ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #140 : อำนาจพ.ร.ก.ฉุกเฉินและลัทธิอาณานิคมภายในประเทศไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 362
      0
      7 ส.ค. 53

     โดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม บทความจาก Huffington Post

    หลายเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ถูกประชาคมโลกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกล้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความล้มเหลวของการสอบสวนเหตุการณ์การสลายการชุมนุม การละเมิดเสรีภาพสื่อ และใช้อำนาจเผด็จการคุมขังประชาชน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดูจะเป็นประเด็นที่สุดคือการที่รัฐบาลไทยพยายามยืดพ.ร.ก. ฉุกเฉินออกไปและไม่มีทีท่าว่าจะยกเลิก ทำให้หลายฝ่ายรู้สึกกังวลและตั้งคำถามมากมาย ย้อนไปในวันที่ 5กรกฎาคม International Crisis Group ณ กรุงบรัสเซลได้เผยแพร่รายงานว่าสิ่งที่ประเทศทำควรทำเป็นอย่างแรกคือ “ ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่ประกาศใช้หลายแห่งในประเทศ เพราะเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย ขัดขวางกระบวนการสมานฉันท์ และเพิ่มระดับความร้าวฉาน” นอกจากนี้นักการฑูตอย่างนายวิเลี่ยม เจ เบิร์นยังกล่าวว่า “ การใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ระบอบประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงปััญหาการใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

    แต่กระนั้นนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ไม่ได้การแสดงท่าทีว่าจะยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินในกรุงเทพและบางจังหวัดในภาคกลาง เหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ไม่มีคำอธิบายที่่น่าเชื่อว่าเหตุใจจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคงกฎหมายอันเคร่งครัดนี้ไว้ในช่วงเวลานี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (คศฉ.) ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพราะพ.ร.ก. ฉุกเฉินให้อำนาจรัฐอย่างมากในการควบคุมประเทศ ในขณะนี้ยังคงมีการประหาศใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินใน 10จังหวัด จาก 76จังหวัด ซึ่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉินได้ให้อำนาจรัฐรวมไปถึงทหารปิดสื่อสำนักพิมพ์ต่าง ระงับบัญชีธนาคาร และจับกุมคุมขังประชาชนโดยไม่ต้องแจ้งข้อหา นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้มีการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5คนขึ้นไป ซึ่งดูเหมือนว่าจะบังคับใช้กับการชุมนุมที่ต่อต้านรัฐบาลเท่านั้น


    เหตุผลที่มีการคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องนั้นสามารถพิจารณาได้ 2ประเด็นคือ ประวัติศาสตร์ของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และผลประโยชน์ที่รัฐบาลได้รับในช่วงสั้นๆจากการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

    เมื่อย้อนกลับไปดูการใช้ “พรก. ฉุกเฉิน” ในยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษในศตวรรษที่ 18 สามารถเห็นสายสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดเจนว่าการใช้อำนาจนี้เผยให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมและปราศจากต้นทุนทางสังคมในประเทศภายใต้อาณานิคมดังกล่าว ในหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า “The Jurisprudence of Emergency,” ฮูสเซ็นระบุว่า “การอภิปรายเรื่องระบบกฎหมายสมัยใหม่แสดงให้เห็นถึงข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้อำนาจรัฐและระบบกฎหมาย ระหว่างสิ่งที่รัฐคิดว่าจะมีการใช้อำนาจในขอบเขตใดเพื่อความอยู่รอดในบางสถานการณ์ และกฎหมายให้อำนาจแค่ไหน” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปัญหาเกี่ยวกับการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินคือใครควรจะเป็นผู้ตัดสินใจใช้และใช้นานเท่าไร รวมถึงความไม่ชัดเจนและอาจเป็นการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการประกาศใช้ พ.ร.ก ซึ่งเพื่อเอื้อผลประโยชน์ตนเองมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ

    ในหนังสือของอูสเซ็นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยว่า ประเทศไทยมักจะรู้สึกภูมิใจที่เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก นักเขียนไทยมักจะกล่าวว่าพื้นส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่จะถูกผนวกเข้ากับประเทศสยามเมืองสองศตวรรษที่ผ่านมานนั้นถูกปฎิบัติราวกับเป็นเมืองขึ้นของรับสยาม โดยเฉพาะในภาคเหนือและอีสาน

    หากกล่าวถึงเศรษฐกิจแล้ว นักวิชาการอย่างฉัตรทิพย์ นาถสุภาได้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อระบบตลาดเสรีนิยมได้เข้าเริ่มต้นขึ้นในประเทศสยามเมื่อมีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี 2398 สนธิสัญญานี้ทำให้เกิดกลุ่มทุนนิยมพ่อค้าชาวจีน และได้เพิ่มผลผลิตของการเกษตรไม่ได้เป็นไปเพื่อการพัฒนาพื่นที่ที่ผลผลิตนั้นถูกผลิตขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับมหาอำนาจตะวันตกปฏิบัติต่อประเทศอาณานิคมของตน ฉัตรทิพย์กล่าวว่าพ่อค้ารุ่นใหม่นี้ไม่ได้สนใจเพิ่มผลผลิต แต่จำกัดกิจกรรมการผลิตเพื่อที่จะสกัดเอาความมั่งคั่งจากต่างจังหวัดโดยการใช้กำลังบังคับ หักหลังและเอาเปรียบ จากเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เหล่าอำมาตย์และกลุ่มอำนาจใหม่ใช้ “ระบบทุนิยมแบบกาฝาก” (เอารัดเอาเปรียบ) ทั้งสองกลุ่มมีแบ่งปันผลประโยชน์เดียวกันในการกดขี่ชาวชนบท เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งอำนาจปละความมั่งคั่งของตนเอง และทั้งสองกลุ่มยังไม่มีความสนใจที่จะช่วยพัฒนาชนบทให้ดีขึ้น

    ในแง่การเมือง นักวิชาการอย่างสมชัย ภัทรธนานันท์ได้กล่าวว่าอำนาจอันเด็ดขาดในกรุงเทพมหานครนั้นได้ถูกต่อต้านอย่างจากจากประชาชนที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร ในภาคอีสานการต่อต้านศูนย์กลางอำนาจนั้นมีลักษณะคล้ายกับต่อต้านที่กินเวลาหลายพันปีอย่าง Holy Men Revolt 1902 โดยชาวนาปฎิเสธไม่จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลกลางในกรุงเทพมหานคร การต่อต้านนี้ไม่เพียงแต่ถูกปราบปรามอย่างทารุณโดยรัฐบาลสยามเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้มีการดำเนินนโนบายรณรงค์ถึงวัฒนธรรมที่เหนือกว่าของกรุงเทพมหานคร มีการทำลายศาสนาพุทธแบบอีสาน และยังพยายามลบอัตลักษณ์ทางภาษาโดยยกย่องให้ภาษาภาคกลางเป็นภาษาประจำชาติ และยังสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับระดับชนชั้นทางสังคมและจัดระบบการศึกษาสมัยใหม่เพื่อถ่ายทอดแนวความคิดนี้ ในระยะยาว “แนวคิดหลัก” ได้ช่วยเปลี่ยนการคุกครามด้วยกำลังเป็นการควบคุมโดยสังคมแทน

    ประวัติศาสตร์อาณานิคมภายในประเทศของไทยนี้ได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการเมือง ในระบบเศรษฐกิจ ผลที่ตามมากก็คือความแตกต่างของการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจระหว่างภาคใต้และภาคกลางมีความมั่งคั่งมากกว่าภาคอีสานและภาคเหนือ ในแง่การเมือง ผลที่ตามมาคือคนเหนือและอีสานกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง รวมถึงคนอีสานและเหนืออีกหลานล้านคมที่ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ผ่านมาด้วย

    ไม่น่าแปลกใจที่พรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคนในพื้นที่เป็นอาณานิคมของกรุงเทพมหานคร การที่คนกลุ่มนี้ให้ความสนใจทางการเมืองและมีการเคลื่อนย้ายทางชนชั้นมากขึ้นนำมาซึ่งวิกฤติของการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของส่วนแบ่งที่อำมาตย์ในกรุงเทพมหานครได้รับ รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่มีทางเลือกนอกจากบังคับกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมขึ้นมารองรับความไม่ชอบธรรมเหล่านั้น ซึ่งเหมือนกับประเทศอาณานิคมทำกับประเทศใต้อาณานิคมทั่วไป อุดมการณ์ความคิดทางสังคมเปลี่ยนไปและไม่อาจรักษาความไม่ชอบธรรมเหล่านี้เอาไว้ได้ อำนาจเผด็จการจึงเป็นความหวังในระยะสั้น และในระยะยาวคือ คณะกรรมการ“การสมานฉันท์” และ “ปฎิรูป” ที่ตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลหลังการสลายการชุมนุมเพื่อที่จะประสานรอยร้าวอุดมการณ์และแนวทางความเชื่อในแบบรัฐไทย เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้เหล่าอำมาตย์ได้เสพสมอำนาจที่สามารถใช้อิทธิพลแต่งตั้งคณะรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญได้

    15 ปีที่ผ่านมา รายได้ของประชาชนในภาคอีสานและภาคอื่นๆในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ดังนั้นประชาชนเหล่านั้นจึงต้องการให้ให้มีรับฟัง อภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ชอบที่จะพูดถึงความสวยหรูของระบอบประชาธิปไตยมากกว่าจะนำไปปฏิบัติ อภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์เลือกที่จะไม่รับฟังเสียงเหล่านั้น หากนั้นยึดอาณานิคม แล้วเราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าอะไร?

    พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่รับบาลประกาศใช้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและชอบธรรม ทั้งยังเป็นสิ่งที่เป็นภัยต่อกระบวนการสมานฉันท์ นอกจากนี้การยืดกฎหมายพิเศษนี้ยังย้ำให้เห็นถึงความกลัวและกาต่อต้านการเลือกตั้งของอภิสิทธิ์ สุเทพ และพรรคพวก ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งและให้โอกาสระบอบประชาธิปไตยได้เริ่มต้นอีกครั้ง เพราะระบอบเผด็จการคือระบอบที่ล้มเหลว

    ที่มา robertamsterdam.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×