ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการลงทุนสไตล์VS

    ลำดับตอนที่ #2 : การเลือกตั้งสส. 10 ครั้งที่ผ่านมากับการเปลี่ยนแปลงของSET โดย โฆษิต

    • อัปเดตล่าสุด 22 เม.ย. 49


    เมื่อ 6 มกราคม 2544
    หลังจากการเลือกตั้งครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่าง 2 พรรคใหญ่ คือพรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคความหวังใหม่ ซึ่งหลังจากการเลือกตั้งพรรคความหวังใหม่ได้รับชัยชนะ ส่งผลให้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ด้วยผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล จนทำให้ พล.อ.ชวลิต ตัดสินใจลาออก แต่พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ยังมีความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลในพรรคกลุ่มพรรคร่วมเดิมต่อไป ด้วยการผลักดัน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่เกิดการพลิกผันทางการเมืองขึ้น เมื่อพรรคกิจสังคมถอนตัวออกจากกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ประกอบกับเกิดกรณีกลุ่มงูเห่า ภายในพรรคประชากรไทย หันมาสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ที่เป็นฝ่ายค้านในขณะนั้นจนได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
    9 พฤศจิกายน 2543 รัฐบาลนายชวน ก็ประกาศยุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม 2544 ก่อนที่จะครบวาระในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2543
    จากผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคไทยรักไทย นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและบริหารประเทศ



    เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2539
    หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ส่งผลให้ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ท้ายที่สุดต้องเพลี้ยงพล้ำทางการเมืองต่อพรรคประชาธิปัตย์ที่เปิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เรื่องสัญชาติบิดา จนเกิดกระแสสังคมไม่ยอมรับในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาลต้องเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการกดดัน ให้นายบรรหารลาออกจากตำแหน่ง พร้อมกับสนับสนุนให้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งนายบรรหาร ก็ไม่สามารถทานกระแสกดดันได้ จำใจยอมประกาศว่าจะลาออก แต่ในที่สุดนายบรรหารก็ตัดสินใจยุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539
    ในสมัยรัฐบาลบรรหาร มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. มาตรา 211 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนกระทั่งประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนออกมาและประกาศใช้เมื่อ 11 ตุลาคม 2540
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 21 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี



    เมื่อ 2 กรกฎาคม 2538
    หลังการเลือกตั้งทั่วไป 13 กันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม พรรคความหวังใหม่ พรรคกิจสังคม และพรรคเอกภาพ ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาล 2 ครั้ง ครั้งแรกพรรคกิจสังคมออกและพรรคเสรีธรรมเข้า ครั้งที่สองพรรคความหวังใหม่ออกพรรคชาติพัฒนาเข้าแทน
    เมื่อถึงครั้งที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ พรรคพลังธรรมได้มีมติงดออกเสียงสนับสนุนรัฐบาล ทำให้เกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล นายกรับมนตรีจึงประกาศยุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 20 นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี



    เมื่อ 13 กันยายน 2535
    หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2535 และมีรัฐบาลนำโดย นายอานันท์ ปัญยารชุน บริหารประเทศ ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 19 นายชวน หลีกภัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี



    เมื่อ 22 มีนาคม 2535
    คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 และในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
    พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลสนับสนุน พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2535



    เมื่อ 24 กรกฎาคม 2531
    ได้มีการแตกแยกกันอย่างรุนแรง ระหว่างสมาชิกของพรรคร่วมรับบาลบางพรรค จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีจากโค้วต้าของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรับบาลพรรคหนึ่งได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาล ในขณะนั้นไม่ดีเท่าที่ควร รัฐบาลจึงประกาศยุบสภา และได้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 17 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี



    เมื่อ 27 กรกฎาคม 2529
    เนื่องจากรัฐบาลแพ้มติในการเสนอพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีรถยนต์บางชนิด โดยสมาชิกร่วมรัฐบาลบางคนได้ร่วมคัดค้านด้วย จึงทำให้รัฐบาลหาทางออกโดยการยุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 16 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี



    เมื่อ 18 เมษายน 2526
    เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2521 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันกำหนดให้มีการเลือกตั้งแบบรวมเขต และให้เลือกพรรค กล่าวคือ ให้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งเพียงเขตเดียว และให้ผู้สมัครสังกัดพรรคการเมืองเวลาสมัครให้มีหมายเลขเดียวกันทั้งพรรค ประชาชนเลือกพรรคใดก็จะได้สมาชิกพรรคนั้นไปทั้งหมด แต่กฎหมายฉบับนี้ได้มีบทเฉพาะกาล มีกำหนด 4 ปี โดยให้การเลือกตั้งคงเป็นไปแบบเดียวกับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 คือ เป็นแบบผสมระหว่างแบ่งเขตกับรวมเขต แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน อัตราส่วน 150,000 คน ต่อ ผู้แทนราษฎร 1 คน
    ในช่วงนี้ได้มีผู้ขอแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บทเฉพาะกาลเกี่ยวกับแบบหรือวิธีการเลือกตั้งคงใช้ต่อไปก่อน แต่รัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย ทำให้ญัตตินั้นตกไป และรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 โดยมีระยะเวลาเตรียมการ 29 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้อยู่ในระยะเวลาของบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับแบบการเลือกตั้ง
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 15 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี



    เมื่อ 22 เมษายน 2522
    พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2520 หลังจากนั้นได้เร่งร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว และสามารถใช้ได้เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2521 รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นระบบ 2 สภาเช่นเดิม กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
    ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 14 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีก 1 สมัย



    เมื่อ 4 เมษายน 2519
    ผลการเลือกตั้งวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชได้รับพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่วันแถลงนโยบายไม่ได้รับไว้วางใจจึงต้องลาออกจากตำแหน่ง 14 มีนาคม 2518 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลผสมสหพรรคขึ้นบริหารประเทศ
    ในเวลาต่อมารัฐบาลเผชิญปัญหาวุ่นวาย ทางการเมืองหลายอย่าง รวมทั้งการขัดแย้งกันในบรรดาสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลจึงเป็นเหตุให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน คือวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519
    หลังจากเลือกตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล ต่อมามีการเดินขบวนของประชาชน และนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หลังจากนั้น คณะทหารซึ่งเรียกตนเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ยึดอำนาจการปกครอง



    ขอแก้ไขข้อความในรูปที่ 2 เป็นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 (พศ.ผิดเป็น44)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×