ลำดับตอนที่ #15
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : ความชั่วร้ายของวาทกรรม ระบอบทักษิณ
ความชั่วร้ายของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการเคลื่อนไหวของแนวร่วมกลุ่มจารีตนิยม-ราชการ ปัญญาชนขวาจัด และปัญญาชนตีสองหน้า เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 อาวุธทางการเมืองที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของพวกเขาคือ วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ซึ่งถูกใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นก่อกระแส ไปจนถึงรัฐประหาร 19 กันยายน แล้วก็ยังถูกใช้ต่อมาอีกเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐประหาร
คำว่า ‘ระบอบทักษิณ’ ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนักวิชาการรัฐศาสตร์-คอลัมนิสต์ที่เป็นพวกขวาจัด อิงแอบอยู่กับสถาบันจารีตประเพณีมาต่อต้านประชาธิปไตย ปฏิเสธทุนนิยม และต่อต้านโลกาภิวัฒน์ วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ เป็นการจงใจผสมปนเปทางความคิดด้วยการจับเอาระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ 2540 ตลอดจนสถาบันการเมืองประชาธิปไตยทั้งหมด มาผูกติดกับตัวบุคคลนักการเมือง แล้วตั้งฉายาแบบเหมารวมว่า ‘ระบอบทักษิณ’ ชูขึ้นเป็นเป้าโจมตี บิดเบือน ใส่ร้าย โดยมิเพียงทำลายตัวบุคคล แต่มุ่งโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญทั้งหมด แล้วโยนบาปไปให้นักการเมือง ปกปิดความจริงที่ว่า พวกจารีตนิยมนั่นแหละที่เป็นปัจจัยขัดขวางประชาธิปไตยมาทุกยุคสมัย
ผู้ประดิษฐ์และใช้วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ อ้างว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ได้มีนักการเมืองชนะเลือกตั้งเข้ามาเกาะกุมระบบการเมือง แล้วใช้อำนาจไปทำลายประชาธิปไตย ละเมิดรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำให้กลไกตรวจสอบถ่วงดุลไม่ทำงาน รวมถึงการซื้อเสียงหลอกลวงประชาชน และนโยบายเศรษฐกิจแบบเบ็ดเสร็จที่กอบโกยประโยชน์เข้าสู่พวกตน ผลก็คือ แม้จะยังมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง แต่ทั้งหมดก็ถูกนักการเมืองครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จ
ฉะนั้น ทั้งประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ‘ได้ถูกทำลาย’ หรือ ‘ถูกรัฐประหารโดยทักษิณ’ ไปนานแล้วก่อนวันที่ 19 กันยายน ระบอบการเมืองที่ว่านี้แหละ ที่เรียกว่า ‘ระบอบทักษิณ’
ตรรกะ ‘ระบอบทักษิณ’ ดังกล่าว ได้แพร่กระจายดุจเนื้องอกมะเร็งร้ายไปสู่นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน ราษฎรอาวุโส สมาชิกวุฒิสภาปีกขวาจัด สื่อสารมวลชน และนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน คำว่า ‘ระบอบทักษิณ’ ถูกใช้เป็นคำด่าทอเพื่อปลุกอารมณ์เกลียดชังคลุ้มคลั่งอย่างไร้เหตุผลในหมู่มวลชนจำนวนหนึ่ง ก่อเป็นการประท้วง ยั่วยุ สร้างความรุนแรงให้เป็นวิกฤตการเมือง ทั้งหมดเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ทีละขั้นตอนโดยพวกจารีตนิยม กระทั่งสำเร็จเป็นรัฐประหาร 19 กันยายนตามต้องการ
เป้าหมายทางการเมืองตั้งแต่ต้นของแนวร่วมจารีตนิยม-ราชการ และปัญญาชนขวาจัดคือ ต้องการโค่นล้มประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญ แต่เพื่อปกปิดเป้าประสงค์ที่แท้จริง พวกเขาจึงต้องใช้กุศโลบายเอาตัวบุคคลนักการเมืองมาเป็นเปลือกห่อหุ้มปิดบังระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ 2540 ไว้ แล้วเรียกเหมารวมว่า ‘ระบอบทักษิณ’ จากนั้นก็โจมตี ใส่ไคล้ บิดเบือน ป้ายสี ด้วยข้อมูลเท็จต่างๆ นานา ผสมกับการปลุกอารมณ์คลั่งชาติอย่างสุดขั้ว ทำให้นักการเมืองที่ถูกใช้ห่อหุ้มรัฐธรรมนูญอยู่นั้นกลายเป็น ‘อภิ:-)และมหาอสุรกายจากนรก’ ‘จอมขายชาติ’ และ ‘พวกจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์’
จากนั้น ก็ชูคำขวัญ ‘โค่นล้มระบอบทักษิณ’ ซึ่งเนื้อแท้คือการเรียกร้องให้โค่นล้มระบอบประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญนั่นเอง และนี่เป็นความชั่วร้ายประการหนึ่งของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ เพราะมันอำพรางเป้าประสงค์ที่แท้จริงที่ต้องการทำลาย ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจจากระบบการเมืองและรัฐธรรมนูญไปที่ตัวบุคคลนักการเมือง ทำให้ผู้คนหลงเข้าใจว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการ ‘ขับไล่ทักษิณและทำลายเครือข่ายระบอบทักษิณ’ ไม่ใช่การโค่นล้มประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญ นับเป็นอุบายที่ได้ผล สามารถหลอกใช้ปัญญาชนส่วนหนึ่งที่อ่อนหัดได้ เพราะคนพวกนี้คิดว่า ตนต้องการประชาธิปไตย แต่เกลียดชังนักการเมืองทุจริต พอได้ยินคำขวัญ “โค่นล้มระบอบทักษิณ” ก็พากันตื่นเต้น ตะลีตะลานวิ่งตามด้วยกลัวว่าจะ ‘ตกขบวน’ กระโดดเข้าร่วมขับไล่ทักษิณกันอย่างคึกคัก โดยเชื่ออย่างไร้เดียงสาว่า พวกตนกำลัง ‘ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยการขับไล่นักการเมืองทุจริต และจะโค่นล้มทักษิณลงได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อรัฐธรรมนูญ’
แต่หารู้ไม่ว่า การโค่นล้ม ‘ระบอบทักษิณ’ ก็คือการโค่นล้มประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ และรื้อฟื้นระบอบเผด็จการอำนาจนิยมแบบเปิดเผยของพวกจารีตนิยมขึ้นมาอีกครั้ง
วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ยังถูกใช้เป็นตรรกะที่สร้างความถูกต้องชอบธรรมให้กับรัฐประหาร เพราะในเมื่อระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ถูกละเมิดหรือทำลายไปก่อนแล้วโดยทักษิณ และในเมื่อ ‘ระบอบทักษิณ’ เป็นเผด็จการ:-)ย์ของนักการเมืองที่ทุจริตและขายชาติ รัฐประหาร 19 กันยายนจึงไม่ใช่การโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการ ‘โค่นล้มระบอบทักษิณที่เป็นเผด็จการและทุจริต’ รัฐประหาร 19 กันยายนจึงมี ‘ลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนรัฐประหารทั้งปวงในอดีต’ ไม่ใช่ ‘รัฐประหารที่เลว’ หากแต่เป็นรัฐประหารที่ ‘จำเป็นและเลี่ยงไม่ได้’ เพื่อโค่นล้มเผด็จการของนักการเมืองและเพื่อ ‘ปฏิรูปการเมือง’ นำมาซึ่งการเมืองที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์และปราศนักการเมืองชั่วอีกต่อไป
และนี่คือตรรกะเลวร้ายที่บรรดาปัญญาชนขวาจัด ปัญญาชนเดือนตุลา รวมถึงนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนาเอกชน ราษฎรอาวุโส ล้วนใช้เป็นเหตุผลดาหน้ากันออกมาสนับสนุนรัฐประหารกันอย่างครึกครื้นและไร้ยางอาย แม้แต่พวกปัญญาชนตีสองหน้า โดยเฉพาะนักวิชาการอาวุโสบางคนด้านประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ก็ยังใช้ตรรกะดังกล่าวมาแก้ตัวว่า “ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ถึงอย่างไร รัฐประหารยังเลวน้อยกว่าระบอบทักษิณ”
อัปลักษณ์ทางตรรกะมาถึงจุดสูงสุดในปัจจุบัน เมื่อเราได้เห็นบทความ คอลัมน์หนังสือพิมพ์ และการเสวนาอภิปรายของคอลัมนิสต์ นักวิชาการ และราษฎรอาวุโส ที่ทำตัวเป็นทนายแก้ต่างให้กับเผด็จการ พากันสาธยายว่า บัดนี้ ได้เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดขึ้นในการเมืองไทยแล้วคือ ระบอบรัฐประหารของคณะทหารที่มีปืนอยู่ในมือและปกครองด้วยประกาศ คำสั่งและกฎอัยการศึกในขณะนี้ กลับ ‘สุภาพอ่อนโยน’ ไม่เป็นเผด็จการ คุมระบบราชการไม่ได้ และไม่สามารถใช้อำนาจรุนแรงเด็ดขาดได้เท่ากับ ‘ระบอบทักษิณ’ ที่เป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จได้ทั้งๆ ที่มีรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ มากมาย นี่แหละคือข้อพิสูจน์ว่า กลุ่มทุนการเมืองนั้นแยบยลและเลวร้ายเพียงใดเพราะ ‘สามารถเป็นเผด็จการได้ด้วยการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย’ ฉะนั้น ระบอบรัฐประหาร 19 กันยายนจึง ‘ไม่เป็นเผด็จการ’ หากแต่เป็น ‘ประชาธิปไตยปฏิรูป’ หรืออย่างมากก็เป็นแค่ ‘เผด็จการครึ่งใบ’
คนที่อ้างว่า ‘รัฐประหารเลวน้อยกว่าระบอบทักษิณ’ ก็เพื่อผัดหน้าทาแป้ง ปกปิดใบหน้าปีศาจของระบอบเผด็จการทหาร คนพวกนี้มีทัศนะ แนวคิด และมาตรฐานประชาธิปไตยที่บิดเบือนกลับตาลปัตรอย่างแท้จริง เพราะภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลไทยรักไทยเป็นเวลา 5 ปี แม้จะไม่ใช่ช่วงเวลาที่เป็นประชาธิปไตยในมาตรฐานสูงเท่าประเทศที่เจริญแล้ว แต่ก็พอจะถือได้ว่า ‘เป็นประชาธิปไตยค่อนข้างมาก’ สำหรับการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา อันเนื่องมาจากคุณลักษณะที่ก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญ 2540 จริงอยู่ว่า ผู้นำรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายบริหารมีอำนาจมาก คุมรัฐสภาผ่านการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากที่เหนียวแน่น มีอิทธิพลสูงต่อองค์กรอิสระผ่านวุฒิสภา ทั้งดำเนินมาตรการบางอย่างที่หมิ่นเหม่ต่อประชาธิปไตย (เช่น สงครามปราบยาเสพติด) แต่สถาบันการเมืองประชาธิปไตยส่วนใหญ่ก็ยังคงทำงานต่อไปได้ และยังสามารถทำการตรวจสอบถ่วงดุลได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งยังมีพรรคฝ่ายค้าน สื่อมวลชนอิสระ ตลอดจนสถาบันตุลาการที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของรัฐบาล
แต่การยอมรับว่า ‘สถาบันการเมืองประชาธิปไตยถูกกระทบกระเทือนและหมิ่นเหม่’ นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการสรุปว่า ‘รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองประชาธิปไตยถูกทำลายไปแล้ว’ เราจึงได้เห็นสื่อสารมวลชนทุกแขนง แม้แต่สื่อของรัฐเอง ต่างรุมโจมตีรัฐบาลไทยรักไทยได้ต่อเนื่องยาวนาน มีการชุมนุมประท้วงที่ล่วงละเมิดกฎหมายและสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นมากที่สุด ทั้งยั่วยุด่าทอ และท้าทายให้เกิดความรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนาน โดยที่รัฐบาลไทยรักไทยตกเป็นฝ่ายรับและไม่สามารถตอบโต้อะไรได้เลย นี่ละหรือ ‘ระบอบทักษิณ’ ที่เป็นเผด็จการทรราชเบ็ดเสร็จจากขุมนรก!
วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ยังบิดเบือนเนื้อแท้ของระบบการเมืองไทยก่อน 19 กันยายนให้เป็นระบบการเมืองที่นักการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งที่ความจริงแล้ว แม้แต่ระบอบรัฐธรรมนูญ 2540 ในท้ายสุด ก็ยังเป็นเพียงเปลือกนอกของระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นของพวกจารีตนิยมที่ยึดกุมอำนาจรัฐจริงมาตั้งแต่รัฐประหาร16 กันยายน 2500 โดยมีเปลือกนอกสลับกันเป็นช่วงๆ ระหว่างเผด็จการทหารกับการเมืองแบบเลือกตั้งเท่านั้น เพียงแต่ว่า ในช่วง 4 ปีแรกของรัฐบาลไทยรักไทย อำนาจของพวกจารีตนิยมได้แฝงเร้นมากขึ้นและปล่อยให้รัฐธรรมนูญ 2540 ได้แสดงผลสะเทือนทางประชาธิปไตยออกมาได้ระดับหนึ่ง แต่ในที่สุด พวกจารีตนิยมก็ทนไม่ได้ ต้องกระโดดออกมาในที่โล่งแจ้งอีกครั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฉีกเปลือกที่เป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ทิ้ง
ข้อนี้เห็นได้จากความจริงที่ว่า รัฐบาลไทยรักไทยได้เริ่มสูญเสียอำนาจจริงไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 2549 เมื่อกลุ่มจารีตนิยมเคลื่อนไหวอย่างลับๆ โดยด้านหนึ่ง ก็สนับสนุนการชุมนุมประท้วงขับไล่บนท้องถนน และให้พรรคฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้ง สร้างเป็นสถานการณ์วิกฤตนอกสภา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ในระบบการเมืองและราชการ ก็เข้าแทรกแซงหน่วยงานรัฐบาล ทหารตำรวจ องค์กรอิสระ สื่อมวลชนของรัฐ ไปจนถึงสถาบันตุลาการ ทำให้รัฐบาลไทยรักไทยเป็นอัมพาตและตายไปทีละส่วน
รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นเพียงการตัดสายใยชีวิตการเมืองอันบอบบางที่เหลืออยู่เป็นเส้นสุดท้ายของรัฐบาลไทยรักไทยเท่านั้น ความชั่วร้ายของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ก็คือ มันปิดบังความจริงที่ว่า แท้จริงแล้ว ภายใต้ร่มเงาแห่งอำนาจแฝงเร้นของกลุ่มจารีตนิยมตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา รัฐบาลจากการเลือกตั้งทุกชุดล้วนอ่อนแออย่างยิ่ง แม้แต่รัฐบาลไทยรักไทยซึ่งเข้มแข็งยิ่งกว่ารัฐบาลเลือกตั้งในอดีตด้วยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ 2540 ในท้ายสุด ก็ยังอ่อนแอและไร้พลังโดยสิ้นเชิงในการต่อกรกับอำนาจจารีตนิยม
เนื้อแท้ของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ยังมีนัยว่า ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ 2540 นั่นแหละที่เป็นต้นเหตุรากเหง้าของพฤติกรรมชั่วร้ายของนักการเมือง ผู้ประดิษฐ์และใช้วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ จึงเป็นพวกต่อต้านประชาธิปไตยและการเมืองแบบเลือกตั้ง โดยมองว่า ประชาธิปไตยไม่ว่าที่ไหนในโลก แม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว ล้วนเลวทรามทั้งสิ้น คือผลิตแต่นักการเมืองเลวๆ ขึ้นสู่อำนาจทั้งนั้น เพราะมองไปทางไหน ประเทศใด ก็เห็นแต่นักการเมืองในลักษณะดังกล่าว
พวกนิยมวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ จึงมีลักษณะร่วมกันคือ เกลียดชังต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลียดชังตะวันตก ประณามระบบการเมืองประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้นว่า ‘จอมปลอม เป็น ‘ประชาธิปไตยสามานย์’ คนพวกนี้เชื่อในลัทธิชนชั้นผู้นำและระบอบอภิสิทธิ์ชน เชื่อว่า การเมืองต้อง ‘ให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง’ และ ‘ผู้นำต้องมีคุณธรรมจริยธรรม’ ซึ่งเอาเข้าจริงก็ล้วนคลุมเครือ เป็นอัตวิสัย และจอมปลอม เพราะในท้ายสุด ‘คนดี มีคุณธรรมจริยธรรม’ ที่สมควรมีอำนาจปกครองในความคิดของพวกเขาก็คือ พวกเขาเองนั่นแหละที่มีทั้งชาติ วงศ์ตระกูล ทรัพย์ ภูมิปัญญา การศึกษา และ ‘คุณธรรมจริยธรรม’ เพียบพร้อม และมีจำนวนคนน้อยนิดบนสุดยอดปิรามิดของสังคม
พวกนิยมวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ปฏิเสธแนวคิดที่ว่า ในเมื่อผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำจากตระกูลสูงส่งเพียงใด เป็นสกุลผู้ดีสืบเนื่องมานับร้อยปี หรือสามัญชนและนักการเมืองทั่วไป ทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก ล้วนเป็นมนุษย์ธรรมดาที่เห็นแก่ประโยชน์ตนกันทั้งนั้น ล้วนชอบใช้อำนาจ ไม่ชอบถูกตรวจสอบ ไม่ชอบข้อจำกัดทางกฎหมาย มักเล่นพรรคเล่นพวก และมีแนวโน้มทุจริตถ้ามีโอกาส
ฉะนั้น จุดประสงค์ของการเมืองจึงไม่ใช่เป็นเรื่อง ‘ให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง’ แต่เป็นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ รวมถึงระบบกฎหมาย องค์กรอิสระ ตลอดจนสถาบันและประเพณีปฏิบัติทางประชาธิปไตยต่าง ๆ ตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อเป็นกรอบจำกัดและกดดันให้ผู้ปกครองและนักการเมืองมีพฤติกรรมการใช้อำนาจไปในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุด
เราจะเห็นความบิดเบี้ยวของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ได้ชัดเจนเมื่อนำตรรกะเดียวกันไปใช้ในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา เราก็จะได้วาทกรรม ‘ระบอบบุชง เพราะจอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นประธานาธิบดีที่ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด ทั้งให้ดักฟังโทรศัพท์ชาวอเมริกันโดยศาลไม่รับรอง กักขังผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายที่อ่าวกวนตานาโมนานนับปีโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา และมีข่าวพัวพันกับนักลอบบี้ที่ทุจริต ส่วนรองประธานาธิบดิกเชนีย์ก็ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตมาตั้งแต่ชนะเลือกตั้งสมัยแรก แม้ว่าพรรคเดโมแครตจะชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภา ก็ยังทำอะไรบุชไม่ได้ ฉะนั้น ทางออก ‘ที่เลียงไม่ได้’ ก็คือ ต้องให้กองทัพสหรัฐฯ ออกมาก่อรัฐประหารขับไล่บุชและฉีกรัฐธรรมนูญ!? ส่วนในอังกฤษ เราก็จะมี “ระบอบแบลร์” เพราะโทนี่ แบลร์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ออกกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่ถูกหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนคนอังกฤษ ใช้เสียงข้างมากในสภาผู้แทน นำประเทศเข้าสู่สงครามอิรักโดยไม่ฟังเสียงประชามตินอกสภา ในขณะที่ภริยาก็เคยถูกกล่าวหาว่า รับประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม ส่วนพรรคฝ่ายค้านก็ไร้น้ำยาเพราะพรรคแรงงานของนายแบลร์มีเสียงข้างมาก ‘เป็นเผด็จการรัฐสภา’ ฉะนั้น ทางออกคือ ต้องเรียกร้องขอ ‘นายกฯมาตรา 7’ จากพระราชินีอลิซาเบ็ธ หรือให้ฝ่ายทหารออกมาทำรัฐประหาร!?
แต่ความชั่วร้ายประการสำคัญที่สุดของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ คือ มันเบี่ยงเป้าบิดประเด็นไปจากต้นเหตุปัญหาที่แท้จริงของการเมืองไทย โดยจับเอานักการเมือง รัฐธรรมนูญ 2540 และสถาบันประชาธิปไตยทั้งหมด มาผสมปนเปกันเข้าแล้วขึงพืดขึ้นบนตะแลงแกง ให้เป็นเป้าของการด่าทอ ทุบทรมาน โบยตี ฟันแทงต่างๆ ด้วยความเคียดแค้นเกลียดชัง ให้ผู้คนเข้าใจว่า นี่แหละคือต้นเหตุแห่งความฉิบหายทางการเมืองตลอดหลายปีมานี้ ทั้งที่ต้นเหตุปัญหาที่แท้จริงของการเมืองไทยคือ พวกจารีตนิยม ซึ่งผูกขาดแกนในอำนาจรัฐมายาวนานตั้งแต่ปี 2500 ถึงปัจจุบัน เป็นรากเหง้าของรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดหลายสิบปีมานี้ และเป็นอำนาจแฝงเร้นที่ขัดขวาง กัดเซาะ และบ่อนทำลายประชาธิปไตย ทำให้รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองประชาธิปไตยอ่อนแอ ขี้โรค ไม่พัฒนา และถูกทำลายได้ง่ายตลอดมา
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการเคลื่อนไหวของแนวร่วมกลุ่มจารีตนิยม-ราชการ ปัญญาชนขวาจัด และปัญญาชนตีสองหน้า เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 อาวุธทางการเมืองที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของพวกเขาคือ วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ซึ่งถูกใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นก่อกระแส ไปจนถึงรัฐประหาร 19 กันยายน แล้วก็ยังถูกใช้ต่อมาอีกเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐประหาร
คำว่า ‘ระบอบทักษิณ’ ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนักวิชาการรัฐศาสตร์-คอลัมนิสต์ที่เป็นพวกขวาจัด อิงแอบอยู่กับสถาบันจารีตประเพณีมาต่อต้านประชาธิปไตย ปฏิเสธทุนนิยม และต่อต้านโลกาภิวัฒน์ วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ เป็นการจงใจผสมปนเปทางความคิดด้วยการจับเอาระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ 2540 ตลอดจนสถาบันการเมืองประชาธิปไตยทั้งหมด มาผูกติดกับตัวบุคคลนักการเมือง แล้วตั้งฉายาแบบเหมารวมว่า ‘ระบอบทักษิณ’ ชูขึ้นเป็นเป้าโจมตี บิดเบือน ใส่ร้าย โดยมิเพียงทำลายตัวบุคคล แต่มุ่งโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญทั้งหมด แล้วโยนบาปไปให้นักการเมือง ปกปิดความจริงที่ว่า พวกจารีตนิยมนั่นแหละที่เป็นปัจจัยขัดขวางประชาธิปไตยมาทุกยุคสมัย
ผู้ประดิษฐ์และใช้วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ อ้างว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ได้มีนักการเมืองชนะเลือกตั้งเข้ามาเกาะกุมระบบการเมือง แล้วใช้อำนาจไปทำลายประชาธิปไตย ละเมิดรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำให้กลไกตรวจสอบถ่วงดุลไม่ทำงาน รวมถึงการซื้อเสียงหลอกลวงประชาชน และนโยบายเศรษฐกิจแบบเบ็ดเสร็จที่กอบโกยประโยชน์เข้าสู่พวกตน ผลก็คือ แม้จะยังมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง แต่ทั้งหมดก็ถูกนักการเมืองครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จ
ฉะนั้น ทั้งประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ‘ได้ถูกทำลาย’ หรือ ‘ถูกรัฐประหารโดยทักษิณ’ ไปนานแล้วก่อนวันที่ 19 กันยายน ระบอบการเมืองที่ว่านี้แหละ ที่เรียกว่า ‘ระบอบทักษิณ’
ตรรกะ ‘ระบอบทักษิณ’ ดังกล่าว ได้แพร่กระจายดุจเนื้องอกมะเร็งร้ายไปสู่นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน ราษฎรอาวุโส สมาชิกวุฒิสภาปีกขวาจัด สื่อสารมวลชน และนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน คำว่า ‘ระบอบทักษิณ’ ถูกใช้เป็นคำด่าทอเพื่อปลุกอารมณ์เกลียดชังคลุ้มคลั่งอย่างไร้เหตุผลในหมู่มวลชนจำนวนหนึ่ง ก่อเป็นการประท้วง ยั่วยุ สร้างความรุนแรงให้เป็นวิกฤตการเมือง ทั้งหมดเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ทีละขั้นตอนโดยพวกจารีตนิยม กระทั่งสำเร็จเป็นรัฐประหาร 19 กันยายนตามต้องการ
เป้าหมายทางการเมืองตั้งแต่ต้นของแนวร่วมจารีตนิยม-ราชการ และปัญญาชนขวาจัดคือ ต้องการโค่นล้มประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญ แต่เพื่อปกปิดเป้าประสงค์ที่แท้จริง พวกเขาจึงต้องใช้กุศโลบายเอาตัวบุคคลนักการเมืองมาเป็นเปลือกห่อหุ้มปิดบังระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ 2540 ไว้ แล้วเรียกเหมารวมว่า ‘ระบอบทักษิณ’ จากนั้นก็โจมตี ใส่ไคล้ บิดเบือน ป้ายสี ด้วยข้อมูลเท็จต่างๆ นานา ผสมกับการปลุกอารมณ์คลั่งชาติอย่างสุดขั้ว ทำให้นักการเมืองที่ถูกใช้ห่อหุ้มรัฐธรรมนูญอยู่นั้นกลายเป็น ‘อภิ:-)และมหาอสุรกายจากนรก’ ‘จอมขายชาติ’ และ ‘พวกจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์’
จากนั้น ก็ชูคำขวัญ ‘โค่นล้มระบอบทักษิณ’ ซึ่งเนื้อแท้คือการเรียกร้องให้โค่นล้มระบอบประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญนั่นเอง และนี่เป็นความชั่วร้ายประการหนึ่งของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ เพราะมันอำพรางเป้าประสงค์ที่แท้จริงที่ต้องการทำลาย ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจจากระบบการเมืองและรัฐธรรมนูญไปที่ตัวบุคคลนักการเมือง ทำให้ผู้คนหลงเข้าใจว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการ ‘ขับไล่ทักษิณและทำลายเครือข่ายระบอบทักษิณ’ ไม่ใช่การโค่นล้มประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญ นับเป็นอุบายที่ได้ผล สามารถหลอกใช้ปัญญาชนส่วนหนึ่งที่อ่อนหัดได้ เพราะคนพวกนี้คิดว่า ตนต้องการประชาธิปไตย แต่เกลียดชังนักการเมืองทุจริต พอได้ยินคำขวัญ “โค่นล้มระบอบทักษิณ” ก็พากันตื่นเต้น ตะลีตะลานวิ่งตามด้วยกลัวว่าจะ ‘ตกขบวน’ กระโดดเข้าร่วมขับไล่ทักษิณกันอย่างคึกคัก โดยเชื่ออย่างไร้เดียงสาว่า พวกตนกำลัง ‘ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยการขับไล่นักการเมืองทุจริต และจะโค่นล้มทักษิณลงได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อรัฐธรรมนูญ’
แต่หารู้ไม่ว่า การโค่นล้ม ‘ระบอบทักษิณ’ ก็คือการโค่นล้มประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ และรื้อฟื้นระบอบเผด็จการอำนาจนิยมแบบเปิดเผยของพวกจารีตนิยมขึ้นมาอีกครั้ง
วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ยังถูกใช้เป็นตรรกะที่สร้างความถูกต้องชอบธรรมให้กับรัฐประหาร เพราะในเมื่อระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ถูกละเมิดหรือทำลายไปก่อนแล้วโดยทักษิณ และในเมื่อ ‘ระบอบทักษิณ’ เป็นเผด็จการ:-)ย์ของนักการเมืองที่ทุจริตและขายชาติ รัฐประหาร 19 กันยายนจึงไม่ใช่การโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการ ‘โค่นล้มระบอบทักษิณที่เป็นเผด็จการและทุจริต’ รัฐประหาร 19 กันยายนจึงมี ‘ลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนรัฐประหารทั้งปวงในอดีต’ ไม่ใช่ ‘รัฐประหารที่เลว’ หากแต่เป็นรัฐประหารที่ ‘จำเป็นและเลี่ยงไม่ได้’ เพื่อโค่นล้มเผด็จการของนักการเมืองและเพื่อ ‘ปฏิรูปการเมือง’ นำมาซึ่งการเมืองที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์และปราศนักการเมืองชั่วอีกต่อไป
และนี่คือตรรกะเลวร้ายที่บรรดาปัญญาชนขวาจัด ปัญญาชนเดือนตุลา รวมถึงนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนาเอกชน ราษฎรอาวุโส ล้วนใช้เป็นเหตุผลดาหน้ากันออกมาสนับสนุนรัฐประหารกันอย่างครึกครื้นและไร้ยางอาย แม้แต่พวกปัญญาชนตีสองหน้า โดยเฉพาะนักวิชาการอาวุโสบางคนด้านประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ก็ยังใช้ตรรกะดังกล่าวมาแก้ตัวว่า “ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ถึงอย่างไร รัฐประหารยังเลวน้อยกว่าระบอบทักษิณ”
อัปลักษณ์ทางตรรกะมาถึงจุดสูงสุดในปัจจุบัน เมื่อเราได้เห็นบทความ คอลัมน์หนังสือพิมพ์ และการเสวนาอภิปรายของคอลัมนิสต์ นักวิชาการ และราษฎรอาวุโส ที่ทำตัวเป็นทนายแก้ต่างให้กับเผด็จการ พากันสาธยายว่า บัดนี้ ได้เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดขึ้นในการเมืองไทยแล้วคือ ระบอบรัฐประหารของคณะทหารที่มีปืนอยู่ในมือและปกครองด้วยประกาศ คำสั่งและกฎอัยการศึกในขณะนี้ กลับ ‘สุภาพอ่อนโยน’ ไม่เป็นเผด็จการ คุมระบบราชการไม่ได้ และไม่สามารถใช้อำนาจรุนแรงเด็ดขาดได้เท่ากับ ‘ระบอบทักษิณ’ ที่เป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จได้ทั้งๆ ที่มีรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ มากมาย นี่แหละคือข้อพิสูจน์ว่า กลุ่มทุนการเมืองนั้นแยบยลและเลวร้ายเพียงใดเพราะ ‘สามารถเป็นเผด็จการได้ด้วยการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย’ ฉะนั้น ระบอบรัฐประหาร 19 กันยายนจึง ‘ไม่เป็นเผด็จการ’ หากแต่เป็น ‘ประชาธิปไตยปฏิรูป’ หรืออย่างมากก็เป็นแค่ ‘เผด็จการครึ่งใบ’
คนที่อ้างว่า ‘รัฐประหารเลวน้อยกว่าระบอบทักษิณ’ ก็เพื่อผัดหน้าทาแป้ง ปกปิดใบหน้าปีศาจของระบอบเผด็จการทหาร คนพวกนี้มีทัศนะ แนวคิด และมาตรฐานประชาธิปไตยที่บิดเบือนกลับตาลปัตรอย่างแท้จริง เพราะภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลไทยรักไทยเป็นเวลา 5 ปี แม้จะไม่ใช่ช่วงเวลาที่เป็นประชาธิปไตยในมาตรฐานสูงเท่าประเทศที่เจริญแล้ว แต่ก็พอจะถือได้ว่า ‘เป็นประชาธิปไตยค่อนข้างมาก’ สำหรับการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา อันเนื่องมาจากคุณลักษณะที่ก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญ 2540 จริงอยู่ว่า ผู้นำรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายบริหารมีอำนาจมาก คุมรัฐสภาผ่านการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากที่เหนียวแน่น มีอิทธิพลสูงต่อองค์กรอิสระผ่านวุฒิสภา ทั้งดำเนินมาตรการบางอย่างที่หมิ่นเหม่ต่อประชาธิปไตย (เช่น สงครามปราบยาเสพติด) แต่สถาบันการเมืองประชาธิปไตยส่วนใหญ่ก็ยังคงทำงานต่อไปได้ และยังสามารถทำการตรวจสอบถ่วงดุลได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งยังมีพรรคฝ่ายค้าน สื่อมวลชนอิสระ ตลอดจนสถาบันตุลาการที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของรัฐบาล
แต่การยอมรับว่า ‘สถาบันการเมืองประชาธิปไตยถูกกระทบกระเทือนและหมิ่นเหม่’ นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการสรุปว่า ‘รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองประชาธิปไตยถูกทำลายไปแล้ว’ เราจึงได้เห็นสื่อสารมวลชนทุกแขนง แม้แต่สื่อของรัฐเอง ต่างรุมโจมตีรัฐบาลไทยรักไทยได้ต่อเนื่องยาวนาน มีการชุมนุมประท้วงที่ล่วงละเมิดกฎหมายและสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นมากที่สุด ทั้งยั่วยุด่าทอ และท้าทายให้เกิดความรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนาน โดยที่รัฐบาลไทยรักไทยตกเป็นฝ่ายรับและไม่สามารถตอบโต้อะไรได้เลย นี่ละหรือ ‘ระบอบทักษิณ’ ที่เป็นเผด็จการทรราชเบ็ดเสร็จจากขุมนรก!
วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ยังบิดเบือนเนื้อแท้ของระบบการเมืองไทยก่อน 19 กันยายนให้เป็นระบบการเมืองที่นักการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งที่ความจริงแล้ว แม้แต่ระบอบรัฐธรรมนูญ 2540 ในท้ายสุด ก็ยังเป็นเพียงเปลือกนอกของระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นของพวกจารีตนิยมที่ยึดกุมอำนาจรัฐจริงมาตั้งแต่รัฐประหาร16 กันยายน 2500 โดยมีเปลือกนอกสลับกันเป็นช่วงๆ ระหว่างเผด็จการทหารกับการเมืองแบบเลือกตั้งเท่านั้น เพียงแต่ว่า ในช่วง 4 ปีแรกของรัฐบาลไทยรักไทย อำนาจของพวกจารีตนิยมได้แฝงเร้นมากขึ้นและปล่อยให้รัฐธรรมนูญ 2540 ได้แสดงผลสะเทือนทางประชาธิปไตยออกมาได้ระดับหนึ่ง แต่ในที่สุด พวกจารีตนิยมก็ทนไม่ได้ ต้องกระโดดออกมาในที่โล่งแจ้งอีกครั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฉีกเปลือกที่เป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ทิ้ง
ข้อนี้เห็นได้จากความจริงที่ว่า รัฐบาลไทยรักไทยได้เริ่มสูญเสียอำนาจจริงไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 2549 เมื่อกลุ่มจารีตนิยมเคลื่อนไหวอย่างลับๆ โดยด้านหนึ่ง ก็สนับสนุนการชุมนุมประท้วงขับไล่บนท้องถนน และให้พรรคฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้ง สร้างเป็นสถานการณ์วิกฤตนอกสภา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ในระบบการเมืองและราชการ ก็เข้าแทรกแซงหน่วยงานรัฐบาล ทหารตำรวจ องค์กรอิสระ สื่อมวลชนของรัฐ ไปจนถึงสถาบันตุลาการ ทำให้รัฐบาลไทยรักไทยเป็นอัมพาตและตายไปทีละส่วน
รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นเพียงการตัดสายใยชีวิตการเมืองอันบอบบางที่เหลืออยู่เป็นเส้นสุดท้ายของรัฐบาลไทยรักไทยเท่านั้น ความชั่วร้ายของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ก็คือ มันปิดบังความจริงที่ว่า แท้จริงแล้ว ภายใต้ร่มเงาแห่งอำนาจแฝงเร้นของกลุ่มจารีตนิยมตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา รัฐบาลจากการเลือกตั้งทุกชุดล้วนอ่อนแออย่างยิ่ง แม้แต่รัฐบาลไทยรักไทยซึ่งเข้มแข็งยิ่งกว่ารัฐบาลเลือกตั้งในอดีตด้วยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ 2540 ในท้ายสุด ก็ยังอ่อนแอและไร้พลังโดยสิ้นเชิงในการต่อกรกับอำนาจจารีตนิยม
เนื้อแท้ของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ยังมีนัยว่า ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ 2540 นั่นแหละที่เป็นต้นเหตุรากเหง้าของพฤติกรรมชั่วร้ายของนักการเมือง ผู้ประดิษฐ์และใช้วาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ จึงเป็นพวกต่อต้านประชาธิปไตยและการเมืองแบบเลือกตั้ง โดยมองว่า ประชาธิปไตยไม่ว่าที่ไหนในโลก แม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว ล้วนเลวทรามทั้งสิ้น คือผลิตแต่นักการเมืองเลวๆ ขึ้นสู่อำนาจทั้งนั้น เพราะมองไปทางไหน ประเทศใด ก็เห็นแต่นักการเมืองในลักษณะดังกล่าว
พวกนิยมวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ จึงมีลักษณะร่วมกันคือ เกลียดชังต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลียดชังตะวันตก ประณามระบบการเมืองประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้นว่า ‘จอมปลอม เป็น ‘ประชาธิปไตยสามานย์’ คนพวกนี้เชื่อในลัทธิชนชั้นผู้นำและระบอบอภิสิทธิ์ชน เชื่อว่า การเมืองต้อง ‘ให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง’ และ ‘ผู้นำต้องมีคุณธรรมจริยธรรม’ ซึ่งเอาเข้าจริงก็ล้วนคลุมเครือ เป็นอัตวิสัย และจอมปลอม เพราะในท้ายสุด ‘คนดี มีคุณธรรมจริยธรรม’ ที่สมควรมีอำนาจปกครองในความคิดของพวกเขาก็คือ พวกเขาเองนั่นแหละที่มีทั้งชาติ วงศ์ตระกูล ทรัพย์ ภูมิปัญญา การศึกษา และ ‘คุณธรรมจริยธรรม’ เพียบพร้อม และมีจำนวนคนน้อยนิดบนสุดยอดปิรามิดของสังคม
พวกนิยมวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ปฏิเสธแนวคิดที่ว่า ในเมื่อผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำจากตระกูลสูงส่งเพียงใด เป็นสกุลผู้ดีสืบเนื่องมานับร้อยปี หรือสามัญชนและนักการเมืองทั่วไป ทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก ล้วนเป็นมนุษย์ธรรมดาที่เห็นแก่ประโยชน์ตนกันทั้งนั้น ล้วนชอบใช้อำนาจ ไม่ชอบถูกตรวจสอบ ไม่ชอบข้อจำกัดทางกฎหมาย มักเล่นพรรคเล่นพวก และมีแนวโน้มทุจริตถ้ามีโอกาส
ฉะนั้น จุดประสงค์ของการเมืองจึงไม่ใช่เป็นเรื่อง ‘ให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง’ แต่เป็นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ รวมถึงระบบกฎหมาย องค์กรอิสระ ตลอดจนสถาบันและประเพณีปฏิบัติทางประชาธิปไตยต่าง ๆ ตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อเป็นกรอบจำกัดและกดดันให้ผู้ปกครองและนักการเมืองมีพฤติกรรมการใช้อำนาจไปในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุด
เราจะเห็นความบิดเบี้ยวของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ ได้ชัดเจนเมื่อนำตรรกะเดียวกันไปใช้ในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา เราก็จะได้วาทกรรม ‘ระบอบบุชง เพราะจอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นประธานาธิบดีที่ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด ทั้งให้ดักฟังโทรศัพท์ชาวอเมริกันโดยศาลไม่รับรอง กักขังผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายที่อ่าวกวนตานาโมนานนับปีโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา และมีข่าวพัวพันกับนักลอบบี้ที่ทุจริต ส่วนรองประธานาธิบดิกเชนีย์ก็ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตมาตั้งแต่ชนะเลือกตั้งสมัยแรก แม้ว่าพรรคเดโมแครตจะชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภา ก็ยังทำอะไรบุชไม่ได้ ฉะนั้น ทางออก ‘ที่เลียงไม่ได้’ ก็คือ ต้องให้กองทัพสหรัฐฯ ออกมาก่อรัฐประหารขับไล่บุชและฉีกรัฐธรรมนูญ!? ส่วนในอังกฤษ เราก็จะมี “ระบอบแบลร์” เพราะโทนี่ แบลร์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ออกกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่ถูกหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนคนอังกฤษ ใช้เสียงข้างมากในสภาผู้แทน นำประเทศเข้าสู่สงครามอิรักโดยไม่ฟังเสียงประชามตินอกสภา ในขณะที่ภริยาก็เคยถูกกล่าวหาว่า รับประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม ส่วนพรรคฝ่ายค้านก็ไร้น้ำยาเพราะพรรคแรงงานของนายแบลร์มีเสียงข้างมาก ‘เป็นเผด็จการรัฐสภา’ ฉะนั้น ทางออกคือ ต้องเรียกร้องขอ ‘นายกฯมาตรา 7’ จากพระราชินีอลิซาเบ็ธ หรือให้ฝ่ายทหารออกมาทำรัฐประหาร!?
แต่ความชั่วร้ายประการสำคัญที่สุดของวาทกรรม ‘ระบอบทักษิณ’ คือ มันเบี่ยงเป้าบิดประเด็นไปจากต้นเหตุปัญหาที่แท้จริงของการเมืองไทย โดยจับเอานักการเมือง รัฐธรรมนูญ 2540 และสถาบันประชาธิปไตยทั้งหมด มาผสมปนเปกันเข้าแล้วขึงพืดขึ้นบนตะแลงแกง ให้เป็นเป้าของการด่าทอ ทุบทรมาน โบยตี ฟันแทงต่างๆ ด้วยความเคียดแค้นเกลียดชัง ให้ผู้คนเข้าใจว่า นี่แหละคือต้นเหตุแห่งความฉิบหายทางการเมืองตลอดหลายปีมานี้ ทั้งที่ต้นเหตุปัญหาที่แท้จริงของการเมืองไทยคือ พวกจารีตนิยม ซึ่งผูกขาดแกนในอำนาจรัฐมายาวนานตั้งแต่ปี 2500 ถึงปัจจุบัน เป็นรากเหง้าของรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดหลายสิบปีมานี้ และเป็นอำนาจแฝงเร้นที่ขัดขวาง กัดเซาะ และบ่อนทำลายประชาธิปไตย ทำให้รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองประชาธิปไตยอ่อนแอ ขี้โรค ไม่พัฒนา และถูกทำลายได้ง่ายตลอดมา
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น