ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #85 : ศาลมิใช่พหูสูต นักกฎหมายมิได้รู้ทุกเรื่อง:กรณีคำวินิจฉัยศาลรธน.เรื่องพรก.กู้เงิน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 259
      1
      8 ม.ค. 53

    โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ

    คนอื่นจะ คิดอย่างไรผมไม่รู้แต่ความรู้สึกของผมที่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญกรณี พ.ร.ก.กู้เงินฯแล้ว มีความรู้สึกพิกลๆว่าเดี๋ยวนี้ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในคำ วินิจฉัยแทนหลักกฎหมายกันแล้วหรือ รู้สึกฉงนว่าศาลรัฐธรรมนูญมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กว่านัก เศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่มากมายในประเทศนี้แล้วล่ะหรือ หรือว่าเป็นเพียงการนำคำชี้แจงหรือคำให้การของรัฐบาลมาปรับปรุงตกแต่งใหม่ เท่านั้นเอง
    โดยเนื้อหาในคำวินิจฉัยระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ใน ทั้งสองประเด็น ประกอบด้วย
    ประเด็น แรกคือ การตรา พ.ร.ก. ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตาม รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งหรือไม่ โดยในประเด็นนี้ คณะ ตุลาการเห็นว่า ขณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการเมืองภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน รวมทั้งก่อให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ระบบเศรษฐกิจเกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออก และนำเข้าก็ลดลงอย่างมาก รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เคยทำรายได้สูงสุดก็ลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความปลอดภัย
    สิ่ง บ่งชี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงคือ มูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยหดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ภาคธุรกิจปิดกิจการมากขึ้นทำให้ปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น หนี้เสียมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อลดลง ส่งผลให้จีดีพีหดตัวลงอย่างมาก
    จาก ปัจจัยต่าง ๆ ทำให้รายได้ที่จัดเก็บน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง ถึงความสามารถในการใช้จ่ายและจัดทำบริการสาธารณะ แม้ว่า รัฐจะได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการทางภาษี มาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน การจัดทำงบประมานรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ หรือเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่าง ต่อเนื่อง
    “เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ประกอบเหตุผลในการตรา พ.ร.ก. ย่อมเห็นได้ว่า การที่คณะรัฐมนตรี ตรา พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้นมา ก็เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ มิให้ตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้ภาครัฐในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะช่วยสร้างกำลังซื้อ อย่างเร่งด่วนในระระบบ ในช่วงที่กำลังซื้อจากทั้งในและต่างประเทศหดตัวลง จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน
    เพื่อ ป้องกันปัญหาที่จะลุกลามไปทุกภาคส่วน อันเป็นการทำหน้าที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐในการสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงใน ทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ ววรคหนึ่งแล้ว”
    ประเด็นที่ สองที่ต้องพิจารณาคือ พ.ร.ก.ดังกล่าว ตราขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐ ธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคสองหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวคณะตุลาการเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาความมั่นคงในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่ว่ามูลค่า การส่งออกที่หดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง มีการปิดกิจการหรือเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้น หนี้เสียพุ่งสูงขึ้น ทุกปัจจัยส่งผลกระทบให้เกิดภัยวิกฤติเศรษฐกิจ จนรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการแก้ไขวิกฤติในหลายทาง แต่สภาวะเศรษฐกิจก็ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจึงถือเป็นกรณีที่มีความฉุก เฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว
    “ดัง นั้น เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เป็นกรณีความฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน อัน มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ดังกล่าวข้างต้น ประกอบสาระสำคัญและกรอบการดำเนินการตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๕๒ แล้ว ยังไม่มีมูลกรณีให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีได้ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริตหรือใช้ดุลยพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า การตรา พ.ร.ก.นี้ขึ้นมา เป็นกรณีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคสองแล้ว”
    อันที่จริงแล้วเมื่อเราวิเคราะห์ดู ในเนื้อหาของมาตรา ๑๘๔ วรรคสองที่บัญญัติว่าการตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจคณะรัฐมนตรีไว้ชัดเจน ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจใดๆในการไปวินิจฉัยอีก เพราะในเมื่อคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนตาม อำนาจที่ได้รับจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
    กอปรกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติให้การตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ ของฝ่ายบริหารตามมาตรานี้ไว้ว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วยผู้ที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองยิ่งศาลรัฐธรรมนูญที่ประกอบ ไปด้วยนักกฎหมายเสียเกือบทั้งหมดมี นักรัฐศาสตร์บ้างเพียงสองคนจากจำนวนทั้งหมดเก้าคน ที่สำคัญคือไม่มีใครเป็นนักเศรษฐศาสตร์เลย
    ฉะนั้น ในกรณีนี้จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัยจนทำให้ การนำเข้าสู่รัฐสภาเพื่อลงมติว่าจะรับรองหรือไม่รับรองกฎหมายฉบับนี้ต้อง ชะงักงันไป จนทำให้หลักการของความจำเป็นเร่งด่วนต้องเสียไปเพราะศาลรัฐธรรมนูญเอง
    ตัวอย่าง ที่ผมยกมานี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายเรื่องที่นักกฎหมายสำคัญตนเองผิด ว่าตนเองรู้ดีกว่าคนอื่นไปเสียทุกเรื่อง ซึ่งก็รวมไปถึงไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญที่ผูกขาดโดยนักกฎหมายหรือร่าง กฎหมายทั่วๆไปที่ถูกผูกขาดตัดตอนโดย สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะกำหนดเนื้อหาที่นอกเหนือจากเทคนิคทางกฎหมายว่าอะไรควรหรือไม่ควรที่จะ บัญญัติลงไปในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายทั่วๆไป แทนที่จะเป็นไปตามความต้องการผู้ที่จะต้องใช้กฎหมายนั้น
    นักกฎหมายนั้น เปรียบเสมือนช่างตัดผมที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการ ตกแต่งผม แต่ต้องตามใจลูกค้าว่าจะเลือกทรงอะไรสำหรับหัวของเขา มิใช่จะต้องจำยอมให้นักกฎหมายหรือช่างตัดผมตัดตามใจของตัวเอง จนร่างกฎหมายดีๆหลายฉบับต้องบิดเบี้ยวไปดังเช่นที่ผ่านๆมา

    ที่มา pub-law.net


    ข้อสังเกตคดี พรก กู้เงิน โดยปิยบุตร แสงกนกกุล แห่งบอร์ดฟ้าเดียวกัน

    คำ วินิจฉัยศาล รธน คดี พระราชกำหนดกู้เงิน ความยาว ๓๔ หน้า แต่ขอให้อ่านตั้งแต่หน้า ๒๖ เพราะที่เหลือนั้น มีแต่น้ำ ไม่มีอะไร ตามสไตล์คำพิพากษาไทย เอาคำฟ้อง คำให้การ มาแปะๆๆๆ แล้วศาลตัดสินตอนท้ายจึ๋งเดียว

    จากการอ่านเร็วๆ ผมมีข้อสังเกตดังนี้

    ๑. การให้เหตุผลของศาล รธน

    ผม ว่ามันง่ายเกินไปหรือเปล่า บรรยายแบบพรรณนาไปเรื่อยๆๆ นั่น นี่ โน่น (เหมือนอ่าน นสพ หรือ ฟังร้านตัดผม สภากาแฟพูดกันเลย) ไม่ได้มีการแสดงให้เห็นว่า ศก มันแย่อย่างไร การออก พรก จำเป็นต่อความมั่นคงทาง ศก อย่างไร

    ศาลพรรณนาตามสไตล์การสนทนาร้านกาแฟ ร้านตัดผม ว่า ศก แย่ เช่น

    "ข้อ เท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดปัญหาขึ้นส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกแล้ว ปัญหาการเมืองภายในประเทศก็มีความสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยเกิดภาวะชะลอ ตัวลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน ตลอดจนก่อให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ของทางภาครัฐ จากเหตุความเป็นไปในภาวะของเศรษฐกิจของประเทศไทยดังกล่าว สรุปที่มาของปัญหาโดยมีที่มาจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและชะงักงัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุนและการล้มละลายของสถาบันการเงินในหลายประเทศ ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อเศรษฐกิจโลก ปัจจัยภายในได้แก่ สถานการณ์การเมืองที่ขาดเสถียรภาพซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง และเกิดความลังเลในการตัดสินใจที่จะมาลงทุน ทำให้ระบบเศรษฐกิจ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะด้านการส่งออกและรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เคยทำรายได้ เข้าประเทศ
    สูงสุดกลับมีรายได้ลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความ ปลอดภัยในการเดินทางมาประเทศไทย สิ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาวิกฤติ เศรษฐกิจการเงิน
    โลก และวิกฤติการเมืองภายในประเทศได้แก่ มูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยหดตัวอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ภาคธุรกิจมีการปิดหรือเลิกกิจการเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนี้เสียในระบบสถาบันการเงินมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อสินค้าและบริการของประชาชนโดยรวมลดลง ผลกระทบทั้งหมดทำให้อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลดลงเป็นอันมาก"

    พอพรรณาเสร็จปุ๊บ ก็เอา ตัว พรก มาดู พร้อมกับเอาเหตุผลของ พรก มาดู แล้วก็ ฟันธงได้ทันทีว่า

    "เมื่อ พิจารณาสาระสำคัญทั้งห้าประการประกอบเหตุผลในการตราพระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า การที่คณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้ นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้นมาก็เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศมิให้ตกต่ำไปมากกว่าที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเพื่อให้ภาครัฐในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะช่วยสร้างกำลัง ซื้ออย่างเร่งด่วนในระบบในช่วงที่กำลังซื้อจากต่างประเทศและในประเทศหดตัวลง จากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก ที่จำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกัน ปัญหาก่อน
    ที่ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจจะลุกลามไปในทุกภาคส่วน อันเป็นการทำหน้าที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐในการสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงใน ทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง แล้ว"

    หรือ ศาล รธน พิจารณาว่า การออก พรก เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่?

    ศาล รธน ก็แปลความให้ว่า

    "ต้อง เป็นกรณีที่เร่งด่วนที่จะต้องรีบป้องกันแก้ไขโดยพลัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าหากไม่เร่งรีบดำเนินการป้องกันและวางแนวทางแก้ไข ไว้ก่อน ย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงยากต่อการแก้ไขเยียวยาในภายหลัง ทั้งนี้ การที่จะพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นกรณีฉุกเฉิน หรือไม่ นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นแต่ละกรณีไป"

    พอแปลความคำว่าฉุกเฉินจบ ก็พิจารณาข้อเท็จจริงด้วยการพรรณา นั่น นี่ นู่น (ซึ่งบรรยายเหมือนเดิมเป๊ะ) ว่า

    "เมื่อ พิจารณาถึงสภาพปัญหาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังประสบอยู่ใน ปัจจุบัน ไม่ว่ามูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยที่หดตัวอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง การที่ภาคธุรกิจมีการปิดหรือเลิกกิจการเพิ่มมากขึ้น ปัญหาอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งทุกเหตุปัจจัยส่งผลกระทบให้เกิดภัยวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ จนรัฐบาลต้องเร่งดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤตินั้นไม่ว่า มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน มาตรการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ และมาตรการอื่น ๆ เพื่อแก้ไขภัยจากวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าว แต่สภาวะเศรษฐกิจโลกและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แล้ว"

    เสร็จปุ๊บ ก็ฟันธงว่า

    "เป็นกรณีที่มีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว"

    คือ ศาลแปลความไว้ชัดเจนว่า ฉุกเฉิน คืออะไร แต่ศาลไม่ได้เอา การแปลความคำว่าฉุกเฉินนั้น มาพิจารณาโดยละเอียด กลับใช้สูตรพรรณาเหตุการณ์ต่างๆไปเรื่อย แล้วก็ฟันธง

    เมื่ออ่านจาก ที่ศาลแปลความคำว่าฉุกเฉินแล้ว ("ต้องเป็นกรณีที่เร่งด่วนที่จะต้องรีบป้องกันแก้ไขโดยพลัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าหากไม่เร่งรีบดำเนินการป้องกันและวางแนวทางแก้ไข ไว้ก่อน ย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงยากต่อการแก้ไขเยียวยาในภายหลัง ทั้งนี้ การที่จะพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นกรณีฉุกเฉิน หรือไม่ นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นแต่ละกรณีไป") จะเห็นได้ว่า ต้องนำหลักความได้สัดส่วนมาพิจารณาประกอบ

    ศาลต้องชั่ง นน ว่า การออกเงินกู้มีความจำเป็น นอกจากการกู้เงินโดยออก พรก แล้ว ยังมีมาตรการอื่นอีกหรือไม่ หากมีมาตรการอื่น มาตรการนั้นไม่เวิร์คใช่หรือไม่ เพราะอะไร เมื่อมาตรการอื่นไม่เวิรค ก็หมดหนทาง จำเป็นต้องกู้ แล้วถ้าออก พรก กู้เงินแล้วมีผลได้มากกว่าเสียหรือไม่

    ศาลต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า หากไม่มี พรก กู้เงินนี้แล้ว จะเกิดความชิบหายแก่ ศก "ทันทีทันใด" หรือไม่ และเกิดความชิบหาย "ร้ายแรงเพียงพอ และเยียวยาไม่ได้" หรือไม่ แต่จาก ๑๐ บรรทัดที่พรรณนามานั้น (หน้า ๓๑ - ๓๒) ไม่เห็นปรากฏ

    ศาลไม่ได้พูดถึงเลย พรรณาว่าเศรษฐกิจแย่ มาตราการนั่นนี่โน่น ไม่ได้ ไม่ดี บลา บลา บลา ไป ๑๐ บรรทัด

    ๒. ผมคิดว่าปัญหาใหญ่ของศาลไทย โดยเฉพาะศาลในคดีมหาชน โดยเฉพาะไปอีก ศาล รธน คือ เรื่องการเขียนให้เหตุผล การอาร์กิวเมนท์ ผมเห็นว่า "เบามาก"

    เป็น สไตล์ เขียนวนๆ พรรณนาเชิงอัตวิสัยไปเรื่อย แล้วก็ ฟันธง ฉับๆๆๆ บางทีก็ยกคำร้อง หรือ คำให้การ นั่นแหละ มาว่าใหม่ แล้วบอกว่าศาลเห็นด้วย จบ

    คดียุบพรรคภาคหนึ่งก็แนวนี้

    มีอีกนิด ไม่ค่อยสำคัญเท่าไร

    ผม อ่านๆไป รู้สึกว่าคำวินิจฉัยนี้ ประจานรัฐบาลอภิสิทธิ์ และ ทีมเศรษฐกิจนี่หว่า ว่าออกมาตรากรพรึบๆๆๆ แต่ความเชื่อมั่นทาง ศก ไม่เกิด

    ลองดูเป็นตัวอย่าง

    "ข้อ เท็จจริงปรากฏว่า แม้ว่ารัฐบาลจะได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานรากมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้ จ่ายของประชาชน มาตรการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ หรือมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐก็ตาม ก็ยังไม่อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องได้แน่"
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×