ประวัติไปรษณีย์ไทย
ผู้เข้าชมรวม
2,935
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ประวัติไปรษณีย์ไทย
ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก
ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์ กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์
ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดย พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิม และได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก
ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์ กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์
ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดย พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิม และได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
-----------------------------------------------------------------------------------------
จนกระทั่งในปัจจุบันไปรษณีย์ได้ขยายออกไปมากจนทั่วประเทศ และยังรวมไปถึงทั่วโลก โดยเปลี่ยนชื่อเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ มาใช้ในการให้บริการแก่ประชาชน เพื่อให้สามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แสตมป์
ประวัติแสตมป์
ประมาณปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่ข้าราชการและราษฏร ซึ่งต้องกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงส่งเจ้าหมื่นเสมอใจราชไปดูงานด้านไปรษณีย์ที่ ประเทศสิงคโปร์และจีน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ ผู้ทรงมีประสบการณ์ด้านงานไปรษณีย์เตรียมการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์ตามอย่างต่างประเทศ | |
การตระเตรียมการเพื่อก่อตั้งกิจการไปรษณีย์ได้เตรียมการล่วงหน้าถึง 2 ปี สำหรับงานภายในได้มีการร่างประกาศเรื่องการไปรษณีย์และข้อบังคับต่าง ๆ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม จัดทำตราไปรษณียากรหรือแสตมป์ไว้ใช้งานเตรียมจัดสถานที่ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โดยกำหนดให้ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือปากคลองโอ่งอ่างเป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์เรียกว่า"ไปรษณียาคาร" หรือสะกดตามอักษรในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า "ไปรสะนียาคาร" | |
เมื่อเวลาลุล่วงถึงวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนเก้า ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1245 ตรงกับวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า ทรงสถาปนากิจการไปรษณีย์นับเป็นครั้งแรกในบ้านเมืองเราที่ราษฏร สามารถส่งข่าวสารได้อย่างมีระบบและสะดวกสบาย แสตมป์ชุดแรกของไทยชื่อ "ชุดโสฬศ" ประกอบด้วย 1 โสฬศ 1 อัฐ 1 เสี้ยว ซีกหนึ่ง สลึงหนึ่ง และเฟื้องหนึ่ง จัดพิมพ์ที่บริษัท Waterlow and Son Ltd. ประเทศอังกฤษ จำนวนพิมพ์ชนิดละ 5 แสนดวง เริ่มนำออกมาใช้วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ในวันนั้นเนื่องจากแสตมป์ราคาเฟื้องหนึ่งส่งมาไม่ทัน กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงงดใช้และนำมาจำหน่ายเพื่อการสะสมภายหลัง | |
แสตมป์ชุดโสฬสเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผินพระพักตร์เบื้องซ้ายภายในวงกรอบรูปไข่ ตัวหนังสือและตัวเลขใช้อักษรและเลขไทยล้วน ด้านหลังไม่มีกาวและไม่มีลายน้ำ ------------------------------------------------------------------------------------------------- |
ผลงานอื่นๆ ของ โสฬศ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ โสฬศ
ความคิดเห็น