ลำดับตอนที่ #10
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคตะวันตกและปริมณฑล
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันตก
กาญจนบุรี
นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
มีผู้ลงสมัครเพียง 2 คนเท่านั้น คือ นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ อดีตนายก อบจ.กาญจนบุรี ในฐานะที่เป็นเจ้าของเก้าอี้นายกก็ต้องป้องกันเก้าอี้ของตัวเองไว้ และก็จับหมายเลขได้เบอร์ 1
ส่วนคู่แข่งก็เป็นไปตามที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว เพราะคนนี้ประกาศตัวที่ลงจะชิงตำแหน่งนายก อบจ.กาญจนบุรีมาล่วงหน้าถึง 2 ปี ใช่แล้วนายรังสรรค์ หรือ “เสี่ยสรรค์” รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวังกะ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และอดีตสมาชิก อบจ.กาญจนบุรี เขตอ.สังขละบุรี ก็ย่อมแน่นอน ก็ต้องได้เบอร์ 2 เป็นเลขประจำตัว เมื่อต่างก็ได้เบอร์ประจำตัวแล้ว ยุทธการหาเสียงก็ระเบิดขึ้นแล้ว และนับจากวันนี้จนถึงก่อนวันเลือกตั้งคือ วันที่ 20 เมษายน 2551 แต่ละฝ่ายก็ต้องงัดเอาวิทยายุทธต่างๆ มาใช้ เพื่อที่จะดึงใจประชาชนให้ไปลงคะแนนเสียงให้กับตนเอง ในเวลานี้เสียงจากประชาชนถือเป็นเสียงสวรรค์สำหรับผู้ที่ลงสมัครรับเลือก ตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีจริงๆ ใครได้คะแนนมากกว่าก็จะได้นั่งเก้าอี้นายก อบจ.กาญจนบุรี ในครั้งนี้
ถ้าจะมองกันว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ใครจะเต็งหนึ่งนั้นคงจะฟันธงลงไปไม่ได้ ผู้สมัครทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น “เจ๊กุ้ง” อุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ ที่มีดีกรี “แชมป์เก่า” เจ้าของเก้าอี้นายกฯ หรือ “เสี่ยสรรค์” รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ที่มีฐานกำลังเป็นสมาชิกสภา อบจ.กาญจนบุรีอยู่ในขณะนี้จำนวน 24 คน ต่างก็มีประสบการณ์ทางการเมือง อีกทั้งความรู้ความสามารถในการบริหารงาน ก็ทัดเทียมกัน ถึงแม้ “เสี่ยสรรค์” จะเป็นนักการเมือง “รุ่นพี่” ก็ตาม
ลองมาเปรียบดูทั้ง 2 ฝ่าย มีพื้นฐานอย่างไร?.. เพื่อจะเอามาเปรียบเทียบถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของทั้ง 2 ฝ่ายนี้?!?
เริ่มที่นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ในฐานะเจ้าของเก้าอี้เดิม มีศักดิ์เป็นน้องสาว นายสันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรี เขต 2 พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็น ส.ส.จังหวัดกาญจนบุรีหลายสมัย และนายสันทัด เองมีความใกล้ชิดกับแกนนำของพรรคพลังประชาชนหลายท่าน และเป็นเพื่อนนักเรียนกับ พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี เขต 1 พรรคพลังประชาชน ซึ่งเชื่อว่านางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากนายสันทัด พี่ชาย อย่างเต็มที่ นั่นก็ย่อมแน่นอน ฐานเสียงที่สนับสนุนนายสันทัด ก็ต้องถูกดึงมาช่วยอย่างเต็มที่ อีกทั้งคะแนนเสียงเดิมที่เคยเทให้กับนาง อุไรวรรณ ในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว คงยังเหนียวแน่น แต่ นางอุไรวรรณ จะเสียเปรียบที่ว่าสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) กาญจนบุรีในสังกัดตนเอง มีเพียง 6 คนเท่านั้น
ในส่วนคู่แข่งนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ “เสี่ยสรรค์” จากที่ได้ผันตัวเองจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ คือเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เขตอำเภอสังขละบุรีหลายสมัยติดต่อกัน ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น (อำเภอ) ลงสมัครเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสังขละบุรี และครองเก้าอี้นายกเทศมนตรีฯ ถึง 3 สมัย เป็นบุตรชายคนโตของ นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เสี่ยฮุก” นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดังระดับประเทศ ซึ่งมีทั้งบารมี อำนาจและทรัพย์สินเงินทองเหลือล้น นอกจากนี้ นายสุนทร หรือ “เสี่ยฮุก” ยังมีความสนิทสนมและเคยให้การสนับสนุนพรรคการเมืองต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชาชน รวมทั้งนักการเมืองระดับชาติหลายคน เมื่อลูกชายหัวแก้วหัวแหวนลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ที่มีเก้าอี้ “นายก อบจ.” เป็นเดิมพันเช่นนี้ “เสี่ยฮุก” นายสุนทรจะนั่งนิ่งดูดายได้ยังไง? และสำหรับตัวนายรังสรรค์เอง ก็มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ ในสังกัดตนเองจำนวน 24 คน ที่เป็นหัวหอกในการทะลวงคะแนนเสียงจากชาวบ้านก็ได้เปรียบตั้งเยอะแล้ว
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.กาญจนบุรี ซึ่งมีผู้ลงสมัครเพียงแค่ 2 คน ปรากฎว่า นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ บุตรชายคนโตของนายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ “เสี่ยฮุค” นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดัง นำมาเป็นอันดับ 1 โดยได้ 124,281 คะแนน ส่งนอันดับที่ 2 คือ นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ น้องสาวของสันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรีได้ 79,436 คะแนน
ประจวบคีรีขันธ์
นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
มีเพียงนายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์ อดีต นายกอบจ.ประจวบฯสมัยล่าสุดเท่านั้นที่ลงสมัคร และทำให้ชาวบ้านร้านช่องทั่วไปทราบกันว่าเก้าอี้นายก อบจ.สมัยต่อไปคงเป็นใครไม่ได้นอกจาก “ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์”คนเดิมนั่นเอง
สาเหตุหลักมาจากนายทรงเกียรติ ทำการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีต้นทุนทางการเมืองสูง ที่สำคัญมีฐานคะแนนจัดตั้งจากเพื่อน ส.อบจ.ภายใต้ “กลุ่ม 16”มา จาก ส.อบจ.จำนวน 16 คน ที่ให้การสนับสนุนนายทรงเกียรติมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง โดยมีฐานเสียงคลุมพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอใน 24 เขตเลือกตั้ง เป็นแรงผลักดัน ทำให้การ เลือกตั้งนายก อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนี้กร่อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่ยังมีให้เห็นเป็นสีสันได้บ้าง คือการเลือกตั้ง ส.อบจ.ในบางพื้นที่
เมื่อตรวจรายชื่อผู้สมัคร ส.อบจ.ทั้ง 24 เขต ปรากฎว่า ล้วนเป็น ส.อบจ.กลุ่ม 16 หน้าเก่าแทบทั้งสิ้น และเขตที่น่าจับตามองคือที่ อ.หัวหิน อ.กุยบุรี อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ และ อ.บางสะพาน เนื่องจากมีการแข่งขันทางการเมืองที่เข้มข้น
เริ่มที่ อ.หัวหิน มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต เขตเลือกตั้งที่น่าจับตามอง เป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 เดิมเป็นพื้นที่ของ นายธันว์ ออสุวรรณ เพื่อนกลุ่ม 16 หลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ทำให้เขตนี้ว่างลง กลุ่ม 16 จึงส่งนายสมเกียรติ กอไพศาล อดีต ส.อบจ. เขต 3 .อ.ปราณบุรี ข้ามห้วยไปลงสมัครในเขตนี้แทน
ทั้งนี้ เพื่อเปิดทางให้นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ทายาททางการเมือง ของนายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ มังกรปราณบุรี คหบดีใหญ่ และประธานที่ปรึกษาสาขาพรรคพระแม่ธรณีบีบมวยผม(ประชาธิปัตย์) จังหวัดประจวบฯ ลงสมัครแทนนายสมเกียรติ ในเขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ปราณบุรี โดยไร้เงาคู่แข่ง
ขณะเดียวกัน เขต 4 อ.หัวหิน เป็นการประลองกันระหว่างนายบุญเชิด กลิ่นลำภู ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 ปัจจุบัน กับนายสายหยุด น้ำกลั่น ผู้สมัครหมายเลข 2 อดีต ส.อบจ.เก่าในเขต นี้เช่นกัน เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนั้น นายสายหยุด พลาดท่าเสียตำแหน่งให้นายบุญเชิด ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้นายสายหยุด สบโอกาสหวังกลับมาทวงตำแหน่งคืน
อ.กุยบุรี มี 2 เขต ต้องให้ความสนใจในเขตเลือกตั้งที่ 1 เป็นการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี ระหว่างนายสมหมาย แดงโชติ อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 เจ้าของพื้นที่ กับนายเท๊า ชัยนิรัติศัย อดีต ส.อบจ.เดิมในเขตนี้เช่นกัน เนื่องจากการเลือกตั้ง ส.อบจ.ที่ผ่านมานายสมหมาย ได้แย่งตำแหน่งจากนายเท๊า เจ้าของพื้นที่เดิม ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ นายเท๊า ต้องกู้ศักดิ์ศรี และเตรียมตัวมาอย่างดี
ที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทั้งหมด 4 เขต แต่ที่เป็นสีสันและน่าจับตามอง อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 เขตนี้มีผู้สมัคร 5 คน ล้วนมีดีกรี มีต้นทุนทางสังคมด้วยกันทั้งสิ้น เริ่มจากหมายเลข 1. นายนรสภณ หรือ ธนู หินแก้ว อดีต ส.อบจ กลุ่ม 16 เจ้าของพื้นที่เดิม หมายเลข 2.นายวสันต์ แก้วแจ่มใส อดีตรองนายก ทม.ประจวบคีรีขันธ์ หมายเลข 3.นายวีรเวทย์ ไลยยางกูล อดีตว่าที่ประธานสภา ทม.ประจวบคีรีขันธ์
หมายเลข 4. นายจตุรงค์ เขียวหวาน หลานชายนายประกิตติ อาจพันธ์ อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 และ หมายเลข 5.นายแพทย์สนิท อาชีพสมุทร ข้า ราชการบำนาญระดับ 9 อดีตผอ.โรง พยาบาลประจวบคีรีขันธ์ แต่ที่น่าจับตามองคือ หมายเลข 2 นายวสันต์ และหมายเลข 3 นายวีรเวทย์ ที่ต่างก็มาแรง
ขณะที่ อ.ทับสะแก มีจำนวน 2 เขต โฟกัสไปเขตเลือกตั้งที่ 2 ระหว่าง นายสถิตย์ ตังคณากุล ผู้สมัครหมายเลข 1 กลุ่ม 16 อดีต ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่ กับ ร.ต.ท.แฉล้ม ภู่ทอง ผู้สมัครหมายเลข 2 อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)นาหูกวาง อ.ทับสะแก ซึ่งทั้ง 2 ต่างมีบารมีในพื้นที่ไม่แพ้กัน
ส่วนที่ อ.บางสะพาน มีทั้งหมด 4 เขต แต่เขตที่น่าสนใจเป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 เขตนี้มีผู้สมัคร 5 คน คือ หมายเลข 1 นายชัยวัฒน์ พิริยะสงวนพงศ์ คหบดีใหญ่ อ.บางสะพาน หมายเลข 2.นายไพรสน ปานทอง น้องชาย นายสมหมาย ปานทอง กำนันชื่อดัง ต.ธงชัย อดีต ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 พรรคไทยรักไทย หมายเลข 3.นายนัฐพงศ์ เจียมพานทอง กลุ่ม 16 อดีต ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่เดิม หมายเลข 4.นายปราโมทย์ ชุ่มเชื้อ อดีตประธานสภา อบต.แม่รำพึง ล่าสุดลงสมัครแข่งขันตำแหน่งนายก อบต.แม่รำพึง แต่สอบตก และหมายเลข 5 นายบำรุง สุดสวาท อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดอนสำราญ ต.แม่ รำพึง
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้นายนัฐพงศ์ เจ้าของพื้นที่ต้องหนักใจ เพราะคะแนนจะถูกแบ่งตามสัดส่วนของฐานคะแนนของผู้สมัครทั้ง 5 คน แต่ให้จับตาม้ามืดอย่างนายชัยวัฒน์ผู้สมัครหมายเลข 1 จะเป็นตัวสอดแทรกได้อย่างเหลือเชื่อ
เพชรบุรี
นายชัยยะ อังกินันท์
ฐานเสียงของตระกูลอังกินันท์กับพลบุตร
นายชัยยะ อังกินันทน์ อดีตนายก อบจ. บุตรชายนายปิยะ อังกินันทน์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี หัวหน้ากลุ่มรวมใจเพชร หมายเลข 1 ได้ 125,597 คะแนน ชนะนายอิทธิพงษ์ พลบุตร อดีตสมาชิกสภา อบจ. ประชาธิปัตย์ น้องชายนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 ได้ 72,359 คะแนน
ซึ่ง นายชัยยะ พาลูกทีมเข้าสภาจังหวัดได้ถึง21คนจาก19เขตด้วย ในขณะที่กลุ่มประชาธิปัตย์ได้ 3 คน
ราชบุรี
ผลการนับคะแนนตำแหน่งนายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ
ผู้ชนะ นายวันชัย ธีระสัตยกุลอดีต ส.ว.ราชบุรี ซึ่งมีกลุ่มส.ว.ราชบุรีด้วยกัน สนับสนุนค่อนข้างแน่นอน จะได้เป็นนายก อบจ.ราชบุรี คนต่อไป เพราะได้คะแนนมากถึง 178,317 คะแนน ทิ้งห่างผู้แพ้ นิษา โพธิเวชสกุล อดีตผู้สมัคร ส.ว. ที่มีพรรคประชาธิปัตย์ หนุนหลัง ที่ได้เพียง 78,268 คะแนน และ นายเกษม จันอนุกาญจน์ได้ 14,533 คะแนน
สำหรับการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ แม้จะมีอุปสรรคฝนตกลงมาเกือบทั้งวัน
แต่ก็มียอดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 10 อำเภอของจ.ราชบุรี มีจำนวน 611,947 คน
มาใช้สิทธิ์ 301,110 คน คิดเป็นร้อย 52.46 % บัตรดี 271,118 ใบ คิดเป็น
ร้อยละ 87.43 % บัตรเสีย 14,698 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.74 % ไม่ประสงค์
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปริมณฑล
นครปฐม
นายพเยาว์ เนียะแก้ว
ฐานเสียงของตระกูลสะสมทรัพย์กับปทุมารักษ์
ผู้สมัครเพียง 3 ราย ประกอบด้วย หมายเลข 1 นายพเยาว์ เนียะแก้ว อดีต นาย กอบจ.นครปฐม หมายเลข 2 นายอภิรัฐ เปี่ยมคล้า น้องชายของนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า ผู้ สมัคร ส.ส.จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย และเพิ่งสอบตก มาหมาดๆ และ หมายเลข 3 นายนิพล สุขเข อดีตสมาชิก อบต.ถนนขาด อ.เมืองนครปฐม ที่ก้าวเข้ามาลงชิงชัยในครั้งนี้ด้วย
จากการประเมินสถานการณ์ ในช่วงโค้งสุดท้าย ถือว่า คนที่เป็นตัวเก็ง คงหนีไม่พ้น นายเยาว์ เนียะแก้ว อดีต นายกอบจ.นครปฐม ผู้สมัครหมายเลข 1 ซึ่งได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในช่วงที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน(ส.ส.) จังหวัดนครปฐม โดยให้เหตุผลถึงการที่ผู้มีพระคุณอย่างตระกูลสะสมทรัพย์ลงสมัคร ส.ส.จึงไม่อยากให้ประชาชน มองถึงความไม่เป็นกลางในการวางตัว จึงตัดสินใจลาออก เพื่อมาลงสมัครใหม่อีกครั้ง
พร้อมกันนี้ พเยาว์ เนียะแก้ว ยังได้วางฐานเสียงเดิมที่เคยไว้วางใจเลือกตั้งตั้งเข้ามาใน อบจ.เมื่อสมัยที่แล้วอย่างแน่นหนา โดยมีฐานคะแนนจาก ส.อบจ.นครปฐม เกือบทั้งจังหวัด กลุ่มชาวบ้านตามชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนที่ชื่นชอบในนโนบายด้านการพัฒนาการ ศึกษาที่ชัดเจนและต่อเนื่องตลอดระยะ 4 ปี ที่ผ่านมา ให้การสนับสนุน จนได้รับเสียงชื่นชมจากนักการเมืองท้องถิ่นด้วยกันเอง และประชาชนในจังหวัดนครปฐม และที่ขาดไม่ได้คือ ฐานเสียงของตระกูลสะสมทรัพย์ ที่ถือเป็นฐานหลัก จึงทำให้สามารถฟันธงถึงชัยชนะได้ตั้งแต่ไก่โห่
เพราะ คู่แข่งคนสำคัญ อย่างนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า และพ.ต.ท.วีระยศ ชื่นกลิ่นธูปศิริ นั้นต่างก็ได้เทใจไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. นครปฐม และสอบตก ไปตาม ระเบียบ จึงทำให้สถานการณ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่น่าจะมีอะไรที่พลิกผันไปได้
ส่วน นายอภิรัฐ เปี่ยมคล้า ผู้สมัครหมายเลข 2 น้องชายแท้ๆ ของนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า ซึ่งน่าจะมีคะแนนจากฐานเสียงของพี่ชายแต่ก็ไม่น่าจะมากนัก และจากทิศทางกระแสนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของชาวบ้านเท่าที่ควร รวมถึงแม้จะมีฐานคะแนนเก่า จากนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้พี่ชายนั้นได้รับคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคชาติไทย ได้เลย จึงสามารถวัดอะไรได้บางส่วน
ทาง ด้าน นายนิพล สุขเข ผู้สมัครหมายเลข 3 เป็นผู้สมัครที่มีชื่อเสียงน้อยที่สุดโดยพกดีกรี เป็นอดีตนายกอบต.ถนนขาด อ.เมืองนครปฐม และเคยลงสมัครรับเลือกตั้ง นายกอบต.ถนนขาด เมื่อเดือน ตุลาคม 50 ที่ผ่านมา แต่สอบไม่ผ่านโดยได้รับคะแนนอันดับ 3 ด้วยชื่อชั้นและผลงานนั้นถือว่ายังห่างไกล กับตำแหน่งเก้าอี้นายก นครปฐม ซึ่งใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ไม่ใช่เขตอำเภอใดเขตอำเภอหนึ่ง
สถานการณ์ ในการเลือกตั้งแม้จะไม่รุนแรงแต่จะมีก็เพียงนายพเยาว์ เนียะแก้ว ผู้สมัครหมายเลข1 ที่มีการลงทุนในการติดป้ายหาเสียงตามสถานที่ต่างๆ และยังมีการใช้รถหาเสียงแจงนโยบายรวมถึงการได้รับการประสานพลังจากผู้นำ ชุมชนที่สังกัดในกลุ่มชาวบ้านทั่วจังหวัดนครปฐม จึงเป็นที่รู้กันว่าตำแหน่งนายก อบจ.นครปฐม ครั้งนี้ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดต้องเป็นของนายพเยาว์ เนียะแก้ว อย่างแน่นอน
เหตุเพราะความเชื่อใจของชาวบ้านรวมถึงยังมีโครงการอีกหลายโครงการที่ชาวบ้านต้อง การให้อดีตนายก อบจ.เข้ามานั่งในตำแหน่งเดิม เพื่อสานงานต่อ ก่องานใหม่ ที่สำคัญการลาออกจากตำแหน่งเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองไม่สามารถทำให้ คะแนนของอดีตนายก อบจ.นครปฐม ผู้นี้ตกแม้แต่น้อย
นนทบุรี
พ.ต.อ. ธงชัย เย็นประเสริฐ
ส่วนสนามอบจ.นนทบุรีที่มี "พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ " อดีตนายก อบจ.นนทบุรี สนามนี้ไร้คู่ต่อกร หลัง”กลุ่มพลังหนุ่ม”ที่มี“เกษมสุช ทรงวัชราภรณ์” หัวหน้ากลุ่ม ส.อบจ.นนทบุรี ประกาศวางมือชั่วคราวทางการเมือง เนื่องจากประสบปัญหาสุขภาพ ทำให้ พ.ต.อ.ธงชัย นอนมาอย่างสบายได้ 140,440 คะแนน แม้จะมีกลุ่มอิสระลงสนามชิงชัยด้วย แต่ก็ยังอ่อนชั้น ไม่ว่าจะเป็น “พิมพร ชูรอด” ได้เพียง 29,074 คะแนน และ“จิตรา ชูตระกูล” ได้แค่ 5,860 คะแนนเท่านั้น
ปทุมธานี
ชาญ พวงเพ็ชร์
ฐานเสียงของตระกูลหาญสวัสดิ์,อึ้งอัมพรวิไล
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)และสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัด(ส.อบจ.)ปทุมธานี เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า ชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายกอบจ.ปทุมธานี ผู้สมัครหมายเลข 2 ยังคงสามารถรักษาเก้าอี้แชมป์ไว้ได้อีกสมัย มีคะแนนทิ้งคะแนนห่าง นางสิรินาฏ หาญสวัสดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ถึง 63,356 คะแนน
สมุทรปราการ
นายอำนวย รัศมิทัต
ฐานเสียงของตระกูลยังตรง,กิจเลิศไพโรจน์และอัศวเหม
เลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้สมัครลงชิงตำแหน่งทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย นายอัครวัฒน์ อัศวเหม อดีตรองนายก อบจ.สมุทรปราการ หลานชายนายวัฒนา อัศวเหม ผู้สมัครหมายเลข 1 นายอำนวย รัศมิทัต บิดา น.ส.เรวดี รัศมิทัต อดีต ส.ส.สมุทรปราการ หลายสมัย ผู้สมัครหมายเลข 2 และนายสนิท กุลเจริญ อดีต สว.สมุทรปราการ ผู้สมัครหมายเลข 3
สำหรับบรรยากาศในการเลือกตั้งในครั้งนี้พบว่า ประชาชนในพื้นที่ต่างตื่นตัวพากันออกไปใช้สิทธิจำนวนมาก แถมมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากกว่าตระกูล “อัศวเหม” เจ้าของแชมป์เดิมคงรักษาตำแหน่งไว้ได้ ในที่สุดผลการเลือกตั้งปรากฏว่ามีการล้มแชมป์ชนิดพลิกความคาดหมาย โดยผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ว่า ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการพบว่านายอำนวย รัศมิทัต มาเป็นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 124,417 คะแนน ส่วนอันดับที่ 2 ได้แก่ นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ได้คะแนน 118,746 คะแนน และอันดับที่ 3 นายสนิท กุลเจริญ ได้ 63,668 คะแนน
การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มาลงคะแนนเสียงประมาณ 40% จากผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดราว 7.8 แสนคน
สมุทรสาคร
นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์
ฐานเสียงของตระกูลไกรวัตนุสสรณ์กับทับสุวรรณ
หากไม่มี “อเนก ทับสุวรรณ” ส.ส.หลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจลงสนามเล็กด้วย บรรยากาศการแข่งขันคงจะจืดชืดไร้สีสัน เพราะเจ้าของเก้าอี้นายก อบจ.คนเดิม อย่าง “อุดร ไกรวัตนุสสรณ์” จากค่ายพลังประชาชน คงจะรักษาตำแหน่งเดิมเอาไว้ได้อย่างแน่นอน
การ กลับมาของ “อเนก" อดีต รมช.สาธารณสุข และคมนาคม ถูกขอร้องแกมบังคับจากแกนนำของประชาธิปัตย์หลายคน เพื่อให้เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อรักษาฐานเสียง "ชนชั้นกลาง" ของสมุทรสาคร หลังที่ประชาธิปัตย์พลาดท่าเสียฐานที่มั่น ในการเลือกตั้งเทศบาลนคร เมื่อ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีอีกเหตุผล หนึ่งที่ทำให้ “อเนก” เบนเข็ม โดดลงสู่การเมืองท้องถิ่น ก็เพราะต้องการแทนคุณพรรคประชาธิปัตย์ ที่เปิดทางให้ “ครรชิต ทับสุวรรณ” ลูกชาย ได้ลงสนามเลือกตั้งจนได้เป็นส.ส.คู่ กับ “น.ต.สุธรรม ระหงส์” อีกด้วย
แม้ที่ผ่านมา ”อเนก” จะร้างเวทีการเมืองมานาน หลังเคยเป็นส.ส.หลายสมัย และมีตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง ซึ่งก็เชื่อว่ายังไม่ตกชั้นจากการเมือง ประกอบกับฐานเสียงที่เขาปูไว้ให้กับลูกชาย เมื่อรวมกับฐานเสียงของประชาธิปัตย์ในพื้นที่ บวกกับพื้นที่อยู่ใกล้ กทม.ยังมีกระแส "ไม่เอาทักษิณ" ผสมโรงอยู่ในพื้นที่ไม่น้อย จึงไม่ยากนักที่เขาจะเก็บเกี่ยวคะแนนตุนไว้ในกระเป๋า
ขณะ ที่แชมป์เก่า “อุดร” หรือเสี่ยตุ่น” อดีตนายก อบจ.จากค่ายพลังประชาชน นั้นมีแต้มต่อจากความใกล้ชิดกับองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นแล้ว ยังมีเสียงจัดตั้งที่ผู้เป็นบิดา “เฮียม้อ มหาชัย” หรือ “มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์” อดีต ส.ส.รุ่นเก๋าหลายสมัย สั่งสมมาจนโด่งดัง เป็นตัวช่วยสำคัญ ล่าสุดก็พึ่งหวนสังเวียนโดดลงเวที ส.ส.พลังประชาชน จนยึดได้มา 1 เก้าอี้ แม้การก้าวสู่สนามการเมืองอีกครั้ง อาจจะทำไปเพราะลูกอีกคนที่ชื่อ “อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ หรือ “ปลัดแต” ที่อาศัยอยู่ชายคาบ้าน 111 ก็ตาม
นอกจากนี้ “อุดร” ยังมีขุมกำลังอยู่ในผู้นำท้องถิ่น และชุมชนกว่า 40 แห่ง หรือเกือบครึ่งอยู่ในมือ จำนวนเสียงรวมๆ ไม่น่าต่ำกว่า 8 หมื่นแต้ม
“เฮีย ม้อ มหาชัย” ผู้บิดา คงไม่ปล่อยให้ลูกข้ามทะเลแต่ผู้เดียว ย่อมประคับประคอง พาลูกไปถึงจุดหมาย เพราะหากพลาดท่าก็จะเสียชื่อพลังประชาชน ที่เขาสนิทแนบแน่นอยู่กับหลายกลุ่ม
การแพ้หรือชนะของ”อุดร” คงขึ้นอยู่กับตัวบิดาเป็นปัจจัยหลัก เพราะ "เฮียม้อมหาชัย" เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด แม้แต่สนามเลือกตั้งเทศบาลนครที่พึ่งจบลงไป เขาก็เป็นผู้วางแผน ”เจาะไข่แดง” จนสามารถเข้าไปยึดพื้นที่ 3 ตำบลของประชาธิปัตย์ ทำให้พลังประชาชนได้รับชัยชนะในที่สุด
อย่างไร ก็ตาม ตัวของ ”อเนก” คู่แข่งย่อมรู้ว่า การกลับมาลงสนามท้องถิ่นที่เขาไม่ถนัด ย่อมเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยประสบการณ์ และบทเรียนที่เขาได้รับมาตลอดชีวิตการเมือง จึงเชื่อว่าย่อมมีทางออก โดยต้องมุ่งสร้างความมั่นใจในนโยบายที่ถอดแบบมาจากพรรคประชาธิปัตย์
นายเอนก ทับสุวรรณ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร ทีมประชาธิปัตย์ หมายเลข 1 ได้ 53,346 คะแนน (ญาติของครรชิต ทับสุวรรณ สส.สมุทรสาคร คนปัจจุบัน)แพ้นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตนายก อบจ. ทีมพลังประชาชน ที่ได้ 85,584 คะแนน(บุตรของนายมณฑล สส.พปช.)
กาญจนบุรี
นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
มีผู้ลงสมัครเพียง 2 คนเท่านั้น คือ นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ อดีตนายก อบจ.กาญจนบุรี ในฐานะที่เป็นเจ้าของเก้าอี้นายกก็ต้องป้องกันเก้าอี้ของตัวเองไว้ และก็จับหมายเลขได้เบอร์ 1
ส่วนคู่แข่งก็เป็นไปตามที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว เพราะคนนี้ประกาศตัวที่ลงจะชิงตำแหน่งนายก อบจ.กาญจนบุรีมาล่วงหน้าถึง 2 ปี ใช่แล้วนายรังสรรค์ หรือ “เสี่ยสรรค์” รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวังกะ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และอดีตสมาชิก อบจ.กาญจนบุรี เขตอ.สังขละบุรี ก็ย่อมแน่นอน ก็ต้องได้เบอร์ 2 เป็นเลขประจำตัว เมื่อต่างก็ได้เบอร์ประจำตัวแล้ว ยุทธการหาเสียงก็ระเบิดขึ้นแล้ว และนับจากวันนี้จนถึงก่อนวันเลือกตั้งคือ วันที่ 20 เมษายน 2551 แต่ละฝ่ายก็ต้องงัดเอาวิทยายุทธต่างๆ มาใช้ เพื่อที่จะดึงใจประชาชนให้ไปลงคะแนนเสียงให้กับตนเอง ในเวลานี้เสียงจากประชาชนถือเป็นเสียงสวรรค์สำหรับผู้ที่ลงสมัครรับเลือก ตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีจริงๆ ใครได้คะแนนมากกว่าก็จะได้นั่งเก้าอี้นายก อบจ.กาญจนบุรี ในครั้งนี้
ถ้าจะมองกันว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ใครจะเต็งหนึ่งนั้นคงจะฟันธงลงไปไม่ได้ ผู้สมัครทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น “เจ๊กุ้ง” อุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ ที่มีดีกรี “แชมป์เก่า” เจ้าของเก้าอี้นายกฯ หรือ “เสี่ยสรรค์” รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ที่มีฐานกำลังเป็นสมาชิกสภา อบจ.กาญจนบุรีอยู่ในขณะนี้จำนวน 24 คน ต่างก็มีประสบการณ์ทางการเมือง อีกทั้งความรู้ความสามารถในการบริหารงาน ก็ทัดเทียมกัน ถึงแม้ “เสี่ยสรรค์” จะเป็นนักการเมือง “รุ่นพี่” ก็ตาม
ลองมาเปรียบดูทั้ง 2 ฝ่าย มีพื้นฐานอย่างไร?.. เพื่อจะเอามาเปรียบเทียบถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของทั้ง 2 ฝ่ายนี้?!?
เริ่มที่นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ในฐานะเจ้าของเก้าอี้เดิม มีศักดิ์เป็นน้องสาว นายสันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรี เขต 2 พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็น ส.ส.จังหวัดกาญจนบุรีหลายสมัย และนายสันทัด เองมีความใกล้ชิดกับแกนนำของพรรคพลังประชาชนหลายท่าน และเป็นเพื่อนนักเรียนกับ พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี เขต 1 พรรคพลังประชาชน ซึ่งเชื่อว่านางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากนายสันทัด พี่ชาย อย่างเต็มที่ นั่นก็ย่อมแน่นอน ฐานเสียงที่สนับสนุนนายสันทัด ก็ต้องถูกดึงมาช่วยอย่างเต็มที่ อีกทั้งคะแนนเสียงเดิมที่เคยเทให้กับนาง อุไรวรรณ ในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว คงยังเหนียวแน่น แต่ นางอุไรวรรณ จะเสียเปรียบที่ว่าสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) กาญจนบุรีในสังกัดตนเอง มีเพียง 6 คนเท่านั้น
ในส่วนคู่แข่งนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ “เสี่ยสรรค์” จากที่ได้ผันตัวเองจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ คือเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เขตอำเภอสังขละบุรีหลายสมัยติดต่อกัน ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น (อำเภอ) ลงสมัครเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสังขละบุรี และครองเก้าอี้นายกเทศมนตรีฯ ถึง 3 สมัย เป็นบุตรชายคนโตของ นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เสี่ยฮุก” นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดังระดับประเทศ ซึ่งมีทั้งบารมี อำนาจและทรัพย์สินเงินทองเหลือล้น นอกจากนี้ นายสุนทร หรือ “เสี่ยฮุก” ยังมีความสนิทสนมและเคยให้การสนับสนุนพรรคการเมืองต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชาชน รวมทั้งนักการเมืองระดับชาติหลายคน เมื่อลูกชายหัวแก้วหัวแหวนลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ที่มีเก้าอี้ “นายก อบจ.” เป็นเดิมพันเช่นนี้ “เสี่ยฮุก” นายสุนทรจะนั่งนิ่งดูดายได้ยังไง? และสำหรับตัวนายรังสรรค์เอง ก็มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ ในสังกัดตนเองจำนวน 24 คน ที่เป็นหัวหอกในการทะลวงคะแนนเสียงจากชาวบ้านก็ได้เปรียบตั้งเยอะแล้ว
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.กาญจนบุรี ซึ่งมีผู้ลงสมัครเพียงแค่ 2 คน ปรากฎว่า นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ บุตรชายคนโตของนายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ “เสี่ยฮุค” นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดัง นำมาเป็นอันดับ 1 โดยได้ 124,281 คะแนน ส่งนอันดับที่ 2 คือ นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ น้องสาวของสันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรีได้ 79,436 คะแนน
ประจวบคีรีขันธ์
นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
มีเพียงนายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์ อดีต นายกอบจ.ประจวบฯสมัยล่าสุดเท่านั้นที่ลงสมัคร และทำให้ชาวบ้านร้านช่องทั่วไปทราบกันว่าเก้าอี้นายก อบจ.สมัยต่อไปคงเป็นใครไม่ได้นอกจาก “ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์”คนเดิมนั่นเอง
สาเหตุหลักมาจากนายทรงเกียรติ ทำการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีต้นทุนทางการเมืองสูง ที่สำคัญมีฐานคะแนนจัดตั้งจากเพื่อน ส.อบจ.ภายใต้ “กลุ่ม 16”มา จาก ส.อบจ.จำนวน 16 คน ที่ให้การสนับสนุนนายทรงเกียรติมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง โดยมีฐานเสียงคลุมพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอใน 24 เขตเลือกตั้ง เป็นแรงผลักดัน ทำให้การ เลือกตั้งนายก อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนี้กร่อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่ยังมีให้เห็นเป็นสีสันได้บ้าง คือการเลือกตั้ง ส.อบจ.ในบางพื้นที่
เมื่อตรวจรายชื่อผู้สมัคร ส.อบจ.ทั้ง 24 เขต ปรากฎว่า ล้วนเป็น ส.อบจ.กลุ่ม 16 หน้าเก่าแทบทั้งสิ้น และเขตที่น่าจับตามองคือที่ อ.หัวหิน อ.กุยบุรี อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ และ อ.บางสะพาน เนื่องจากมีการแข่งขันทางการเมืองที่เข้มข้น
เริ่มที่ อ.หัวหิน มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต เขตเลือกตั้งที่น่าจับตามอง เป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 เดิมเป็นพื้นที่ของ นายธันว์ ออสุวรรณ เพื่อนกลุ่ม 16 หลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ทำให้เขตนี้ว่างลง กลุ่ม 16 จึงส่งนายสมเกียรติ กอไพศาล อดีต ส.อบจ. เขต 3 .อ.ปราณบุรี ข้ามห้วยไปลงสมัครในเขตนี้แทน
ทั้งนี้ เพื่อเปิดทางให้นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ทายาททางการเมือง ของนายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ มังกรปราณบุรี คหบดีใหญ่ และประธานที่ปรึกษาสาขาพรรคพระแม่ธรณีบีบมวยผม(ประชาธิปัตย์) จังหวัดประจวบฯ ลงสมัครแทนนายสมเกียรติ ในเขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ปราณบุรี โดยไร้เงาคู่แข่ง
ขณะเดียวกัน เขต 4 อ.หัวหิน เป็นการประลองกันระหว่างนายบุญเชิด กลิ่นลำภู ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 ปัจจุบัน กับนายสายหยุด น้ำกลั่น ผู้สมัครหมายเลข 2 อดีต ส.อบจ.เก่าในเขต นี้เช่นกัน เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนั้น นายสายหยุด พลาดท่าเสียตำแหน่งให้นายบุญเชิด ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้นายสายหยุด สบโอกาสหวังกลับมาทวงตำแหน่งคืน
อ.กุยบุรี มี 2 เขต ต้องให้ความสนใจในเขตเลือกตั้งที่ 1 เป็นการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี ระหว่างนายสมหมาย แดงโชติ อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 เจ้าของพื้นที่ กับนายเท๊า ชัยนิรัติศัย อดีต ส.อบจ.เดิมในเขตนี้เช่นกัน เนื่องจากการเลือกตั้ง ส.อบจ.ที่ผ่านมานายสมหมาย ได้แย่งตำแหน่งจากนายเท๊า เจ้าของพื้นที่เดิม ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ นายเท๊า ต้องกู้ศักดิ์ศรี และเตรียมตัวมาอย่างดี
ที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทั้งหมด 4 เขต แต่ที่เป็นสีสันและน่าจับตามอง อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 เขตนี้มีผู้สมัคร 5 คน ล้วนมีดีกรี มีต้นทุนทางสังคมด้วยกันทั้งสิ้น เริ่มจากหมายเลข 1. นายนรสภณ หรือ ธนู หินแก้ว อดีต ส.อบจ กลุ่ม 16 เจ้าของพื้นที่เดิม หมายเลข 2.นายวสันต์ แก้วแจ่มใส อดีตรองนายก ทม.ประจวบคีรีขันธ์ หมายเลข 3.นายวีรเวทย์ ไลยยางกูล อดีตว่าที่ประธานสภา ทม.ประจวบคีรีขันธ์
หมายเลข 4. นายจตุรงค์ เขียวหวาน หลานชายนายประกิตติ อาจพันธ์ อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 และ หมายเลข 5.นายแพทย์สนิท อาชีพสมุทร ข้า ราชการบำนาญระดับ 9 อดีตผอ.โรง พยาบาลประจวบคีรีขันธ์ แต่ที่น่าจับตามองคือ หมายเลข 2 นายวสันต์ และหมายเลข 3 นายวีรเวทย์ ที่ต่างก็มาแรง
ขณะที่ อ.ทับสะแก มีจำนวน 2 เขต โฟกัสไปเขตเลือกตั้งที่ 2 ระหว่าง นายสถิตย์ ตังคณากุล ผู้สมัครหมายเลข 1 กลุ่ม 16 อดีต ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่ กับ ร.ต.ท.แฉล้ม ภู่ทอง ผู้สมัครหมายเลข 2 อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)นาหูกวาง อ.ทับสะแก ซึ่งทั้ง 2 ต่างมีบารมีในพื้นที่ไม่แพ้กัน
ส่วนที่ อ.บางสะพาน มีทั้งหมด 4 เขต แต่เขตที่น่าสนใจเป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 เขตนี้มีผู้สมัคร 5 คน คือ หมายเลข 1 นายชัยวัฒน์ พิริยะสงวนพงศ์ คหบดีใหญ่ อ.บางสะพาน หมายเลข 2.นายไพรสน ปานทอง น้องชาย นายสมหมาย ปานทอง กำนันชื่อดัง ต.ธงชัย อดีต ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 พรรคไทยรักไทย หมายเลข 3.นายนัฐพงศ์ เจียมพานทอง กลุ่ม 16 อดีต ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่เดิม หมายเลข 4.นายปราโมทย์ ชุ่มเชื้อ อดีตประธานสภา อบต.แม่รำพึง ล่าสุดลงสมัครแข่งขันตำแหน่งนายก อบต.แม่รำพึง แต่สอบตก และหมายเลข 5 นายบำรุง สุดสวาท อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดอนสำราญ ต.แม่ รำพึง
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้นายนัฐพงศ์ เจ้าของพื้นที่ต้องหนักใจ เพราะคะแนนจะถูกแบ่งตามสัดส่วนของฐานคะแนนของผู้สมัครทั้ง 5 คน แต่ให้จับตาม้ามืดอย่างนายชัยวัฒน์ผู้สมัครหมายเลข 1 จะเป็นตัวสอดแทรกได้อย่างเหลือเชื่อ
เพชรบุรี
นายชัยยะ อังกินันท์
ฐานเสียงของตระกูลอังกินันท์กับพลบุตร
นายชัยยะ อังกินันทน์ อดีตนายก อบจ. บุตรชายนายปิยะ อังกินันทน์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี หัวหน้ากลุ่มรวมใจเพชร หมายเลข 1 ได้ 125,597 คะแนน ชนะนายอิทธิพงษ์ พลบุตร อดีตสมาชิกสภา อบจ. ประชาธิปัตย์ น้องชายนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 ได้ 72,359 คะแนน
ซึ่ง นายชัยยะ พาลูกทีมเข้าสภาจังหวัดได้ถึง21คนจาก19เขตด้วย ในขณะที่กลุ่มประชาธิปัตย์ได้ 3 คน
ราชบุรี
ผลการนับคะแนนตำแหน่งนายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ
ผู้ชนะ นายวันชัย ธีระสัตยกุลอดีต ส.ว.ราชบุรี ซึ่งมีกลุ่มส.ว.ราชบุรีด้วยกัน สนับสนุนค่อนข้างแน่นอน จะได้เป็นนายก อบจ.ราชบุรี คนต่อไป เพราะได้คะแนนมากถึง 178,317 คะแนน ทิ้งห่างผู้แพ้ นิษา โพธิเวชสกุล อดีตผู้สมัคร ส.ว. ที่มีพรรคประชาธิปัตย์ หนุนหลัง ที่ได้เพียง 78,268 คะแนน และ นายเกษม จันอนุกาญจน์ได้ 14,533 คะแนน
สำหรับการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ แม้จะมีอุปสรรคฝนตกลงมาเกือบทั้งวัน
แต่ก็มียอดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 10 อำเภอของจ.ราชบุรี มีจำนวน 611,947 คน
มาใช้สิทธิ์ 301,110 คน คิดเป็นร้อย 52.46 % บัตรดี 271,118 ใบ คิดเป็น
ร้อยละ 87.43 % บัตรเสีย 14,698 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.74 % ไม่ประสงค์
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปริมณฑล
นครปฐม
นายพเยาว์ เนียะแก้ว
ฐานเสียงของตระกูลสะสมทรัพย์กับปทุมารักษ์
ผู้สมัครเพียง 3 ราย ประกอบด้วย หมายเลข 1 นายพเยาว์ เนียะแก้ว อดีต นาย กอบจ.นครปฐม หมายเลข 2 นายอภิรัฐ เปี่ยมคล้า น้องชายของนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า ผู้ สมัคร ส.ส.จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย และเพิ่งสอบตก มาหมาดๆ และ หมายเลข 3 นายนิพล สุขเข อดีตสมาชิก อบต.ถนนขาด อ.เมืองนครปฐม ที่ก้าวเข้ามาลงชิงชัยในครั้งนี้ด้วย
จากการประเมินสถานการณ์ ในช่วงโค้งสุดท้าย ถือว่า คนที่เป็นตัวเก็ง คงหนีไม่พ้น นายเยาว์ เนียะแก้ว อดีต นายกอบจ.นครปฐม ผู้สมัครหมายเลข 1 ซึ่งได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในช่วงที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน(ส.ส.) จังหวัดนครปฐม โดยให้เหตุผลถึงการที่ผู้มีพระคุณอย่างตระกูลสะสมทรัพย์ลงสมัคร ส.ส.จึงไม่อยากให้ประชาชน มองถึงความไม่เป็นกลางในการวางตัว จึงตัดสินใจลาออก เพื่อมาลงสมัครใหม่อีกครั้ง
พร้อมกันนี้ พเยาว์ เนียะแก้ว ยังได้วางฐานเสียงเดิมที่เคยไว้วางใจเลือกตั้งตั้งเข้ามาใน อบจ.เมื่อสมัยที่แล้วอย่างแน่นหนา โดยมีฐานคะแนนจาก ส.อบจ.นครปฐม เกือบทั้งจังหวัด กลุ่มชาวบ้านตามชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนที่ชื่นชอบในนโนบายด้านการพัฒนาการ ศึกษาที่ชัดเจนและต่อเนื่องตลอดระยะ 4 ปี ที่ผ่านมา ให้การสนับสนุน จนได้รับเสียงชื่นชมจากนักการเมืองท้องถิ่นด้วยกันเอง และประชาชนในจังหวัดนครปฐม และที่ขาดไม่ได้คือ ฐานเสียงของตระกูลสะสมทรัพย์ ที่ถือเป็นฐานหลัก จึงทำให้สามารถฟันธงถึงชัยชนะได้ตั้งแต่ไก่โห่
เพราะ คู่แข่งคนสำคัญ อย่างนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า และพ.ต.ท.วีระยศ ชื่นกลิ่นธูปศิริ นั้นต่างก็ได้เทใจไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. นครปฐม และสอบตก ไปตาม ระเบียบ จึงทำให้สถานการณ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่น่าจะมีอะไรที่พลิกผันไปได้
ส่วน นายอภิรัฐ เปี่ยมคล้า ผู้สมัครหมายเลข 2 น้องชายแท้ๆ ของนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า ซึ่งน่าจะมีคะแนนจากฐานเสียงของพี่ชายแต่ก็ไม่น่าจะมากนัก และจากทิศทางกระแสนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของชาวบ้านเท่าที่ควร รวมถึงแม้จะมีฐานคะแนนเก่า จากนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้พี่ชายนั้นได้รับคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคชาติไทย ได้เลย จึงสามารถวัดอะไรได้บางส่วน
ทาง ด้าน นายนิพล สุขเข ผู้สมัครหมายเลข 3 เป็นผู้สมัครที่มีชื่อเสียงน้อยที่สุดโดยพกดีกรี เป็นอดีตนายกอบต.ถนนขาด อ.เมืองนครปฐม และเคยลงสมัครรับเลือกตั้ง นายกอบต.ถนนขาด เมื่อเดือน ตุลาคม 50 ที่ผ่านมา แต่สอบไม่ผ่านโดยได้รับคะแนนอันดับ 3 ด้วยชื่อชั้นและผลงานนั้นถือว่ายังห่างไกล กับตำแหน่งเก้าอี้นายก นครปฐม ซึ่งใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ไม่ใช่เขตอำเภอใดเขตอำเภอหนึ่ง
สถานการณ์ ในการเลือกตั้งแม้จะไม่รุนแรงแต่จะมีก็เพียงนายพเยาว์ เนียะแก้ว ผู้สมัครหมายเลข1 ที่มีการลงทุนในการติดป้ายหาเสียงตามสถานที่ต่างๆ และยังมีการใช้รถหาเสียงแจงนโยบายรวมถึงการได้รับการประสานพลังจากผู้นำ ชุมชนที่สังกัดในกลุ่มชาวบ้านทั่วจังหวัดนครปฐม จึงเป็นที่รู้กันว่าตำแหน่งนายก อบจ.นครปฐม ครั้งนี้ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดต้องเป็นของนายพเยาว์ เนียะแก้ว อย่างแน่นอน
เหตุเพราะความเชื่อใจของชาวบ้านรวมถึงยังมีโครงการอีกหลายโครงการที่ชาวบ้านต้อง การให้อดีตนายก อบจ.เข้ามานั่งในตำแหน่งเดิม เพื่อสานงานต่อ ก่องานใหม่ ที่สำคัญการลาออกจากตำแหน่งเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองไม่สามารถทำให้ คะแนนของอดีตนายก อบจ.นครปฐม ผู้นี้ตกแม้แต่น้อย
นนทบุรี
พ.ต.อ. ธงชัย เย็นประเสริฐ
ส่วนสนามอบจ.นนทบุรีที่มี "พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ " อดีตนายก อบจ.นนทบุรี สนามนี้ไร้คู่ต่อกร หลัง”กลุ่มพลังหนุ่ม”ที่มี“เกษมสุช ทรงวัชราภรณ์” หัวหน้ากลุ่ม ส.อบจ.นนทบุรี ประกาศวางมือชั่วคราวทางการเมือง เนื่องจากประสบปัญหาสุขภาพ ทำให้ พ.ต.อ.ธงชัย นอนมาอย่างสบายได้ 140,440 คะแนน แม้จะมีกลุ่มอิสระลงสนามชิงชัยด้วย แต่ก็ยังอ่อนชั้น ไม่ว่าจะเป็น “พิมพร ชูรอด” ได้เพียง 29,074 คะแนน และ“จิตรา ชูตระกูล” ได้แค่ 5,860 คะแนนเท่านั้น
ปทุมธานี
ชาญ พวงเพ็ชร์
ฐานเสียงของตระกูลหาญสวัสดิ์,อึ้งอัมพรวิไล
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)และสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัด(ส.อบจ.)ปทุมธานี เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า ชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายกอบจ.ปทุมธานี ผู้สมัครหมายเลข 2 ยังคงสามารถรักษาเก้าอี้แชมป์ไว้ได้อีกสมัย มีคะแนนทิ้งคะแนนห่าง นางสิรินาฏ หาญสวัสดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ถึง 63,356 คะแนน
สมุทรปราการ
นายอำนวย รัศมิทัต
ฐานเสียงของตระกูลยังตรง,กิจเลิศไพโรจน์และอัศวเหม
เลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้สมัครลงชิงตำแหน่งทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย นายอัครวัฒน์ อัศวเหม อดีตรองนายก อบจ.สมุทรปราการ หลานชายนายวัฒนา อัศวเหม ผู้สมัครหมายเลข 1 นายอำนวย รัศมิทัต บิดา น.ส.เรวดี รัศมิทัต อดีต ส.ส.สมุทรปราการ หลายสมัย ผู้สมัครหมายเลข 2 และนายสนิท กุลเจริญ อดีต สว.สมุทรปราการ ผู้สมัครหมายเลข 3
สำหรับบรรยากาศในการเลือกตั้งในครั้งนี้พบว่า ประชาชนในพื้นที่ต่างตื่นตัวพากันออกไปใช้สิทธิจำนวนมาก แถมมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากกว่าตระกูล “อัศวเหม” เจ้าของแชมป์เดิมคงรักษาตำแหน่งไว้ได้ ในที่สุดผลการเลือกตั้งปรากฏว่ามีการล้มแชมป์ชนิดพลิกความคาดหมาย โดยผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ว่า ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการพบว่านายอำนวย รัศมิทัต มาเป็นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 124,417 คะแนน ส่วนอันดับที่ 2 ได้แก่ นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ได้คะแนน 118,746 คะแนน และอันดับที่ 3 นายสนิท กุลเจริญ ได้ 63,668 คะแนน
การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มาลงคะแนนเสียงประมาณ 40% จากผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดราว 7.8 แสนคน
สมุทรสาคร
นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์
ฐานเสียงของตระกูลไกรวัตนุสสรณ์กับทับสุวรรณ
หากไม่มี “อเนก ทับสุวรรณ” ส.ส.หลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจลงสนามเล็กด้วย บรรยากาศการแข่งขันคงจะจืดชืดไร้สีสัน เพราะเจ้าของเก้าอี้นายก อบจ.คนเดิม อย่าง “อุดร ไกรวัตนุสสรณ์” จากค่ายพลังประชาชน คงจะรักษาตำแหน่งเดิมเอาไว้ได้อย่างแน่นอน
การ กลับมาของ “อเนก" อดีต รมช.สาธารณสุข และคมนาคม ถูกขอร้องแกมบังคับจากแกนนำของประชาธิปัตย์หลายคน เพื่อให้เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อรักษาฐานเสียง "ชนชั้นกลาง" ของสมุทรสาคร หลังที่ประชาธิปัตย์พลาดท่าเสียฐานที่มั่น ในการเลือกตั้งเทศบาลนคร เมื่อ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีอีกเหตุผล หนึ่งที่ทำให้ “อเนก” เบนเข็ม โดดลงสู่การเมืองท้องถิ่น ก็เพราะต้องการแทนคุณพรรคประชาธิปัตย์ ที่เปิดทางให้ “ครรชิต ทับสุวรรณ” ลูกชาย ได้ลงสนามเลือกตั้งจนได้เป็นส.ส.คู่ กับ “น.ต.สุธรรม ระหงส์” อีกด้วย
แม้ที่ผ่านมา ”อเนก” จะร้างเวทีการเมืองมานาน หลังเคยเป็นส.ส.หลายสมัย และมีตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง ซึ่งก็เชื่อว่ายังไม่ตกชั้นจากการเมือง ประกอบกับฐานเสียงที่เขาปูไว้ให้กับลูกชาย เมื่อรวมกับฐานเสียงของประชาธิปัตย์ในพื้นที่ บวกกับพื้นที่อยู่ใกล้ กทม.ยังมีกระแส "ไม่เอาทักษิณ" ผสมโรงอยู่ในพื้นที่ไม่น้อย จึงไม่ยากนักที่เขาจะเก็บเกี่ยวคะแนนตุนไว้ในกระเป๋า
ขณะ ที่แชมป์เก่า “อุดร” หรือเสี่ยตุ่น” อดีตนายก อบจ.จากค่ายพลังประชาชน นั้นมีแต้มต่อจากความใกล้ชิดกับองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นแล้ว ยังมีเสียงจัดตั้งที่ผู้เป็นบิดา “เฮียม้อ มหาชัย” หรือ “มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์” อดีต ส.ส.รุ่นเก๋าหลายสมัย สั่งสมมาจนโด่งดัง เป็นตัวช่วยสำคัญ ล่าสุดก็พึ่งหวนสังเวียนโดดลงเวที ส.ส.พลังประชาชน จนยึดได้มา 1 เก้าอี้ แม้การก้าวสู่สนามการเมืองอีกครั้ง อาจจะทำไปเพราะลูกอีกคนที่ชื่อ “อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ หรือ “ปลัดแต” ที่อาศัยอยู่ชายคาบ้าน 111 ก็ตาม
นอกจากนี้ “อุดร” ยังมีขุมกำลังอยู่ในผู้นำท้องถิ่น และชุมชนกว่า 40 แห่ง หรือเกือบครึ่งอยู่ในมือ จำนวนเสียงรวมๆ ไม่น่าต่ำกว่า 8 หมื่นแต้ม
“เฮีย ม้อ มหาชัย” ผู้บิดา คงไม่ปล่อยให้ลูกข้ามทะเลแต่ผู้เดียว ย่อมประคับประคอง พาลูกไปถึงจุดหมาย เพราะหากพลาดท่าก็จะเสียชื่อพลังประชาชน ที่เขาสนิทแนบแน่นอยู่กับหลายกลุ่ม
การแพ้หรือชนะของ”อุดร” คงขึ้นอยู่กับตัวบิดาเป็นปัจจัยหลัก เพราะ "เฮียม้อมหาชัย" เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด แม้แต่สนามเลือกตั้งเทศบาลนครที่พึ่งจบลงไป เขาก็เป็นผู้วางแผน ”เจาะไข่แดง” จนสามารถเข้าไปยึดพื้นที่ 3 ตำบลของประชาธิปัตย์ ทำให้พลังประชาชนได้รับชัยชนะในที่สุด
อย่างไร ก็ตาม ตัวของ ”อเนก” คู่แข่งย่อมรู้ว่า การกลับมาลงสนามท้องถิ่นที่เขาไม่ถนัด ย่อมเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยประสบการณ์ และบทเรียนที่เขาได้รับมาตลอดชีวิตการเมือง จึงเชื่อว่าย่อมมีทางออก โดยต้องมุ่งสร้างความมั่นใจในนโยบายที่ถอดแบบมาจากพรรคประชาธิปัตย์
นายเอนก ทับสุวรรณ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร ทีมประชาธิปัตย์ หมายเลข 1 ได้ 53,346 คะแนน (ญาติของครรชิต ทับสุวรรณ สส.สมุทรสาคร คนปัจจุบัน)แพ้นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตนายก อบจ. ทีมพลังประชาชน ที่ได้ 85,584 คะแนน(บุตรของนายมณฑล สส.พปช.)
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น