ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติความเป็นมาของประเทศไทยรวมอยู่ที่นี่ 2WE LOVE THAILAND

    ลำดับตอนที่ #16 : จังหวัดนครสวรรค์ [ วิกิพีเดีย]

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 297
      0
      16 ต.ค. 56

    นครสวรรค์
                          เป็นจังหวัดในภาคกลาง ถือเป็น ประตูสู่ภาคเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก

    สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

     

    ประวัติศาสตร์

                               นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจาลึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคญในการทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น นครสวรรค์ ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า นครสวรรค์ เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ

                                 เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ เมืองพระบาง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาไสลือไทที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย

                                  เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานในตำนานมูลศาสนาว่าพระญาณคัมภีร์ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้[3]

    ปากน้ำโพ

                                    บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า "ปากน้ำโพ" ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง วัง ยม และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" ส่วนอีกตำรากล่าวว่า เป็นปากน้ำของแม่น้ำโพ (คือแม่น้ำน่านในปัจจุบัน) ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ

    ภูมิประเทศ

                                      สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่เจ้าสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ

    หน่วยการปกครอง

    การปกครองแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้าน

    1. อำเภอเมืองนครสวรรค์
    2. อำเภอโกรกพระ
    3. อำเภอชุมแสง
    4. อำเภอหนองบัว
    5. อำเภอบรรพตพิสัย
    6. อำเภอเก้าเลี้ยว
    7. อำเภอตาคลี
    8. อำเภอท่าตะโก
    9. อำเภอไพศาลี
    10. อำเภอพยุหะคีรี
    11. อำเภอลาดยาว
    12. อำเภอตากฟ้า
    13. อำเภอแม่วงก์
    14. อำเภอแม่เปิน
    15. อำเภอชุมตาบง
     แผนที่

    สถานที่สำคัญ

    การศึกษา

    โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์

    โรงเรียน

    ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์

    ระดับอาชีวศึกษา

    ระดับอุดมศึกษา

    ห้างสรรพสินค้า

     เศรษฐกิจ

                               จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (ภาคกลางตอนบน) เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรง ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย

    บุคคลสำคัญ

    อ้างอิง

    1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
    2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
    3. ^ ประเสริฐ ณ นคร. พระบาง ในประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กทม. มติชน. 2549 หน้า 244 - 245




    ขอขอบคุณธีมบทความของคุณ H.oney ' คิสซิ่งมาย ฮั น นี่

    เครดิต

    Shala. la

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×