ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติรัสเซีย

    ลำดับตอนที่ #6 : ยุคสหพันธรัฐ

    • อัปเดตล่าสุด 22 เม.ย. 49


          

    หลังจาหสหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย บอริส  เยลต์ซินขึ้นเป็นประธานาธิบดี รัฐต่างๆ 15 รัฐแยกตัวเป็นอิสระ ภายใต้ใหม่ชื่อว่า สหพันธรัฐรัสเซีย โดยมี 11 รัฐที่รวมตัวกันตั้งเป็นเครือจักรภพอิสระ (Commonwealth of Independent Stage หรือ CIS ) ซึ่งมีสารณรัฐรัสเซีย ยูเครน และเบโลรัสเซียเป็นแกนนำสำคัญ กับการบริหารปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยที่ส่งให้เยลต์ชินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 2 สมัย ปี 2000 มีการเลือกตั้งครั้งที่ 3 นายวลาดีเมียร์ ปูติน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิปดีจนถึงปัจจุบัน


    ---------------------------------THE END--------------------------------------------

    ปล. ยุคสงครามเย็น

    เป็นลักษณะการเผชิญหน้าภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่าสงครามเย็นเป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นก่อนสงครามยุติลง และเรียกต่อมาเป็นการอธิบายลักษณะความตึงเครียดระหว่างประเทศ หรือระหว่างกลุ่มที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ เพราะถ้ามีการใช้อาวุธ สถานการณ์จะเปลี่ยนไปเป็นสงครามร้อน (hot war) ซึ่งจะมีขอบเขตกว้างขวางและก่ออันตรายอย่างใหญ่หลวงแก่มนุษยชาติ วิธีการที่ใช้มากในสงครามเย็น คือการโฆษณาชวนเชื่อ สงครามจิตวิทยา การแข่งขันกันทางกำลังอาวุธ และการสร้างความนิยมลัทธิของตนในประเทศเล็กๆ ที่อาจถูกรวมเข้ามาเป็นประเทศบริวารของแต่ละฝ่าย

    สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ.1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี ซึ่งทำให้สหรัฐเริ่มตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องเป็นผู้นำต่อต้านแผนการยึดครองโลกของสหภาพโซเวียตที่เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์

    การแบ่งสถานภาพของประเทศต่างๆในสมัยสงครามเย็นคือ

            1) ประเทศมหาอำนาจ (Big Powers) คือประเทศพัฒนาแล้ว หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม มีภาระหน้าที่นำอารยธรรมไปเผยแพร่ยังประเทศที่ล้าหลัง ทั้งหมดเป็นการสร้างลักษณะจักรวรรดินิยมใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือการล่าเมืองขึ้นและยึดครองประเทศอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย มีจุดประสงค์เบื้องลึกคือความต้องการตลาดระบายสินค้า ต้องการแรงงานราคาถูก และต้องการทรัพยากรในประเทศนั้นมาใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมของตน

    2) ประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Countries) คือประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือมีการพัฒนาในระดับต่ำ ประเทศเหล่านี้จะมีความล้าหลังทางเทคโนโลยี มีฐานะเป็นประเทศพึ่งพา (dependent) และต้องเผชิญหน้าการล่าอาณานิคมของขาติตะวันตก ส่วนมากเป็นประเทศในเอเชียและแอฟริกา

    3) ประเทศอภิมหาอำนาจ (Super Powers) คือประเทศที่ปรากฎความสำคัญขึ้นมาแทนมหาอำนาจตะวันตก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีลักษณะเป็นประเทศภาคพื้นทวีป (Continental Character) มีการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง และเป็นผู้นำลัทธิการเมืองสองฝ่ายคือฝ่ายโลกเสรีและฝ่ายคอมมิวนิสต์
    ยุคสงคราเย็เกิดขึ้ในปีค.ศ. 1947-1949 เป็นระยะความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยการประกาศแผนการณ์ทรูแมน (Truman Doctrine)ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×