ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมฮิตบทความเศรษฐกิจพอเพียง

    ลำดับตอนที่ #2 : เศรษฐกิจพอเพียงแบบเลื่อนลอย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.38K
      0
      24 ม.ค. 50

    เศรษฐกิจพอเพียงแบบเลื่อนลอย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ

    ผมยอมรับว่า นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ของพระองค์ท่านเป็นเรื่องที่ดีมาก
    แต่วันนี้ เศรษฐกิจพอเพียง กลับกลายเป็นดาบสองคม ที่หวลกลับมาทำร้ายเศรษฐกิจของชาติอย่างสิ้นเชิง

    อันที่จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่นายกทักษิณใช้ในช่วง 2 ปีแรกที่การบริหารประเทศ จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมั่นคง สามารถปลดหนี้ IMF ได้อย่างรวดเร็ว แถมยังทำให้ประเทศมีเงินสำรองคงคลังเป็นจำนวนมากอีกด้วย ที่ได้นำมาพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนอยู่ตลอดเวลาที่บริหารประเทศอยู่

    แต่การบริหารประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มันไม่พอเพียงในการนำพาประเทศไปสู่ความยั่งยืนและมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจได้ ในขณะที่ทั่วโลกเข้าสู่โลกาภิวัฒน์ มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง แบบที่ฝรั่งเรียกว่า "Survival of the Smartest" ไม่ใช่ "Survival of the Fittest" เหมือนแต่ก่อน

    ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลนายกทักษิณจึงเป็นไปในรูปแบบที่ว่า "จะพอเพียงได้ เมื่อเราได้เพียงพอแล้ว" อันเป็นหลักในการทำงานของนายกทักษิณ คือ มุ่งทำงานเพื่อให้ได้มามากๆ ให้มีมากพอที่จะดูแลประชาชนได้อย่างพอเพียงและทั่วหน้า

    มันก็ตรงกับคติที่นายกทักษิณเคยบอกว่า "ผมรวยแล้ว ไม่โกงหรอก" เพราะนายกทักษิณทำธุรกิจจนรวยมากเพียงพอแล้ว เลยอาสาเข้ามาทำงานเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อเข้ามาหาเงินให้ตัวเองมากขึ้น แต่เอาวิชาการต่างๆ และประสบการณ์ต่างๆ มาหาเงินให้แก่ประเทศชาติอย่างมากมาย เพื่อให้เพียงพอ ให้อยู่รอด ให้ก้าวหน้า ให้ประชาชนอยู่ได้อย่างพอเพียง "แบบกินดีอยู่ดี" กันทั่วหน้า

    ในด้านกลับกัน รัฐบาลชุดนี้ เป็นรัฐบาลที่ยึดติดแต่คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เพียงอย่างเดียว โดยไม่เข้าใจลึกซึ่งในวิธีการและหลักการ ที่จะนำมาประยุกต์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ แบบที่เรียกว่า "ไม่รู้แล้วยังดันทุรังทำไปอย่างโง่ๆ"

    ข้าราชการ หน่วยงานต่างๆ ที่เคยกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อประชาชนในยุคสมัยรัฐบาลนายกทักษิณ กลับถูกบอกให้รู้จักพอเพียง ก็เลยทำงานกันอย่างพอเพียง แค่ "เชาชาม เย็นชาม" ก็พอแล้ว

    ธุรกิจโดนบีบจากหน่วยงานของรัฐ ให้ชะลอการพัฒนา ชะลอการลงทุน และให้ทำงานอย่างพอเพียง โดยทางรัฐได้ออกมาตรการณ์ต่างๆ ที่บีบธุรกิจทางอ้อม ทำลายตลาดเงินทุนทุกรูปแบบ เพียงเพื่อสนองนโยบาย "เศรษฐกิจพอเพียง" ของรัฐบาลขิงเหี่ยวๆ

    ประเด็นที่แท้จริงๆ แล้ว ไม่ได้อยู่ที่คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" แต่อยู่ที่คนที่นำเอาไปปฏิบัติต่างหาก ที่ไร้ความรู้ ไร้ความสามารถ ไร้ฝีมือ ที่จะนำเอาแนวทางพระราชทานไปประยุกต์และปฏิบัติได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

    ผลงานที่ผ่านมา 4 เดือน ของรัฐบาลชุดนี้ หากเป็นนักเรียนก็คงบอกได้ว่า สอบตกแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่แค่นั้น เพราะรัฐบาลไม่ใช่นักเรียน
    หากเป็นผู้จัดการบริษัท ก็คง "ไม่ผ่านงาน" แล้วคณะกรรมการบริษัทคงเชิญออกจากการเป็นผู้จัดการและพนักงานของบริษัทไปนานแล้ว

    แต่รัฐบาลเป็นผู้นำ ซึ่งผมบอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า เป็นผู้นำที่ผมไม่ต้องการตาม เพราะจะนำพาประเทศชาติของเราไปสู่ความหายนะ

    ผมห็นว่า รัฐบาลสมควรจะต้องพิจารณาตัวเองได้แล้วว่า มีศักยภาพในการทำงานอยู่หรือไม่ ควรลงจากการเป็นผู้นำ แล้วให้คนอื่นที่มีความสามารถมากกว่ามาทำงานมาเป็นผู้นำแทนได้หรือยัง ก่อนที่ประเทศชาติจะสิ้นแล้วในความเป็นชาติไทย ที่พวกเราชาวไทยเคยภาคภูมิใจในอดีต

    จากคุณ : ศิลาแรง javascript:openProfileWindow('273383')- [ 5 ม.ค. 50 11:32:24 A:124.121.47.177 X: ]

    เสริมเรื่องว่าทำไมทุกประเทศใช้เงินดอลลาห์เป็นทุนสำรองแทนทองคำ

    เรื่องจริงคือ ทุกประเทศก็ใช้ทองคำนี่แหละครับเป็นทุนสำรอง แต่ด้วยเพราะทุกประเทศยอมรับว่าเงินตอลลาห์เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนที่ใช้ซื้อสินค้าระหว่างประเทศ มีเงินดอลลาห์ก็เลยเหมือนมีทองคำไป ทำไปทำมาการซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่ก็เลยใช้เงินดอลลาห์เป็นตัวกลาง

    ทีนี้ประเทศไทยเราจะซื้อน้ำมันเราก็ต้องเอาเงินบาทไปแลกตอลลาห์เพราะโอเปกเขาไม่รับเงินบาท (ใครจะการันตีครับว่าจะไม่มีกรณีนโยบายการเงินแบบมั่วๆเหมือนเดือนที่แล้วอีก) คราวนี้เราจะมีเงินไปซื้อน้ำมัน ก็หมายความว่าเราต้องขายของออกไปเพื่อเอาตอลลาห์ ตอนนี้ประเทศไทยก็บ้าพอเพียงกัน จนลืมมองไปว่าเงินบาทไทยในสายตาประเทศอื่นก็เปรียบได้กับแบงค์กงเต็กไร้ค่าในสายตาเขา เราหยุดความพยายามหาเงินเข้าประเทศ หยุดการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เงินหมุนเราก็จะหมดไปเรื่อยๆ เรื่องนี้มันเป็น Business Common Sense ครับ แต่ผู้ปกครองไทยตอนนี้จบนักเรียนนายร้อย ที่เขาสอนอย่างเดียวคือจะปล้นอย่างไรด้วยปืน เรื่องอย่างนี้ก็คิดกันไม่ถึง

    อีกอย่างที่อยากจะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือพื้นฐานการใช้เงินธรรมดานี่แหละครับ ไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือตรงข้ามกับทุนนิยม เพราะเรื่องนี้ประเทศที่เป็นทุนนิยมสุดโต่งอย่างอเมริกาเขามีสอนกันตั้งแต่เด็ก พอเพียงที่แท้จริงคือ พอเพียงเมื่อเรามีเพียงพอ อย่างที่คุณศิลาแลงบอก

    อีกสิ่งที่อยากให้ลองกลับไปคิดดูว่า ประเทศไทยส่งออกสินค้าหลักอะไรกันแน่ หากตอบว่าสินค้าเกษตร ผิดครับ แล้วหากตอบว่าสินค้าอุตสาหกรรมละ ผิดอีกเช่นกัน

    คำตอบคือ ประเทศไทยส่งออกแรงงานราคาถูกผ่านในรูปสินค้าราคาถูก ดังนั้นเราเลยต้องแข่งราคาถูกกับจีน เวียดนาม อินเดีย บังคลาเทศ ซื่งเรากำลังแพ้เพราะค่าแรงเราแพงขึ้น และเราทำงานแบบไร้ประสิทธิภาพ อย่างที่เจ้าของกระทู้บอกแหละครับว่า เช้าชามเย็นชาม

    ผมเทียบให้ชัดเลยครับ ชาวนาไทยตามแบบพอเพียง มีที่แบ่งปลูกบ้าน ขุดบ่อ ทำนา ทำไร่ สวนผสม หากจะทำเพื่อกินในครอบครัวก็อาจจะพอยาไส้อยู่ แต่ถ้าจะขายรับรองได้ทำไปทำมาไม่มีบ้านอยู่ เพราะชาวนาไทยหนึ่งคนควายเหล็กหนึ่งตัวทำนาสิบไร่ก็รากเลือดแล้ว ปีหนึ่งทำได้สองรอบก็เก่งแล้ว
    ชาวนาอเมริกันที่คนไทยบอกพวกทุนนิยมไม่พอเพียง หนึ่งคนพร้อมเครื่องจักรครบวงจร ทำนาเป็นพันไร่ ปีหนึ่งทำสี่รอบ ผมยืนยันได้เลยว่าข้าวไทยแบบพอเพียงขายสู้ข้าวอเมริกันแบบทุนนิยมไม่ได้เลยครับ ราคาข้าวอเมริกันถูกกว่าเยอะ

    ชาวนาไทยไม่ได้ขายข้าว ชาวนาไทยขายแรงงานถูก ชาวนาอเมริกันไม่ได้ขายแรงงาน แต่ขายสินค้าที่เป็นข้าวที่ผ่านการพัฒนาขบวนการผลิต ตราบใดที่เรายังพอเพียงแบบไม่ลืมหูลืมตา อีกสิบปีข้างหน้าไม่แน่เราต้องซื้อข้าวอเมริกันกินก็ได้นะครับ

    การพัฒนาประเทศไทยเราไปขายแรงงานราคาถูกอย่างเดียวเราก็รอวันตาย เราต้องขายเทคโนโลยี หรือขายสินค้าที่เพิ่มคุณค่า (Added Value Product) แทนที่จะขายข้าว ก็ขายเป็นข้าวที่ใส่ไมโครเวฟแล้วทานได้เลย หรือข้าวพร้อมกับข้าวใน Package สวยงาม จริงแล้วเมื่อก่อนผมก็เคยเห็นของ CP ทำขายในร้าน Seven-Eleven ในอเมริกาผมยังไม่เห็นที่เป็นของไทย แต่ผมเห็นแล้วที่เป็นของจีน
    ผมยกตัวอย่างให้ดู ข้าวหอมมะลิไทยแบบเกรดเอ ไม่มีขายในร้านอเมริกัน เพราะแพงอยู่ ถุงสิบกิโลกรัมราคาประมาณ 12 US Dollar ซื้อแล้วต้องไปหุง รออีกสิบห้านาทีถึงทานได้ แถมยังต้องมีกับข้าวจะทานข้าวเปล่าก็ไม่ได้ แต่เมื่อเทียบกับข้าวจีนที่ทำพร้อมกับกับข้าวใส่ Package มาแล้ว ราคาประมาณ 5 US Dollar น้ำหนักไม่น่าเกินครึ่งกิโลกรัม เพราะฉะนั้นหากขายเท่ากับข้าวไทย 10 กิโลกรัมจะได้เงินประมาณ 100 US Dollar สินค้าพวกนี้ขายผ่านระบบ Distributor ซี่ง Distributor จะได้ประมาณ 30% เพราะฉะนั้นหากหักค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโฆษณาจะอีก 20% แสดงว่าโรงงานจะได้ประมาณ 50% สินค้าพวกนี้ส่วนมากจะต้องมีต้นทุนและค่าแรงไม่เกิน 50% ของราคาขายส่ง ดังนั้นเจ้าของโรงงานจะได้เงินเข้ากระเป๋าประมาณ 25 US Dollar ในขณะที่ข้าวไทยต่อให้ชาวนามาขายเองไม่ผ่านนายหน้าขายด้วยน้ำหนักเท่ากันยังไม่ได้เท่ากับเจ้าของโรงงานขายอาหารจีนเลยครับ

    เหตุที่เมืองไทยเอะอะก็จะขายข้าวสารท่าเดียว เพราะเมืองไทยค่าแรงมันถูก จนคนลึมคิดเรื่องประสิทธิภาพของการทำงาน (Produtivity) เราเลยตกอยู่ในหลุมพรางความพอเพียงที่ไม่เพียงพอ แล้วเราก็สงสัยกันว่า เอ! ทำไมยิ่งทำนา ที่นายิ่งหดไปหว่า ทำไมยิ่งขายข้าวรัฐบาลยิ่งจนเพราะต้องนำเงินไปประกันราคาข้าว

    เรื่องที่ว่าหากมีการล่มสลายทางเศรษฐกิจรอบใหม่ของไทยแล้วกลุ่มทุนใหญ่จะอยู่รอด

    อันนี้ผมเห็นว่าจะจริงครับ เพราะพวกนี้ได้รับบทเรียนจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจรอบที่แล้ว ครั้งก่อนกลุ่มทุนต่างๆใช้วิธีการลงทุนแบบไปกู้เขามา แล้วพวกปล่อยกู้ก็ไปกู้คนอื่นมาปล่อยกู้อีกต่อหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจไทยพังชั่วข้ามคืน คนกู้ล่างสุดไม่มีเงินจ่ายกลายเป็น NPL มันก็เลยพังทั้งระบบ นี่ไม่รวมพวกที่รวมหัวกันเอาสินทรัพย์ราคาถูกมาค้ำประกันเงินกู้เกินมูลค่านะครับ อันนั้นเข้าข่ายโกง

    แต่หลังจากการล่มสลายรอบนั้น พวกกลุ่มทุนฉลาดขึ้น เมื่อเขาต้องการใช้เงินแทนที่จะไปกู้ เขากลับเอาเข้าตลาดหุ้น เป็นการระดมทุนโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ตราบใดที่บริษัทยังกำไร มีแนวโน้มสดใส หุ้นเขาซื่งเป็นกระดาษเปล่าก็กลับมีราคา ไม่ต้องใช้สินทรัพย์จำนอง กลุ่มทุนพวกนี้มีหน้าที่อย่างเดียวคือบริหารธุรกิจให้กำไรเพื่อรักษาราคาหุ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกก็ได้เงินบางส่วนจากหุ้นมาแล้วเรียบร้อย ยิ่งกฏหมายไทยยกเว้นภาษีเลยรวยกันไปใหญ่ ตัวอย่างที่เห็นชัดในการใช้ตลาดหุ้นระดมทุนคือเบียร์ช้าง จากพันล้านกลายเป็นหลายพันล้านเพียงชั่วข้ามคืน กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้หากเศรษฐกิจล้มเขาก็ไม่กระเทือนมากนักเพราะเงินที่ได้มามาจากการขายหุ้นไม่ใช่ไปกู้มา

    แต่คนที่จะเดือดร้อนคือชนชั้นกลางกินเงินเดือนบริษัทนี่แหละครับที่จะสาหัสที่สุด เพราะกลุ่มทุนเมื่อเขามีแววว่ากำไรจะหด เขาก็ขายหุ้นทิ้งซะ ตัวบริษัทจะไปอยู่กับใครหรือจะต้องปิดอันนั้นเขาไม่สนใจแล้ว คนทีทำอะไรไม่ได้คือลูกจ้างที่ถูกลอยแพ และอย่างที่ผมบอกไว้คือชนชั้นกลางที่เป็นลูกจ้าง ส่วนใหญ่ทำงานบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ต้องส่งออก ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม พอประเทศไทยลดความสามารถในการแข่งขันลง เราก็ไม่มีรายได้เข้ามา ภาคการผลิตก็ต้องหยุด เมื่อโรงงานมันหยุดแล้วคนกินเงินเดือนจะเอาที่ไหนให้ไปทำงานเล่าครับ

    ส่วนคนจนระดับรากหญ้านั้น เขาไม่เดือดร้อนอะไรมาก เพราะเขาจนประเภทที่ไม่มีอะไรจะกินอยู่แล้ว จะล้มละลายกันอีกทีเขาก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม

    จริงๆแล้วผมว่ามันก็เป็นกรรมสนองชนชั้นกลางของไทยในกรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ ที่ชอบดูถูกคนยากจนว่าไม่มีสมอง และมักทำตามความพอใจมากกว่าความถูกต้อง ทำให้ประเทศไทยเดินมาถึงจุดนี้ หลังจากพิษเศรษฐกิจรอบใหม่ผมก็หวังว่าชนชั้นกลางคงจะได้บทเรียนและรู้จักเคารพกฏหมายมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา


    ส่วนอีกคำถามเรื่อง

    ตอนเรียนเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ปี 1 ตำราเค้าให้ความหมายของ "เศรษฐศาสตร์" ว่า

    "การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด"

    คำตอบก็คือเรื่องชาวนาอเมริกันและข้าวจีนที่ผมเล่าไปแหละครับ หากมองดีๆแล้ว มันก็เกิดมาจากความคิดพื้นฐานนี่แหละครับ พูดง่ายๆ "การพัฒนาเกิดจากความไม่เพียงพอครับ"

    หากคุณได้ลองสัมผัสทุนนิยมอย่างสุดขั้วอย่างที่ผมเผชิญอยู่ จะตอบได้ครับว่าทุนใหญ่ใช่ว่าจะอยู่รอดในโลกทุนนิยมครับ

    ข้อดีของทุนนิยมคือหากมันเป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบมันจะเป็นการแข่งขันกันเสรีทำให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันมันก็กลายเป็นข้อเสียด้วยคือคนที่อ่อนแอต้องหายไปจากธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้

    จริงๆแล้วทุนนิยมนี่แหละเลียนแบบกฏธรรมชาติเลยครับคือ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ผมบอกได้เลยว่าการเป็นปลาใหญ่แล้วจะไปไล่กินชาวบ้านทั้งหมดก็ไม่ใช่ครับ เพราะปลาใหญ่มันก็มีข้อเสียของมันเหมือนกัน

    ทุนใหญ่นั้นมีข้อดีตรงที่ทุนหนาจะทำอะไรก็ง่าย จะจ้างคนงานระดับเก่งแค่ไหนก็ได้ แต่มันก็มาพร้อมกับไขมันส่วนเกิน (Fat) พวกนี้จะเห็นได้ง่ายในบริษัทระดับใหญ่เมืองไทยที่ระดับบริหารบริษัทงานการไม่ทำ ตีกันแต่กอล์ฟ พูดกันง่ายๆคือเขาเล่นการเมืองในองค์กรมากกว่าทำงาน เพราะฉะนั้นทุนใหญ่ก็จะเสียเงินไปจ้างคนเหล่านี้มาเล่นกอล์ฟ เล่นการเมืองขัดขากันเอง บริษัทใหญ่ๆจึงมีปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีแบบที่เรียกว่านวัตกรรม (Cutting Edge) เพราะโครงสร้างมันใหญ่เกินไปที่จะเคลื่อนตัวได้รวดเร็ว ตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ Big 3 (GM, Ford and Crysler) พวกนี้เป็นบริษัทใหญ่ที่ใกล้ตาย รู้ไหมครับว่า GM นี่เป็นหนี้สหภาพไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านเหรียญ ส่วน Ford ต้องไปกู้เงินมาจ่ายหนี้สหภาพ ส่วน Crysler นี่เปลี่ยนเจ้าของไม่รู้กี่รอบ เพราะไม่กำไร

    ในทางกลับกันบริษัทเล็กทุนเล็ก อาจมีเงินหมุนได้ไม่คล่องเท่ากับบริษัทใหญ่ แต่ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายไปจ้างคนมาเล่นละครในที่ทำงาน ทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับตลาดได้ง่าย บริษัทพวกนี้เขาไม่โง่ไปชนกับบริษัทใหญ่ แต่เขาจะทำการตลาดแบบเฉพาะ (Nitch Market) เขาจะหาช่องที่บริษัทใหญ่ไม่สามารถทำได้ หรือทำแล้วไม่คุ้ม เป็นตลาดที่มีคู่แข่งน้อย หรือยังไม่มีใครทำมาก่อน เรียกว่า Untap Market จุดนี้ครับคือจุดแข็งของทุนเล็กที่ทุนใหญ่สู้ไม่ได้ ทำให้บริษัทขนาดเล็กมากมายในอเมริกาอยู่ได้ แถมกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์มากกว่าบริษัทใหญ่ด้วย

    จริงๆแล้ว Key ของทุนนิยมคือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ ดาวินชี่ เคยพูดไว้ว่า "เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอดไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เก่งที่สุด" หลักของทุนนิยมก็ตรงกับข้อนี้แหละครับ

    ที่เมืองไทยเราต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นทุนนิยมก็เพราะว่า เราคุ้นเคยกับการอยู่สภาพเดิมๆ เราคุ้นเคยกับการมองปัญหาเป็นปัญหา แทนที่จะมองปัญหาเป็นโอกาส ใครๆก็รู้ครับว่าประเทศไทยเมื่อไปเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วมันก็เหมือนปลาเล็กตัวนิดเดียว แทนที่เราจะมองว่าเราได้เปรียบ เคลื่อนที่เร็ว เข้าไปหากินในช่องที่ปลาใหญ่เข้าไปไม่ได้ เรากลับมองว่าเราเป็นปลาเล็ก ออกไปข้างนอกต้องถูกกินแน่เลย ดังนั้นทางที่ดีที่สุดนอนรอเหยื่อว่ายเข้ามาในถ้ำ ไม่ออกไปหากิน คิดอย่างนี้เราก็คงอดตายก่อนจะมีเหยื่อโง่เข้ามาให้กินซิครับ

    การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติครับ หากคิดให้ดีสมัยรัชกาลที่ห้า ก็มีการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ใช่ว่าจะไม่มีใครต่อต้าน แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นว่าวันนั้นหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันสมัยเหมือนตะวันตก วันนี้เราอาจเป็นหนึ่งใน Great Britain ไปแล้วก็นะครับ
    "ที่ผ่านมา นโยบายเชิงการตลาดของผู้นำนักธุรกิจ ...สนับสนุนให้เกิดกระแสการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยการให้เครดิตคนไทย มาใช้เป็นทุน (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) หมดไปกับการจับจ่ายใช้สอย(จนเกินดัว) แต่ก็ทำให้เกิดภาพความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในทุกระดับ"

    เรื่องนี้ผมยกตัวอย่างแนวคิดของคนอเมริกันให้ฟังแล้วกันครับ อเมริกามีระบบอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "Credit History Report" พูดง่ายๆคือ ประวัติการเป็นหนี้ เขาทำไว้เป็นคะแนนโดยบริษัทจัดคะแนน Credit อิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาล บริษัทเหล่านี้จะจดบันทึกประวัติการเป็นหนี้ของแต่ละบุคคลไว้ และให้คะแนนจากปริมาณเงินที่เป็นหนี้ ความสามารถในการใช้หนี้ และการตรงต่อเวลาในการใช้หนี้ คะแนนเหล่านี้มีประโยชน์เมื่อคนอเมริกันต้องการจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือจะซื้อบ้าน ซื้อรถ ผู้ให้กู้หรือผู้ขายก็จะเช็คกับบริษัทเหล่านี้ว่าคนที่มาขอกู้นั้นมีประวัติดีหรือเลวอย่างไร เหมาะสมให้กู้หรือไม่ หรือถ้าให้กู้จะคิดดอกเบี้ยอัตราเท่าไหร่ ซึ่งก็ขึ้นกับคะแนน หากคะแนนดีดอกเบี้ยก็จะถูก การอนุมัติก็จะง่าย ด้วยวิธีนี้ทำให้คนอเมริกันเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักคนในแบงค์ หรือมีนามสกุลใหญ่โต
    ในทำนองเดียวกันคนไทยเราไม่มีระบบเครดิต การเข้าถึงเงินกู้จึงยากกว่าของอเมริกัน คนจะกู้ต้องมีนามสกุลดี มีคนรู้จักข้างใน ส่วนคนที่ไม่มีเส้นสายก็ต้องไปกู้เงินนอกระบบ ทำให้เกิดกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นปล่อยกู้แล้วคิดดอกเบี้ยแพงเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด นโยบาย SME หรือกองทุนหมู่บ้านก็คือแนวคิดที่จะให้คนไทยระดับล่างเข้าถึงเงินกู้ในระบบได้ง่าย แต่ต้องยอมรับว่าคนไทยไร้วินัยในการใช้เงิน ภาพที่ออกมาเลยกลายเป็นว่าไปกู้มาซื้อของฟุ่มเฟือย ตรงนี้แหละที่ควรจะนำความคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ คือกู้ได้ แต่ต้องกู้ไปหมุนต่อเงิน และต้องมีวินัยในการใช้คืน
    ต่อมาคือเรื่องเครดิต ที่คนไทยเป็นหนี้ เรื่องนี้มีข้อดีและข้อเสีย หากมองว่าการเป็นหนี้แล้วเป็นข้อเสียทั้งหมดเป็นการมองแง่เดียว จริงๆแล้วต้องลองมองอีกมุมว่า เพราะเป็นหนี้ทำให้คนต้องหาทางทำมาหากินให้ได้กำไรมากขึ้นมาผ่อนหนี้ เกิดความคิดธุรกิจใหม่ๆ และเกิดการจ้างงาน หากคนไทยทุกคนเก็บเงินซื้อบ้านเงินสด ผมรับรองได้ว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยล้มละลาย เพราะคนจบใหม่รับราชการรับเงิน 8,000 บาท เดือนหนึ่งเหลือเก็บ 2,000 ก็เก่งแล้ว ต้องเก็บอีกกี่ปีครับจะซึ้อบ้านราคา 200,000 บาทได้ เกือบสิบปีนะครับ ในขณะที่หากเก็บเงินไว้ส่วนหนึ่งแทนที่จะรอสิบปี พอได้สัก 20,000 บาท เอาเงินนั้นไปดาวน์บ้านแล้วกู้เงินมาผ่อน แทนที่จะต้องเสียค่าเช่าบ้านให้กับเจ้าของบ้าน โดยที่เราไม่ได้มีอะไรเป็นชื่อเราเลย สู้เอาเงินนั้นมาใส่ในบ้านที่เป็นของเราไม่ดีกว่าหรือครับ


    "ขณะเดียวกัน ก็เปิดเสรีให้เงินทุนต่างชาติ เข้ามายึดครองตลาด นั้นหมายถึง การยึดครองระบบเศรษฐกิจ ผนวกกับ กลไกการบริหารประเทศที่ไร้จริยธรรม ขาดการตรวจสอบ ยินยอมให้กลุ่มทุนเข้ามามีบทบาทในอำนาจการบริหาร ทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งควรจะเป็นทรัพย์สินของชาติ ให้ตกอยู่ในมือของกลุ่มทุน ที่มุ่งหวังผลกำไร และไม่ใสใจว่า คนส่วนใหญ่จะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่"

    เอาเรื่องการเปิดเสรี และการแปรรูปรัฐวิสหกิจ มาถกกัน เริ่มที่การเปิดเสรีก่อน การเปิกเสรีนั้นอย่างที่ผมบอกว่ามันเป็นทุนนิยม มันทำเป็นการเปิดให้แข่งขันกันได้โดยรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงน้อยที่สุดหรือไม่แทรกแซงเลย วิธีเป็นการขจัดกลุ่มทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพออกจากตลาด ที่คงเหลือก็คือผู้ที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับตลาดเท่านั้น ผมยกตัวอย่างให้ชัดเจนคือรัฐวิสาหกิจไทย ที่หลายคนบอกว่าเป็นสมบัติชาติ ผมถามว่าทุกวันนี้ที่มันเป็นของรัฐนี่เราจ่ายค่าไฟ ค่าน้ำ ค่ารถไฟเกินราคาที่เราควรจะจ่ายหรือเปล่า ในเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจหลายคนทำงานแบบราชการแต่ได้เงินแบบเอกชน บิลล์เก็บเงินที่มาเรียกเก็บเรานั้นบวกค่าแรงที่จ่ายให้คนเหล่านี้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เราจ่ายเงินซื้อสินค้าในราคาที่เกินความเป็นจริง ที่เขาทำได้เพราะเขาผูกขาดครับ เขาจะกำหนดราคาอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีคู่แข่ง
    แต่หากแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในรูปที่เปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีจริงๆ มีการเปิดโอกาสให้มีคู่แข่งเกิดขึ้นในตลาด ยกเลิกการผูกขาด ผู้ผลิตต้องแข่งกันการด้านราคา ต้องพยายามไม่ให้ราคาสูงเกินคู่แข่ง เป็นผลให้บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถจ้างคนที่ไม่มีประสิทธิภาพมาทำงานได้ เราก็ไม่ต้องไปจ่ายเงินเกินจริงเลี้ยงคนเหล่านั้น
    ในระบบทุนนิยมมันมีวิธีการในการควบคุมกลุ่มทุนของมันเอง ตราบใดที่รัฐเปิดเสรีไม่ให้มีการผูกขาด กลุ่มทุนนั้นมุ่งหวังกำไรเป็นเรื่องหลักนั้นแน่นอนอยู่แล้ว แต่วิธีที่ทุนนิยมใช้ในการควบคุมกลุ่มทุนคือ หลักการ Demand-Supply เมื่อกลุ่มทุนหรือฝั่ง Supply มีน้อย แต่ผู้บริโภคมีมาก มันก็ทำให้ราคาสูงตามไปด้วย แต่ด้วยระบบเปิดเสรี ยิ่งสินค้าราคาสูง มีกำไรมาก ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีคู่แข่งเข้ามาแข่งขันแบ่งเค้กก้อนนั้นด้วย เมื่อมีคู่แข่งก็ต้องเกิดการปรับตัว ไม่ว่าจะปรับคุณภาพสินค้าและราคา สุดท้ายมันก็จะปรับเข้าสมดุลที่ทั้ง Supply และ Demand อยู่ในระดับที่เพียงพอที่จะเอื้อประโยชน์กัน ที่เขาเรียกว่าราคาตลาดครับ
    ที่คุณไวรัสกังวลเพราะไม่เคยเห็น เนื่องจากเมืองไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบช่วยเหลือจุนเจือ (หรือแบบพวกใครพวกมัน) จะเห็นได้จากเมื่อก่อนตอน ปตท. ยังอยู่ภายใต้รัฐบาล เวลาราคาน้ำมันขึ้น รัฐก็จะให้ ปตท. ตรึงราคาน้ำมัน โดยที่รัฐต้องใช้เงินมาโป๊ะให้ ปตท. สุดท้ายเราก็ไม่ได้ใช้น้ำมันถูกหรอกครับ มันภาพลวงตา เพราะจริงๆแล้วเราก็ใช้น้ำมันราคาตลาดนั่นแหละ ส่วนที่มันหายไปจากตาเรา มันไปควักจากเงินภาษีที่เราจ่ายให้รัฐนั้นเอง คนไทยเราไม่มีทางที่จะได้ใช้ของราคาตลาดได้เลย หากเรายังอยากให้รัฐวิสหกิจอยู่ภายใต้รัฐ อยากให้รัฐเข้าควบคุมเศรษฐกิจ เราก็จะถูกหลอกไปเรื่อยๆว่าได้ใช้ของถูก แต่กลับถูกขโมยเงินภาษีมาอุด แทนที่เราจะได้โรงเรียนอีกหลังแทนที่ถูกเผา ก็เลยได้เป็นโบนัสพนักงานไร้คุณภาพแทน
    ที่กลุ่มทุนเข้าไปกำหนดราคาสินค้า สวัสดิการ หรือแทรกแซงท้องถิ่นได้ เพราะมันไม่เปิดเสรีจริงๆครับ มันยังเป็นระบบเศรษฐกิจแบบช่วยเหลือจุนเจืออยู่ครับ

    ประเทศอย่างอเมริกานั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างสูง แต่ไม่ได้ประสบปัญหาสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมตกต่ำอย่างที่เข้าใจกันนะครับ

    เรื่องสภาพแวดล้อมนั้นอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีต้นทุนทางด้านสูงแวดล้อมสูงแบบที่ประเทศไทยเราไม่ติดฝุ่น มาตราฐานน้ำทิ้งโรงงานกระดาษในจอร์เจียที่ผมเคยไปมา ต้องอยู่ในระดับที่คนดื่มได้ถึงจะทิ้งลงแม่น้ำได้ ราคากระดาษที่นี่เลยไม่ถูก เพราะต้องบวกค่าบำบัดสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย ในขณะที่ประเทศไทยเมืองพอเพียง โรงงานทำแบตเตอรี่เล่นทิ้งน้ำเสียผสมตะกั่วลงแม่น้ำไม่มีการบำบัด ชาวนาทำนาแล้วปล่อยน้ำในนาที่ผสมยาฆ่าแมลงลงในแหล่งน้ำอย่างไม่มีมาตราฐานควบคุมใดๆ ประเทศไหนกันแน่ครับที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม

    ส่วนเรื่องสภาพสังคมนั้นอิทธิพลส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากความเจริญทางเทคโนโลยีหรือทางเศรษฐกิจ แต่อยู่ที่การอบรมสั่งสอนของครอบครัวต่างหากที่เป็นจุดหลัก คนบ้านเราเลี้ยงลูกกันไม่เป็น พอมันออกมาไม่ดีก็โทษสังคม โทษโรงเรียน โทษรัฐบาล โทษต่างชาติ โทษความเจริญ แต่ผมไม่เคยเห็นใครออกมาพูดเลยครับว่ามันเป็นความผิดของตัวพ่อแม่เองที่เลี้ยงดูออกมาไม่ดี จริงๆแล้วเด็กจะโตออกมาอย่างไร คนที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุดคือผู้ปกครองนะครับ ไม่ใช่สังคม ไม่ใช่หน้าที่ของสังคมที่ต้องมารับภาระเลี้ยงดูเด็กทุกคนให้เป็นคนดี เราต้องเริ่มจากการยึนบนลำแข้งเราก่อน อยากให้สังคมมันดี ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน แล้วสอนลูกหลาน อย่างนี้สิครับพอเพียงของแท้ ไม่ใช่พูดกันเฉยๆ

    จากคุณ : BoydKansasCityhttp://boydkc.bloggang.com/- [ 5 ม.ค. 50 13:11:19 A:24.163.236.226 X: ]

    ในมุมของลัทธิเศรษฐกิจการเมือง

    มีแนวคิดหนึ่งที่ให้มนุษย์เชื่อ และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ทะเยอะทะยานจนเกินตัว ยอมรับระบบที่เป็นอยู่ ไม่เห่อเหิมฟุ้งเฟ้อ ไม่พยายามเอาชนะสภาพเศรษฐกิจการเมืองและธรรมชาติ
    แนวคิดนี้เป็นแนวคิดในยุโรปสมัยกลางที่ยกขึ้นอ้างความชอบธรรมที่จะปกครองประชาชน
    และเพื่อชี้ว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองศักดินาที่ดำรงอยู่ในยุคนั้นเป็นระบบที่ชอบธรรมแล้ว
    ในยุคนั้นจะให้เชื่อในศาสนาคริสต์ ให้เชื่อในพระเจ้า
    ไม่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์
    ผลคือมนุษย์จึงไม่คิดเปลี่ยนแปลงระบบใดๆ และทำให้ระบบศักดินาในยุโรปได้รับการยอมรับและคงอยู่นับพันปี

    มีแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดข้างต้น คือ แนวคิดมนุษยนิยม ที่สอนให้เชื่อในความสามารถของมนุษย์เอง
    สิ่งทั้งหลายจะเป็นมาอย่างไรและจะเป็นไปอย่างไร มนุษย์เป็นผู้กำหนด

    (อ้างอิงจากหนังสือ "ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง" ของ ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา)

    จากคุณ : PDF http://apang.bloggang.com/- [ 6 ม.ค. 50 15:41:18 A:161.200.255.162 X: ]

    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนย่อยภายใต้ ระบบเศรษฐกิจใดเศรษฐกิจหนึ่ง ถ้าเรายอมรับความจริงข้อนี้เสีย ทุกคนจะหยุดหาเหตุผลมาเข้าข้างตนเอง ทำควบคู่มันไปทั้งสองแบบนั้นแหละ จะเป็นแบบทุนนิยมอย่างพอเพียง หรือสังคมนิยมอย่างเพียงพอ

    ท้าฟ้าท้าดินได้เลย ต่อให้เทวดามาทำให้ทั้งประเทศอยู่แบบพอเพียง ก็ไม่มีปัญหาทำได้ เพราะเทวดายังมีกิเลส และ 1 ใน 3 กิเลสคือ ความไม่พอ ความโลภ

    ของดี ๆ จะทิ้งไปไย ในเมื่อดีทั้งสอง คนฉลาดก็ย่อมนำประยุกต์ ประสานเป็นหนึ่งเดียว หรือจะเรียกให้เท่ว่า ทุนนิยมภายใต้คุณธรรม
    เท่ไหม ระบบใหม่ของโลก

    จากคุณ : แสนแมน - [ 6 ม.ค. 50 17:19:12 A:124.121.57.74 X: ]
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×