ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #165 : เหตุที่สถาบันกษัตริย์ไม่อาจป้องกันการรัฐประหารได้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 252
      1
      6 พ.ย. 55

    โดย Pegasus

    ก่อนอื่นขอกล่าวนำถึงเรื่องที่ได้พบเห็นมาจากในเครือข่ายทางสังคมว่า คุณมังกรดำเขียนในบล็อกของท่านเองว่าวันหนึ่งได้โดน ดีเอสไอ แจ้งข้อหาว่าหมิ่นสถาบันฯ

    ด้วยเหตุจากการโพสต์ภาพคณะรัฐประหาร คมช. ซึ่งจะเป็นเหตุบังเอิญหรือไม่อย่างไรไม่ทราบได้มีภาพหรือสัญลักษณ์บางอย่างปรากฏร่วมอยู่ด้วย ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ทันจำว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ลักษณะไหน

    และภาพลักษณะนี้เท่าที่จำได้ก็เห็นจากสื่อมวลชนหลายฉบับเลยชวนให้สงสัยว่า สื่อมวลชนทั้งหลายนั้นทำไมไม่โดนแจ้งข้อหาหมิ่นสถาบันฯไปด้วย 

    ในบล็อกนั้นก็มีการเขียนถึงแนวคิดของดีเอสไอทำนองว่า ”อะไรก็ช่างถือว่าผิดกฎหมายก็แล้วกัน” 

    กรณีนี้คือแนวคิดว่าประเทศต้องปกครองด้วยกฎหมาย กล่าวคือเมื่อไรมีการออกกฎหมายมาทุกคนต้องปฏิบัติตาม 

    ทำให้นึกถึงกฎหมายไทยมีหลายมาตราใช้กันมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช

    ซึ่งในหลักสากลถือว่าไม่ใช่หลักนิติรัฐหรือนิติธรรม เพราะสมัยก่อนถือว่าปกครองโดยคนคนเดียว ต่อให้ดีเลิศวิเศษเพียงใดก็ยังเป็นการปกครองโดยกฎหมาย (rule by law) ไม่ใช่หลักนิติธรรม (rule of law) ซึ่งมีหลักสำคัญว่ามนุษย์เท่าเทียมกัน และออกกฎหมายโดยประชาชนเพื่อใช้ในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง


    หลักนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโรบินฮูด ด้วยมหากฎบัตรที่เราได้ยินกันว่า แมกนาคาต้า พัฒนาเรื่อยมาจนสมบูรณ์ เมื่อชาวอังกฤษขับไล่พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ออกจากประเทศ และมีการปกครองโดยพระนางแมรีและพระเจ้าวิลเลียมจากฮอลันดาที่มีการรับรองสิทธิของประชาชนอย่างสมบูรณ์ทางกฎหมายที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและหลักนี้จึงพัฒนาเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

    สิ่งเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ทางราชการไม่ได้มีความรู้ หรือเข้าใจในอุดมการณ์ต่างๆเหล่านี้แม้แต่น้อย 

    ช่างน่าเศร้าใจนักที่เรียนจบปริญญาตรีกันมาได้อย่างไร หรือว่าระบบการศึกษาไทยไม่ได้สอนอะไรคนไทยเลยหรือกระไร (อ้อ ลืมไปว่าไทยเรายังมีอาจารย์แจ้งจับลูกศิษย์กรณีหมิ่นฯ โอเค เข้าใจแล้ว ขออภัยที่สงสัย)

    คำถามในประเด็นที่ตั้งไว้คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทำไมจึงไม่สามารถที่จะต่อสู้ยืนหยัดเพื่อรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยได้เหมือนในต่างประเทศ 

    ซึ่งก็ต้องท้าวความก่อนว่ามีตัวอย่างในประเทศสเปนครั้งนั้นเมื่อเกิดการยึดอำนาจหรือรัฐประหารขึ้นกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ได้ทรงเสด็จออกรายการทางโทรทัศ น์แสดงพระองค์ว่าไม่ทรงเห็นด้วยกับการรัฐประหาร และทำให้การยึดอำนาจนั้นกลายเป็นกบฏ 

    การใช้กำลังทางทหารในสเปนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาหลายๆสิบปีก็สิ้นสุดลง สถาบันพระมหากษัตริย์ของสเปนก็ได้ยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ และต้องบอกกล่าวไว้ก่อนว่า ก่อนที่จะมีเหตุการณ์นี้ สเปนปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาก่อน คงจำจอมพลฟรังโกฯในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองกันได้

    ถ้ามีผู้ใดสงสัยว่าทำไมสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยจึงไม่อาจต่อต้านกับการรัฐประหารซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมากนับตั้งแต่ นายควง อภัยวงศ์ พลโทผิณ ชุณหะวัน สื่อมวลชนสายเหยี่ยว ได้สร้างสถานการณ์และยึดอำนาจจากคณะราษฎรได้ในต้นเดือน พฤศจิกายนปี พ.ศ.2489 ภายหลังสร้างวาทะกรรมอันลือลั่นจากพรรคการเมืองเก่าแก่ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง” หลังจากที่มีความราบรื่นในระบอบประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบ และเต็มใบในปี 2489 ไม่กี่เดือนมาพอสมควร

    เหตุผลแรกนั้นอาจไปศึกษาได้จากการโต้ตอบกันในรัฐสภา ว่าด้วยการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเกิดจากความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของกลุ่มคณะราษฎรที่ใจกว้างเกินความพอดีปล่อยให้ฝ่ายข้าราชการและกลุ่มจารีตนิยมเดิมเข้ามาเป็นเสียงข้างมากในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับอัปยศ 10 ธันวาคม 2475 ดังจะยกมาให้ดูพอสังเขปดังนี้

    ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้เคยกล่าวถึงประวัติศาสตร์ในเรื่องความขัดแย้งตอนนี้ในบทความ "จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม" (พิมพ์ครั้งแรก 10 ธันวาคม พ.ศ.2516) ว่า

    "ในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธ.ค. มีปัญหาว่าจะควรเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า พระมหากษัตริย์มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพหลฯและข้าพเจ้าเข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา 

    มีพระราชกระแสรับสั่งว่า รัฐธรรมนูญของหลายประเทศที่ประมุขรัฐเป็นประธานาธิบดีนั้นได้เขียนไว้ว่า ประมุขแห่งรัฐมีหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญและต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ว่าจะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญไว้ 

    ส่วนสยามนั้นรับสั่งว่าไม่จำเป็นต้องเขียน เพราะเมื่อพระองค์พระราชทานแล้วก็เท่ากับให้สัตยาธิษฐาน และยิ่งกว่านั้นตามพระราชประเพณีได้ทรงสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษก 

    ข้าพเจ้ากราบทูลว่าเมื่อได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะโปรดเกล้าฯสำหรับพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปให้มีความใดเติมไว้ในพระราชสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษกบ้าง

    รับสั่งว่า มีความในพระราชปรารภที่ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์สมัครสมานกับประชาราษฎร์ ในอันที่จะรักษาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เจ้านายที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ ไปก็เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ..."

    "พระยาพหลฯกราบบังคมทูลว่าการทรงพิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้นจะทรงทำอย่างไร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รับสั่งว่า ถ้ารัฐบาลเสนอเรื่องใดที่ขัดรัฐธรรมนูญ พระองค์จะส่งกลับคืนไปโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ 

    พระยาพหลฯกราบทูลต่อไปว่า คณะราษฎรเป็นห่วงว่านายทหารที่ถูกปลดกองหนุนไป จะคิดล้มล้างรัฐบาลขึ้นมา แล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายรัฐธรรมนูญใหม่ ของเขาให้ทรงลงพระปรมาภิไธย จะโปรดเกล้าฯอย่างไร
    รับสั่งว่าพระองค์จะถือว่าพวกนั้นเป็นกบฏและในฐานะจอมทัพ พระองค์จะถือว่าพวกนั้นเป็นราชศัตรูที่ขัดพระบรมราชโองการ ถ้าพวกนั้นจะบังคับให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัติให้พวกเขาหาเจ้านายองค์อื่นลงพระปรมาภิไธยให้..."

    ในบันทึกประชุมของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญในสมัยนั้นก็มีการโต้เถียงกันอย่างดุเดือด เผ็ดร้อน ทั้งฝ่ายคณะราษฎรก็ได้ขอให้มีการบันทึกความเห็นไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าการไม่บัญญัติหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญนี้จะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้อย่างไร 

    ก็เป็นทีน่าเสียดายว่าบันทึกประชุมนั้นไม่ได้รับการเผยแพร่อีกเลยหรืออาจจะสูญหายไปตามกาลเวลาแล้วกระมัง

    แต่เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ในที่นี่จึงขอหยิบยกมาเพื่อเป็นหลักฐานไว้ดังนี้

    ปัญหาการสืบราชสมบัติ และการกำหนดว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ระบุว่า “การสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร” มาตรานี้มีนัยว่า แม้จะมีข้อกำหนดในกฎมณเฑียรบาลเป็นลำดับแต่พระมหากษัตริย์อาจทรงเลือกรัชทายาทโดย ไม่ต้องคำนึงถึงกฎมณเฑียรบาลก็ได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ได้คนที่ไม่สมควรเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประธานอนุกรรมการฯ แถลงว่า ตรงกับประเพณีการสืบราชสมบัติของสยามที่ว่า“พระมหากษัตริย์ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์สมบัติด้วยประชาชนอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ” ตามหลักอเนกนิกรสโมสรสมมติ (รงส. 36/2475 25 พฤศจิกายน 2475) 

    นายหงวน ทองประเสริฐถามว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ประธานอนุกรรมการฯตอบว่า ต้องทรงปฏิญาณ และตามประเพณีราชาภิเษกก็มีการปฏิญาณ อยู่แล้ว นายหงวน ทองประเสริฐ และนายจรูญ สืบแสง ต้องการให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไปอาจไม่ปฏิญาณ 

    ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่าการที่ไม่บัญญัติหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้เป็นการยกเว้นว่ากษัตริย์ไม่ต้องปฏิญาณเพราะถือเป็นพระราชประเพณีเวลาขึ้นครองราชสมบัติ และขอให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุม 

    ประธานอนุกรรมการกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เคยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงมีรับสั่งว่าพระองค์ได้ทรงปฏิญาณเวลาเสวยราชสมบัติและเวลารับเป็นรัชทายาทก็ต้อง ปฏิญาณก่อนดังนั้นจึงถือเป็นพระราชประเพณีแต่นายจรูญยืนยันให้บัญญัติในรัฐธรรมนูญประธานสภาฯจึงขอให้ลงมติ ที่ประชุมฯยืนยันให้คงตามร่างเดิม 48 คะแนน ยืนยันให้เติม 7 คะแนน “

    ส่วนผลที่เกิดขึ้นเป็นประการใดท่านผู้อ่านทุกท่านคงทราบกันอยู่แก่ใจแล้ว

    บัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการให้สัตยาบันนี้ อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ได้กล่าวถึงไว้ในการสัมมนาของกลุ่มนิติราษฎร์ว่า

    “รัฐธรรมนูญของเดนมาร์กกำหนดหน้าที่ที่กษัตริย์ต้องสาบานว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร จริงๆหน้าที่ของกษัตริย์ต้องสาบานตนหรือปฏิญาณตนก่อนเข้าสู่ราชบัลลังก์นั้นมีลักษณะเป็นสากลมากๆ พบบทบัญญัติทำนองนี้ในรัฐธรรมนูญหลายประเทศมาก

    แต่ที่ชัดที่สุด เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็คือ เดนมาร์ค ส่วนประเทศอื่นๆ กำหนดให้กษัตริย์สาบานหรือปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญก่อนเข้าสู่การสืบราชสมบัติ รัฐธรรมนูญเดนมาร์คยังบัญญัติเรื่องค่าตอบแทนเรื่องทรัพย์สิน คือ กำหนดให้สมาชิกราชวงศ์ได้รับ 1 ปี แต่ห้ามโอนเงินดังกล่าวไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสภาผู้แทนราษฎร”


    จากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวจึงอาจกล่าวได้ว่าการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยไม่อาจป้องกันการรัฐประหารยึดอำนาจที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทยก็เพราะปัญหาจากการร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่สมัยการเรืองอำนาจของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาผู้นำรัฐบาล สภาและฝ่ายอนุรักษ์สมัย 2475 

    และต่อๆมาก็คือเหล่านักนิติบริกรในสมัยเผด็จการทั้งหลายที่มีรากฐานจากกลุ่มข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ตุลาการ ที่ร่วมกันต่อต้านประชาชนซึ่งก็คือประชาธิปไตยในยุคสมัยต่างๆ 

    ดังจะยกตัวอย่างง่ายๆว่า ปัจจุบันการขึ้นทรงราชย์นั้นไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ทั้งๆที่เป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งในการระบุว่ าสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยซึ่งแปลว่าประชาชนเป็นใหญ่ได้อย่างไร

    ดังจะสังเกตได้ว่าทุกครั้งที่มีการรัฐประหารหรือสังคมมีปัญหาภายในประเทศจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์อยู่เสมอ ทั้งสมัยปี 2489 2492-4 2516 2535 2540 และ 2550 

    แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่กลับเป็นที่เชื่อกันว่า ห้ามแตะต้องหมวดนี้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยประชาธิปไตยเต็มใบ หรือว่ามีอะไรเป็นพิเศษ เป็นสิ่งน่าคิดเหมือนกัน

    จะเป็นอย่างไรถ้ามีการกำหนดหน้าที่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่เรื่องต้องห้าม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นเรื่องเคยถกเถียงกันมาแล้วในรัฐสภาและรัฐสภาเป็นผู้กำหนดในฐานะตัวแทนของประชาชนที่มีอำนาจสูงสุง


    ถ้ามีการทบทวนใหม่ ให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นประเทศในระบอบการปกครองเดียวกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเหตุผลที่จะต่อต้านการรัฐประหารของผู้นำกลุ่มราชการคือทหารในการไม่เชื่อฟังและกดขี่ประชาชนเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆเช่น สเปน เป็นต้น 

    และประเด็นนี้คือความหวังที่จะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ พ้นจากวงจรอุบาทว์อย่างแน่นอน ด้วยการมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เคียงข้างประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 

    ความจริงแล้วยังมีอีกสองประเด็นสำคัญที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย คือการที่รัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบต่อผู้ที่จะขึ้นทรงราชย์กับการให้มีการลงนามร่วมระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับรัฐบาลหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย

    มิฉะนั้นการกระทำใดๆของพระมหากษัตริย์จะเป็นโมฆะเพื่อรองรับมาตราที่ว่า องค์พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ 

    ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์จะถูกฟ้องร้องด้วยประการใดๆไม่ได้ แต่เนื่องจากการกระทำใดๆถ้ามีความผิดต้องมีผู้รับผิด 

    ดังนั้นในทุกกรณีจึงต้องมีผู้รับผิดแทนพระมหากษัตริย์ การทำผิดใดๆโดยรัฐบาลหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เช่นการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ที่มีข้อบกพร่องมากมายแต่กลับอ้างว่า มีพระปรมาภิไธยลงมาแล้ว เหมือนมีพระบรมราชโองการแล้วขอให้จบ ซึ่งไม่ถูกต้อง 

    จะไม่ถูกต้องเป็นประการใดก็เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยสากล ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน 2475 มีบัญญัติไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แต่มาถูกทำลายเสียในสมัยรัฐธรรมนูญอัปยศ 10 ธันวาคม 2475 ดังที่ จอมพล ป.ฯ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีฝ่ายคณะราษฎรกล่าวไว้ว่า พระยามโนปกรณ์ครอบงำการร่างรัฐธรรมนู ญนานๆทีจึงจะขอให้กลุ่มคณะราษฎรเข้าประชุมด้วย เป็นต้น

    สุดท้ายนี้ เราคงสรุปได้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาดหรือมีนิติบริกรในสมัยการยึดอำนาจทุกยุคทุกสมัยเป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ทำให้องค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต่อต้านการรัฐประหาร และส่งเสริมประชาธิปไตยในส่วนที่สำคัญนี้ได้ 


    บัดนี้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันแล้ว จึงขอเสนอไปยังสมาชิกรัฐสภาว่าการขออัญเชิญสถาบันพระมหากษัตริย์มาช่วยปกป้องประชาธิปไตย เปิดโอกาส เปิดช่องทางที่สถาบันพระมหากษัตริย์จะต่อต้านการรัฐประหารนั้นเป็นแสงที่ปลายอุโมงค์ของระบอบประชาธิปไตย 

    ยึดอำนาจจากการรัฐประหารจะไม่สามารถสร้างความแปดเปื้อนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางใดๆให้เกิดความเข้าใจผิดได้อีกต่อไป 

    ดังนั้นจึงไม่มีความหวังในระบอบประชาธิปไตยใดจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว และต่อไปก็น่าจะไม่เกิดเหตุใครถูกจับข้อหาหมิ่นฯที่ฝ่ายเผด็จการราชการ หรือเรียกกันติดปากว่าระบอบอำมาตย์ร่วมมือกับอดีตฝ่ายซ้ายตัวเอ้ดึงเอาพระราชอำนาจ พระบารมี และกฎหมายตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมาใช้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มพวกตน 

    ซึ่งโดยแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่ประการใด

    ที่มา : Thai E-News
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×