ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #74 : พลวัต กษัตริย์ในโลกปัจจุบัน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 425
      0
      8 ม.ค. 53

    กษัตริย์ในโลกปัจจุบัน

    เพื่อนหญิงคนหนึ่ง จากหมู่บ้านคานทองนิเวศน์ เพิ่งจะกลับจากเนปาล และภูฏาน พร้อมกับเรื่องราวและคำถามหลายประการ

    เธอ เล่าว่า เพราะอาการ”จิ๊กมี่ ฟีเวอร์”ที่ยังไม่หายแม้จะผ่านมาหลายปี ทำให้เธอดั้นด้นไปปีนเขาสูงถึงภูฏาน แทนที่จะเดินทางไปแค่ซื้อของที่ระลึกชั้นดีอย่างผ้าขนสัตว์แคชเมียร์ และ เครื่องแกะสลักไม้ในกาฏมัณฑุ ตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิมที่ภูฏาน เธอได้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า ดัชนีความสุขแห่งชาติ หรือ GNH นั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะหลังจากที่กษัตริย์ จิ๊กมี่ วังชุก ราชาภิเษกอย่างเป็นทางการตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ด้วยวัยเพียง 29 พรรษา

    สิ่ง ที่เธอประหลาดใจก็คือ รัฐธรรมนูญของภูฏาน เป็นรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เพราะทั้งกษัตริย์ นักการเมือง และประชาชนต่างก็ใช้วัฒนธรรมแบบพุทธมหายาน(ศาสนาประจำชาติ)เพื่ออยู่ร่วมกัน อย่างสัน
    ติ ยุติธรรม และยั่งยืนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างจริงจัง

    เธอ บอกว่า แม้จะเสียดายที่รัฐธรรมนูญของภูฏานระบุว่า พระราชินีของกษัตริย์นั้น จะต้องเป็นคนถือกำเนิดในภูฏาน หรือ อาศัยอยู่ต่อเนื่องในภูฏานนานเกินกว่า 25 ปี ที่ตัดโอกาสสาวต่างชาติจากตำแหน่งดังกล่าวสิ้นเชิง แต่ก็เป็นเรื่องเข้าใจได้

    ที่น่าแปลกใจก็คือ ในบัญญัติว่าด้วยพระมหากษัตริย์นั้น ภูฎานมีเงื่อนไขว่า กษัตริย์จะต้องสละราชสมบัติเมื่ออายุครบ 65 พรรษา(เกษียณ) เพื่อสรรหากษัตริย์พระองค์ใหม่

    นอกจากนั้น ในมาตรา 20-25 ของรัฐธรรมนูญ ก็ยังมีสาระว่าด้วยกระบวนการถอดถอน หรือให้กษัตริย์ทรงสละราชสมบัติ ในกรณีละเมิดรัฐธรรมนูญหรือมีพระสุขภาพจิตบกพร่อง ซึ่งกระบวนการนี้ แสดงให้เป็นนิติรัฐอย่างชัดเจน

    บัญญัติรัฐธรรมนูญที่ว่ามานี้ เป็นแค่บางส่วนของความก้าวหน้าล้ำยุคของความพยายามดัดแปลงภูฏานให้เป็นชาติ "ทันสมัย โดยไม่เป็นตะวันตก" ซึ่งไปไปตามเจตนารมณ์ของกษัตริย์ซิงเย่ วันชุก ผู้ทรงอัจฉริยะและมีวิสัยทัศน์ยาวไกล เพราะทรงถือว่า การเมืองคือส่วนหนึ่งของสุข/ทุกข์ของปวงชนที่ปรากฏในดัชนีความสุขแห่งชาติ เพื่อยกระดับให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนและเท่าเทียมกัน โดยที่ชะตากรรมของภูฏานไม่ควรขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ภายใต้กรอบคิดที่ว่า "ตราบใดที่ภูฏานมีกษัตริย์ที่ดี ประเทศก็ยังมีอนาคต แต่ถ้าชาติมีกษัตริย์ที่เลว ก็ต้องมีวิธีอารยะเอาออกจากตำแหน่ง"เล่ามาถึงตอนนี้ เธอตั้งคำถามกับผมว่า กษัตริย์ในประเทศอื่นๆที่อยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง สามารถนำมาเทียบกับภูฏานอย่างไรได้บ้าง?

    ผมพยายามรื้อฟื้นความทรง เก่าจากที่เคยเล่าเรียนและค้นคว้ามา เริ่มตั้งแต่สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคโบราณของชนเผ่าแอซเต็กใน เม็กซิโก ก่อนยุคโคลัมบัส ซึ่งกษัตริย์มีฐานะเป็นเทพ แต่เป็นเทพที่เผชิญทุกขลาภอย่างน่าเวทนามากกว่าน่ายกย่อง

    กษัตริย์แอ ซเต็กจะครองบัลลังค์เพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น โดยคนที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์นั้น จะถูกคัดเลือกโดยหัวหน้านักบวช เลือกเอาเชลยศึกชายที่"หล่อ"ที่สุด นำมาแต่งองค์ด้วยอาภรณ์และอัญมณีชั้นเลิศ ให้อาหารอย่างดีเยี่ยมทุกมื้อ ให้สนมบำเรอเต็มที่ มีดนตรีกล่อมตลอด 24 ชั่วโมง แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ปกครอง เมื่อครบ 1 ปีที่ครองบัลลังค์ กษัตริย์จะถูกนำขึ้นบูชายัญบนปิรามิด ถอดอาภรณ์ออกจนตัวเปลือยเปล่า นักบวชจะผ่าหน้าอกแหวกออก ควักหัวใจออกมาบดขยี้ จากนั้นก็ถลกหนังศีรษะเพื่อสังเวยเทพสูงสุด

    ส่วน กษัตริย์ในยุโรป นับแต่ยุคกลาง มีฐานะแตกต่างออกไป พระองค์ไม่ถูกถือว่าเป็นเทพ หรือ ตัวแทนของพระเจ้า แต่เป็นคนที่พระเจ้าทรงมอบอำนาจให้ปกครองมนุษย์ โดยต้องได้รับแต่งตั้งจากศาสนจักรคือวาติกัน ทำให้กษัตริย์หลายพระองค์ต้องเสียบัลลังค์เพราะขัดแย้งกับสันตปาปา

    ต่อ มาในยุคปฏิรูปศาสนาคริสต์ มีการประนีประนอมระหว่างศาสนาจักรและกษัตริย์ ทำให้เกิดทฤษฎี "ดาบสองเล่ม" คือ วาติกันครองศาสนจักร กษัตริย์ปกครองอาณาจักร

    มาถึงยุคประชาธิปไตย ทฤษฎีสัญญาประชาคม ที่เสรีภาพ และเสมอภาค กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของสังคม ทำให้กษัตริย์ต้องปรับบทบาทใหม่เพื่อความอยู่รอด ด้วยการรับสาระที่ว่าด้วย"สิทธิที่จะครองราชย์ แต่ไม่มีสิทธิปกครอง" ซึ่งกษัตริย์ในยุโรปที่ประสบความสำเร็จ(หมายถึงดำรงฐานะเป็นกษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญมาจนถึงปัจจุบัน)ก็ล้วนอยู่ใต้สาระนี้ โดยมอบอำนาจทางการเมืองให้กับ"ชนชั้นการเมือง" ส่วนที่ล้มเหลวต้องเสียบัลลังค์ก็เพราะขวางกระแสปวงชนด้วยการทำตัวเป็นเอกา ธิปัตย์

    การถ่ายโอนอำนาจจากกษัตริย์ไปสู่นักการเมือง และการเลือนหายไปของบุคลิกภาพส่วนตัวของกษัตริย์ในบทบาททางการเมือง ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ล้วนเป็นกงล้อประวัติศาสตร์ของสังคมประชาธิปไตยโลกที่ยากจะเลี่ยงได้

    เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล เคยสรุปข้อดีของการที่กษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะปลอดจากการเมืองเอาไว้ฉียบคม ยิ่งนักว่า”หากชาติแพ้สงคราม ประชาชนจะคว่ำรัฐบาล แต่หากชาติชนะสงคราม ประชาชนจะแซร่ซ้องสรรเสริญกษัตริย์”

    ทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขสำคัญอีกข้อหนึ่งนั่นคือ กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น จะต้องไม่ปฏิเสธ หรือ ลังเลใจที่จะให้คำมั่นที่เอาจริงกับปวงชนว่า จะยืนเคียงข้างประชาธิปไตยเต็มตัว ไม่แสดงท่าทีให้ผู้คนสับสนว่าจะประคองตัวเองให้รอดแบบเหยียบเรือสองแคมอยู่ กับทั้งซีกประชาธิปไตยและเผด็จการ

    เรื่องนี้ กษัตริย์ ฮวน คาร์ลอส ที่ 1 ของสเปนในปัจจุบัน ได้ทรงแสดงเอาไว้เป็นต้นแบบอันน่าสรรเสริญมาแล้วใน ค.ศ. 1981 เมื่อนายทหารบางส่วนก่อการรัฐประหารในกรุงมาดริด

    นั่นหมายความว่า วิสัยทัศน์ของกษัตริย์แห่งภูฏานนั้น ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดแต่อย่างใด เพราะได้ทรงกระทำในสิ่งที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า จะทำให้สถาบันกษัตริย์ดำรงอย่างยั่งยืนได้ยาวนาน ไม่ใช่หดสั้นแบบกษัตริย์เนปาลที่มีชะตากรรมตรงกันข้ามเพราะทวนกระแสโลกหวัง เป็นเอกาธิปัตย์

    เพื่อนผมถามว่า อย่างนั้น สถาบันกษัตริย์ไทยจะเป็นอย่างไรล่ะ?

    ผมเรียกเธอเข้ามาใกล้ แล้วกระซิบใกล้หูว่า"...."

    คำตอบของผม ไม่สามารถเผยแพร่ในที่สาธารณะได้ และเพื่อนของผมก็เห็นพ้องด้วยว่าไม่ควรเช่นกัน....................
    วันที่ 29 พ.ค. 2552

    ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×