ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #35 : รัฐธรรมนูญ กับ ศาล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 899
      1
      5 ม.ค. 53

    โดย คุณ ประดาบ
    ที่มา เวบบอร์ด ประชาไท
    17 สิงหาคม 2551

    มีข้อพึงสังเกต ที่มิอาจจะข้ามไปได้ สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย ในกำมือตุลาการภิวัฒน์ ดังเช่นกรณีนี้...

    1. รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 เขียนไว้ว่า... บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายและสุขภาพ สถานะของบุคคล สถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

    2. วันที่ 31 กรกฎาคม 2551 ศาลอาญา อ่านคำพิพากษาลงโทษ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ข้อหา ร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยอุบาย และร่วมกันแจ้งข้อความเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ โดยจงใจเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ว่า “..จำเลยทั้งสามเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะกระทำผิดฐานให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี จำเลยที่ 2 เป็นภริยาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระดับผู้บริหารประเทศ จำเลยทั้งสามจึงนอกจากมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนเยี่ยงพลเมืองดีทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังควรดำรงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี สมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย แต่จำเลยทั้งสาม กลับร่วมกันกระทำการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและระบบภาษี ทั้ง ๆ ที่จำนวนค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามกฎหมาย และจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนในที่สุดนั้น เทียบไม่ได้กับจำนวนทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และครอบครัวมีอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 1 จะชำระภาษีอากรไปตามกฎหมายเช่นพลเมืองทุกคน จึงมิได้มีผลกระทบต่อฐานะของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามจึงร้ายแรงพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบายหรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยทั้งสาม คนละ 2 ปี ฐานโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจ ร่วมกันแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 1 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 คนละ 3 ปี...”

    ด้วยเหตุที่ ศาล เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และ ต้องปฏิบัติหน้าที่ อำนวยการความยุติธรรมแก่บุคคลทั่วไป ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ผมจึงมีเหตุที่จะต้องตั้งข้อพึงสังเกต ดังนี้....

    1. นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เป็นผู้กระทำความผิดข้อหาร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยอุบาย และร่วมกันแจ้งข้อความเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ โดยจงใจเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ที่ศาลพิพากษาจำคุก โดยไม่รอลงอาญา และจัดเป็นการกระทำผิดร้ายแรง เนื่องจาก คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นผู้มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม สูง

    ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ชัดเจนว่า ไม่สามารถนำเหตุที่บุคคล มีสถานะทางเศรษฐ กิจและสังคม มาเป็นข้ออ้างในการเลือกปฏิบัติได้ แต่ศาลได้นำ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มาเป็นเหตุแห่งการลงโทษ และกล่าวย้ำเหตุนี้ติดต่อกันถึง 5 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคำพิพากษาของศาล ต่อกรณีนี้ อย่างชัดแจ้งและเปิดเผย

    2. หากนำกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปเปรียบเทียบกับ กรณีนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล ภริยาของนายจรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฉ้อโกงที่ดินของบุคคลอื่น

    พึงต้องตั้งคำถามต่อ ศาลว่า เหตุใดนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล จึงได้รับความเมตตาจากศาล ให้ได้รับค่าชดเชยการพัฒนาที่ดิน เป็นเงิน 10 ล้านบาท จากเจ้าของที่ดิน ซึ่งถูกนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล ฉ้อโกง และศาลก็พิพากษาว่านางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล มีความผิดข้อหาฉ้อโกง จริง ทั้งๆ ที่นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล เป็นภริยานายจรัล ภักดีธนากุล ข้าราชการตุลาการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สูง ซึ่งนอกจากมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนเยี่ยงพลเมืองดีทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังควรดำรงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี สมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย แต่นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล กลับร่วมกันกระทำการฉ้อโกงบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้มีพระคุณต่อตนเอง อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและเจ้าของที่ดิน

    3. หากนำกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปเปรียบเทียบกับกรณีท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ ภริยา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี บุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ครอบครองที่ดินเขายายเที่ยง สร้างบ้านพักตากอากาศ และจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ยอมย้ายออก ไม่ยอมคืนที่ดินให้แก่รัฐ แต่กลับยักย้ายถ่ายเทที่ดินเขายายเที่ยงไปให้แก่บุตร ครอบครองต่อ ราวกับว่า เป็นที่ดินของตนเอง มิใช่ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐ ได้แจ้งแล้วว่า เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของ และมีผู้แจ้งความดำเนินคดีต่อท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ และ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ไว้แล้ว

    กระบวนการยุติธรรม ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัย การ และ ศาล จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร หรือไม่ เนื่องจากท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ เป็นภริยาแม่ทัพภาคที่ 2 ภริยาผู้บัญชาการทหารบก ภริยาองคมนตรี และ ภริยานายกรัฐมนตรี มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง สามารถซื้อที่ดินสร้างบ้านพักตากอากาศ ที่ใดก็ได้ และ การคืนที่ดินที่ครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้แก่รัฐ ก็มิได้กระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของท่านผู้หญิงจิตราวดี แต่อย่างใด

    นอก จากนี้ ในขณะที่ครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้ หรือ นปม.ในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยง ด้วย จึงมิอาจจะอ้างได้ว่า ไม่รู้ว่าพื้นที่ที่ครอบครอง เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ จงใจที่จะบุกรุกและครอบครองที่ดินเขายายเที่ยง ทั้งๆ ที่รู้แก่ใจว่า เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ กล่าวได้ว่ามีเจตนาที่จะฉ้อโกงที่ดินของรัฐ อย่างชัดแจ้ง

    กรณีเช่นนี้ จึงต้องติดตามดูว่า พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และ ศาล จะตัดสินอย่างไร หลังจากที่ ป.ป.ช. ปฏิเสธที่จะตรวจสอบเรื่องนี้ ไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ กระทำความผิดตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เป็นธรรมต่อสังคม และระบบการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของตนเอง

    คำ ถามอันเกิดจากข้อสังเกต 3 ข้อ นี้ เป็นคำถามที่น่าจะทำให้ผู้ใช้อำนาจตุลาการ ที่มีความสุจริตใจ เที่ยงตรง ซึ่งอยู่นอกเครือข่ายตุลาการภิวัฒน์ ต้องกระอักกระอ่วนใจที่จะตอบ แต่หากไม่ตอบ ก็จะทำให้ข้อกล่าวหาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ได้รับความเชื่อถือ เห็นคล้อยตามจากประชาชน ทั้งในประเทศ และชาวต่างชาติ ที่กำลังจับจ้องมาที่กระบวนการยุติธรรม และ ศาลของประเทศไทย อย่างไม่วางตา ด้วยความคลางแคลงสงสัย ว่าข้อกล่าวหาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นความจริงเช่นนั้นหรือ?

    การที่ศาลได้สร้างบรรทัดฐาน นำฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม มาเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิด และให้ถือว่า หากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สูง กระทำความผิด จะถือว่าเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรง ไม่มีเหตุให้ต้องบรรเทาโทษ ต้องลงโทษเด็ดขาด ไม่รอการลงโทษ เพราะถือว่า ไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของตนเอง เช่นนี้แล้ว

    ก็ มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ที่ศาลจะต้องใช้บรรทัดฐานที่สร้างขึ้นนี้ เป็นปัจจัยในการพิจารณาการกระทำความผิดของบุคคลอื่น ด้วย โดยเฉพาะผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สูง มิเช่นนั้นแล้ว ศาลก็คงไม่พ้นข้อกล่าวหา “เลือกปฏิบัติ” ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ดังที่ผมได้ยกมากล่าวอ้างไว้ข้างต้น ………………………………………….

    หมายเหตุ : กรณีพนักงานสอบสวน ให้ประกันตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล แต่ ไม่ให้ประกันตัว นางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดาร์ ตอปิโดร์” ทั้งๆ ที่ถูกกล่าวหาจากพนักงานสอบสวน ว่ากระทำความผิด ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เหมือนกัน และมีพฤติกรรมการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน ก็จัดว่า เป็นการเลือกปฏิบัติ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เช่นเดียวกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×