ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จตุคามรามเทพ

    ลำดับตอนที่ #5 : พญาพังพระกาฬ

    • อัปเดตล่าสุด 16 ก.พ. 50



         การประกาศชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือสุวรรณประทีปและหมู่เกาะทะเลใต้ จักรวาลพรหมโพธิ์สัตว์ศรีวิชัย ผู้ถือตราพญาราหูอมจันทร์ จึงเทียบเท่ามหาราชในชมพูทวีป พญาโหรา
    บรมครูช่างชาวชวากะได้ประติมากรรมจำลองรูปมหาบุรุษลักษณ์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ เพื่อประกาศเกียรติศักดิ์จอมกษัตริย์ พระโพธิสัตว์ผู้สร้างมหาเจดีย์อุทิศเป็นพระพุทธบูชา ทรงศักดายิ่งใหญ่เหนือพระนารายณ์อวตาร ตามอุดมคติศิลปศาสตร์ศรีวิชัยเรียกว่า"ร่างแปลงธรรม"รูปสมมุติแห่งเทวราช ที่มีตัวตนอยู่จริงในโลกมนุษย์ ทรงเครื่องราชขัติยาภรณ์ สี่กร สองเศียร
    พรั่งพร้อมเทพอาวุธ เพื่อพิทักษ์ปกป้องอาณาจักรและ พระพุทธจักร คติธรรม ศิลปกรรม ล้อเลียน ศาสนาพราหมณ์ ประดิษฐานอยู่ทุกหนทุกแห่งในจักรวรรดิ์ทะเลใต้ ลูกหลานราชวงค์ไศเลนทร์ ชั้นหลัง ถ่ายทอดศิลปศาสตร์ร่างแปลงธรรมเป็น รูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์บ้าง อวตารปราบอสูรบ้าง ผิดเพี้ยนไปตามค่านิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สถานโบราณทั้งหลาย ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ชาติไทย
    ล้วนประดิษฐ์รูปพญานาคราช และ หน้าอสูรไว้ทุกแห่ง
      ทั้งนี้เพื่อบอกนัยความหมายแฝงคติความเชื่อให้คนรุ่นหลังทราบว่า เหล่าลูกหลานชาวชวากะ ผู้สืบมาแต่องค์ราชัน จตุคามรามเทพ เจ้าของตราพญาราหูอมจันทร์ ได้รับศิลปะวิทยาการอันหวงแหนของ บรรพบุรุษ ประดิษฐานวัตถุธรรมขึ้นตามโบราณราชประเพณี โดยไม่ลบหลู่ดูหมิ่น อาจเอื้อมใช้ ตราพญาราหูอมจันทร์ยกตนขึ้นเท่าเทียม "พญาพังพระกาฬ" ด้วยล่วงรู้ถึงข้อห้ามศักดิ์สิทธิ์ในอดีต
       กล่าวโดยสรุป ตราพญาราหูอมจันทร์ คือ ศิลปกรรมสมมุติ รูปธรรมจำลองของผู้มีบุญญาธิการสูงสุด อุตสาหะพรากเพียรเรียนรู้จนเจนจบไตรโลก คือ  โลกธาตุ โลกธรรม โลกุตรธรรม ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน  และตรรกวิชา จตุคามศาสตร์ ของชาวชวากะจึงสามารถโน้มนำ ระบบสุริยจักรวาล มาประดิษฐ์เป็นตรา ลงอาถรรพณ์อาคม ไสยเวทวิทยาครบถ้วนตามศาสตร์ ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือทุกสิ่งทุกอย่างของจักรวรรดิ์ศรีวิชัย ตลอดไป
        ถึงน่านน้ำทะเลใต้ คุ้มครองสรรพอันตรายดุจดั่งเทพอาวุธ ช่วยพลิกผันดาวเคราะห์ร้ายให้เสื่อมฤทธิ์ เกื้อกูลกิจการงานอาชีพให้มั่นคงตามวาสนา ด้วยอำนาจมนต์ตราสมาธิขององค์จักรวาลพรหมโพธิสัตว์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ มวลธาตุ คลื่นพลัง รังษี ชั้นบรรยากาศ แรงดึงดูด ล้วนบรรจุอยู่ในวัตถุธรรม อันผ่านพิธีกรรม ตามศาสตร์ทุกประการ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×