ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #78 : การคอรัปชั่นทางจริยธรรม ของนักสิทธิมนุษยชน นักสันติวิธี สื่อมวลชน นักพัฒนาเอกชน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 885
      0
      8 ม.ค. 53

    ศรัทธา สารัตถะ

    เพียงชั่วเวลาหนึ่งสัปดาห์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า กลุ่ม นปช. ได้ถูกแปลงสภาพจาก “ประชาชนที่ชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย” กลายเป็น “คนอื่น” (the other) ใน สังคมไทยอย่างสมบูรณ์แบบ เสียงส่วนใหญ่ที่ครอบครองพื้นที่สื่อสาธารณะ ต่างประสานเสียงรุมประณามกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นผู้นิยมความรุนแรง กระทำสิ่งที่ไร้เหตุผล มีเจตนาสร้างความเสียหายให้กับส่วนรวม…..อย่างไม่อาจเข้าใจ หรือแม้แต่ให้อภัย

    ถ้าไม่ลืมง่ายจนเกินไป การแปะป้ายผู้ชุมนุม นปช. ใน ทางลบมาเป็นที่ประจักษ์ชัดมาโดยตลอด ในช่วงหลังการสลายการชุมนุม กลไกที่มีบทบาทในการแปะป้ายทำงานเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นนักสิทธิมนุษยชน นักสันติวิธี สื่อมวลชน นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการและอื่นๆ พากันประสานเสียงแปะป้ายคนเสื้อแดงเป็น “ปีศาจร้าย” “เป็นภัยต่อความมั่นคง” “เป็นศัตรูของชาติ” “เป็นผู้ก่อจลาจล” “เป็นอาชญากร” “เป็นเหยื่อของระบอบทักษิณ” “เป็นผู้นิยมความรุนแรง” “เป็นพวกโง่ จน เจ็บ” “เป็นคนบ้านนอก ไร้การศึกษา” “เป็นพวกหัวอ่อน ถูกหลอกง่าย” ฯลฯ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การแปะป้ายดังกล่าว ปูพรมให้กับการใช้กำลังเข้าจัดการคนเสื้อแดง

    เนื่องจากการแปะป้ายคน เสื้อแดง มีส่วนสำคัญที่สร้างความชอบธรรมให้กับการใช้กองกำลังทหารเข้าจัดการกับปัญหา ความขัดแย้งทางการเมือง การ สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กำลังสร้างบรรทัดฐานทางสังคมขึ้นมาใหม่ว่า การใช้กำลังทหาร พร้อมอาวุธสงครามบรรจุกระสุนจริงจัดการกับการชุมนุมของประชาชนเป็นเรื่องที่ สังคมยอมรับ หากมีเหตุผลที่เชื่อว่าสมควร?

    ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ที่ยังฝุ่นตรลบไม่จาง ความรู้สึกเจ็บปวดโกรธแค้นของผู้ชุมนุมยังคุกรุ่น กลับมีความพยายามเติมเชื้อลงไปในกองไฟ โดยการแปะป้ายผู้ชุมนุมเสื้อแดงแบบเหมารวม เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การจัดการแบบเหมาเข่งต่อไป น่าสงสัยว่า ความสามารถในการจำแนกแยกแยะได้สูญสลายไปจากสังคมไทยแล้ว?

    การแปะป้าย ทักษิณเป็น “อาชญากร” กำลังทำให้ “คนรักทักษิณ” รวมถึง “คนที่ไม่ปฏิเสธทักษิณ” กลายเป็น “อาชญากร” ไปพร้อมกัน ทั้งๆ ที่ความผิดของทักษิณ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของทักษิณ เหตุใดชาวบ้านที่รักทักษิณ หรือคนที่ไม่ปฏิเสธทักษิณ หรือคนที่สวมเสื้อแดง แต่ไม่ได้นิยมชมชอบทักษิณ จึงถูกผลักให้อยู่ในฐานะอาชญากรที่ได้รับการลงโทษอย่างเท่าเทียมกัน?

    คำ ร้องขอให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีผู้สูญหายหรือเสียชีวิตจากการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของประชาชน ถือเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมขั้นพื้นฐานซึ่งยอมรับกันในระดับสากล กลับถูกปัดทิ้งไปอย่างไร้ค่า บรรดานักสิทธิมนุษยชน นักสันติวิธี สื่อสารมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการจำนวนมาก ซึ่งเคยแสดงบทบาทแข็งขันในการเรียกร้องสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เมื่อคราวสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร กำลังแสดงให้เห็น “สองมาตรฐานทางจริยธรรม” ของพวกเขาอย่างหน้าไม่แดง (ดูเพิ่มเติมความเห็นในบทความของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในประชาไท) ด้วยคำพูดราบเรียบและน้ำเสียงเยียบเย็น พวกเขาเปล่งวาจาประสานเสียง “รัฐบาลทำตามขั้นตอน รัฐบาลทำได้เรียบร้อยดี”

    นักสิทธิมนุษยชน นักสันติวิธี สื่อมวลชน นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการทั้งหลายมองไม่เห็นผลกระทบของการแปะป้าย การเลือกปฏิบัติ และสองมาตรฐานทางจริยธรรมของพวกเขา ทั้งๆ ที่พวกเขาอ้างตัวเป็นกลางทางการเมือง พร่ำพูดเสมอถึงความศรัทธาในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ยืนยันว่าเกลียดความรุนแรง เรียกร้องหาระบบธรรมาภิบาลที่โปร่งใส และอวดอ้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประชาชนผู้เสียเปรียบ เหตุใดพวกท่านอ้างว่าเกลียดนักการเมืองคอรัปชั่นเข้าไส้ กลับมองไม่เห็นการคอรัปชั่นทางจริยธรรมของตนเอง?

    สื่อมวลชนมีส่วน สำคัญกับการผลักให้สถานการณ์เดินหน้ามาสู่จุดนี้ ท่ามกลางความขัดแย้งที่แหลมคม ดูเหมือนว่าสถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการรายงานความจริง ด้านเดียว ไม่เว้นแม้แต่โทรทัศน์ที่เกิดจากเลือดเนื้อของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ภายหลังการปะทะ แทนที่สื่อจะพยายามพิสูจน์ความจริงให้สิ้นสงสัย สื่อกลับตอบโต้ข่าวลือว่า “มีคนตาย มีการลากศพไปซ่อน” ด้วยการยืนยันแบบแผ่นเสียงตกร่องว่า “ไม่มีคนตาย มีเพียงคนบาดเจ็บเล็กน้อย” ใน เงื่อนไขที่ช่องทางการสื่อสารและการเรียกร้องความยุติธรรมถูกปิดประตูตาย ชาวบ้านย่อมไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากพึ่งข่าวลือ และข่าวอื่นๆ เท่าที่พวกเขาจะหาได้ แต่สื่อกลับทำผิดซ้ำซากอีก ด้วยการประณามชาวบ้านว่าเชื่อข่าวลือ ทั้งยังไล่บี้นักศึกษาซึ่งพยายามช่วยค้นหาความจริงเกี่ยวกับผู้สูญหายว่า เป็นผู้สร้างข่าวลือ การแปะป้ายผู้ที่มีความเห็นต่าง กำลังกลายเป็นเครื่องมือตีกรอบความจริงให้เหลือเพียงมุมมองเดียวที่รัฐบอก ว่า “ใช่”

    นักสิทธิมนุษยชน นักสันติวิธี สื่อมวลชน นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการทั้งหลาย พวกท่านลืมไปแล้วหรือว่า คนเสื้อแดงคือคนไทยเหมือนกับเราๆ ท่านๆ พวกเขาคือองค์ประกอบหนึ่งที่มีส่วนร่วมสร้างความมั่งคั่งในสังคมให้พวกท่าน ได้อยู่สุขสบาย พวกเขามีพ่อแม่พี่น้องและเพื่อนฝูงญาติมิตรที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกับท่าน การคอรัปชั่นทางจริยธรรมของพวกท่านในวันนี้ กำลังทำลายโอกาสและความเชื่อมั่นในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในวันหน้า กว่าท่านจะตระหนักถึงผลกรรมที่พวกท่านก่อไว้ ประเทศไทยก็ไม่มีวันเหมือนเดิมเสียแล้ว

    ที่มา : ประชาไท


    ‘2 บรรทัดฐาน’ ของทหาร, สื่อ, นักวิชาการ เอ็นจีโอ กรณีใช้พรก.ฉุกเฉิน

    สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

    ที่มา: กระดานข่าวฟ้าเดียวกัน, 13 เมษายน 2551

    หลัง เกิดการปะทะในคืนวันที่ 1-2 กันยายน 2551 ซึ่ง ณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสง ของ นปช. ถูกคนของพันธมิตรฯ ทำร้าย จนเสียชีวิต รัฐบาลสมัครได้ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ปรากฏว่า นอกจากทหาร ที่รับมอบหน้าที่ ไม่ยอมปฏิบัติอะไรทั้งสิ้นแล้ว วงการสื่อมวลชน นักวิชาการ เอ็นจีโอ ยังพร้อมใจกันออกมาประณามรัฐบาลสมัคร และเรียกร้องให้ สมัคร ลาออก และยกเลิกประกาศ พรก.ฉุกเฉิน นี่เป็นรายงานข่าว ของบางตัวอย่างของปฏิกิริยาของบรรดาสื่อมวลชน เอ็นจีโอ ในขณะนั้น (ความจริง ยังมีตัวอย่างอีกมาก)

    อันที่จริงอาจกล่าวได้ว่า การไม่ยอมปฏิบัติตามหน้าที่ของทหาร และการพร้อมใจกันออกมาคัดค้าน ความพยายามดำเนินการยุติการชุมนุมของพันธมิตรฯของรัฐบาลสมัครในขณะนั้น ของสื่อมวลชน นักวิชาการ เอ็นจีโอ มีส่วนรับผิดชอบ ต่อความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นที่ตามมา

    ..............................................

    "องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 5 องค์กรออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน"

    http://www.prachatai.com/05web/th/home/13457


    "กป.อพช.เรียกร้องนายกฯ ลาออก ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน..."

    http://www.prachatai.com/05web/th/home/13456

    กป.อพช.มีข้อเรียกร้องดังนี้

    ประการ แรก ให้นายกรัฐมนตรีลาออก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะที่รัฐบาลสามารถใช้กฎหมายและมาตรการตามปกติได้ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงเป็นการใช้อำนาจที่เกินกว่าเหตุ

    ประการที่สอง เราขอให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะยิ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเผชิญหน้าและมีความรุนแรงยิ่งขึ้น



    "สัมภาษณ์ ไพโรจน์ พลเพชร: ข้อเสนอผ่าทางตันทางการเมือง"

    http://www.prachatai.com/05web/th/home/13454

    ถาม : ขอถามถึงเหตุผลอีกทีชัดๆ ในการเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก?

    ไพโรจน์ : เพราะการลาออกคือการแก้วิกฤตปัญหา และเป็นวิถีทางประชาธิปไตย เพราะเมื่อนายกฯ ลาออกจะเป็นการลดเงื่อนไข


    รวม "แถลงการณ์" ของ นักวิชาการ, เอ็นจีโอ :

    http://www.prachatai.com/05web/th/home/13470

    คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สุรพล, สมคิด, นครินทร์, นิพนธ์, ธเนศ, จุลชีพ ฯลฯ, ฯลฯ)

    คณะ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาใช้ดุลพินิจในการคลี่คลายสถานการณ์ความ ขัดแย้งรุนแรง ที่เกิดขึ้นด้วยการเสียสละให้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่อันเป็นกระบวนตามวิถีทางประชาธิปไตย เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองที่มิอาจหาทางออกในระบอบทางการเมืองโดย ปกติได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เวลาและให้โอกาสแก่สังคมไทย ในการเยียวยาความเสียหาย และความลดระดับความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงและเหตุการณ์นองเลือดใน ระหว่างประชาชน ชาวไทยด้วยกันเองลงได้


    คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

    ขอประณามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ....

    ขอประณามการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ของรัฐบาล .....

    เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ด้วยการลาออกทั้งคณะ ...


    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

    คณะ กรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ติดตามสอดส่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เห็นว่า รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช บกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างร้ายแรง ไม่สามารถทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิในชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น ตลอดจนทรัพย์สินของประชาชนได้ ...


    คณะ กรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอเรียกร้องอย่างจริงจัง ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบความบกพร่องและการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ของคนในรัฐบาลด้วยการ “ลาออก” จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี....


    กลุ่มคณะอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ขอให้ยกเลิกประกาศ พรก. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก


    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

    ขอคัดค้านการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร


    เครือข่ายประชาสังคมเพื่อความสมานฉันท์ภาคเหนือ

    ให้ นายกรัฐมนตรีลาออก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และยังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอันเป็นเครื่องมือให้กับนายกรัฐมนตรีในการใช้ อำนาจกับประชาชน

    ยังมีอีกหลายกลุ่ม หลายองค์กร หลายบุคคล โปรดตามไปอ่านตาม link ข้างต้น ขออภัย ขี้เกียจคัดลอกแล้ว
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×