ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

    ลำดับตอนที่ #3 : เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคเหนือ

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ย. 53


    รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคเหนือ

    กำแพงเพชร
    นายจุลพันธ์ ทับทิม 
    ฐานเสียงของตระกูลรัตนากร,มุสิกุล,ฤกษ์หร่ายและลิกต์
    ผลการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง11 อำเภอ ผลการนับคะแนน อย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ลงคะแนนเลือกเบอร์ 2 นายจุลพันธ์ ทับทิม ผู้สมัครกลุ่มกำแพงเพชรพัฒนา อดีตนายก อบจ.กำแพงเพชร ได้ 132,623 คะแนน ชนะ นายสุนทร รัตนากร ผู้สมัครกลุ่มพลังกำแพงเพชรสามัคคี พี่ชายนายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่ได้ 132,297 คะแนน ไปอย่างเฉียดฉิวเพียง 226 คะแนน

    เชียงราย
    นางรัตนา จงสุทธนามณี
    ฐานเสียงของตระกูลติยะไพรัช,เตชะธีราวัฒน์และจงสุทธนามณี
    ผลการนับคะแนน การเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (นายก อบจ.)และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (ส.อบจ.) มีป้ายรายงานผลคะแนนขนาดใหญ่(อย่างไม่เป็นทางการ) หน้า ศูนย์สุขภาพ อบจ.เชียงราย ในสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย โดยผู้มีคะแนนนำมาเป็นที่หนึ่งอย่างขาดลอย คือ หมายเลข 1 นางรัตนา จงสุทธนามณี อดีต นายก อบจ.เชียงราย ได้ 263,373 คะแนน ตามมาด้วย หมายเลข 2 นายนุกูล วินิจวลัย อดีต นายก อบจ.เชียงราย เมื่อหลายปีก่อน ลงในนาม พรรคพลังประชาชน ได้ 95,100 คะแนน,หมายเลข 4 นายปรีชา พัวนุกูลนนท์ อดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา จ.เชียงราย (สว.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ได้ 64,653 คะแนน,หมายเลข 3 นายมหาเสน่ห์ ชำนาญกิจ ได้ 22,105 คะแนน,หมายเลข 5 นายเจริญ เรืองใจ อดีต ส.บอจ.เชียงราย ได้ 5,753 คะแนน
    โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ 513,400 คน จากผู้มีสิทธิ 815,630 คะแนน คิดเป็น 62.95% ,มีบัตรเสีย 27,872 บัตร คิดเป็น 5.43% และมีบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 33,984 คะแนน
    ส่วน ส.อบจ.เชียงราย 36 คน ปรากฏว่า กลุ่มของ นางรัตนา จงสุทธนามณี ได้เข้ามา 21 คน ที่เหลือ 15 คน เสียให้กับกลุ่ม พรรคพลังประชาชน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนมาก โดยมีอดีต ส.อบจ.เชียงราย ซึ่งเป็นตัวเก็งสอบตก เช่น นายประจวบ ภาคำ อดีต ส.อบจ.เชียงราย เขต อ.เมือง,นางทานตะวัน แสนพิศ อดีต ส.อบจ.เชียงราย เขต อ.เมือง,นายฉลอง มหาวุฒิ อดีต ส.อบจ.เชียงราย เขต อ.แม่สรวย,นายประสิทธิ์ กาใจทราย อดีต ส.อบจ.เชียงราย เขต อ.แม่จัน,นายสมควร นัยติ๊บ อดีต ส.อบจ.เชียงราย เขต อ.เวียงเชียงรุ่ง ก็สอบตก และ นายชัยยนต์ ศรีสมุทร บุตรชาย นายไศลยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศบาลตำบลแม่สาย และเป็นคนใกล้ชิด นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็สอบตกด้วย
    และ ส.อบจ.เชียงราย ที่ชนะคะแนนเป็นว่าที่ ส.อบจ.เชียงราย ใหม่ ที่น่าสนใจ มีอาทิ นายอัมรินทร์ มณีรัตน์ คนใกล้ชิด นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย เขต 1 พรรคพลังประชาชน ชนะคะแนน ใน เขต 1 อ.เมืองเชียงราย,นายสุพจน์ หลี่จา อดีต นายก อบต.ป่าตึง ชนะคะแนน ในเขต 1 อ.แม่จัน และ นางอทิติ หนุนนำสิริสวัสดิ์(วันไชยธนวงค์) บุตรสาว อดีต ส.ส.สมบูรณ์ วันไชยธนวงค์ ชนะคะแนนในเขต 1 อ.เทิง รอการตรวจสอบและรับรองจาก กกต.ต่อไป 

    เชียงใหม่
    นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์
    ฐานเสียงของตระกูลชินวัตร,บูรณุปกรณ์,เกียรติไชยากร,อมรวิวัฒน์ และ ณ เชียงใหม่
    "ศึกชนช้าง" ระหว่าง"พ่อเลี้ยงอี๊ด" นายอุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ อดีตนายกอบจ. ผู้กว้างขวาง ประธานกลุ่มพัฒนาเชียงใหม่ กับ นายบุญเลิศบูรณุปกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ประธานกลุ่มพลังประชาชนเชียงใหม่
    ทั้งสองฝ่ายต่างมีพรรคพลังประชาชนหนุนหลังจึงกลายเป็นศึกสายเลือดคนของพลังประชาชนลงสู้ศึกกันเอง !!! 
    "อุดรพันธ์ " ลงสมัครครั้งนี้หวังทวงคืนเก้าอี้นายกอบจ.อย่างเต็ม ที่ หลังเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ต้องพลาดท่าเสียตำแหน่งให้ "เจ้าหนุ่ย" นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ 
    ครั้งนั้นพรรคไทยรักไทยตัดสินใจหนุนนายธวัชวงศ์จนได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกอบจ.ไปตามคาด แต่ให้หลังได้ไม่นาน กลับเปลี่ยนขั้วหันหาพรรคประชาธิปัต ย์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้พรรคไทยรักไทยเป็นอย่างมาก 
    มาครั้งนี้สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม รองประธานพรรคพลัง ประชาชน ประกาศหนุนหลังนายอุดรพันธ์อย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลสำคัญว่าเป็น การ "ไถ่บาป" เมื่อครั้งเลือกนายธวัชวงศ์แทนนายอุดรพันธ์ จึงลงทุนเดินทางมา ร่วมแถลงเปิดตัวด้วยตัวเอง 
    ยุทธการทวงคืนเก้าอี้ไม่ใช่แค่คำประกาศ แต่ถูกวางไว้ล่วงหน้า โดย นายอุดรพันธ์ได้ทำงานการเมืองในพื้นที่มาตลอด และยังเปิดเกมการเมืองล้วงลึก เจาะไข่แดงนายธวัชวงศ์ โดยดึงเอา ส.อบจ. ในทีมของนายธวัชวงศ์ มาได้ ถึง 15 คน โดยเฉพาะนายถวิล บัวจีน ส.อบจ.เขต อ.สันกำแพง ซึ่งกลายมาเป็นแม่ ทัพคนสำคัญของนายอุดรพันธ์ในเวลานี้ 
    ด้านนายบุญเลิศก่อนหน้านี้ได้พบกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกบ้านเลข ที่ 111 ในงานศพพ่อตานายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ น้องชาย โดยครั้งนี้มีการเจรจา ทาบทามให้นายบุญเลิศ ลงสมัครนายกอบจ. ในชื่อ "กลุ่มพลังประชาชน เชียงใหม่" โดยมีนายปกรณ์เป็นกุนซือวางแผนแก้เกมทางการเมือง!!! 
    ส่วนเหตุที่ใช้ชื่อเดียวกับพรรคพลังประชาชนก็เพื่อย้ำเตือนให้ ชาวเชียงใหม่ระลึกถึงบุญคุณของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคน เชียงใหม่ หวังดึงคะแนนมวลชนคนรากหญ้า ที่ยังยึดติดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ 
    แม้ครั้งได้เป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่จะได้คะแนนเสียงท่วม ท้น แต่เลือกนายกอบจ. ต้องมีแรงหนุนจาก 24 อำเภอ จึงต้องปรับแผนกันใหม่ โดย หวังดึงคะแนนเสียงของ ส.ส.พลังประชาชน ที่ประกาศสนับสนุนภายใต้ฉันทานุมัติ จาก "เจ๊แดง" เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ รวมกับฐานคะแนนเดิม ในเขตเมืองมาเป็นบันไดสู่เก้าอี้นายกอบจ. 
    การแบ่งฝ่ายหนุนคนของตัวเองย่อมส่งผลให้เกิดความขัดแย้งภายในใจของสอง ฝ่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป คนพลังประชาชนคงต้อง แข่งกันเองโดยมีตำแหน่งนายกอบจ.เป็นเดิมพัน 
    วัดกระสุนในมือนายบุญเลิศ มีทุนหนาไม่อั้นจากธุรกิจโรงแรมทั้ง ใน จ.เชียงใหม่และสิงคโปร์ ส่วนนายอุดรพันธ์ มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่ม สิงห์ จากการเป็นเจ้าของบริษัท "สิงห์พัฒนา" ตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ในภาค เหนือ จึงได้รับการสนับสนุนจำนวนไม่น้อย เมื่อรวมกับทุนส่วนตัวแล้วถือว่าสม น้ำสมเนื้อกับนายบุญเลิศ 
    ส่วน"เจ้าหนุ่ย" นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตนายก อบจ. คาดว่าจะลงสมัคร รักษาเก้าอี้เป็นที่แน่นอน แต่ช่วงที่ผ่านมาเกิดปัญหารุมเร้าจนไม่เป็นอันทำ งาน เริ่มจากถูกนายอุดรพันธ์ดึง ส.อบจ.ในสังกัดไปได้ถึง 15 คน ก่อนจะ ถูกกลุ่ม ส.อบจ. นำโดยนายถวิล บัวจีน ที่ปัจจุบันหันมาซบกลุ่มนายอุดร พันธ์ แปรพักตร์ คว่ำงบปี 51 กว่า 700 ล้านบาท โดยอ้างเหตุส่งเรื่องช้า เพียง 3 วัน จนตายน้ำตื้นถูกศาลปกครองมีคำสั่งว่าผิดระเบียบและสั่งระงับการ เบิกจ่ายงบประมาณไปก่อน
    นอกจากนี้ตลอดเวลา 4 ปีในตำแหน่งนายก อบจ.เชียงใหม่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จากผู้นำชุมชน รวมถึงนักวิชาการเข้าทำนอง "ความชั่วไม่มี ความดีไม่ ปรากฏ" จนทำให้เสียงที่คอยหนุนเริ่มซาลง เมื่อประมวลรวมกับงบประมาณส่วน ตัว หรืองบเลือกตั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเทียบไม่ได้กับนายอุดร พันธ์ และนายบุญเลิศ ทำให้คาดการณ์ได้ไม่ยากว่า เลือกตั้งครั้งนี้คงหืดขึ้น คอ 
    นอกจากผู้ที่คาดว่าจะลงสมัครที่3 คนแล้ว เลือกตั้ง นายก อบจ.เชียงใหม่ ครั้งนี้ อาจมีตัวแปรทำให้สถานการณ์พลิก โดยเฉพาะ นายสราวุธแซ่เตี๋ยว อดีต ผู้สมัครส.ว. ครั้งล่าสุด ที่ได้คะแนนกว่า 130,000 คะแนน มาเป็น อันดับ 2 หากเขาหันลงเล่นการเมืองท้องถิ่น บรรดาผู้สมัครตัวเก็งอาจถูกดูด คะแนน จนต้องปรับแผนสู้กันพัลวัน 
    ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการเลือกตั้งมีขึ้นเมื่อวานที่ผ่านมา ปรากฏว่านายบุญเลิศ บุรณุปกรณ์ ผู้สมัครหมายเลข 3 กลุ่มพลังประชาชนเชียงใหม่ได้คะแนนนำเป็นอันดับหนึ่ง 273,850 คะแนน นายอุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ ผู้สมัครหมายเลข 2 ได้คะแนนอันดับสอง 180,908 คะแนน ขณะที่นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้คะแนนอันดับสาม 170,965 คะแนน ส่วนนางอารีย์ อุดมศิริธำรง ผู้สมัครหมายเลข 4 ได้ 16,484 คะแนน 

    ตาก
    นายชิงชัย ก่อประภากิจ
    ฐานเสียงของตระกูลไชยนันทน์,ตันติสุนทรและบรรณวัฒน์
    สนามเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด(ส.อบจ.) ตาก 30 ที่นั่ง ในปีนี้ทำท่าว่าจะดุเดือดเข้มข้นและรุนแรง เมื่อนายดิฐชัย ฉันติกุล หรือ รองเส็ง รองนายก อบจ.ตาก ได้ประกาศลงสมัครชิงตำแหน่งนายกอบจ.ตาก ขณะเดียวกัน นายชิงชัย ก่อประภากิจ หรือ นายกเคี้ยง หัวหน้ากลุ่ม “รักษ์ประชาตาก” นายกอบจ.ตาก คนปัจจุบัน ก็ยังคงลงสมัครเช่นกัน
    การที่ทั้ง นายดิฐชัย และ นายชิงชัย ประกาศลงชิงนายกอบจ.ตาก ทำให้ “กลุ่ม รักษ์ประชาตาก” ต้องแตกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยมีนายปกรณ์ สตะนีกรรณ หรือ ประธานปั้ง ประธาน สภาอบจ.ตาก ประกาศสนับสนุนนายดิฐชัย พร้อมนำว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.ตาก ทั้ง 30 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้มัครหน้าใหม่ ลงสู้ศึกครบทั้ง 30 เขต ขณะที่ฝ่ายนายชิงชัย ก็พร้อมที่จะรักษาแชมป์ไว้ เพื่อขอทำงานอีก 1 สมัย โดยมี กลุ่ม ส.อบจ. ชุดปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 20 คน ยังคงสนับสนุน นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองใหญ่อดีตรัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงในจังหวัดตาก อยู่เบื้องหลังและให้การสนับสนุนอีกแรง
    พลิกปูมหลังในอดีตนั้น ทั้ง นายดิฐชัย นายชิงชัย และนายปกรณ์ นั้นอยู่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเดียวกันมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2528 ทั้ง 3 คน ลงสู่สนามการเมืองในระดับเทศบาลและ ส.อบจ. และในปี 2543 นายดิฐชัย และนายชิงชัย ลง ส.อบจ.ตาก เขต อ.แม่สอด ส่วนนายปกรณ์ ไปลง เขต อ.พบพระ และได้รับเลือกตั้งทั้ง 3 คน
    จากนั้นผู้ใหญ่ทางการเมืองหลายฝ่าย รวมทั้งนายดิฐชัยและนายปกรณ์ ได้รวบรวม ส.อบจ.เสียงส่วนใหญ่ ผลักดัน ให้นายชิงชัย ขึ้นเป็นนายก อบจ.ตาก ตั้งแต่ ปี 2543 และต่อมาในปี 2547 มีการเลือกตั้งนายก อบจ.ตาก โดยตรง และทั้ง 3 คน ได้รวบรวมพลพรรคลงสู้ศึกเช่นเดิม โดยให้นายชิงชัยเป็นนายกอบจ. นายดิฐชัย เป็นรองนายกและนายปกรณ์ ลง ส.อบจ.พบพระ และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานสภา โดยมีสัญญาสุภาพบุรุษว่า สมัยต่อไปให้นายดิฐชัย ขึ้นนายกอบจ. แต่เมื่อถึงเวลาเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ต่างฝ่ายต่างลืมคำมั่นสัญญานั้น และนำไปสู่การที่จะต้องแข่งขันกันเอง
    บุคคลที่รู้ดีที่สุดในข้อตกของตำแหน่งนายก อบจ.ตาก คือ นายปกรณ์ เมื่อไม่เป็นไปตามคำพูดของเพื่อนกับเพื่อน ทำให้นายปกรณ์ ตัดสินใจประกาศตัวช่วยสนับสนุน นายดิฐชัย และอาสาเป็นแม่ทัพใหญ่ ดูแลเขตเลือกตั้งทั้ง 30 เขต จัดทัพผู้สมัคร ส.อบจ. และเฟ้นหาทีมงานบริหารลงสู้ศึก
    และจากการที่ ประธานปั้ง ได้ประกาศหนุน รองเส็ง อย่างสุดขั้วหัวใจ ทำให้คอการเมืองรวมทั้งประชาชนทั่วไปในจังหวัดตากมองว่าแกนนำและสมาชิกพรรค ประชาธิปัตย์ หันไปสนับสนุนกลุ่มนายดิฐชัยและทีมงาน โดยมีการตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่ม ตากพัฒนา” รักประชาธิปัตย์ โดยมีนายดิฐชัย เป็นหัวหน้าทีม ลงในตำแหน่ง นายก อบจ.โดยตรง และนายปกรณ์ ลงเขตเลือกตั้งเพื่อกลับเข้าไปเป็นประธานสภา อบจ.ตาก อีกสมัย
    โดยก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา นายปกรณ์ ได้ทำหน้าที่ของประธานสภา และ ส.อบจ. อภิปรายโจมตีการทำงานของ นายชิงชัย มาโดยตลอด นอกจากนี้ยังทำหนังสือและข้อร้องเรียนตามเอกสารหลักฐานหลายข้อจนนำไปสู่ความ ขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น และเมื่อนายปกรณ์ออกมาประกาศตัวสนับสนุนนายดิฐชัย ขึ้นชิงนายกอบจ.ตาก จึงถือเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะอยู่คนละฝั่งกับ นายชิงชัย
    ทั้งนี้นายปกรณ์ พร้อมทีมงานและว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.ตาก 9 อำเภอ จำนวน 30 คน ได้ประกาศตัวสนับสนุน นายดิฐชัย ให้สมัครลงรับเลือกตั้งเป็น นายก อบจ.ตาก และยืนยันว่า ผู้สมัครของกลุ่มจะไม่หวั่นกลัว ส.อบจ.เดิม ที่สังกัดกลุ่มนายกเคี้ยง ทั้งนี้เป็นเพราะการเลือกตั้ง ส.อบจ.ตากที่ผ่านมาหลายครั้งรวมทั้งครั้งล่าสุดเมื่อ ปี 2547 จะมี ส.อบจ.เก่าสอบตก 70-80% และครั้งนี้ก็เช่นกัน เชื่อว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิม การที่ นายปกรณ์ ประกาศสนับสนุนนายดิฐชัย ขึ้นชิงนายก อบจ.ตาก ได้สร้างความคึกคักและสีสรรทางการเมืองอย่างยิ่ง ประชาชนในพื้นที่ต่างให้ความสนใจและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คู่ชิงตำแหน่งนายก อบจ.ตาก ครั้งหน้านี้จะสนุกและตื่นเต้นคู่คี่สูสี และมีการมองกันว่ากลุ่มสมาชิกและผู้สนับสนุน ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ จะมาสนับสนุนนายดิฐชัย ทั้งหมด เนื่องจากนายปกรณ์ นั้น เป็น ผู้ช่วยดำเนินงาน ส.ส.และแกนนำหลักของ พรรค ปชป.ในพื้นที่จังหวัดตาก มายาวนานกว่า 10 ปีและล่าสุดยังทำหน้าที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดตากใน การเลือกตั้งที่ผ่านมา
    สนาม อบจ.ตาก เป็นเวทีที่จะเกิดการห้ำหั่นกันระหว่าง เพื่อนรักในอดีต ที่ต้องแยกทางกันเดินด้วยเหตุผลและความคิดที่แตกต่างทางการเมือง จากอดีตถึงปัจจุบันคำว่าเพื่อนยังคงมีอยู่ แต่วิถีชีวิตการต่อสู้ทางการเมืองต้องดำเนินไปตามเส้นทางที่ต่างฝ่ายต่าง มุ่งหวังในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
    ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก (ส.อบจ.) และนายกอบจ. ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา จ.ตาก มี ส.อบจ.ทั้งสิ้น 30 เขต ใน 9 อำเภอ มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 180,941 คน จาก ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 310,144 คน ผู้ได้คะแนนสูงสุดได้รับเลือกตั้งเป็น นายกอบจ.ตาก ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 3 นายชิงชัย ก่อประภากิจ กลุ่มรักษ์เมืองตาก ได้ 68,083 คะแนน สมาชิกในกลุ่มได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.อบจ. จำนวน 14 เขต อันดับ 2 คือ นายดิฐชัย ฉันติกุล กลุ่มประชาตาก หมายเลข 2 ได้ 48,508 คะแนน ลูกทีมได้รับเลือกเข้ามาจำนวน 10 เขต ส่วนหมายเลข 1 พ.ต.ท.จำลอง โสมาศรี ผู้สมัครหมายเลข 1 กลุ่มพลังจังหวัดตาก ได้อันดับ 3 ด้วยคะแนน 44,227 คะแนน มีลูกทีมได้รับการเลือกตั้ง 3 คน และมีผู้สมัครอิสระ 3 คน ได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้
    โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีการต่อสู้ที่ดุเดือด มีกระแสข่าวโจมตีผู้สมัครทั้ง 3 กลุ่ม อย่างต่อเนื่องและรุนแรง รวมถึงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองพรรคใหญ่ระดับประเทศ ที่สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชาชน โดยในส่วนของพลังประชาชน ส่งพ.ต.ท.จำลอง ลงชิงตำแหน่ง นายกอบจ. แต่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ถึง 23,586 คะแนน ให้แก่ นายชิงชัย ก่อประภากิจ อดีตนายกอบจ.ตาก ที่ยังคงรักษาเก้าอี้ได้อีก 1 สมัย

    น่าน
    นายนรินทร์ เหล่าอารยะ
    ผลคะแนนเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เมื่อวานนี้ (27 มกราคม 2551) อย่างไม่เป็นทางการ นายนรินทร์ เหล่าอารยะ เบอร์ 1 ได้คะแนนทั้งสิ้น 174,522 คะแนน 
    จังหวัดน่าน มีผู้สมัครลงเลือกตั้ง นายก อบจ.น่าน เพียงคนเดียว คือ นายนรินทร์ เหล่าอาระ เบอร์ 1 ซึ่งต้องได้คะแนนไม่น้อยร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดน่านจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 353,243 คน ส่วนผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ของนายนรินทร์ เหล่าอาระยะ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ตามที่กฎหมายกำหนด จีงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด นอกจากนั้น ยังมีผู้ไปใช้สิทธิ 204,920 คน คิดเป็นร้อยละ 58.18 ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 15,900 คน คิดเป็นร้อยละ 7.76 ผู้ไม่ไปใช้สิทธิ 147,323 คน คิดเป็นร้อยละ 41.82 บัตรดี จำนวน 190,422 คิดเป็นร้อยละ 92.93 บัตรเสีย จำนวน 14,497 คิดเป็นร้อยละ 7.07 

    พะเยา
    นายไพรัตน์ ตันบรรจง
    ฐานเสียงของตระกูลตันบรรจงกับวงศ์ศรีวงศ์
    การเลือกตั้งนายก อบจ.พะเยา ในวันที่ 20 ม.ค. ที่จะถึงนี้ จึงไม่ค่อยคึกคัก เพราะมีผู้ขันอาสามาท้าชิงตำแหน่งนายก อบจ.รวมแล้ว 3 คน คือ หมายเลข 1 นายประพันธ์ สิงห์ชัย หรือ “ส.จ.แน๊ว” อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา (ส.อบจ.) เขตพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ (2543-2547) และยังเคยเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. ในปี 2549 พรรคประชาธิปัตย์ แต่สอบตก และในปี 2550 ยังมีชื่อเป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคเดิม แต่ถูกเบียดตกขอบในวินาทีสุดท้าย ดูฐานคะแนนแล้ว นายประพันธ์ จะมีคะแนนในพื้นที่ ต.ห้วยลาน อ.ดอกคำใต้ ถิ่นเกิด ซึ่งแต่เดิมพ่อของ นายประพันธ์ อดีตเป็นผู้ใหญ่บ้าน เคยสนิทกับ คนตระกูล “ตันบรรจง” มาก่อน
    หมายเลข 2 นายไพรัตน์ ตันบรรจง อดีตนายก อบจ. และแชมป์เก่าหลายสมัย ทั้งที่มาจากการแต่งตั้งจากสภาฯ และมาจากการเลือกตั้งโดยตรง เมื่อปี 2547 คราวนั้นถูกรุมกินโต๊ะจากอดีต ส.ส.ถึง 4 คน แต่ยังชนะแบบคะแนนท่วมท้น มาครั้งนี้เป็นการป้องกันแชมป์ครั้งสุดท้ายบนตำแหน่งนายก อบจ.พะเยา เพราะตามกฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถเป็นได้เพียงสองสมัยเท่านั้น
    สำหรับผู้สมัครหมายเลข 3 นายชาญณรงค์ พูนวิริยาภรณ์ หรือ “ปู่หลน” อดีต ส.อบจ. ปี 2547 และอีกหลาย ๆ สมัยย้อนหลังตั้งแต่พะเยาเริ่มเป็นจังหวัด รวมทั้งยังเป็นอดีต ผู้สมัครทั้ง ส.ส. ส.ว. ซึ่งในวันรับสมัคร “ปู่หลน” บอกว่า ต้องไปขอยืมเงินพรรคพวกมากว่า 3 หมื่นบาท เพื่อเป็นค่าธรรมเนียม ในการสมัคร อีกทั้งแผ่นพับโปสเตอร์ก็ยังไม่รู้ จะหาเงินที่ไหนมาเป็นค่าจ้างพิมพ์ ยอมรับว่าถ้าแข่งขันในเรื่องเงินคงไม่มีสิทธิ แต่การเลือกตั้งต้องอยู่ในความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ซื้อสิทธิ ขายเสียงกันอยู่แล้ว จึง ไม่ลำบากในเรื่องนี้ จึงสามารถใช้สมอง และสองมือมาหาเสียง รวมถึงเป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเมืองมาอย่างโชกโชน รู้ใน เรื่องของการบริหารองค์กรสารพัด แต่ที่ผ่านมายังไม่มีโอกาสนั่งในตำแหน่งผู้บริหารเท่านั้น โดยจะเดินหาเสียงแบบอหิงสา สู้กัน บนสนามการเมืองด้วยมือที่ขาว สะอาด โปร่งใสบริสุทธิ์ ยุติธรรม ตามระบอบประชาธิปไตย 
    ( 20 มกราคม 2551 ) ผลคะแนนการเลือกตั้งนายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ นายไพรัตน์ ตันบรรจง หมายเลข 2 ได้คะแนน 130,649 ทิ้งห่างคู่แข่งกว่า 100,000 คะแนน โดยนายชาญณรงค์ พูนวิริยาภรณ์ หมายเลข 3 ได้ 38,530 คะแนน และ นายประพันธ์ สิงห์ชัย หมายเลข 1 ได้ 21,034 คะแนน
    จังหวัดพะเยามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯ 363,252 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯ 215,429 คน คิดเป็นร้อยละ 59.26 % บัตรเสีย 8,957 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.16 และผู้ที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน 16,539 คิดเป็นร้อยละ 7.55

    พิจิตร
    นายชาติชาย เจียมศรีพงศ์
    ฐานเสียงของตระกูลภัทรประสิทธิ์,แก้วทอง,บุญเศรษฐและขจรประศาสน์
    มีผู้สมัครเพียง 2 คน คือ ชาติชายเจียมศรีพงษ์ อดีตนายกอบจ.ลำปาง กับคู่ท้าชิง 2 สมัย อย่าง วิเชียร เธียรชัยพงษ์ อดีตส.อบจ.และอดีตผู้สมัครนายก อบจ. เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา 
    แต่การกลับมาของ"วิเชียร" ในครั้งนี้ดูเหมือนจะแผ่วกว่าครั้ง ที่ผ่านมาอย่างมาก จนแทบมองไม่เห็นการเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งป้ายหาเสียง หรือรถ แห่ประชาสัมพันธ์ ก็แทบไม่มีการขยับ
    "สงบสยบความเคลื่อนไหว" การเคลื่อนไหวแบบไร้ลมเช่นนี้กลับสร้างความปั่นป่วนให้ "ชาติชาย" ได้ไม่น้อย 
    มีข่าวลือว่าสาเหตุที่เจ้าตัวยังเงียบเพราะอยู่ระหว่างรอคำตอบจาก "เสี่ยอ๊อด" ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.การคลังพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่เคยเหนียวแน่วกันอยู่ และ สุนีย์ เหลืองวิจิตร อดีตส.ส.พิจิตร เขต 2 พรรคพลังประชาชน ยื่นมือมาช่วยเหลือ
    อีกฟากหนึ่ง"ชาติชาย" มีการเดินหน้าหาเสียงรุกหนัก โดยอาศัย ฐานคะแนนเก่า สมัยที่อยู่ในตำแหน่ง "นายก อบจ." บวกกับนโยบายเน้นเรื่องการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นปัญหาอย่างมาก รวมถึงนโยบายด้าน สาธารณสุข ที่ต้องการเห็นคนพิจิตรป่วยเข้าโรงพยาบาลน้อยลง 
    ที่เด่นมากคือ นโยบายการแก้ปัญหาโลกร้อน ที่แม้แต่นักการเมือง ทั้งระดับชาติและท้องถิ่นยังไม่มีใครกล้าเอามาเป็นจุดขาย แต่คราวนี้ "ชาติ ชาย" ประกาศชัด จะเข้ามารณรงค์แก้ปัญหา ด้วยการสนับสนุนให้ชาวบ้านและหน่วย งานของรัฐปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น-รณรงค์ลดการใช้สารเคมี
    ชาติชายระบุว่าที่ผ่านมาต้องทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะ การลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลจากชาวบ้าน มากำหนดเป็นนโยบายในการหาเสียง เพื่อ ให้เข้าถึงและตรงจุดกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด 
    นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากนักการเมืองระดับชาติที่มีความสนิทสนม ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี จากพรรคชาติ ไทย นายไพฑูรย์ แก้วทอง อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงจากพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ พรรคพลังประชาชนก็ไม่ได้มีความขัดแย้ง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งของ นักการเมืองท้องถิ่น
    ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ นายก อบจ .พิจิตร นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ อดีตนายก อบจ. มาเป็นอันดับ 1 ได้ 128,425 คะแนน ส่วนนายวิเชียร เธียรชัยพงษ์ เป็นลำดับ 2 ได้ 53,324 คะแนน 

    พิษณุโลก
    นายสุรินทร์ ฐิติปุญญา
    ฐานเสียงของตระกูลชามพูนุทกับไกรฤกษ์
    เป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างสองขั้วการเมือง ชัดเจน ฝ่ายแชมป์เก่า "ธวัชชัย กันนะพันธุ์" หัวหน้าคณะหลักเมือง กับ "สุรินทร์ ฐิติปุญญา" อดีต ส.ว.ที่ประกาศสู้เต็มที่
    "ธวัชชัย กันนะพันธุ์" เป็นนักการเมืองหนุ่มที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อนเดินสู่ถนนการเมืองท้องถิ่น ด้วยตำแหน่ง ส.อบจ.เขต อ.เมือง โดยได้แรงหนุนจากอดีต ส.ส. ใหญ่ อย่าง "ยิ่งพันธ์ นมะสิการ" ที่ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว ก่อนจะขยับและเติบโตทางการเมืองท้องถิ่นเรื่อยมา เคยเป็นประธานสภา อบจ.พิษณุโลก เป็นนายก อบจ.พิษณุโลก 2 สมัย
    "สุรินทร์ ฐิติปุญญา" เป็นนักธุรกิจที่ประสบความเสร็จจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าพิษณุโลก ก่อนจะลงสู่ถนนการเมืองด้วยการลงสมัคร ส.ว.พิษณุโลก ในปี 2549 แต่สมหวังอยู่ไม่นาน ก็เจอฤทธิ์ปฏิวัติ กลายเป็นอดีต ส.ว.
    ทั้งนี้ ขั้วการเมืองท้องถิ่นเมืองพิษณุโลก ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการแบ่งขั้วการเมืองกันอย่างชัดเจน ขั้วหนึ่ง "ธวัชชัย กันนะพันธุ์" คุม อบจ.พิษณุโลก มีแรงหนุนจาก ส.อบจ.คณะหลักเมืองในสังกัดในอำเภอรอบนอก ช่วยค้ำจุน ส่วนเขตเมืองเป็นการครองพื้นที่ โดย "เปรมฤดี ชามพูนท" ภรรยาของ "สุชน ชามพูนท" ส.ส.อาวุโส จากพรรคพลังประชาชน เป็นนายกเทศมนตรีผูกขาด หัวหน้าคณะลูกนเรศวร มาตลอด 12 ปี
    ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ไม่ว่าระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ทั้งสองขั้วก็จะแข่งกันโดยตรง อีกฝ่ายลงสมัคร อีกฝ่ายช่วยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง อาทิเช่น การเลือกตั้งนายกอบจ.พิษณุโลกเมื่อ 4 ปีก่อน ที่ "ธวัชชัย กันนะพันธุ์" หัวหน้าคณะหลักเมืองลงสมัคร ฟากเทศบาลนครพิษณุโลก ส่ง "อดิเทพ ศิริเจริญภัณฑ์" รองนายกเทศมนตรี ลงแข่งในนามคณะลูกนเรศวรด้วย แต่ครั้งนั้นพ่ายให้กับคณะหลักเมืองของ "ธวัชชัย กันนะพันธุ์"
    การเลือกตั้งนายกอบจ.ครั้งนี้ก็เช่นกัน ซีกของคณะลูกนเรศวรของ "เปรมฤดี ชามพูนท" ก็ถือว่าอยู่เบื้องหลังการช่วย "สุรินทร์ ฐิติปุญญา" หัวหน้ากลุ่มพิษณุโลกพัฒนา สู้กับคณะหลักเมืองด้วย มี "อดิเทพ ศิริเจริญภัณฑ์" รองนายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอย่างแข็งขัน
    นอกจากนี้ กลุ่ม ส.ส.ในพิษณุโลก ก็รวมตัวกันช่วยอยู่เบื้องหลัง "สุรินทร์ ฐิติปุญญา" อีกแรง ที่ออกตัวบ่อยครั้งได้แก่ "สุชน ชามพูนท" ส.ส.พิษณุโลก พรรคพลังประชาชน และ "นิยม ช่างพินิจ" ส.ส.พิษณุโลก พรรคพลังประชาชน
    กลุ่ม ส.อบจ.ในรอบนอกนับว่าเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะเป็นฐานเสียงโดยตรงสำหรับตัวผู้สมัครนายก อบจ.พิษณุโลก โดยการเลือกตั้ง ส.อบจ.พิษณุโลก จำนวน 30 เขต เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น "สุรินทร์ ฐิติปุญญา" ส่งลูกทีม ส.อบจ.ลงสมัครในนามกลุ่มพิษณุโลกพัฒนา หลายพื้นที่สามารถโค่น ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่แชมป์เก่า ที่ลงแข่งในนามคณะหลักเมือง โดยผลออกมากลุ่ม ส.อบจ.พิษณุโลกพัฒนา เข้าวินได้ 11 ที่นั่ง คณะหลักเมือง 16 ที่นั่ง อิสระ 3 ที่นั่ง
    ที่น่าเจ็บใจสำหรับ "ธวัชชัย กันนะพันธุ์" หัวหน้าคณะหลักเมือง ก็คือ การชิงตำแหน่งประธานสภาอบจ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะหลักเมืองส่ง "วันชาติ วิเลิศ" ส.อบจ.เขตอ.เมือง อดีตประธานสภา อบจ.พิษณุโลก ลงชิงชัย ฝ่ายกลุ่มพิษณุโลกพัฒนาส่ง "โชคดี ดาราวิทยากร" ส.อบจ. เขต อ.พรหมพิราม ลงชิงชัย
    ผลการลงคะแนนเสียงออกมาเสมอกัน 15 ต่อ 15 ถึง 2 ครั้ง ต้องใช้วิธีจับสลากและโชคดีก็โชคดีสมชื่อได้เป็นประธานสภาอบจ.พิษณุโลก ด้วยวิธีจับสลาก และถือเป็นการทำแต้มต่อที่นำไปก่อน ที่ "สุรินทร์" มีเหนือ "ธวัชชัย "เกมชิงประธานสภา เป็นการชิงตัว ส.อบจ. ที่ "สุรินทร์" ทำได้เหนือกว่า และยิ่งช่วงหาเสียงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง 27 ก.ย.นี้ ทีม ส.อบจ. ถือเป็นขุมกำลังหลักของทั้งสองฝ่าย
    สนามเลือกครั้งนายกอบจ.ครั้งนี้ จึงดูเหมือนว่า ทุกฝ่ายรวมพลเฉพาะกิจ เพื่อหวังโค่น "ธวัชชัย กันนะพันธุ์" ลงจากตำแหน่งให้จงได้ 
    ผลคะแนนการเลือกตั้งอย่าง ไม่เป็นทางการ ดังนี้ หมายเลข 1 นายสุรินทร์ ฐิติปุญญา วัย 64 ปี อดีตส.ว.จังหวัดพิษณุโลกความเชี่ยวชาญในการตัดสินคดีใหญ่ๆเมื่ออยู่ในการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนกลางการไกล่เกลี่ยและแบ่งแย่งมรดก คดีส่วนใหญ่สำเร็จมามาก ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการสภา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคณะที่สำคัญทั้งหมด หัวหน้ากลุ่มพิษณุโลกพัฒนา ได้ 130,499 คะแนน หมายเลข 2 นางฐิตินันท์ ฐิติประวัติ ได้ 3,111 คะแนน หมายเลข 3 นายสิทธิชัย รอดพันธุ์ใหม่ ได้ 917 คะแนน หมายเลข 4 นายจำลอง อาจคงหาญ ได้ 620 คะแนน หมายเลข 5 นายนพพร ภู่ขาว ได้ 1,261 คะแนน หมายเลข 6 นายจำนง จันทรา ได้ 1,197 คะแนน หมายเลข 7 นางสหัทยา กันนะพันธุ์ ได้ 1,581 คะแนน หมายเลข 8 นายสมบุญ บ่างตระกูล ได้ 809 คะแนน หมายเลข 9 นายธวัชชัย กันนะพันธุ์ อดีตนายก อบจ.พิษณุโลก 3 สมัย จากคณะหลักเมือง ได้ 124 ,385 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 290,650 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมด 608,749 คน คิดเป็นร้อยละ 47.75 จำนวนบัตรเสีย 9,765 ใบ บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 16,505 ใบ 

    เพชรบูรณ์
    นายอัครเดช ทองใจสด 
    ฐานเสียงของตระกูลทองใจสด ,พร้อมพัฒน์ ,อนรรฆพันธ์ ,พรพฤฒิพันธุ์และพั้วช่วย
    ภายหลังจากที่นายอัครเดช ทองใจสด อดีตนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ชิงลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ โดยอ้างว่าเพื่อความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งภายหลังจากลาออก นายอัครเดช ได้ลงพื้นที่หาเสียงช่วย นายเอี่ยม ทองใจสด ผู้เป็นพ่อ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ และนายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 2 พรรคพลังประชาชน ซึ่งผลคะแนนที่ออกมานั้น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ โดยขณะนี้ กกต.กลางยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
    ต่อมา นายอัครเดช ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งนายก อบจ.เช่นเดิม โดยอาศัยจังหวะนักการเมืองในพื้นที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส่วนผู้ท้าชิงตำแหน่งนายก อบจ.ในครั้งนี้คือ นายเกษม ชัยสิทธิ์ อดีต ส.ว.เพชรบูรณ์ ที่ส่งทีมงานออกหาเสียงเพื่อหวังตำแหน่งนายก อบจ.เช่นกัน โดย กกต.จังหวัดได้กำหนดให้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นวันเลือกตั้ง
    นายเกษม ชัยสิทธิ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งนายก อบจ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ตามที่ได้ตัดสินใจลงเพื่อรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ในครั้งนี้ก็เพราะว่าต้องการมารับใช้พี่น้องที่บ้านเกิดเมืองนอน เพราะอย่างน้อยในอดีตที่ผ่านมาก็เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เคยบริหารงานมาก่อน จากนั้นต่อมาก็ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ว.เพชรบูรณ์ และได้ทำหน้าที่ ส.ว.มาจนครบวาระ
    ส่วนการหาเสียงเพื่อให้ประชาชนใน จ.เพชรบูรณ์ ได้ตัดสินใจได้เริ่มขึ้นบ้างแล้วแต่ยังไม่เต็มที่ เพราะว่าสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่กำลังโศกเศร้า อันเนื่องมาจากสมเด็จพระนางเจ้าพระพี่นางฯ สิ้นพระชนม์ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการหาเสียงนั้นไม่หวั่นไหวกับคู่แข่งแต่อย่างใด เพราะอย่างน้อยในอดีตตนก็เคยทำหน้าที่บริหารงานบ้านเมืองในพื้นที่ จึงไม่หนักใจ
    ด้านนายอัครเดช ทองใจสด อดีตนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ที่ลงสมัครชิงตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง กล่าวว่า หลังจากที่ได้ลาออกจากตำแหน่งนายก อบจ.เพชรบูรณ์นั้น ก็เพราะต้องการให้สังคมมองว่า ตนวางตัวเป็นกลางเพราะ นายเอี่ยม บิดา ได้ลงสมัคร สส.เขต 2 พรรคพลังประชาชน แต่ระยะนี้ทุกอย่างได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จึงต้องออกหาเสียงเพื่อขอคะแนนกับประชาชนในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ อีกวาระ 
    ผู้สมัครคู่แข่ง 2 คน ได้แก่นายกฤษฎา บัวสุวรรณ หลายชายนายแก้ว บัวสุวรรณ ผู้สมัครส.ส.เพชรบูรณ์ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
    และนายเกษม ชัยสิทธิ์ อดีต ส.ว.เพชรบูรณ์ และผู้สมัครส.ส.แบบสัดส่วนกลุ่ม 2 อันดับ 3 พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยนายเกษม นั้นได้แจ้งบันทึกยืนยันต่อเจ้าหน้าที่รับสมัครว่า ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคและศาลฎีกาแผนกคดีการเมืองได้มีคำสั่งให้พ้นจากสภาพ ผู้สมัครส.ส.แบบสัดส่วนเรียบร้อยแล้ว โดยผู้สมัครนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ในขณะนี้ได้แก่ นายอัครเดช ทองชัยสด นายกฤษฎา บัวสุวรรณ และนายเกษม ชัยสิทธิ์ 
    นายอัครเดช ทองใจสด ลูกชายของนายเอี่ยม ทองใจสด สส.พรรคเพื่อไทย อดีต นายกอบจ.เพชรบูรณ์ ยังเหนียว ได้มากถึง187,000 คะแนนน ทิ้งห่างคู่แข่งแบบถล่มทลาย

    แพร่
    นายอนุวัช วงศ์วรรณ
    ฐานเสียงของตระกูลเอื้ออภิญญกุล,เสรีรักษ์และพนมขวัญ
    น.พ.ชาญชัย ศิลปอวยชัย นายกอบจ.แพร่ ถูกมือปืน 9 ม.ม. บุกยิงตายสยอง ขณะออกกำลังกายภายในสนามกีฬาของอบจ. เมื่อเช้าตรู่วันที่ 22 ต.ค. ตำรวจมุ่งประเด็นไปยังเรื่องการเมืองใกล้ศึก เลือกตั้งใหญ่
    ส่วนสาเหตุการสังหารน.พ.ชาญชัย นั้น ในเบื้องต้น ตำรวจได้ตั้งประเด็นไว้คือการเมืองท้องถิ่นและการเมืองระดับชาติ ซึ่งน.พ.ชาญชัยจะครบวาระการดำรงตำแหน่งนายกอบจ.แพร่ในเดือนมี.ค.2551 และได้วางทีมงานที่จะลงเลือกตั้งไว้แล้ว นอกจากนี้ยังพบว่าน.พ.ชาญชัยเป็นผู้นำสมาชิกอบจ.แพร่ให้การสนับสนุนพรรคพลัง ประชาชนด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้น.พ.ชาญชัยเคยกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่ามีมือปืนเข้ามาในพื้นที่จ. แพร่ 2-3 คน และได้ระมัดระวังตัวอยู่เช่นกัน แต่ก็มาถูกยิงเสียชีวิตดังกล่าว
    สำหรับประวัติน.พ.ชาญชัย เคยสมัครส.ส.แพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมทีมกับนางศิริวรรณ หรือแม่เลี้ยงติ๊ก ปราศจากศัตรู นายโชคชัย พนมขวัญ แต่คราวนั้นนางศิริวรรณได้รับการเลือกตั้งเพียงคนเดียว จากนั้นก็มีการแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 3 เขต นางศิริวรรณ ผู้สมัครเขต 2 ได้รับการเลือกตั้ง โดยมีน.พ.ชาญชัยให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด เมื่อถึงการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นายอนุวัธ วงศ์วรรณ จากพรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นน.พ.ชาญชัยดึงน.พ.นิยม วิวรรธดิฐกุล อดีตส.ว.ปี 2549 ซึ่งพรรคไทยรักไทยให้การสนับสนุนอยู่ มาเป็นที่ปรึกษานายกอบจ.แพร่ ขณะเดียวหากมีกิจกรรมเกี่ยวกับอบจ.แพร่ อดีตส.ส.แพร่ที่สังกัดพรรคไทยรักไทยจะมาร่วมงานด้วยตลอด ทำให้หลายฝ่ายมองว่าน.พ.ชาญชัยเริ่มหันเข้าไปให้การสนับสนุนพรรคไทยรักไทย กระทั่งการเลือกตั้งส.ส.ที่จะถึงนี้ น.พ.ชาญชัยให้การสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเต็มตัว โดยให้การสนับสนุนนายอนุวัธ วงศ์วรรณ และน.พ.นิยม วิวรรธดิฐกุล นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ซึ่งคาดว่าจะลงสมัครให้กับพรรคพลังประชาชน
    นอกจากนี้ยังมีเรื่องความขัดแย้งการเมืองระดับท้องถิ่นที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ รวมทั้งเรื่องที่นายกอบจ.แพร่กำลังจะหมดวาระลงในเดือนมี.ค.2551 ซึ่งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ โดยน.พ.ชาญชัยได้จัดทีมลงสมัครสมาชิกอบจ.และนายกฯอบจ.ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอีกขั้วอย่างหนักหน่วง
    วันเดียวกัน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรค และนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตส.ส.แพร่ เขต 3 พรรคพลังประชาชน ร่วมกันแถลงข่าวการลอบสังหารนายกอบจ.แพร่ โดยนายสมพงษ์กล่าวว่า จะยื่นหนังสือถึงนายกฯและผบ.ตร.เพื่อให้ดูแลกวดขันไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงดัง กล่าวกับพรรคพลังประชาชนในจังหวัดอื่นๆในช่วงเลือกตั้ง พร้อมทั้งควรมีมาตรการดูแลคุ้มครองทั้งผู้สนับสนุน ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ รัฐต้องกำหนดหลักการให้ถูกต้องอย่างเร่งด่วน เพื่อแสดงความจริงใจว่ารัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้
    ร.ท.กุเทพกล่าวว่า สาเหตุการสังหารเป็นเรื่องการเมือง เนื่องจากน.พ.ชาญชัยประกาศตัวสนับสนุนพรรคพลังประชาชน ตรงนี้ถือเป็นยุทธการตัดไม้ข่มนาม เพื่อข่มขู่สกัดกั้นพรรคพลังประชาชน เพราะก่อนหน้านี้ในการประชุมพรรคตามจังหวัดต่างๆที่คงมีกฎอัยการศึกไว้ จะมีทหารเข้าร่วมสังเกตการณ์ตลอด เหมือนเป็นการข่มขวัญ ทำให้ผู้สนับสนุนพรรคพลังประชาชนหวาดผวากันหมดแล้ว
    ด้าน นายวรวัจน์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเมืองแน่นอน เพราะผู้ตายประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นช่วงปลายปี และผู้ตายมีศักยภาพสูงมาก
    วันเดียวกัน นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีตส.ส. แพร่ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการลอบยิงน.พ.ชาญชัย ว่า ผู้ตายเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่ เคยอยู่ช่วยเหลือและดูแลกันดี ตอนลงนายกอบจ.ก็ลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครส.ส.ก็ลงร่วมทีมกับตน
    ผู้สื่อข่าวถาม ว่า ช่วงหลังดูเหมือนน.พ.ชาญชัยจะไปทำงานให้พรรคพลังประชาชน นางศิริวรรณกล่าวว่า เขาต้องอาศัยงบประมาณ ไม่ได้ย้ายออกไปชัดเจน เพิ่งจะเจอกันเมื่อวันตำรวจที่ผ่านมา ตนก็เดินไปทักทายขอคะแนนให้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังหัวเราะและยิ้มกัน อยู่เลย
    เมื่อถามถึงสาเหตุคิดว่าน่าจะเกิดจาก อะไร นางศิริวรรณกล่าวว่า ดูไม่ออก งงมาก เพราะเขาช่วยเราดีและดีกันตลอด และการเลือกตั้งครั้งนี้น.พ.ชาญชัยก็จะช่วยพรรคเต็มที่เพราะมีรองนายกอบจ. คือนายสมชัย จำปี มาลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นทีมเดียวกับตน ส่วนน.พ.ชาญชัย จะลงนายกอบจ.อีก 1 สมัย
    รายงานข่าวเปิดเผยว่า การสืบสวนสอบสวนของตำรวจตั้งประเด็นการสังหารไว้ 3 ประเด็นหลัก เรื่องแรกเป็นความขัดแย้งทั้งการเมืองระดับชาติและการเมืองท้องถิ่น ประเด็นที่ 2 เป็นเรื่องการรับเหมาก่อสร้างของอบจ.แพร่ และเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องชู้สาว อย่างไรก็ตาม ตำรวจทิ้งน้ำหนักไปที่การเมืองเป็นหลัก เพราะนอกจากจะมีการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้แล้ว ยังจะมีการเลือกตั้งนายกอบจ.แพร่คนใหม่กลางปีหน้า ซึ่งน.พ.ชาญชัยเป็นตัวเต็งที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นนายกอบจ.อีกสมัย
    วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2550 ผลคะแนนการเลือกตั้งที่ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการ ประชาชนชาวจังหวัดแพร่ ได้ลงคะแนนเสียงให้กับนายอนุวัธ วงศ์วรรณ อดีต ส.ส.จังหวัดแพร่ ผู้สมัครหมายเลข 1 เป็นนายก อบจ.แพร่คนใหม่ ด้วยคะแนน 137,335 ทิ้งห่างนายดอนเมืองแพร่ หริ่มรักษาทรัพย์ ผู้สมัครหมายเลข 2 ที่ได้คะแนน 82,894 โดยการเลือกตั้งนายก อบจ.แพร่ แทนตำแหน่งที่ว่างนี้ มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิจำนวน 233,456 คน คิดเป็นร้อยละ 66.14 จากจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด 353,175 คน เป็นบัตรเสียจำนวน 7,120 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.05 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนจำนวน 6,198 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.65

    แม่ฮ่องสอน
    นายอัครเดช วันไชยธนวงศ์
    ฐานเสียงของตระกูลวันไชยธนวงศ์

    ลำปาง
    นางสุนี สมมี
    ฐานเสียงของตระกูลโลห์สุนทร,ทองสวัสดิ์และจันทร์สุรินทร์
    "สุนี สมมี" ผู้สมัครในนามกลุ่มแม่วัง วัย 50 ปี จบปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยแคมเบลล์ สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลาครอสส์ สหรัฐอเมริกา
    ก่อนกระโจนเล่นการเมือง "สุนี" เป็นเจ้าของธุรกิจโรงบ่มใบยาสูบขึ้นใน จ.ลำปางและเชียงราย จนประสบความสำเร็จ และดำเนินธุรกิจอบลำไยแห้งส่งออก 1 แห่งในเขต อ.วังเหนือ ลำปาง และลงสมัคร ส.อบจ.ลำปาง เขต อ.วังเหนือ ตามสามี ในปี 2543 และได้รับชัยชนะ
    จากการเป็นตัวแทนประชาชนและชุมชน ในการนำปัญหาความต้องการของสตรีและชุมชนและส่งเสริมให้สตรีมีบทบาท และมีส่วนร่วมในทางการเมือง และเป็นผู้ประสานทำโครงการต่างๆ จึงทำให้เป้าที่รู้จักของชาวเมืองรถม้า โดยเฉพาะกลุ่มสตรีจำนวนมาก
    กระทั่งปี 2547 "สุนี" ได้พี่เลี้ยงอย่าง ไทยรักไทย (สมัยนั้น) เข้ามาสนับสนุนจนได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกอบจ.ลำปาง ซึ่งนับเป็นผู้หญิงคนแรกและคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
    ขณะที่ "นคร โยธาวงค์" วัย 46 ปี จบปริญญาตรีและโท สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าของโรงงานเซรามิค "เขลางค์เบญจรงค์" ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเซรามิคเครื่องเคลือบลายเบญจรงค์ส่งออกต่างประเทศรายใหญ่ ในลำปาง กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์ เทรด จำกัด รองประธานชมรมเฮาฮักลำปาง และผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ส.ส.ลำปาง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์
    การลงสมัครครั้งนี้ได้รับแรงหนุนจาก "มัธยม นิภาเกษม" อดีตผู้สมัคร ส.ส.ลำปาง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีฐานเสียงที่หนาแน่นในพื้นที่เขตอำเภอเมือง และต่างอำเภอบางแห่ง รวมทั้งเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 
    ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ลำปาง ปรากฏว่า นางสุนี สมมี อดีตนายก อบจ.ลำปาง ได้คะแนนสูงสุด 226, 812 คะแนนขณะที่อันดับที่ 2 ได้แก่ นายนคร โยธาวงศ์ ได้ 57,435 คะแนนส่วนการเลือกตั้ง ส.อบจ. 30 เขต ใน 13 อำเภอ มีผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ยกเว้น เขต 2 อ.เกาะคา ไม่สามารถสรุปคะแนนได้ เนื่องจากพบบัตรเกิน 2 ใบระหว่างการนับคะแนน
    จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในบัญชีรายชื่อทั้งหมด 567,461 คน ผู้มาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง 354,875 คน คิดเป็นร้อยละ 62.54 จำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 21,610 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.81 มีจำนวนบัตรเสีย 26,703 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.71 ทั้งนี้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯอำเภอเสริมงามเขต1 มีบัตรเลือกตั้งเสียมากที่สุดจำนวน 4,945 บัตร เนื่องจากประชาชนลงคะแนนให้กับ หมายเลข 1 นายกฤษดา แก้วปัญญา ผู้สมัครที่โดนตัดสิทธิ์ออกไปแล้ว

    ผลการนับคะแนน ส.อบจ.อำเภอเมืองลำปาง อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 นางสาวมนชยา ชรากร 37478 คะแนน
    เขต 2 หมายเลข 1 นายสุภาพ วงค์ษา 2,906 คะแนน หมายเลข 2 นายชาญ เกตุสมัคร 2,722 คะแนน หมายเลข 3 นายเอกสิทธิ์ มานะรุ่งโรจน์ 1,289 คะแนน
    เขต 3 หมายเลข 1นางขนิษฐา นิภาเกษม 4,186 คะแนน หมายเลข 2 นายวสันต์ อุณหเลขจิตร 4,428 คะแนน
    เขต 4 หมายเลข 1 นายถาวร บุปผาเจริญ 7,157 คะแนน
    เขต 5 หมายเลข 1 นายณรงค์ พินทิสืบ 6,206 คะแนน หมายเลข 2 นายประดิษฐ์ เสริมสุข 5,317 คะแนน
    เขต 6 หมายเลข 1 นายมงคลศิลปศรีอิ่นแก้ว 7,961 คะแนน หมายเลข 2 นายธาราเงิน จันทร์คำ 5,336 คะแนน หมายเลข3 นางสาวสิรัชดา หอมแก่นจันทร์ 370 คะแนน
    เขต 7 หมายเลข 1นายประสิทธิ์ เตชะปลูก 5,454 คะแนนหมายเลข 2 นายประเทศ อินทะจันทร์
    เขต 8 หมายเลข 1 นายวิเชียร เรืองบุญมา 9,862 คะแนน
    เขต 9 หมาย 1 นายไพศาล ชรากร 7,157 คะแนน
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอเกาะคา อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1 นายวัฒนา สิทธิวัง7,494 คะแนน หมายเลข 2 นายธรรมรักษ์ เชียงพรหม 2,513 คะแนน , เขต 2 หมายเลข 1 นายวิรัช ภัทรวราสุขศรี หมายเลข 2 นายสมภพ นวลอนงค์ ยังไม่มีผลการนับคะแนน , เขต 3 หมายเลข 1 นายตะวัน ขิงทอง 5,276 คะแนน 2 นายทนง ไชยสาร 3,460 คะแนน ,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอแม่ทะ อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1 นางผานิต ฤทัยสว่างสกุล 8,065 คะแนน หมายเลข 2 นายบุญเลิศ แสนเทพ 7,795 คะแนน, เขต2 หมายเลข 1 นายคมสัน จิตรมั่น 7,810คะแนน หมายเลข 2 นายสุพจน์ ศรีแกวงศ์ 6,782 คะแนน,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอแจ้ห่ม อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1นายสุริยา อูปทอง 4,060 คะแนน หมายเลข 2นายสมบูรณ์ รูปสะอาด 5,229 คะแนน, เขต2 หมายเลข1 นายจรัญ รูปสะอาด 5,536 หมายเลข2 นางพิมพา ทีเก่ง 4,148 หมายเลข3นายกิตติศักดิ์ อุดรพงศ์ 677 คะแนน,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภองาว อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข1นายดาชัย อุชุโกศลการ8,470 คะแนน หมายเลข 2 นายวัชรินทร์ ชาตะโชติ 3,422 คะแนน, เขต 2 หมายเลข 1นางรัตนาภรณ์ แก้ววรรณ 4,503คะแนน หมายเลข 2 นางรัชดาภรณ์ ชุ่มธิ 545 คะแนน หมายเลข 3 นายนิพนธ์ นันทะสี 4,597 คะแนน ,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอวังเหนือ อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1 นายบุญเทียม เกิดมูล 4,573 คะแนน หมายเลข2 นายสุทัศน์ ยวนตา 1,158 คะแนน หมายเลข3นายธรณินทร์ สิงห์โต2,365 คะแนน หมายเลข4 จ.ส.อ.สุธาร ตามวงค์ 2,715 คะแนน, เขต 2 หมายเลข1 นายรัตนชัย สมมี 9,763 คะแนน
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอห้างฉัตร อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข1นายไพโรจน์ สุขคำเมือง7,693 คะแนน หมานเลข 2นายวิทยา ฮาวบุญปั๋น 5,652 คะแนน เขต 2 หมายเลข1 นายฐิติพงศ์ ธรรมใจ 6,405คะแนน หมายเลข 2 นายบุญเชิด พรมศร 6,435 คะแนน,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอแม่เมาะ อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข1 นายองอาจ มุทอง 2 ,341 คะแนน หมายเลข 2 ด.ต.สอาด บุญลอง 3,217 คะแนน หมายเลข 3 นางสาวนันทิยา เวชประชา 2,478 คะแนน , เขต 2หมายเลข1 นายธรรมการ ชุมศรี 5,381 คะแนน หมายเลข 2นายบรรจง เวชประชา 2,427 คะแนน,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอเถิน อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1 นางสุภาพร ปกรณ์สุกล5,292 คะแนน หมายเลข 2 ว่าที่ ร.ต.อัฏฐพล จักรเครือชัยวรา 2,443 คะแนน หมายเลข3 นายถวาย ชัยสุข 331 คะแนน หมายเลข4นายญาณวรุตม์ ธรรมชาติ 6,110 คะแนน , เขต 2 หมายเลข1 นายสวงษ์ เครือคำอ้าย3,761 คะแนน หมายเลข2 นายเทวินทร์ จันทราช 4,308 คะแนน หมายเลข 3 นายประวุฒิ พวงสมบัติ 2,860 คะแนน.
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอสบปราบ อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1 นางสาวสมคิด อุ่นแก้ว4,576 คะแนน หมายเลข2 นายปิลันธน์ รัตนวราภรณ์ 4,802คะแนน หมายเลข3 ด.ต. ธงชัย ใคร้วานิชเสียชีวิตหมายเลข4 นายประทีป เสือแซมเสริม 4,003 คะแนน
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ.อำเภอเสริมงาม อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข1นายกฤษดา แก้วปัญญา ถูกเพิกถอนสิทธิฯ หมายเลข 2นายเชนปานสังข์8,800คะแนน หมายเลข3 จ.ส.ต.สมนึก ตันอ้าย 1,998 คะแนน หมายเลข4 นางขวัญดาว ปานสังข์ 193 คะแนน
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอเมืองปาน อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข1 นางยุพวรรณ ประสาน 9,069 คะแนน หมายเลข 2 นางวรรณภา บัวเที่ยง 6,505 คะแนน,
    ผลการนับคะแนน ส.อบจ. อำเภอแม่พริก อย่างไม่เป็นทางการ
    เขต 1 หมายเลข 1นายถนอมชัย ทิชัย 4,255 คะแนน หมายเลข 2 นายชูเชื้อ ลีลาศ 3,004 คะแนน.

    ลำพูน
    นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
    ฐานเสียงของตระกูลวงศ์วรรณ
    ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการจากผู้สมัคร 10 คน ผู้มีคะแนนสูงสุดได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 3 นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ อดีตสว.ลำพูน ปี49 ได้ 72,365 คะแนน ทิ้งห่างคะแนนรองหมายเลข 7 นายสมาน ชมภูเทพ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้ 66,180 คะแนน ส่วนอันดับ3 หมายเลข 8
    พลเอกบัณฑิต พิริยาสัยสันติ ได้ 28,698 คะแนน
    นับคะแนนรวมสรุปอย่างไม่เป็นทางการจากหน่วยเลือกตั้ง 664 หน่วย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวม 8 อำเภอ จำนวน 302,447 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 214,314 คน คิดเป็นร้อยละ 70.87 บัตรดี 190,192 บัตร คิดเป็นร้อยละ 88.73 บัตรเสีย 8,542 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.98 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 15,607 บัตร คิดเป็นร้อยละ 7.28 

    สุโขทัย
    นายมนูญ พุกประเสริฐ พี่ชายของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
    ฐานเสียงของตระกูลลิมปะพันธุ์และเทพสุทิน
    ผู้ สมัครชิงนายก อบจ. สุโขทัย ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 20 มกราคม 2551 ประกอบด้วย นายมนู พุกประเสริฐ อดีตนายก อบจ. สุโขทัย ได้ เบอร์ 1นายกฤษดา วงศ์คามรัตนภูมิ เบอร์ 2 นายไพโรจน์ สวัสดี เบอร์ 3 และ ร.ต.อ. หญิง สมหวัง หมีเทศ พี่สาว “กุศล หมีเทศ” หรือ “ชูชาติ ประธานธรรม” หัวหน้าพรรคไทเป็นไท ได้เบอร์ 4
    ศึกเลือกตั้งนายก อบจ.สุโขทัยครั้งนี้ มีบ้านใหญ่ฝ่ายเหนือ “ลิมปะพันธุ์” ตระกูลการเมืองเก่าแก่ของจังหวัดสุโขทัย ประกาศสนับสนุน “ไพโรจน์ สวัสดี” อดีต ส.อบจ. สุโขทัย เขต 2 อ.ศรีสำโรง ให้เป็นนายก อบจ.สุโขทัย คนใหม่โดยมี “สมเกียรติ ลิมปะพันธุ์” บุตรชายคนโตของนายกตลอดกาลอย่าง “สมชาติ ลิมปะพันธุ์” นายกเทศมนตรีเมืองสวรรคโลก และเป็นพี่ชาย “สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์” ว่าที่ ส.ส. พรรคชาติไทย เขต 2 ซึ่งเพิ่งจะคว้าชัยในสนามเลือกตั้ง ส.ส.ด้วยคะแนนนำเป็นอันดับ 1 มา นั่งเก้าอี้เป็นรอง อบจ.สุโขทัย
    คู่แข่งสำคัญ “มนู พุกประเสริฐ” พี่ชายของ “อนงค์วรรณ เทพสุทิน” เลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งแม้จะมีผลงานชูโรง คือ “โครงการคืนข้าวให้นา คืนปลาให้น้ำ” อันเป็นที่ประจักษ์ และมีเสียง จัดตั้งจากฐานของ ส.อบจ. สุโขทัย
    ทางด้านของบ้านใหญ่ฝ่ายเหนือ “ลิมปะพันธุ์” ซึ่งเป็นตระกูลนักการเมืองเก่าแก่ แผ่บารมีทั่วจังหวัด ด้วยความเป็นคนจริง สุภาพ และได้ใจคน อีกทั้งผลงาน ก็โดดเด่น และมีพันธมิตรเหนียวแน่นทุกสนามเลือกตั้งในจังหวัด ทั้ง ส.อบจ. อบต. และ เทศบาล
    ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกอบจ. สุโขทัย ว่า ผู้สมัครหมายเลข 1 นายมนู พุกประเสริฐ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้คะแนน 135,184 คะแนน ได้รับเลือกตั้งคว้าเก้าอี้นายกอบจ.สุโขทัย ทิ้งห่างผู้สมัครที่ได้อันดับ 2 คือ นายไพโรจน์ สวัสดี ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้คะแนนมา 93,895 คะแนน
    สำหรับการเลือกตั้งนายกอบจ.สุโขทัย ในครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิทั้งสิ้น 246,409 คน โดยจำนวนบัตรที่ไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ มีจำนวน 6,652 ใบ และมีจำนวนบัตรเสียถึง 5,622 ใบ 

    อุตรดิษฐ์
    นายพีระศักดิ์ พอจิต
    ฐานเสียงของตระกูลศิริวัฒน์
    ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.อุตรดิตถ์ พีระศักดิ์ พอจิต คะแนนมาอันดับหนึ่ง 95,494 คะแนน ชัยศิริ ศุภรักษ์อินถา อันดับสอง 89,215 คะแนน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×