ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #20 : พันธมิตรฯ,ปัญญาชนขวาจัด,ปัญญาชนตีสองหน้าและรัฐประหาร19กันยา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 962
      2
      4 พ.ย. 50

    โดยรศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

    “ผมวิเคราะห์ไว้ตั้งแต่เดือนกุมภา 49 ว่า กระบวนการขับไล่ทักษิณเป็นกระบวนการที่นำมาสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตยและอำนาจนิยม สร้างความตกใจ-ช็อค-ไม่เชื่อ ให้กับบรรดาเพื่อนๆ ที่ไปอยู่บนถนนร่วมชุมนุม ‘ทักษิณ ออกไป’ ไปกินหญ้าอยู่กับสนธิ ลิ้มทองกุล” รศ.ดร.พิชิต กล่าว

    แล้วเหตุการณ์นั้นก็เกิดขึ้นจริง รัฐประหาร 19 กันยา 49 จึงเกิดขึ้น ด้วยน้ำมือของแนวร่วมกลุ่มทุนเก่า-อภิสิทธิ์ชนราชการ, ‘ปัญญาชนขวาจัด’ ซึ่งในอดีตเคยเป็นฝ่ายซ้าย เป็นเสรีนิยม ได้แปรเปลี่ยนไปเป็นพวกขวาจัดแล้ว และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่ง รศ.ดร.พิชิต เรียกว่า ‘ปัญญาชนตีสองหน้า’

    ‘ปัญญาชนตีสองหน้า’ ซึ่งไม่ออกมาคัดค้านการขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บางคนเห็นด้วยและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเล
    ือกตั้ง เพียงแต่บอกว่าไม่เอารัฐประหาร แต่พอเกิดรัฐประหาร 19 กันยา ปัญญาชนขวาจัดก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเอาด้วย แต่ ‘ปัญญาชนตีสองหน้า’ หรือพวก ‘อีแอบ’ ก็บอกว่าไม่เห็นด้วย แต่มันก็เลี่ยงไม่ได้ รัฐประหารก็เกิดขึ้นแล้ว มาช่วยกันกอบกู้บ้านเมือง มาช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่กัน ปัญญาชนพวกนี้คือพวกจิตสับสน บางคนบอกว่าไม่เอารัฐประหาร แต่รัฐธรรมนูญ 50 ร่างมาต้องเป็นประชาธิปไตย ถ้าร่างไม่ดีไม่เอา แต่ขอข้อนึงเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นสยาม

    จริงๆ แล้วปัญญาชนกลุ่มนี้ก็เป็นแนวร่วมทางอ้อมให้กับการรัฐประหารด้วยการไม่คัดค้าน ไม่คัดค้านพันธมิตรฯตั้งแต่แรก แล้วตอนนี้ก็ออกมาช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ

    15 ปีผ่านไป เมื่อ ‘ซ้าย’ ย้ายไป ‘ขวา’

    “ปัญญาชนเหล่านี้ไม่ว่าจะพวก ‘ขวาจัด’ หรือ ‘อีแอบ’ จำนวนมากหรือเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ เคยเคลื่อนไหวเป็นแนวร่วมพฤษภาฯ บางคนมีประวัติเก่าแก่ตั้งแต่ 14 ตุลา”

    รศ.ดร.พิชิต อธิบายว่า 15 ปีหลังเหตุการณ์พฤษภาฯ คนพวกนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จากอดีตฝ่ายซ้าย สังคมนิยม เสรีนิยม ประชาธิปไตย มาเป็นพวกฝ่ายขวา และก็เป็นกันยกกลุ่ม อายุตั้งแต่ประมาณ 40 ไปจน 40 ปลายๆ จนถึงมากกว่านั้น เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ผ่านมาทั้ง 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภา กลุ่มใหญ่พวกนี้กลายเป็นแนวร่วมของอำมาตยาธิปไตยและอำนาจนิยม และกลายมาเป็นพวกที่คอยให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารและรัฐบาลเผด็จการ

    “ช่วง 14-15 ปี ตั้งแต่เหตุการณ์เดือนพฤษภา ถ้าเราย้อนกลับไปจะเห็นว่า กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ ชนชั้นกลางในเมืองและปัญญาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว พวกเขาเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอย่างชัดเจน พวกเขาผนวกตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครอง อภิสิทธิ์ชน คนพวกนี้ค่อยๆ เปลี่ยนตัวเองจากปัญญาชนที่เคยอยู่กับประชาชน อยู่กับประชาธิปไตย มาเป็นปัญญาชนขุนนาง สมุนของระบอบอภิสิทธิ์ชนและอำมาตยาธิปไตย”

    รศ.ดร.พิชิต ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ในสังคมไทยในระดับข้างบนจะมีปัญญาชนวิชาชีพต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกไปมีส่วนร่วมเป็นกรรมการหรือสมาชิก ซึ่งคนที่เข้าไปก็มีทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัย ขณะที่ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมากเข้าไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา เช่น วัลลภ ตังคณานุรักษ์, เตือนใจ ดีเทศน์, หมอนิรันดร์ (พิทักษ์วัชระ) ฯลฯ ซึ่งเป็นเอ็นจีโอที่ปัจจุบันไปรับใช้เผด็จการหมดแล้ว

    “ตัวอย่างที่ชัดเจนอีก คืออาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ ก็เข้าไปเป็นที่ปรึกษาหน่วยราชการ ที่ปรึกษานักการเมือง ไปนั่งเป็นกรรมการบอร์ดต่างๆ เต็มไปหมด ก็พรรคพวกผมทั้งนั้น คนพวกนี้เข้าไปเสวยสุข เสวยผลประโยชน์และตำแหน่งในระบบของอภิสิทธิ์ชน เวลาผ่านไป คนพวกนี้ความคิดก็เปลี่ยนไป บางคนเป็นคณบดี, อธิการบดี, รองอธิการบดี, หัวหน้าโครงการต่างๆ, หัวหน้าโครงการวิจัยใหญ่ๆ เงินทั้งนั้น ตำแหน่งทั้งนั้น บางคนก็ไปอยู่สถาบันวิจัย เช่น สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งตอนนี้ก็เป็นนักการเมืองกันไปทั้งสถาบัน อัมมาร สยามวาลา ไปอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติอัน“ทรงเกียรติ”, ฉลองภพ (สุสังกร์กาญจน์) เป็นรัฐมนตรีคลัง และก็คนอื่นๆ อีก สมเกียรติ (ตั้งกิจวาณิชย์)ฯลฯ คนพวกนี้เข้าไปเสวยอำนาจในระบบอย่างเต็มที่ เป็นกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์เดือนพฤษภาปี 35 อย่างเต็มที่”

    เอ็นจีโอ ยกสถานะเป็นองค์กรที่มีอำนาจมาก มีอำนาจจนหน่วยราชการต้องกลัวเกรง รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ต้องเจียดงบประมาณให้กับเอ็นจีโอเป็นร้อยเป็นพันล้านทุกปี ผ่านตัวแทนทางจิตวิญญาณของเอ็นจีโอคือประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก พวกนี้คือท่อน้ำเลี้ยงที่รัฐบาลต้องเจียดเงินไปให้และกระจายไปสู่เอ็นจีโอทั่วประเทศ

    แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดเมื่อทักษิณเป็นนายก ทักษิณไม่ใช้นักวิชาการ และยังไม่ให้ความสำคัญกับเอ็นจีโอ นโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณเซาะกร่อนฐานเงินของเอ็นจีโอ เรื่องนี้เอ็นจีโอพูดไว้ชัดเจนว่า กำลังด้านการเมือง ด้านชาวบ้าน หายไปเยอะ เพราะชาวบ้านทุกวันนี้เขาไม่ต้องพึ่งเอ็นจีโอก็ได้ เพราะมีทั้งกองทุนหมู่บ้าน สามสิบบาทรักษาทุกโรค โอท็อป ฯลฯ ถ้าชาวบ้านมีอาชีพ เอ็นจีโอก็ตกงาน เอ็นจีโอโกรธแค้นมาก เมื่อทักษิณมาบอกว่า คนพวกนี้เป็นนายหน้าค้าความจน

    รศ.ดร.พิชิต กล่าวสรุปว่า นับแต่เหตุการณ์พฤษภาฯเป็นต้นมา ปัญญาชนกลุ่มใหญ่ นักวิชาการ นักวิจัย ราษฎรอาวุโส เอ็นจีโอ ได้ผนวกตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ได้เสวยประโยชน์ต่างๆมากมายจากชัยชนะเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 35

    แนวร่วมขวาจัดก่อรัฐประหาร 19 กันยา

    รศ.ดร.พิชิต กล่าวว่า การรัฐประหารครั้งนี้ (19 กันยา) ไม่ได้ทำโดยทหารฝ่ายเดียว แต่เป็นแนวร่วมขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนเก่า-อภิสิทธิ์ชน, ทหาร, ข้าราชการ, ตำรวจ, ปัญญาชนขวาจัด ฯลฯ หลังการรัฐประหารจึงมีการแบ่งเค้ก แบ่งปันผลประโยชน์มากมายให้คนพวกนี้
    “ถ้าอยากรู้ว่า ‘ปัญญาชนขวาจัด’ และ ‘อีแอบ’ เป็นใครบ้าง ให้ไปดูรายชื่อในสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นมา มีคนที่สนิทกับผมอยู่หลายคนทั้ง สุริชัย หวันแก้ว, ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, โคทม อารียา เป็นต้น ที่ไม่ต้องพูดถึงเลยคือ สมศักดิ์ โกศัยสุข และ พิภพ ธงไชย ซึ่งเคยเป็น ‘ปูชนียบุคคล’ ของภาคประชาชน แต่คนพวกนี้หน้าไหว้หลังหลอก มือถือสากปากถือศีล อาศัยทุนทางสังคมที่สั่งสมไว้มาใช้หลอกคน ไปที่ไหนก็บอกว่าเป็นตัวแทนภาคประชาชน ใครแต่งตั้งเอ็งเป็นตัวแทนภาคประชาชน เอ็งเป็นขุนนางศักดินาไปหมดแล้ว” พิชิต ระบุ

    คนบางคนพวกนี้ไม่ได้อาศัยทุนสังคมของตัวเองในฐานะนักเคลื่อนไหวหรือทำคุณงามความดีมา
    บ้างเพียงเท่านั้น แต่ยังไปขโมยทุนสังคมของคนอื่นมาใช้อีก คือทุนสังคมของ อ.ปรีดี และ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

    “คนบางคนไปประชุมที่ไหน คำก็ อ.ป๋วย, สองคำ ก็ อ.ป๋วย, ห้าสิบคำก็ อ.ป๋วย คนบางคนเอารูปที่ถ่ายกับ อ.ป๋วย ขึ้นมากราบ กลัวคนไม่รู้ว่าเป็นลูกศิษย์ อ.ป๋วย แต่กลับไปสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา ทั้งอย่างเปิดเผยและอีแอบ ใช้ทุนสังคมของตัวเองไม่พอ ยังใช้ทุนสังคมของผู้มีพระคุณของประเทศไทยสองคนมาใช้ แถมยังใช้อย่างเปลืองเสียด้วย”
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×