ลำดับตอนที่ #1
ตั้งค่าการอ่าน
ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : One Way Ticket (วอเร็น บัฟเฟตต์)
โลกในมุมมองของ Value Investor
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วอเร็น บัฟเฟตต์ นักลงทุนเอกของโลกบอกว่าเขาอยากซื้อหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยมที่สุดในราคาที่ยุติธรรม แล้วเก็บเอาไว้ไม่ขายเลยตลอดชีวิต และกลยุทธ์นี้เองที่ทำให้เขาสามารถทำกำไรได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากเฉลี่ยกว่า 20% ต่อปีทบต้นมาเรื่อย ๆ เป็นเวลาเกือบ 50 ปี และกลายเป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับสองของโลกด้วยความมั่งคั่งหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ความคิดของการซื้อหุ้นแล้วไม่ขายเลยนั้นบัฟเฟตต์ได้มาจากฟิลิป ฟิชเชอร์ในหนังสือคลาสสิค Common Stocks and Uncommon Profit ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958 ต่อไปนี้เป็นคำเรียบเรียงของบางส่วนในหนังสือซึ่งวอเร็น บัฟเฟตต์เคยอ้างถึง และผมคิดว่า Value Investor ควรได้เรียนรู้เอาไว้ และถ้าเป็นไปได้นำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนของตนเอง
มีการอ้างเหตุผลอีกข้อหนึ่งในการขายหุ้นของนักลงทุนซึ่งทำให้เขาพลาดจากกำไรที่เขาควรจะได้ เหตุผลข้อนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ไร้สาระที่สุด นั่นก็คือหุ้นที่เขาถืออยู่มีราคาวิ่งขึ้นไปมากมหาศาล เพราะฉะนั้นมันคงรองรับผลการดำเนินงานในอนาคตไปหมดแล้ว ดังนั้นเขาควรจะขายมันและซื้อหุ้นตัวอื่นที่ราคายังไม่ได้ขึ้น
บริษัทที่ดีเยี่ยมซึ่งเป็นหุ้นประเภทเดียวที่ผมคิดว่านักลงทุนควรซื้อไม่ได้ทำงานแบบนี้ การทำงานของมันอาจจะเข้าใจได้ง่ายที่สุดโดยการอุปมาอุปไมกับเรื่องดังต่อไปนี้
สมมติว่ามันเป็นวันที่คุณเรียนจบจากมหาวิทยาลัยหรือเรียนจบมัธยมก็ได้ ทีนี้สมมติต่อว่าในวันนั้นเพื่อนร่วมชั้นของคุณทุกคนต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน แต่ละคนเสนอเงื่อนไขให้คุณแบบเดียวกันนั่นคือ ถ้าคุณให้เงินพวกเขาเท่ากับ 10 เท่าของรายได้ทั้งหมดที่เขาจะได้รับในช่วง 12 เดือนข้างหน้าหลังจากที่เขาเริ่มทำงาน พวกเขาก็จะตอบแทนคุณโดยการจ่ายเงินให้คุณเท่ากับหนึ่งในสี่ของรายได้ของเขาตลอดชีวิต สุดท้ายสมมติว่าคุณคิดว่านี่เป็นข้อเสนอที่ดีแต่คุณมีเงินสดในมือเพียงพอเฉพาะที่จะทำสัญญากับเพื่อนได้เพียง 3 คน
ถึงจุดนี้วิธีคิดของคุณคงคล้ายกับนักลงทุนซึ่งใช้หลักการลงทุนที่มีเหตุผลในการเลือกหุ้น คุณคงเริ่มวิเคราะห์เพื่อนร่วมชั้นแต่ละคน ไม่ใช่ดูว่าเขามีนิสัยใจคออย่างไร หรือแม้แต่มีความสามารถพิเศษด้านอื่นอย่างไร แต่คุณคงจะพยายามคาดการณ์ว่าเขาจะทำเงินได้มากน้อยแค่ไหนในอนาคต
ถ้าเพื่อนร่วมรุ่นมีมาก คุณก็คงตัดหลาย ๆ คนออกไปทันทีเพราะคุณไม่รู้จักเขาพอที่จะพิจารณาว่าเขาจะมีความสามารถหาเงินได้มากน้อยแค่ไหนในอนาคต นี่ก็เป็นอะไรที่คล้ายคลึงกับการลงทุนในหุ้นแบบชาญฉลาดเหมือนกัน
ในที่สุดคุณก็เลือกเพื่อนร่วมชั้น 3 คนซึ่งคุณรู้สึกว่าจะมีอนาคตในการหาเงินมากที่สุด คุณทำสัญญากับเขา สิบปีผ่านไป หนึ่งในสามคนทำได้ประทับใจมาก เขาเข้าทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ ได้รับการปรับชั้นปรับตำแหน่ง ครั้งแล้วครั้งเล่า คนในบริษัทต่างก็พูดกันว่าผู้จัดการใหญ่ชื่นชมเขามาก และภายในอีก 10 ปีเขาอาจจะก้าวขึ้นมารับตำแหน่งสูงสุดในบริษัทซึ่งเขาจะได้รับผลตอบแทนสูงมากจากทั้งเงินเดือน โบนัส หุ้นและผลตอบแทนอื่น ๆ
ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ แม้แต่นักวิเคราะห์หุ้นที่ชอบเชียร์ให้คุณ “Take Profit” ในหุ้นที่ดีเยี่ยมซึ่ง “ราคาวิ่งนำหน้าตลาด” ก็คงไม่คิดว่าคุณจะขายสัญญานี้ในราคาสูงเป็น 6 เท่าของเงินที่คุณจ่ายไปเมื่อสิบปีก่อน
ถ้ามีใครมาแนะนำให้คุณขายสัญญาทิ้งเพื่อเอาเงินไปทำสัญญากับเพื่อนเก่าอีกคนหนึ่งซึ่งเงินเดือนไม่ขึ้นเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาหลังจากเรียนจบ คุณคงคิดว่าคนแนะนำนั้น “เพี้ยน” แน่ เหตุผลที่ว่าเพื่อนที่ประสบความสำเร็จก้าวหน้าไปมากมีเงินเดือนสูงแล้วและคงสูงขึ้นไปไม่ได้อีกมากในขณะที่เพื่อนที่ไม่ประสบความสำเร็จน่าจะก้าวหน้าได้เร็วขึ้นนั้นฟังดูน่าขันมาก แต่ถ้าคุณรู้จักหุ้นของคุณดีพอกัน เหตุผลในการขายหุ้นที่ดีก็น่าขันมากเท่า ๆ กัน
คุณอาจจะคิดว่าทั้งหมดนี้ฟังดูดี แต่เพื่อนร่วมชั้นไม่ใช่หุ้น แน่นอน มีความแตกต่างที่สำคัญ แต่ความแตกต่างนั้นยิ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับเหตุผลที่จะไม่ขายหุ้นที่ดีเยี่ยมเพียงเพราะว่าหุ้นตัวนั้นวิ่งขึ้นไปสูงมากและอาจจะมีราคาสูงเกินไปชั่วคราว ความแตกต่างนั้นก็คือเพื่อนร่วมชั้นนั้นมีข้อจำกัด เขาอาจจะตายในไม่ช้าและในที่สุดก็ต้องตาย แต่หุ้นนั้นไม่มีอายุขัย บริษัทอาจจะมีวิธีการคัดเลือกผู้บริหารที่มีความสามารถสูง มีวิธีการฝึกอบรมให้คนเหล่านั้นรู้ถึงนโยบาย วิธีการ และเทคนิคที่จะช่วยรักษาและส่งต่อ ความเข้มแข็งของกิจการไปสู่ชนรุ่นหลัง ดูอย่างดูปอนต์ที่อยู่มากว่าร้อยปี หรือบริษัทดาวเคมิคอลหลังจากที่ผู้ก่อตั้งที่เก่งกาจเสียชีวิต ในยุคที่ผู้คนมีความต้องการและตลาดของสินค้าเติบโตมหาศาล ไม่มีข้อจำกัดว่าบริษัทจะโตไม่ได้ อย่างที่เกิดกับปัจเจกชน
บางทีความคิดในบทนี้อาจจะสามารถเขียนขึ้นด้วยคำพูดประโยคเดียวนั่นคือ “ถ้าเราวิเคราะห์ดีแล้วเมื่อเราซื้อหุ้น เวลาที่จะขายหุ้นนั้นเกือบจะไม่ต้องเลย”
วอเร็น บัฟเฟตต์นั้นไม่เหมือนนักลงทุนคนอื่น เขาซื้อโดยมีสมมติฐานว่าจะไม่ขาย หุ้นที่เขาลงทุนส่วนใหญ่อยู่กับเขามานาน หลาย ๆ บริษัทเขาคือเจ้าของและผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด เขาไม่ดูราคาหุ้น สิ่งที่เขาดูก็คือผลกำไรของบริษัท ดูเงินสดที่บริษัทหามาได้ และบ่อยครั้งเขาเอาเงินสดนั้นมาใช้ลงทุนซื้อกิจการหรือหุ้นตัวอื่นต่อ ๆ ไป และนี่คือวิธีการทำเงินจากหุ้นโดยไม่ต้องขายหุ้นแต่ซื้อหุ้นไปเรื่อย ๆ จะเรียกว่าลงทุนแบบ One Way Ticket ก็น่าจะได้
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วอเร็น บัฟเฟตต์ นักลงทุนเอกของโลกบอกว่าเขาอยากซื้อหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยมที่สุดในราคาที่ยุติธรรม แล้วเก็บเอาไว้ไม่ขายเลยตลอดชีวิต และกลยุทธ์นี้เองที่ทำให้เขาสามารถทำกำไรได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากเฉลี่ยกว่า 20% ต่อปีทบต้นมาเรื่อย ๆ เป็นเวลาเกือบ 50 ปี และกลายเป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับสองของโลกด้วยความมั่งคั่งหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ความคิดของการซื้อหุ้นแล้วไม่ขายเลยนั้นบัฟเฟตต์ได้มาจากฟิลิป ฟิชเชอร์ในหนังสือคลาสสิค Common Stocks and Uncommon Profit ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958 ต่อไปนี้เป็นคำเรียบเรียงของบางส่วนในหนังสือซึ่งวอเร็น บัฟเฟตต์เคยอ้างถึง และผมคิดว่า Value Investor ควรได้เรียนรู้เอาไว้ และถ้าเป็นไปได้นำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนของตนเอง
มีการอ้างเหตุผลอีกข้อหนึ่งในการขายหุ้นของนักลงทุนซึ่งทำให้เขาพลาดจากกำไรที่เขาควรจะได้ เหตุผลข้อนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ไร้สาระที่สุด นั่นก็คือหุ้นที่เขาถืออยู่มีราคาวิ่งขึ้นไปมากมหาศาล เพราะฉะนั้นมันคงรองรับผลการดำเนินงานในอนาคตไปหมดแล้ว ดังนั้นเขาควรจะขายมันและซื้อหุ้นตัวอื่นที่ราคายังไม่ได้ขึ้น
บริษัทที่ดีเยี่ยมซึ่งเป็นหุ้นประเภทเดียวที่ผมคิดว่านักลงทุนควรซื้อไม่ได้ทำงานแบบนี้ การทำงานของมันอาจจะเข้าใจได้ง่ายที่สุดโดยการอุปมาอุปไมกับเรื่องดังต่อไปนี้
สมมติว่ามันเป็นวันที่คุณเรียนจบจากมหาวิทยาลัยหรือเรียนจบมัธยมก็ได้ ทีนี้สมมติต่อว่าในวันนั้นเพื่อนร่วมชั้นของคุณทุกคนต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน แต่ละคนเสนอเงื่อนไขให้คุณแบบเดียวกันนั่นคือ ถ้าคุณให้เงินพวกเขาเท่ากับ 10 เท่าของรายได้ทั้งหมดที่เขาจะได้รับในช่วง 12 เดือนข้างหน้าหลังจากที่เขาเริ่มทำงาน พวกเขาก็จะตอบแทนคุณโดยการจ่ายเงินให้คุณเท่ากับหนึ่งในสี่ของรายได้ของเขาตลอดชีวิต สุดท้ายสมมติว่าคุณคิดว่านี่เป็นข้อเสนอที่ดีแต่คุณมีเงินสดในมือเพียงพอเฉพาะที่จะทำสัญญากับเพื่อนได้เพียง 3 คน
ถึงจุดนี้วิธีคิดของคุณคงคล้ายกับนักลงทุนซึ่งใช้หลักการลงทุนที่มีเหตุผลในการเลือกหุ้น คุณคงเริ่มวิเคราะห์เพื่อนร่วมชั้นแต่ละคน ไม่ใช่ดูว่าเขามีนิสัยใจคออย่างไร หรือแม้แต่มีความสามารถพิเศษด้านอื่นอย่างไร แต่คุณคงจะพยายามคาดการณ์ว่าเขาจะทำเงินได้มากน้อยแค่ไหนในอนาคต
ถ้าเพื่อนร่วมรุ่นมีมาก คุณก็คงตัดหลาย ๆ คนออกไปทันทีเพราะคุณไม่รู้จักเขาพอที่จะพิจารณาว่าเขาจะมีความสามารถหาเงินได้มากน้อยแค่ไหนในอนาคต นี่ก็เป็นอะไรที่คล้ายคลึงกับการลงทุนในหุ้นแบบชาญฉลาดเหมือนกัน
ในที่สุดคุณก็เลือกเพื่อนร่วมชั้น 3 คนซึ่งคุณรู้สึกว่าจะมีอนาคตในการหาเงินมากที่สุด คุณทำสัญญากับเขา สิบปีผ่านไป หนึ่งในสามคนทำได้ประทับใจมาก เขาเข้าทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ ได้รับการปรับชั้นปรับตำแหน่ง ครั้งแล้วครั้งเล่า คนในบริษัทต่างก็พูดกันว่าผู้จัดการใหญ่ชื่นชมเขามาก และภายในอีก 10 ปีเขาอาจจะก้าวขึ้นมารับตำแหน่งสูงสุดในบริษัทซึ่งเขาจะได้รับผลตอบแทนสูงมากจากทั้งเงินเดือน โบนัส หุ้นและผลตอบแทนอื่น ๆ
ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ แม้แต่นักวิเคราะห์หุ้นที่ชอบเชียร์ให้คุณ “Take Profit” ในหุ้นที่ดีเยี่ยมซึ่ง “ราคาวิ่งนำหน้าตลาด” ก็คงไม่คิดว่าคุณจะขายสัญญานี้ในราคาสูงเป็น 6 เท่าของเงินที่คุณจ่ายไปเมื่อสิบปีก่อน
ถ้ามีใครมาแนะนำให้คุณขายสัญญาทิ้งเพื่อเอาเงินไปทำสัญญากับเพื่อนเก่าอีกคนหนึ่งซึ่งเงินเดือนไม่ขึ้นเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาหลังจากเรียนจบ คุณคงคิดว่าคนแนะนำนั้น “เพี้ยน” แน่ เหตุผลที่ว่าเพื่อนที่ประสบความสำเร็จก้าวหน้าไปมากมีเงินเดือนสูงแล้วและคงสูงขึ้นไปไม่ได้อีกมากในขณะที่เพื่อนที่ไม่ประสบความสำเร็จน่าจะก้าวหน้าได้เร็วขึ้นนั้นฟังดูน่าขันมาก แต่ถ้าคุณรู้จักหุ้นของคุณดีพอกัน เหตุผลในการขายหุ้นที่ดีก็น่าขันมากเท่า ๆ กัน
คุณอาจจะคิดว่าทั้งหมดนี้ฟังดูดี แต่เพื่อนร่วมชั้นไม่ใช่หุ้น แน่นอน มีความแตกต่างที่สำคัญ แต่ความแตกต่างนั้นยิ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับเหตุผลที่จะไม่ขายหุ้นที่ดีเยี่ยมเพียงเพราะว่าหุ้นตัวนั้นวิ่งขึ้นไปสูงมากและอาจจะมีราคาสูงเกินไปชั่วคราว ความแตกต่างนั้นก็คือเพื่อนร่วมชั้นนั้นมีข้อจำกัด เขาอาจจะตายในไม่ช้าและในที่สุดก็ต้องตาย แต่หุ้นนั้นไม่มีอายุขัย บริษัทอาจจะมีวิธีการคัดเลือกผู้บริหารที่มีความสามารถสูง มีวิธีการฝึกอบรมให้คนเหล่านั้นรู้ถึงนโยบาย วิธีการ และเทคนิคที่จะช่วยรักษาและส่งต่อ ความเข้มแข็งของกิจการไปสู่ชนรุ่นหลัง ดูอย่างดูปอนต์ที่อยู่มากว่าร้อยปี หรือบริษัทดาวเคมิคอลหลังจากที่ผู้ก่อตั้งที่เก่งกาจเสียชีวิต ในยุคที่ผู้คนมีความต้องการและตลาดของสินค้าเติบโตมหาศาล ไม่มีข้อจำกัดว่าบริษัทจะโตไม่ได้ อย่างที่เกิดกับปัจเจกชน
บางทีความคิดในบทนี้อาจจะสามารถเขียนขึ้นด้วยคำพูดประโยคเดียวนั่นคือ “ถ้าเราวิเคราะห์ดีแล้วเมื่อเราซื้อหุ้น เวลาที่จะขายหุ้นนั้นเกือบจะไม่ต้องเลย”
วอเร็น บัฟเฟตต์นั้นไม่เหมือนนักลงทุนคนอื่น เขาซื้อโดยมีสมมติฐานว่าจะไม่ขาย หุ้นที่เขาลงทุนส่วนใหญ่อยู่กับเขามานาน หลาย ๆ บริษัทเขาคือเจ้าของและผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด เขาไม่ดูราคาหุ้น สิ่งที่เขาดูก็คือผลกำไรของบริษัท ดูเงินสดที่บริษัทหามาได้ และบ่อยครั้งเขาเอาเงินสดนั้นมาใช้ลงทุนซื้อกิจการหรือหุ้นตัวอื่นต่อ ๆ ไป และนี่คือวิธีการทำเงินจากหุ้นโดยไม่ต้องขายหุ้นแต่ซื้อหุ้นไปเรื่อย ๆ จะเรียกว่าลงทุนแบบ One Way Ticket ก็น่าจะได้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
กำลังโหลด...
1ความคิดเห็น