ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #76 : เหตุผลวิบัติของนักวิชาการริบบิ้นขาว ปริญญา เทวานฤมิตร

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 329
      0
      8 ม.ค. 53

    นักวิชาการสีขาว จวกประชาธิปไตยต้นตอความแตกแยก
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2552 15:29 น.

    “ปริญญา” อภิปรายในงานครบรอบ 11 ปี กกต.ชี้ 77 ปี ประชาธิปไตยไทยล้มเหลวที่สุด ทั้งนำไปสู่ความแตกแยกจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง ระบุ มีแต่คนอ้างสิทธิเสรีภาพ แต่ไม่พูดถึงความรับผิดชอบ แนะ ควรเพิ่มวิชาพลเมืองปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจ

    วันนี้ (9 มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในการอภิปรายเนื่องในโอกาสครบรอบ 11 ปี ของ กกต.ว่า ที่ผ่านมา ประชาธิปไตยของไทยถือว่าล้มเหลว เพราะตลอด 77 ปีที่ผ่านมา เรามีการปฏิวัติรัฐประหารที่ทั้งฉีก และไม่ฉีกรัฐธรรมนูญถึง 12 ครั้ง และล่าสุด เราก็มีความขัดแย้งจนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง และที่น่าเป็นห่วง คือ ความขัดแย้งครั้งนี้ยังไม่จบลง และยังไม่รู้ว่ายกต่อไปจะเป็นอย่างไร และการเข่นฆ่ากันเช่นนี้ก็ใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก จนเริ่มมีผู้ตั้งคำถามว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยนี้ไม่เหมาะกับประเทศไทย ใช่หรือไม่

    นายปริญญา กล่าวต่อว่า ปัญหาของระบอบประชาธิปไตยไทย คือ เรามีวงจร คือ เลือกตั้ง รัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งใหม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นทหารที่ออกมารัฐประหาร เพราะหากไม่ออกมากระทำ และปล่อยให้แก้ปัญหาไปตามวิถีทางระบบก็จะเดินต่อไปได้ หรือนักการเมืองที่หากไม่คอร์รัปชัน ทหารก็ไม่มีข้ออ้างในการปฏิวัติ และที่สำคัญคือ ประชาชนที่หากไม่ขายเสียงก็จะไม่มีคนซื้อ และต้องไม่สนับสนุนการปฏิวัติ ระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ใช่เครื่องจักรที่เมื่อวางระบบแล้วใช้งานได้ แต่ต้องอาศัยคนที่มีจิตสำนึกมาสร้างประชาธิปไตยด้วย

    นายปริญญา กล่าวต่อว่า ปัญหาของระบอบประชาธิปไตย คือ ทำให้เกิดชนชั้นปกครองใหม่ขึ้นมา หากคนไม่พร้อมการเลือกตั้ง ก็จะกลายเป็นเพียงแค่เครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้ชนชั้นปกครองเท่านั้น เพราะแม้แต่ฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังนำความแตกแยกมาสู่คนในสังคม เรียกได้ว่า ไปถึงไหนแตกแยกถึงที่นั่น และประชาธิปไตยยังนำมาซึ่งความเสื่อมของสังคม เนื่องมาจากการอ้างเสรีภาพโดยไม่พูดถึงเรื่องความรับผิดชอบ ซึ่งที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยเกิดปัญหาทั้งสามแบบ อย่างไรก็ตาม ปัญหาทั้งสามจะเกิดขึ้นหากคนที่อยู่ในประเทศนั้นๆ มีคุณภาพซึ่งเราควรจะมีวิชาพลเมือง เพื่อเตรียมเยาวชนเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จเรื่องประชาธิปไตยและใช้หลักนิติรัฐในการควบคุม



    ความเห็นจากคุณจังอางู้แห่งบอร์ดฟ้าเดียวกัน

    ประชาธิปไตยของไทยถือว่าล้มเหลว เพราะตลอด 77 ปีที่ผ่านมา เรามีการปฏิวัติรัฐประหารที่ทั้งฉีก และไม่ฉีกรัฐธรรมนูญถึง 12 ครั้ง
    ignoratio elenchi (irrelevant conclusion)
    การมีรัฐประหาร ไม่ได้แปลว่าประชาธิปไตยล้มเหลว แต่แปลว่าไม่มีประชาธิปไตยต่างหาก

    และล่าสุด เราก็มีความขัดแย้งจนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง
    non causa pro causa
    ความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากการมีประชาธิปไตย แต่เกิดจากการปล้นประชาธิปไตยต่างหาก

    การเข่นฆ่ากันเช่นนี้ก็ใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก
    อันนี้ก็เหมิอนเดิม จงใจบิดเบือนอย่างเลวร้ายที่สุด
    การเข่นฆ่าที่ผ่านมาในอดีต ใครฆ่าใครบ้าง มีแต่ทหารเผด็จการฆ่าประชาชนทั้งนั้นมิใช่หรือ?

    ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ
    อันนี้เป็นแค่ loaded word appeal to emotion
    เรา ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ทุกคนต้องช่วยกัน บลาๆๆๆ ฟังดูดีแต่ไม่เกี่ยวอะไรกับข้อสรุป และไม่มีจุดยืนอะไรเลย นอกจากเนียนติว่ารัฐประหารที่เกิดขึ้นทุกคนผิดเท่ากัน ไม่ใช่ทหารผิด
    เหมือนกับพูดว่าโจรข่มขืนผู้หญิงแปลว่าผู้หญิงกับโจรผิดเหมือนกัน ไม่ใช่โจรผิด

    นักการเมืองที่หากไม่คอร์รัปชัน ทหารก็ไม่มีข้ออ้างในการปฏิวัติ
    Intentional Fallacy อ้างเจตนา

    เพราะแม้แต่ฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้ง
    reductio ad hitlerum
    เป็น subfallacy ของ guilt by association

    ประชาธิปไตยยังนำความแตกแยกมาสู่คนในสังคม เรียกได้ว่า ไปถึงไหนแตกแยกถึงที่นั่น
    non causa pro causa

    ประชาธิปไตยยังนำมาซึ่งความเสื่อมของสังคม เนื่องมาจากการอ้างเสรีภาพโดยไม่พูดถึงเรื่องความรับผิดชอบ
    straw man
    ใครอ้างเสรีภาพโดยไม่พูดถึงความรับผิดชอบ? เทคนิคนี้พวก royalist ชำนาญมาก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×