ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ขุนช้าง ขุนแผน

    ลำดับตอนที่ #5 : สารัตถะของเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

    • อัปเดตล่าสุด 22 ก.ย. 50


     

    สารัตถะของเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

                เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชาวบ้านตลอดทั้งเรื่อง  มีบางตอนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์  แต่เนื้อความและจุดมุ่งหมายสำคัญไม่ได้ต้องการแสดงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์  ดังนั้น  การแต่งเรื่องนี้เป็นกลอนเสภาจึงเหมาะกับการบรรยายความรู้สึก  หรือบทสนทนาของตัวละครในเรื่องที่เป็นคนสามัญ  การบรรยายสภาพความเป็นอยู่ของชาวเมือง  สภาพบ้านเมือง สภาพธรรมชาติ  นอกจากนี้การแต่งเป็นกลอนเสภายังเหมาะกับเนื้อเรื่องที่เกียวกับปัญหาความรัก  ตัวละครมีลักษณะเป็นคนธรรมดา  มีกิเลส  มีตัณหา  มีการชิงรักหักสวาท  เนื้อเรื่องแปลกไปจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ 

                    เรื่องขุนช้างขุนแผนมีคุณสมบัติเป็น สัจนิยม  คือ เนื้อเรื่องมีความสมจริง  ลักษณะอุปนิสัยของตัวละครก็เหมือนมนุษย์จริงๆ  การบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ  และการใช้คาถาอาคมก็เป็นจริงเป็นจัง  ทำให้เราได้มองเห็นภาพชีวิตในสมัยนั้นในด้านต่างๆ  คือ

                   

    1.  ด้านขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรม

    ได้มีการกล่าวถึง ขบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง นับตั้งแต่การเกิดจนกระทั่งตายเลยทีเดียว

    ประเพณีบวชเณร

     “อยากจะเป็นทหารชาญชัย

    ให้เหมือนท่านขุนไกรที่เป็นผี

     จึงอ้อนวอนมารดาได้ปราณี

     

    ลูกนี้จะใคร่รู้วิชาการ

    พระสงฆ์องค์ใดวิชาดี 

     

    แม่จงพาลูกนี้ไปฝากท่าน

    ให้เป็นอุปัชฌย์อาจารย์ 

     

    อธิฐานบวชลูกเป็นเณรไว้


    สมัยก่อนนั้นไม่มีโรงเรียน พ่อแม่จึงมักพาลูกชายไปบวชเรียน เพื่อฝากให้พระสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ และอบรมศีลธรรม เพราะถือกันว่าวัดเป็นแหล่งรวมวิชาความรู้ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน วิชาที่เรียนก็มี วิชาล่องหนหายตัว อยู่ยงคงกระพัน คาถาอาคมต่าง ๆ ปลุกผีและตำรับพิชัยสงคราม เป็นต้น

     

    ประเพณีการทำศพ

    ยกศพใส่หีบพระราชทาน

    เครื่องอานแต่งตั้งเป็นจังหวะ

    ปี่ชวาร่ำร้องกลองชนะ

     

    นิมนต์พระให้นำพระธรรมไป

    พลายชุมพลนุ่งขาวใส่ลอมพอก

     

    โปรยข้าวตอกออกหน้าหาช้าไม่

    พวกพ้องพี่น้องก็ร่ำไร 

     

    นุ่งขาวตามไปล้วนผู้ดี


    การแห่นั้น จะมีเครื่องดนตรีประโคม คือ ปี่ชวาและกลองชนะ มีพระสวดนำหน้าศพ มีการโปรยข้าวตอกไปตลอดทาง กล่าวกันว่าการโปรยข้าวตอก คือ ปริศนาธรรม ว่าข้างตอกนั้นไม่อาจงอกเป็นต้นข้าวได้อีก คนที่ตายไปแล้วก็ไม่อาจฟื้นขึ้นได้อีกเช่นเดียวกัน ส่วนพวกญาติพี่น้องก็สวมเสื้อผ้าสีขาวเดินตามไป

     

    ประเพณีการเทศน์มหาชาติ

    อยู่มาปีระกาสัปตศก

    ทายกในเมืองสุพรรณนั่น

    ถึงเดือนสิบจวบสารทยังขาดวัน

     

    คิดกันจะมีเทศน์ด้วยศรัทธา

    พระมหาชาติทั้งสิบสามกัณฑ์ 

     

    วัดป่าเลไลยนั้นวันพระหน้า

    ตาปะขาวเฒ่าแก่แซ่กันมา

     

    พร้อมหน้านั่งปรึกษาที่วัดนั้น

    การเทศน์มหาชาติถือว่าเป็นงานทำบุญประจำปีที่สำคัญมาก เรื่องที่จะใช้เทศน์ก็คือเรื่อง พระเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ ผู้ที่รับเป็นเจ้าของกัณฑ์แต่ละกัณฑ์ จะต้องจัดเตรียมเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ให้เข้ากับกัณฑ์ของตนด้วย ซึ่งมักจะเป็นผลไม้จำพวกกล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน ตลอดจนของแห้งต่าง ๆ และอ้อย เป็นต้น           

     

    2.  สภาพทางภูมิศาสตร์

                    เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้อาศัยสถานที่จริงเป็นฉากประกอบในการดำเนินเรื่อง  เช่น  จังหวัดสุพรรณบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  วัดวาอารามต่างๆ  สถานที่ที่ระบุไว้ระหว่างทางจากอยุธยาไปเชียงใหม่  ทำให้ผู้อ่านนึกวาดภาพและกำหนดสถานการณ์ต่างๆ  ตามท้องเรื่องให้เกิดขึ้นในมโนภาพได้

     

    3.  ค่านิยมเกี่ยวกับไสยศาสตร์และโหราศาสตร์

                    เรื่องขุนช้างขุนแผนแสดงค่านิยมทำนองนี้ไว้มากมายเกือบจะตลอดทั้งเรื่อง  ตัวละครดำเนินชีวิตไปภายใต้อิทธิพลของไศยศาสตร์และโหราศาสตร์  เหมือนเรื่องเก่าๆของชาติต่างๆมากมาย  ความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในบางครั้งขึ้นอยู่กับความเชื่อทางด้านนี้  และแสดงให้เห็นในเนื้อเรื่องว่าความรู้ทางด้านนี้ก็ทำให้เกิดความสำเร็จในการประกอบกิจกรรมหลายประการ

     

    4.  ลักษณะของสังคมไทย

                    ความเป็นอยู่  แบบแผนของการดำเนินชีวิต  ในเรื่องนี้มีปรัชญาและความจริงของชีวิตปรากฎอยู่มากสภาพการดำเนินชีวิตของคนในเมืองหลวงและในชนบทเป็นอย่างไร  ในเรื่องขุนช้างขุนแผนกล่าวไว้อย่างละเอียด  แสดงแนวความคิดของคนโบราณทั้งชายและหญิง  ซึ่งเราอาจยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตปัจจุบันได้ดี  เช่น  ชายมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  หญิงมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีและเชื่อฟังอยู่ในโอวาทของสามี  การเป็นคนมีความกตัญญูรู้คุณ  เห็นคุณค่าของการศึกษา  การรู้จักกาลเทศะ ฯลฯ

     

    5.  ความรู้ทางด้านภาษา

                    มีถ่อยคำสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย  คำคมต่างๆ  ซึ่งจับใจผู้อ่านแม้จะใช้ถ้อยคำที่ธรรมดาสามัญก็ตาม  เช่น  คำว่า  ปลูกเรือนคร่อมตอ  นอนสูงให้นอนคว่ำ  นอนต่ำให้นอนหงาย  กินน้ำเห็นปลิง ฯลฯ

    สำนวนโวหาร และคติสอนใจจากเรื่อง

    นางพิมพิลาไลยเตือนพลายแก้ว

    อดข้าวดอกนะเจ้าชีวาวาย

      ไม่ตายดอกเพราะอดเสน่หา


    นางสายทองพูดกับพลายแก้ว

    อุปมาเหมือนงาระคนถั่ว

    ประดังไปใส่คั่วกระเบื้องนั่น

     งาร้อนหรือจะผ่อนให้ถั่วทัน

     

    พอถั่วสุกก็จะอันตรายงา


    พลายงามพุดกับนางศรีประจันก่อนจะจากไปทำสงคราม

    อันมนุษย์หาสุดแก่ใครไม่

    มันกลับกลอกนอกในเป็นหนักหนา

      ถึงจะอามทองคำมาเจรจา

     

    แม่อย่าหลงไปด้วยพลอยอวยเออ


    พระเจ้าเชียงอินทร์รำพึงเมื่อแพ้สงคราม

    อันชาติเสือถึงจะตายายก็อยู่

    ให้ใครดูรู้ชาติว่าอาจหาญ

     ชาติกษัตริย์ถึงจะป่นจนวายปราณ

     

    มิให้พานชื่อชั่วว่ากลัวใคร


    นางพิมพิลาไลยพูดกับสายทอง

    ถ้ารูปชั่วตัวเป็นมะเร็งเรื้อน

    ไม่เทียบเพื่อนเห็นจะจนซึ่งคนรอ

     ถ้ารูปดีมีเงินเขาชมปรอ 

     

    ไม่พักท้อเลยที่ชายจะหมายตาม

    อดเปรี้ยวกินหวานตระการใจ

     

    ลูกไม้หรือจะสุกไปก่อนห่าม

    มีแต่แป้งแต่งนวลไว้ให้งาม

     

    ร้อนใจอะไรจะถามทุกเวลา

     

    6.  การศึกษาของเด็กไทยสมัยโบราณ

                    การศึกษาในสมัยบราณเน้นที่การศึกษาของเด็กชาย  การที่จะเข้ารับการศึกษาได้ก็ต้องบวช  พลายแก้วแสดงความจำนงที่จะบวชว่า 

    อยากจะเป็นทหารชาญชัย                               ให้เหมือนพ่อขุนไกรที่เป้นผี

                    จึงอ้อนวอนมารดาได้ปรานี                                               ลูกนี้จะใคร่รู้วิชาการ

                    พระสงฆ์องค์ใดวิชาดี                                                        แม่นี้จงพาลูกนี้ไปฝากท่าน

                    ให้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์                                                    อธิษฐานบวชลูกเป็นเณรไว้

                    การศึกษาแผนโบราณของไทยนิยมให้การศึกษาทางด้านพุทธิศึกษาแก่ชาย  มีวัดเป็นสถานที่เรียน  พระสงฆ์เป็นครู  ค่านิยมทางการศึกษา  คือ  ฝึกคนเข้ารับราชการ  ส่วนการศึกษาของผู้หญิงสมัยโบราณเน้นด้านเคหศาสตร์  เนื่องจากไม่นิยมให้ลูกหลานที่เป็นผู้หญิงออกไปเรียนหนังสือนอกบ้าน  ลูกสาวชาวบ้านจึงได้รับการถ่ายทอดความรู้จากมารดาหรือญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้าน  ในเรื่องขุนช้างขุนแผนจะพรรณนาความสามารถของสตรีในการฝีมือและการครัวอย่างละเอียด  เช่น  การแกะสลักมะละกอของนางพิม  การทำขนม  การทำอาหาร  ตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผนอาจจะมีความสามารถในการอ่านหนังสือออกเขียนหนังสือได้  แต่ผู้แต่งไม่ได้จงใจบรรยายเกี่ยวกับการรู้หนังสือเลย  ถ้าจะกล่าวถึงก็รวบรัดสั้นๆ  ตรงกันข้างกับการศึกษาของเด็กชายซึ่งจะมีการพรรณนาละเอียดลออตั้งแต่วันที่พาไปฝาก  ระบุชื่อสำนัก  ชื่ออาจารย์และวิชาที่เรียน  แสดงว่าสมัยโบราณเน้นการศึกษาของเด็กชายมากกว่า

     

    7.  การแต่งกายของคนไทยสมัยโบราณ

                    วัฒนธรรมทางการแต่งกายที่ปรากฎในเรื่องขุนช้างขุนแผนมีทั้งการแต่งกายของหญิงและชาย  ในสมัยโบราณขมิ้นเป็นเครื่องสำอางอย่างหนึ่งนิยมทาให้ผิวเหลืองนวล  เชื่อว่าใช้รักษาโรคผิวหนังได้ด้วย  เวลามีคนตายก็อาบน้ำศพแล้วเอาขมิ้นทาเช่นกัน

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×