ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #72 : สถาบันพระมหากษัตริย์ยุคปัจจุบันและการละเมิดไม่ได้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 477
      0
      8 ม.ค. 53

    โดย GRANT EVANS
    ที่มา Bangkok Post Opinion
    แปลเป็นไทยโดย bbbแห่งบอร์ดประชาไท

    มัน เป็นธรรมดาที่ปัญญาชนและนักการเมืองไทยจะอ้างว่าชาวต่างชาติไม่เข้าใจถึง ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อพระมหากษัตริย์ และมันก็จริงที่ฝรั่งหลายคนไม่เข้าใจถึงความรู้สึกเกรงขามและความเคารพของคน ไทยส่วนใหญ่ แต่มันก็จริงเช่นกันที่ชาวต่างชาติเคยมีความรู้สึกเช่นเดียวกันต่อสถาบันพระ มหากษัตริย์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย สวีเดน ญี่ปุ่น หรืออื่นๆ

    สำหรับ ผมตอนเด็กๆที่อยู่ออสเตรเลียในช่วงทศวรรษ 1950 สถาบันกษัตริย์ดูเหมือนเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เวลาผมไปโรงเรียนพวกเราร้องเพลง God Save the Queen เพื่อเริ่มต้นอาทิตย์ใหม่ และร้องเพลงนี้เมื่อมีงานสำคัญ และจริงๆแล้วผมยังจำมันได้แม่นกว่าเพลงชาติเสียอีก

    ผมโบกธง ออสเตรเลียให้พระราชินีอลิซเบธในปี 1954 ตอนเธอมาเยือนเมืองชนบท Mildura ทีผมโตขึ้นมา พวกเรายืนทำความเคารพในโรงหนัง และมีรูปพระราชินีอลิซาเบธแขวนอยู่ในห้องเรียนส่วนใหญ่ ในสถานที่สำคัญ และในบ้านหลายบ้าน หนังสือพิมพ์และวิทยุรายงานความเคลื่นไหวของราชวงศ์ (สมัยนั้นไม่มีโทรทัศน์ในชนบทจนกระทั่งปี 1967) และโดยเฉพาะในแมกกาซีนผู้หญิงมีรายงานข่าวของราชวงศ์และข่าวซุบซิบ ฉบับระลึกถึงการเดินทางต่างประเทศของพระราชินี เจ้าชาย หรือเจ้าหญิงขายหมดอย่างเร็ว นี่เป็นเรื่องปกติในแคนาดา นิวซีแลนด์ และประเทศในเครือจักรภพของอังกฤษ นี่ยังไม่รวมถึงสหราชอาณาจักรเอง

    ทุก วันนี้วิญญานของการมีสถาบันกษัตริย์ได้หายไปจากสังคมออสเตรเลีย คนในรุ่นผมเป็นหนึ่งในกลุ่มสุดท้ายที่ยังจำ "ความเป็นธรรมชาติของการมีสถาบันฯ" ดังนั้นมันเป็นการเตือนสติที่จะสะท้อนถึงว่า"ความเป็นะรรมชาติ" หรือ "ความขลัง" ของสถาบันฯนั้นค่อยๆหายไปอย่างไร สาเหตุหนึ่งคือการลดลงอย่างรวดเร็วขององค์กรจัดตั้งของคริสต์ศาสนิกชนใน อังกฤษและออสเตรเลียตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่มันมีเหตุผลอื่นเช่นกัน

    มันมีความหมายเหมือนกันที่จะตั้งข้อสัง เกตุว่าในขณะที่ทัศนคติได้เปลี่ยนไปอย่างเร็ว แต่สถาบันกษัตริย์ของอังกฤษดูเหมือนจะมี่ความมั่นคงมากและพระราชินีอลิซาเบธ ก็อยู่ในจุดสูงสุดของเธอ

    การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั้นเป็นประวัติศาสตร์ของการประนีประนอมของอุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆ เป็นแบบกึ่งๆที่ผู้นิยมสาธารณรัฐรับไม่ได้ เป็นระบอบที่ทำงานได้ดีโดยเฉพาะถ้าเทียบกับระบบที่อุดมการณ์โดดๆถูกดำเนิน การอย่างเคร่งครัดเหมือนในระบอบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดหรือระบอบฟาสชิสต์ แต่สถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันนั้นเป็นสถาบันที่ถูกกำจัดได้ทางการเมือง ไม่เหมือนอุดมการณ์เกี่ยวกับชาตินิยมหรือสถาบันเช่นกองทัพในยุคใหม่ ซึ่งบ่งบอกถึงความสำคัญของการระมัดระวังทางการเมืองโดยสถาบันกษัตริย์ สถาบันกษัตริย์ไม่สามารถจะแข่งขันกับอุดมการณ์เกี่ยวกับชาติและประชาธิปไตย ที่เหนือกว่า แต่จำเป็นต้องถูกมองว่าเป็นสถาบันฯที่อยู่ร่วมกับอุดมการณ์เหล่านั้นได้ อย่างกลมกลืน

    สถาบันกษัตริย์สมัยใหม่จึงมีบทบาทเป็นผู้ปกป้อง "ประเพณีของชาติ" และสถาบันกษัตริย์นี้บางทีอาจจะทำตัวเป็นพ่อและมีคุณธรรม และบางครั้งอาจจะให้ความฝันของการมีสังคมแบบเรียบง่าย อย่างเช่นการให้แนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่น่าแปลกใจ และเสมือนเป็นการต้านความเจริญอย่างรวดเร็วอย่างหนึ่ง จึงได้รับการยอมรับจากคนหลายคน

    สถาบันกษัตริย์ดึงดูดใจนักมนุษยวิทยา ตั้งแต่ต้นกำเนิดเพราะการปกครองประเภทนี้ได้อยู่ควบคู่กับวัฒนธรรมและสังคม ต่างๆมาโดยตลอด และจากที่พวกเขาได้สังเกตุ คือเนื้อแท้ของราชวงศ์และขุนนางถูกแบ่งแยกออกมาโดยพิธีกรรม การแต่งกาย การพูด และอื่นๆ กิจกรรมเหล่านี้แยกแยะความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ราชวงศ์เป็น "ศูนย์กลางของตัวอย่างที่ดี" ตามคำอธิบายของ Clifford Geertz และสถาบันกษัตริย์ยังเป็นรูปแบบสังคมที่สามารถเอาชนะความขัดแย้งทางการเมือง และประกันความมีเสถียรภาพและความสามัคคี ความยากลำบากของสถาบันฯยุคใหม่คือการวัดว่าควรจะอยู่ห่างจากประชาชนมาก เท่าใดโดยเฉพาะในสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ถ้าพวกเขาไม่สนใจก็จะทำให้พวกเขาถูกเป็นเป้าของการเยาะเย้ยหรือแย่กว่านั้น

    และ จากประเพณีปฏิบัตรที่แบ่งแยกราชวงศ์ออกมาทำให้เกิดกฏหมาย lese majeste ขึ้น มันถูกออกแบบออกมาเพื่อปกป้องเกียรติยศและความบริสุทธิ์ของราชวงศ์ แต่ในเมืองไทยนั้น ตั้งแต่กฏหมายนี้ถูกลากมาเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปลายทศวรรษ 1950 กฏหมายดังกล่าวถูกใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยนักการเมืองทุกระดับ กฏหมายนี้ไม่ได้อยู่ในมือของกษัตริย์อย่างที่ควรจะเป็น ผลที่ตามมาคือการใช้กฏหมายหมิ่นฯโดยไม่มีหลักการนี้ทำให้เกิดผลตรงข้ามกับ จุดมุ่งหมายที่ออกแบบมาตั้งแต่ต้น แทนที่จะทำให้สถาบันกษัตริยืบริสุทธิ์กลับกลายเป็นทำให้หม่นหมองด้วยการ เมืองรายวัน ในแต่ละคดีของข้อหาหมิ่น ประชาชนถูกถามให้เลือกระหว่างสถาบันกษัตริย์และประชาธิปไตย และในที่สุดมันจะมีผลร้ายต่อสถานภาพของสถาบันแรก

    ตามที่ผมได้กล่าว ไว้ข้างต้น สถาบันกษัตริย์ไม่ควรถูกมองว่าต่อต้านประชาธิปไตย นอกจากจะยกเลิกกฏหมายหมิ่นฯเท่านั้นที่จะหลีกเลี่ยงการเลือกที่ไม่น่า ปรารถนาระหว่างสองอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจากแง่มุมของนักมนุษยวิทยา การที่บางกลุ่มในพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอให้กฏหมายนี้มีความเข้มงวดมากขึ้น จะทำให้ปัญหาดูใหญ่กว่าที่เป็น ดูเหมือนพวกเขาจะต้องการดำเนินเรื่องไม่ดีนี้ด้วยสองสาเหตุ

    หนึ่งคือ การฉวยโอกาสทางการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ทำให้กฏหมายนี้เปรอะ เปื้อน นั่นก็คือการอ้างว่ามีการสมรู้ร่วมคิดในการกำจัดสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งพวกเขาอ้างว่ากระทำโดยศัตรูของเขาอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร มันไม่มีหลักฐานยืนยังเรื่องดังกล่าว และสำหรับผมคนหนึ่งเชื่อว่าทักษิณจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามการถอดถอนรัฐบาลทักษิณที่เป็นที่นิยมของประชาชนรวมทั้งกองร้อย ของเขาในนามของสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อให้เกิดการต่อต้านสถาบันฯขึ้น

    ใน ระบอบกษัตริย์ย่อมมีผู้ต่อต้านสถาบันฯ ไม่มีสังคมใดที่คนจะเชื่อมั่น 100% ต่อผู้นำของเขา - แม้กระทั่งในเกาหลีเหนือ! และในความคิดปกติเมื่อคนยุคใหม่ถูกถามให้เลือกระหว่างสถาบันกษัตริย์กับ ประชาธิปไตยเขาจะเลือกข้อหลัง เพราะฉะนั้นเราควรสรุปว่าพวกที่ใช้อำนาจนอกประชาธิปไตยในนามของกษัตริย์เป็น ผู้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านกษัตริย์เอง

    เหตุผลที่สองดูเหมือนจะเป็น เพราะพวกอนุรักษ์นิยมบางส่วนในสังคมไทยถูกหลอกด้วยโฆษณาชวนเชื่อสำหรับนัก ท่องเที่ยวเรื่อง "สังคมพุทธแบบดั้งเดิม" แต่สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงอย่างมากในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาและมันคงจะน่าหัวเราะถ้าคิดว่าทัศนคติของคนไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไปด้วย เราแค่เปรียบเทียบกับศาสนาพุทธที่มีความนิยมมากในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว หรือ พม่าเพื่อดูว่าศาสนาพุทธได้ถดถอยอย่างไร และพระสงฆ์ไทยก็มีเรื่องอื้อฉาวไม่แพ้ศาสนาคาธอลิก

    นักอนุรักษ์นิยม ชอบคิดว่าการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมทำได้ด้วยการบังคับ กฏหมายที่เคร่งครัดแทนที่จะพยายามเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างสร้าง สรรค์ให้เข้ากับมัน

    ตัวอย่างที่เพิ่งเห็นไม่นานนี้คือแนวทางแบบ อนุรักษ์นิยมของอดีตกษัตริย์ Gayanendra ของเนปาล ผู้ที่โต้ตอบการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีกลับไปสู่ระบอบเผด็จการแบบ บูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าเขาพยายามยื่นประชาธิปไตยให้กับประชาชน สถาบันกษัตริย์ของเนปาลคงยังอยู่ถึงทุกวันนี้

    คนไทยบางคนบางครั้ง เปรียบเทียบสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษกับสถาบันฯไทยในเชิงลบ แต่นักข่าวชาวอังกฤษที่มีความคิดนอกกรอบคนหนึ่งชื่อ Jeremy Paxman ได้สรุปในหนังสือของเขา On Royalty (2006) (เรื่องราชวงศ์) ว่าราชวงศ์วินด์เซอร์จะอยู่ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ แต่การทำนายประเทศไทยที่เต็มไปด้วยวิกฤตนั้นค่อนข้างจะเป็นศิลปะที่อันตราย และซับซ้อนด้วยความจริงที่ว่าพวกที่เป็นกษัตริย์นิยมที่ทำตัวเหมือนเป็นศาล เตี้ยต่อสังคมดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่เป็นภัยคุกคามหลักต่อความอยู่รอดของ สถาบันกษัตริย์ไทย

    นักมนุษยวิทยา Grant Evans คือ The Last Century of Lao Royalty: A Documentary History (Silkworm Books, 2009) ศตวรรษสุดท้ายของราชวงศ์ลาว: สารคดีประวัติศาสร์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×