก็จะทำการยกระดับการดำเนินการบ่อนทำลายให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและมีการดำเนินการที่บ่อยครั้งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการก่อความไม่สงบในขั้นตอนนี้จะไม่ใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติการขนาดใหญ่ เพราะยากต่อการควบคุมทิศทาง การดำเนินการในขั้นนี้จะมีการดำเนินการที่หลากหลาย เช่นการปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อขยายฐานของความไม่พอใจที่มีต่อฝ่ายรัฐบาล เริ่มมีการจัดตั้งรัฐบาลเงา (Shadow Government) และเมื่อมีความเข้มแข็งขึ้นก็จะขยายการดำเนินการ ด้วยการเริ่มโจมตีต่อกำลังตำรวจ เพื่อสร้างอิทธิพลในการจูงใจต่อประชาชน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านอาวุธและด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ยังวางรากฐานเพื่อรองรับการสนับสนุนจากภายนอกประเทศในอนาคต
3.2 ขั้นที่ 2 สงครามกองโจร (Guerrilla Warfare): การดำเนินการในขั้นนี้จะเริ่มหลังจากได้รับการสนับสนุนทั้งจากประชาชนและจากภายนอกประเทศอย่างเพียงพอ โดยมีการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ ยังดำรงการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 อย่างต่อเนื่องโดยขยายขอบเขตการดำเนินการให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังดำเนินการรุกโดยใช้สงครามกองโจรอย่างกว้างขวาง เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เอื้ออำนวยให้จัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่ควบคุม และในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ควบคุม กลุ่มก่อความไม่สงบจะพยายามดำเนินการเพื่อขยายการควบคุมออกไป เป้าหมายหลักของการดำเนินการขั้นนี้คือการขยายพื้นที่ควบคุมให้เพิ่มมากที่สุด เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ในการป้องกันให้มากที่สุด
3.3 ขั้นที่ 3 สงครามขบวนการ (War of Movement): การดำเนินการขั้นนี้จะเริ่มเมื่อฝ่ายก่อความไม่สงบมีความเข้มแข็ง สามารถทำสงครามขบวนการ โดยการใช้กำลังกองโจรเข้าต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลโดยตรง โดยมีการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ ยังดำรงการดำเนินการนั้นขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 อย่างต่อเนื่อง โดยขายขอบเขตการดำเนินการให้ให้กว้างขวางมากขึ้น มีการใช่กำลังกองโจรขนาดใหญ่เข้าทำการต่อสู้กับกำลังฝ่ายรัฐบาลโดยตรงเพื่อทำการยึดที่หมายทางสำคัญทางยุทธศาสตร์ และเมื่อกลุ่มก่อความไม่สงบบรรลุเป้าหมายด้วยการล้มล้างรัฐบาลได้แล้ว ก็จะดำเนินการเสริมความมั่นคงด้วยการกำจัดบุคคลที่อาจจะเป็นฝ่ายตรงข้ามได้ พร้อมกับกำหนดกลไกต่าง ๆ ที่จะฟื้นฟูประเทศใหม่
สำหรับโครงสร้างของฝ่ายก่อความไม่สงบประเภทนี้โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย
(1) พรรค ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนการนำหรือส่วนควบคุม ดำเนินการในเรื่องของการกำหนดนโยบาย โดยมีหน่วยงานย่อย หรือที่เรียกว่า cell เป็นแกนกลางพื้นฐานของพรรค
(2) องค์กรมมวลชน ทำหน้าที่เชื่อมโยงประชากรเข้ากับพรรค โดยที่พรรคสามารถควบคุมหรือรับการสนับสนุนผ่านองค์กรมวลชน
(3) ส่วนกำลังติดอาวุธแบบเปิดเผยหรือลับ ทำหน้าที่ปฏิบัติการทางทหารต่อเป้าหายที่เลือกขึ้นซึ่งอาจจะเป็นบุคคล เอกสาร หรือสถานที่ก็ได้
**บทความจากกรุงเทพธุรกิจ : การชุมนุมประท้วงและเดินขบวน เต็มไปด้วยความรุนแรง ยั่วยุหาช่องทางให้เกิดการปะทะนองเลือด **
มองมุมใหม่ : "อนารยะขัดขืน" กับความพ่ายแพ้ใน "ชัยชนะ" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์
ในที่สุด การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลไทยรักไทยที่ต้องการผลักดันสังคมไทยให้ก้าวไปสู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์กับกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็ยุติลงชั่วคราว เมื่อผู้นำรัฐบาลได้ทำการถอยทางยุทธวิธีด้วยการ "ลาออกในทางพฤตินัย" โดยประกาศว่า จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยหน้า รวมทั้งยื่นหนังสือลาพัก ยุติบทบาทหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยทันที และให้รักษาการรองนายกรัฐมนตรีอันดับหนึ่งปฏิบัติราชการแทนไปจนกว่ารัฐสภาจะสรรหานายกฯ คนใหม่ได้
โดยพลันกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็พากันออกมากระโดดโลดเต้น เปล่งเสียงโห่ร้อง "ชัยชนะ" ดังก้องไปทั้งท้องสนามหลวง
แต่หากพิเคราะห์ในภาพรวมแล้ว จะพบว่าแม้ในทางปรากฏการณ์ กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ประสบ "ชัยชนะ" แต่ก็เพียงทางยุทธวิธีและชั่วคราวเท่านั้น หากเนื้อแท้แล้ว พวกเขาพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ยกแรกนี้
ประการแรก พวกเขาล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายหลักทางยุทธศาสตร์ ที่ต้องการทำลายการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญ โค่นประชาธิปไตย ตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบคณาธิปไตยอภิสิทธิ์ชนของกลุ่มทุนเก่าและปัญญาชนอนุรักษนิยมในเมือง ยุติแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพราะการณ์กลับเป็นว่า การเลือกตั้ง 2 เมษายนดำเนินไปใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว รักษาการนายกรัฐมนตรีไม่ลาออกทันที แต่ลาพักให้รักษาการรองนายกฯ ปฏิบัติราชการแทน เป็นการปิดประตูมิให้มีการอ้าง "มาตรา 7" ในรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ได้
ประการที่สอง พรรคไทยรักไทยยังคงชนะคะแนนเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้ถึง 16 ล้านเสียงจากผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 28 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขร้อยละ 61 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 เสียอีก แม้แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นฐานกำลังของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พรรคไทยรักไทยก็แพ้เพียงเล็กน้อยราว 2 หมื่นเสียงเท่านั้น ซึ่งแสดงว่า ราวครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิในกรุงเทพฯ ยังคงให้การสนับสนุนผู้นำ และพรรคไทยรักไทยอย่างเหนียวแน่น
ชัยชนะในต่างจังหวัดและคะแนนสูสีในกรุงเทพฯ นับเป็นความล้มเหลวที่สำคัญของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่งจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้นำรัฐบาลถูก "ล้อมปราบ" รุมกระหน่ำจากทั่วสารทิศติดต่อกันหลายเดือน ทั้งกลุ่มประท้วง พรรคฝ่ายค้าน ปัญญาชน คนชั้นกลางบางส่วน และสื่อมวลชนทุกสาขาไม่เว้นแม้แต่สื่อของรัฐบาลเอง
ข้อนี้สะท้อนว่า ผู้นำรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับความนิยมที่หยั่งรากลึกและกว้างขวางเพียงไรทั้งในเมืองและชนบท ถึงแม้จะมีข้อกล่าวหามากมายเรื่อง "ขายชาติ" และทุจริตไม่โปร่งใสก็ตาม
ประการที่สาม แม้จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ทั่วประเทศจะมากถึง 9 ล้านเสียง ส่วนหนึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม แต่อีกส่วนหนึ่งที่ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ไม่ใช่เพราะสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์และต้องการนายกฯ พระราชทาน แต่เป็นการแสดงเจตนาให้ยุติความขัดแย้งโดยเร็ว ผู้คนส่วนนี้ยังอาจกลับมาลงคะแนนให้ผู้นำพรรคไทยรักไทยได้อีกในการเลือกตั้งคราวหน้าเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย
ประการที่สี่ การถอยออกไปของผู้นำรัฐบาล ทำให้กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไม่มีเป้าโจมตีที่เด่นชัดอีกต่อไป และทำให้เหตุผลเฉพาะหน้าของการเคลื่อนไหวหมดสิ้นลง กลุ่มแกนนำจึงพยายามสานต่อกระแสด้วยการชูเป้า "โค่นล้มระบอบทักษิณ" ซึ่งก็คือ ทำลายล้างตระกูลของผู้นำ ฉีกรัฐธรรมนูญ เอานายกฯ พระราชทาน เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบอภิสิทธิ์ชน ยุติโลกาภิวัตน์ อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขา แต่นี่เป็นเป้าหมายที่สุดขั้ว และไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
ประการที่ห้า กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ได้กระทำผิดพลาดทางยุทธวิธีมากมาย พวกเขาอ้างวิธีการต่อสู้แบบ "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นแนวทางสันติอหิงหา แต่ในทางปฏิบัติ กลับตรงข้ามโดยสิ้นเชิง
ขั้นตอนการชุมนุมประท้วงและเดินขบวน เต็มไปด้วยความรุนแรง ยั่วยุหาช่องทางให้เกิดการปะทะนองเลือด ด่าทออย่างลามกหยาบคาย ปะติดปะต่อบิดเบือนข้อมูล ปลุกอารมณ์คลั่งชาติ เกลียดชังต่างชาติอย่างสุดขั้ว รุมทำร้ายผู้คนที่ผ่านมาและไม่เห็นด้วยกับพวกตน ข่มขู่ทำร้ายผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร ตรวจค้นรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปฏิเสธการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้ง
ทั้งหมดนี้ด้วยการยกตนว่า มีการศึกษาสูง มีฐานะเศรษฐกิจดี และมีความเป็น "อารยะ" สูงกว่าประชาชนชั้นล่างที่ยังคงสนับสนุนผู้นำรัฐบาล มหาปราชญ์โสกราติสและมหาตมะ คานธี หากได้เห็น "อารยะขัดขืน" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไทยในวันนี้ คงถึงร่ำไห้!
กลุ่มคาราวานคนจนก็ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร บังคับข่มขู่ให้สื่อมวลชนทำตามความต้องการของตน ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น จึงต้องถูกประณามและดำเนินคดีเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มคาราวานคนจนก็มิได้เสแสร้งปวารณาตนว่า เป็น "อารยะขัดขืน"
วิธีการของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่ยั่วยุ รุนแรง หยาบคาย ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะโดดเดี่ยว ไม่เป็นที่ยอมรับจากแม้แต่ประชากรชั้นกลางส่วนข้างมากในกรุงเทพฯ การเหมาเอาว่า จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์ลงคะแนน" ทั้งหมดเป็นคะแนนสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์ จึงเป็นเรื่องน่าขบขัน
บัดนี้ หมอกควันและฝุ่นละอองเริ่มจางหาย แต่นี่เป็นเพียงการพักรบชั่วคราว เพื่อรอการสัประยุทธ์ครั้งใหญ่และเด็ดขาดที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ เพื่อตัดสินชะตากรรมและทิศทางของประเทศไทย ว่า จะไปสู่เสรีประชาธิปไตยเต็มรูปและทุนนิยมโลกาภิวัตน์ หรือถอยหลังไปสู่ระบอบคณาธิปไตยของอภิสิทธิ์ชนเมืองและทุนนิยมด้อยพัฒนา
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประชาชนที่ล่อแหลม (Vulnerable Population): สำหรับประชาชนที่ล่อแหลมนั้น รส.100-20 พ.ศ.2540 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “เป็นประชาชนที่ไม่พอใจต่อสถานภาพทาง สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะความแตกต่างระหว่างชนชั้นมียังมีอยู่มาก และการดูแลที่ไม่ทั่วถึงของรัฐบาล เพราะรัฐบาลของประเทศพัฒนามุ่งเน้นไปในเรื่องของการพัฒนาประเทศ และด้วยข้อจำกัดนานาประการที่ประเทศกำลังพัฒนานั้น ๆ ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ กระจายอย่างไม่ทั่งถึง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกระแสการไหลบ่าของวัฒนธรรมที่เป็นสากล หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ส่งผลให้รัฐบาลของประเทศนั้น ดำเนินโยบายที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชน หรือ เผ่าพันธุ์ที่เรียกได้ว่า เป็นชนกลุ่มน้อย หรือ Minority ซึ่งประชาชนที่ล่อแหลมนี้เองที่เป็นเป้าหมายของขบวนการก่อความไม่สงบมีความต้องการที่จะแย่งชิงให้มาเป็นพวกตน เพื่อจะได้ให้การสนับสนุนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ที่ต้องการ
การนำและชี้นำ (Direction and Leadership): สำหรับประชาชนที่ล่อแหลมนั้น โดยธรรมชาติแล้วจะไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เพื่อก่อความไม่สงบ ถึงแม้ประชาชนที่ล่อแหลมบางกลุ่มอาจจะมีระดับของความไม่พอใจที่สูง แต่กระนั้นประชาชนที่ล่อแหลมอาจมีการรวมตัวกันขึ้นถ้ามีการดำเนินการที่เรียกว่า “การนำและชี้นำ” โดยขบวนการก่อความไม่สงบ อย่างไรก็ดีการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นโดยประชาชนที่ล่อแหลมส่วนใหญ่แล้วยังมีระดับความคิดที่ไปไม่ถึงการก่อความไม่สงบเพื่อล้มล้างอำนาจรัฐบาล สำหรับการดำเนินการนำและชี้นำที่กระทำนั้น โดยส่วนใหญ่มีความไม่พอใจในระดับที่สูงจะมีพื้นฐานมาจากการที่ประชาชนล่อแหลมรู้สึกว่าตัวเองถูกเบียดบังผลประโยชน์ (Relative Deprivation) เพราะผลประโยชน์ที่ถูกเบียดบังนั้นสามารถใช้เป็นเรื่องที่ชี้นำทางความคิดได้ และ เรื่องของการถูกเบียดเบียนผลประโยชน์ เป็นเรื่องที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิวัติทางการเมืองตามแนวทางของ คาร์ล มาร์ค (Karl Marx) เฟรดริช เองเกลส์ (Friedrich Engels) และต่อมา วลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin) และ เหมาเซตุง (Mao Tsa-Tung) นำมาประยุกต์ ใช้ในการชี้นำเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมสู้เพื่อล้มอำนาจการปกครองของรัฐบาล
รัฐบาลขาดการควบคุม (Lack of Government Control): ประเทศใดที่รัฐบาลขาดการควบคุมดูแลปล่อยปละละเลย หรือ ดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดนั้น ขบวนการก่อความไม่สงบอาจจะฉวยโอกาสเข้าทำการเคลื่อนไหว โดยเป็นการนำหรือชี้นำเพื่อสนับสนุนการก่อความไม่สงบ เพราะรัฐบาลดูแลได้ไม่ทั่วถึง และถ้ารัฐบาลสามารถควบคุมดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ขบวนการก่อความไม่สงบก็จะยากที่จะเคลื่อนไหวใด ๆ ในทำนองกลับกัน ถ้ารัฐบาลมีการควบคุมอย่างเข้มงวด และดำเนินนโยบายที่เหมาะสมแล้ว การดำเนินการต่าง ๆ ของขบวนการก่อการร้ายจะกระทำได้ยาก
นอกเหนือจากปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดการก่อความไม่สงบเป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษาแล้วนั้น รูปแบบของการก่อความไม่สงบก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันรูปแบบของการก่อความไม่สงบ ทั้ง 4 รูปแบบดังนี้
1. การก่อความไม่สงบโดยการบ่อนทำลาย (Subversion Insurgency): ลักษณะของการก่อความไม่สงบประเภทนี้ฝ่ายก่อความไม่สงบจะทำการแทรกซึมเข้าไปฝังตัวในโครงสร้างทางการเมืองของประเทศ องค์กรทางสังคมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อหาทางการควบคุมโครงสร้างขององค์กรต่าง ๆ เหล่านั้น และใช้การโฆษณาชวนเชื่อทำการยุยงให้ องค์กรต่าง ๆ เกิดความขัดแย้ง และในบางองค์กรอาจก่อความไม่สงบขึ้น รวมถึงการชักจูงให้บุคคลระดับสูงขององค์กรเหล่านั้นให้มาเป็นพวก และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายแนวร่วมให้มากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายก่อความสงบที่ฐานการสนับสนุนทางการเมืองที่มั่นคงแล้ว จะเริ่มดำเนินการเรียกร้องต่อรัฐบาลในลักษณะที่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองได้ จึงส่งผลให้การดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐบาลมีความวุ่นวาย ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ การก่อความไม่สงบในรูปแบบนี้มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงโดยเปิดเผย ส่วนใหญ่แล้วสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการก่อความไม่สงบในลักษณะนี้ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่มีเสรีในการดำเนินการทางการเมือง การก่อความไม่สงบโดยการบ่อนทำลายสามารถยกระดับเป็นการก่อความไม่สงบโดยใช้แกนนำปฏิวัติ (Critical-Cell Insurgency) ได้อย่างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย ดังตัวอย่างของการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ และการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรป การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบลักษณะนี้เป็นหน้าที่หลักของหน่วยข่าวกรอง และตำรวจ ส่วนกำลังทหารจะมีบทบาทในการให้การสนับสนุนเท่านั้น
2. การก่อความไม่สงบโดยใช้แกนนำปฏิวัติ (Critical-Cell Insurgency): การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้ฝ่ายก่อความไม่สงบจะแทรกซึมไปในสถาบันต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อทำลายโครงสร้างการบริหารภายในระบบ ทั้งในทางลับและเปิดเผย เพื่อสร้างเงื่อนไขการปฏิวัติให้เกิดขึ้น โดยดำเนินการบ่อนทำลายในทางทั้งในทางลับและเปิดเผย และใช้ความรุนแรงดำเนินการในทางลับ และเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย (รัฐบาลอ่อนแอและฝ่ายก่อความไม่สงบมีความเข้มแข็ง) ฝ่ายก่อความไม่สงบจะเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังติดอาวุธ นอกจากนี้การก่อความไม่สงบลักษณะนี้มีการดำเนินงานออกได้ 2 ลักษณะคือ
2.1 การก่อความไม่สงบโดยใช้กลุ่มก่อความไม่สงบเล็ก ๆ (cell) ที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นอย่างดีเข้าไปในกลุ่มประชาชนที่ล่อแหลม เพื่อทำการปลุกระดมประชาชนให้ออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้กับรัฐบาล และเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวยกลุ่มก่อความไม่สงบเล็ก ๆ ดังกล่าวจะกลายเป็นแกนนำในการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาล และเมื่อยึดอำนาจได้ ฝ่ายก่อความไม่สงบจะออกมาชี้นำในการสถาปนาการปกครองใหม่ การปฏิวัติลักษณะนี้มักจะนิยมปฏิบัติการในเมือง ดังตัวอย่างการปฏิวัติในรัสเซีย
2.2 การก่อความไม่สงบโดยใช้ยุทธศาสตร์ของโฟโก้ (Foco) หรือ คิวบา โดยการส่งกำลังติดอาวุธขนาดเล็กเข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่ประชาชนมีความไม่พอใจรัฐบาล เพื่อเป็นแกนนำในการต่อต้านจัดตั้งเป็นกลุ่มกองโจรขึ้น และเมื่อกองโจรที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งก็จะเข้าทำการยึดอำนาจรัฐบาลด้วยการปฏิวัติ ความเข้มแข็งของกลุ่มก่อความไม่สงบเล็ก ๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์โฟโก การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้จะประสบความสำเร็จเมื่อรัฐบาลมีความอ่อนแอ ส่วนหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบจะเป็นหน้าที่ของ ตำรวจ และหน่วยข่าวกรอง ส่วนทหารจะเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน แต่อาจจะมีกรณีของการก่อความไม่สงบโดยใช้ยุทธศาสตร์ของโฟโก ที่อาจต้องใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการต่อกองโจรที่มีขนาดใหญ่
3. การก่อความไม่สงบโดยมุ่งเน้นมวลชน (Mass-Oriented Insurgency): การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้เป็นการสร้างความขัดแย้งที่ยาวนานกับฝ่ายรัฐบาล โดยการจัดตั้งองค์กรมวลชนจากประชาชนส่วนใหญ่ ให้สนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มก่อความไม่สงบ การจัดตั้งองค์กรมวลชนของการก่อความไม่สงบรูปแบบนี้จะมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน เพราะจะมีส่วนที่เป็นกองโจรติดอาวุธ และองค์กรมวลชนที่ใช้ในการต่อสู้กับรัฐบาล และมีการนำโดยการจัดตั้งรัฐบาลซ้อนขึ้นมา เพื่อพร้อมที่จะเข้าเป็นรัฐบาลแทนรัฐบาลในปัจจุบัน ตังอย่างของการก่อความไม่สงบรูปแบบนี้ได้แก่ สงครามปฏิวัติในจีน การก่อความไม่สงบรูปแบบนี้เพื่อให้มีกรอบของการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมจะมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ
3.1 ขั้นที่ 1 ระยะซ่อนเร้น (Latent and Incipient): ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของการเริ่มการก่อความไม่สงบ เพราะฉะนั้นการดำเนินการต่าง ๆ จะต้องปกปิดเป็นความลับ การดำเนินการส่วนใหญ่แล้วจะใช้การบ่อนทำลายเป็นหลัก เมื่อเริ่มมีความเข้มแข็งก็จะทำการยกระดับการดำเนินการบ่อนทำลายให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและมีการดำเนินการที่บ่อยครั้งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการก่อความไม่สงบในขั้นตอนนี้จะไม่ใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติการขนาดใหญ่ เพราะยากต่อการควบคุมทิศทาง การดำเนินการในขั้นนี้จะมีการดำเนินการที่หลากหลาย เช่นการปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อขยายฐานของความไม่พอใจที่มีต่อฝ่ายรัฐบาล เริ่มมีการจัดตั้งรัฐบาลเงา (Shadow Government) และเมื่อมีความเข้มแข็งขึ้นก็จะขยายการดำเนินการ ด้วยการเริ่มโจมตีต่อกำลังตำรวจ เพื่อสร้างอิทธิพลในการจูงใจต่อประชาชน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านอาวุธและด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ยังวางรากฐานเพื่อรองรับการสนับสนุนจากภายนอกประเทศในอนาคต
3.2 ขั้นที่ 2 สงครามกองโจร (Guerrilla Warfare): การดำเนินการในขั้นนี้จะเริ่มหลังจากได้รับการสนับสนุนทั้งจากประชาชนและจากภายนอกประเทศอย่างเพียงพอ โดยมีการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ ยังดำรงการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 อย่างต่อเนื่องโดยขยายขอบเขตการดำเนินการให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังดำเนินการรุกโดยใช้สงครามกองโจรอย่างกว้างขวาง เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เอื้ออำนวยให้จัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่ควบคุม และในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ควบคุม กลุ่มก่อความไม่สงบจะพยายามดำเนินการเพื่อขยายการควบคุมออกไป เป้าหมายหลักของการดำเนินการขั้นนี้คือการขยายพื้นที่ควบคุมให้เพิ่มมากที่สุด เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ในการป้องกันให้มากที่สุด
3.3 ขั้นที่ 3 สงครามขบวนการ (War of Movement): การดำเนินการขั้นนี้จะเริ่มเมื่อฝ่ายก่อความไม่สงบมีความเข้มแข็ง สามารถทำสงครามขบวนการ โดยการใช้กำลังกองโจรเข้าต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลโดยตรง โดยมีการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ ยังดำรงการดำเนินการนั้นขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 อย่างต่อเนื่อง โดยขายขอบเขตการดำเนินการให้ให้กว้างขวางมากขึ้น มีการใช่กำลังกองโจรขนาดใหญ่เข้าทำการต่อสู้กับกำลังฝ่ายรัฐบาลโดยตรงเพื่อทำการยึดที่หมายทางสำคัญทางยุทธศาสตร์ และเมื่อกลุ่มก่อความไม่สงบบรรลุเป้าหมายด้วยการล้มล้างรัฐบาลได้แล้ว ก็จะดำเนินการเสริมความมั่นคงด้วยการกำจัดบุคคลที่อาจจะเป็นฝ่ายตรงข้ามได้ พร้อมกับกำหนดกลไกต่าง ๆ ที่จะฟื้นฟูประเทศใหม่
สำหรับโครงสร้างของฝ่ายก่อความไม่สงบประเภทนี้โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย
(1) พรรค ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนการนำหรือส่วนควบคุม ดำเนินการในเรื่องของการกำหนดนโยบาย โดยมีหน่วยงานย่อย หรือที่เรียกว่า cell เป็นแกนกลางพื้นฐานของพรรค
(2) องค์กรมมวลชน ทำหน้าที่เชื่อมโยงประชากรเข้ากับพรรค โดยที่พรรคสามารถควบคุมหรือรับการสนับสนุนผ่านองค์กรมวลชน
(3) ส่วนกำลังติดอาวุธแบบเปิดเผยหรือลับ ทำหน้าที่ปฏิบัติการทางทหารต่อเป้าหายที่เลือกขึ้นซึ่งอาจจะเป็นบุคคล เอกสาร หรือสถานที่ก็ได้
**บทความจากกรุงเทพธุรกิจ : การชุมนุมประท้วงและเดินขบวน เต็มไปด้วยความรุนแรง ยั่วยุหาช่องทางให้เกิดการปะทะนองเลือด **
มองมุมใหม่ : "อนารยะขัดขืน" กับความพ่ายแพ้ใน "ชัยชนะ" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์
ในที่สุด การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลไทยรักไทยที่ต้องการผลักดันสังคมไทยให้ก้าวไปสู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์กับกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็ยุติลงชั่วคราว เมื่อผู้นำรัฐบาลได้ทำการถอยทางยุทธวิธีด้วยการ "ลาออกในทางพฤตินัย" โดยประกาศว่า จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยหน้า รวมทั้งยื่นหนังสือลาพัก ยุติบทบาทหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยทันที และให้รักษาการรองนายกรัฐมนตรีอันดับหนึ่งปฏิบัติราชการแทนไปจนกว่ารัฐสภาจะสรรหานายกฯ คนใหม่ได้
โดยพลันกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็พากันออกมากระโดดโลดเต้น เปล่งเสียงโห่ร้อง "ชัยชนะ" ดังก้องไปทั้งท้องสนามหลวง
แต่หากพิเคราะห์ในภาพรวมแล้ว จะพบว่าแม้ในทางปรากฏการณ์ กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ประสบ "ชัยชนะ" แต่ก็เพียงทางยุทธวิธีและชั่วคราวเท่านั้น หากเนื้อแท้แล้ว พวกเขาพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ยกแรกนี้
ประการแรก พวกเขาล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายหลักทางยุทธศาสตร์ ที่ต้องการทำลายการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญ โค่นประชาธิปไตย ตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบคณาธิปไตยอภิสิทธิ์ชนของกลุ่มทุนเก่าและปัญญาชนอนุรักษนิยมในเมือง ยุติแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพราะการณ์กลับเป็นว่า การเลือกตั้ง 2 เมษายนดำเนินไปใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว รักษาการนายกรัฐมนตรีไม่ลาออกทันที แต่ลาพักให้รักษาการรองนายกฯ ปฏิบัติราชการแทน เป็นการปิดประตูมิให้มีการอ้าง "มาตรา 7" ในรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ได้
ประการที่สอง พรรคไทยรักไทยยังคงชนะคะแนนเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้ถึง 16 ล้านเสียงจากผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 28 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขร้อยละ 61 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 เสียอีก แม้แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นฐานกำลังของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พรรคไทยรักไทยก็แพ้เพียงเล็กน้อยราว 2 หมื่นเสียงเท่านั้น ซึ่งแสดงว่า ราวครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิในกรุงเทพฯ ยังคงให้การสนับสนุนผู้นำ และพรรคไทยรักไทยอย่างเหนียวแน่น
ชัยชนะในต่างจังหวัดและคะแนนสูสีในกรุงเทพฯ นับเป็นความล้มเหลวที่สำคัญของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่งจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้นำรัฐบาลถูก "ล้อมปราบ" รุมกระหน่ำจากทั่วสารทิศติดต่อกันหลายเดือน ทั้งกลุ่มประท้วง พรรคฝ่ายค้าน ปัญญาชน คนชั้นกลางบางส่วน และสื่อมวลชนทุกสาขาไม่เว้นแม้แต่สื่อของรัฐบาลเอง
ข้อนี้สะท้อนว่า ผู้นำรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับความนิยมที่หยั่งรากลึกและกว้างขวางเพียงไรทั้งในเมืองและชนบท ถึงแม้จะมีข้อกล่าวหามากมายเรื่อง "ขายชาติ" และทุจริตไม่โปร่งใสก็ตาม
ประการที่สาม แม้จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ทั่วประเทศจะมากถึง 9 ล้านเสียง ส่วนหนึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม แต่อีกส่วนหนึ่งที่ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ไม่ใช่เพราะสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์และต้องการนายกฯ พระราชทาน แต่เป็นการแสดงเจตนาให้ยุติความขัดแย้งโดยเร็ว ผู้คนส่วนนี้ยังอาจกลับมาลงคะแนนให้ผู้นำพรรคไทยรักไทยได้อีกในการเลือกตั้งคราวหน้าเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย
ประการที่สี่ การถอยออกไปของผู้นำรัฐบาล ทำให้กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไม่มีเป้าโจมตีที่เด่นชัดอีกต่อไป และทำให้เหตุผลเฉพาะหน้าของการเคลื่อนไหวหมดสิ้นลง กลุ่มแกนนำจึงพยายามสานต่อกระแสด้วยการชูเป้า "โค่นล้มระบอบทักษิณ" ซึ่งก็คือ ทำลายล้างตระกูลของผู้นำ ฉีกรัฐธรรมนูญ เอานายกฯ พระราชทาน เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบอภิสิทธิ์ชน ยุติโลกาภิวัตน์ อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขา แต่นี่เป็นเป้าหมายที่สุดขั้ว และไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
ประการที่ห้า กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ได้กระทำผิดพลาดทางยุทธวิธีมากมาย พวกเขาอ้างวิธีการต่อสู้แบบ "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นแนวทางสันติอหิงหา แต่ในทางปฏิบัติ กลับตรงข้ามโดยสิ้นเชิง
ขั้นตอนการชุมนุมประท้วงและเดินขบวน เต็มไปด้วยความรุนแรง ยั่วยุหาช่องทางให้เกิดการปะทะนองเลือด ด่าทออย่างลามกหยาบคาย ปะติดปะต่อบิดเบือนข้อมูล ปลุกอารมณ์คลั่งชาติ เกลียดชังต่างชาติอย่างสุดขั้ว รุมทำร้ายผู้คนที่ผ่านมาและไม่เห็นด้วยกับพวกตน ข่มขู่ทำร้ายผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร ตรวจค้นรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปฏิเสธการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้ง
ทั้งหมดนี้ด้วยการยกตนว่า มีการศึกษาสูง มีฐานะเศรษฐกิจดี และมีความเป็น "อารยะ" สูงกว่าประชาชนชั้นล่างที่ยังคงสนับสนุนผู้นำรัฐบาล มหาปราชญ์โสกราติสและมหาตมะ คานธี หากได้เห็น "อารยะขัดขืน" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไทยในวันนี้ คงถึงร่ำไห้!
กลุ่มคาราวานคนจนก็ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร บังคับข่มขู่ให้สื่อมวลชนทำตามความต้องการของตน ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น จึงต้องถูกประณามและดำเนินคดีเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มคาราวานคนจนก็มิได้เสแสร้งปวารณาตนว่า เป็น "อารยะขัดขืน"
วิธีการของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่ยั่วยุ รุนแรง หยาบคาย ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะโดดเดี่ยว ไม่เป็นที่ยอมรับจากแม้แต่ประชากรชั้นกลางส่วนข้างมากในกรุงเทพฯ การเหมาเอาว่า จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์ลงคะแนน" ทั้งหมดเป็นคะแนนสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์ จึงเป็นเรื่องน่าขบขัน
บัดนี้ หมอกควันและฝุ่นละอองเริ่มจางหาย แต่นี่เป็นเพียงการพักรบชั่วคราว เพื่อรอการสัประยุทธ์ครั้งใหญ่และเด็ดขาดที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ เพื่อตัดสินชะตากรรมและทิศทางของประเทศไทย ว่า จะไปสู่เสรีประชาธิปไตยเต็มรูปและทุนนิยมโลกาภิวัตน์ หรือถอยหลังไปสู่ระบอบคณาธิปไตยของอภิสิทธิ์ชนเมืองและทุนนิยมด้อยพัฒนา
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น