ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมอินเดีย

    ลำดับตอนที่ #2 : อารยธรรมอารยัน

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ย. 50


    .::-//@*//:: อ า ร ย ธ ร ร ม อ า ร ยั น :://*@//-::.



          พวกอารยันอพยพมาจากเอเซียกลาง มาอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ที่เราเรียกว่า แดนอารยาวาตา เข้ามาทำลายเมืองและหมู่บ้านจนราบคาบแต่ยังไม่มาตั้งถิ่นฐานอยู่เลย จนกระทั่ง 1500 ปีก่อนค.ศ. จึงอพยพเข้ามาอยู่อย่างถาวรในดินแดนที่เป็นเมืองฮารัปปาเดิม ขณะที่อารยันเผ่าหนึ่งเข้ามาอินเดีย อารยันเผ่าอื่นเข้าครองอาณาจักรมิตาเนียและซีเรีย ชนอารยันแบ่งเผ่าตามเชื้อชาติ ทำให้เกิดสงครามระหว่างกันเอง แต่ภาษา ศาสนา และการดำเนินชีวิตยังใช้ร่วมกัน จุดร่วมนี้ทำให้ต่อสู้กับชนพื้นเมืองชนะ และยังทำให้วัฒนธรรมของพวกเขายังคงอยู่จนทุกวันนี้

         1500-1000 ปีก่อนค.ศ. เป็นลักษณะพระเวทตอนต้น พวกอารยันนำเทคนิค การใช้ม้าและรถรบเข้ามาสอนคนพื้นเมือง คือ พวกดราวิเดียน อารยธรรมสมัยนี้เป็นอารยธรรมกสิกร คือ มีการเลี้ยงสัตว์เป็นฝูง การปลูกพืชจำพวกข้าวมีน้อยมาก

    1000-600 ปีก่อนค.ศ. เป็นสมัยพระเวทตอนปลาย พวกอารยันขยายดินแดนจากแม่น้ำคงคาไปจนถึงกรุงเดลฮีปัจจุบันเผ่าต่างๆของอารยันทำสงครามระหว่างกันเอง

          ศาสนา คัมภีร์พระเวท แปลว่า ความรู้ (ภาษาลาติน vidi = ฉันเห็น ฉันรู้ และภาษาเยอรมัน Wissen = รู้) เป็นบทร้อง ไม่ได้ใช้อ่าน เขียนเป็น ภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาของพวกอินโด-ยูโรเปี้ยน คัมภีร์พระเวทมี 4 เล่ม เล่มแรก คือ ฤคเวท เป็นบทร้อง หรือบทสวดของพวกอารยัน พบเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนค.ศ. เป็นหนังสือที่เก่าที่สุดของอินเดีย ต่อมามี คัมภีร์อื่นๆ อีก 3 คัมภีร์ คือ สามเวท เป็นทำนองการร้อง ยชุรเวท เป็น บทสวดในพิธี และอรรถเวท เป็นคู่มือเน้นแนวเรื่องลึกลับ พระเจ้าของยุคพระเวทมาจากธรรมชาติ เช่น ฟ้า ดวงอาทิตย์ ลม น้ำ ดิน ไฟ (อุชา, อัคนี, สุริยา ฯลฯ) พระเจ้าประจำชาติ คือ พระอินทร์ และที่สำคัญมีการดื่มน้ำโสมในการทำพิธีทางศาสนา ในคัมภีร์ฤคเวท ประกอบไปด้วยบทร้องหรือบทสวด 1028 บท เกือบทั้งหมดกล่าวถึงพระเจ้าทั้งหลาย ที่น่าสนใจมากที่สุด คือ บท Hymn of Creation ที่ช่วยให้จิตใจคนพัฒนาขึ้น และทำให้คนตั้งคำถามเพื่อพยายามเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้าง (เทพเจ้า) และผู้ถูกสร้าง (คือมนุษย์) ทำให้เกิด หนังสืออุปนิษาทที่ เรื่องเน้นในการค้นพบความจริงอันสูงสุด ความจริงอันเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีสอง ปรัชญาจากหนังสืออุปนิษาทเป็นรากฐานของศาสนาพราหมณ์ เชื่อเรื่องชาติหน้า คนที่ตายไปแล้วอาจเกิดมาในร่างของสัตว์ได้ พืชและสัตว์มีวิญญาณ ต่อมาภายหลังราว 700 ปีก่อนค.ศ. หนังสืออุปนิษาทได้รับการเรียบเรียงขึ้นใหม่โดย โคตมะ นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของสมัยนั้น         
        

     การแบ่งชนชั้นในสังคม เมื่อตอนที่พวกอารยันอพยพเข้ามาอยู่ในอินเดียตอนเริ่มแรกนั้น คนอารยันได้แต่งงานกับชนพื้นเมือง (=Dasas,ทาส) ต่อมาอารยันมีความคิดว่า เผ่าอารยันนั้นมีอารยรธรรมเหนือผู้อื่น เกรงว่าจะสูญพันธุ์ จึงเริ่มเรียกร้องให้ทุกคนรักษาเผ่าพันธุ์อันแท้จริงของตนไว้ ทำให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ราวสมัยฤคเวทตอนปลาย วรรณะ มี 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ (พระ, นักบวช) กษัตริย์, ไวศยะ (กสิกร, พ่อค้า) และศูทร (ทาส,คนรับใช้) พวกที่ไม่มีวรรณะ เรียกว่า พวกจัณฑาล (พวกพราหมณ์ที่อารยันนำเข้ามาสู่อินเดียต้องการรักษาสังคมแบบอย่างอารยันไว้ ทำให้เกิดประเพณีเคร่งครัด ทำให้เป็นต้นกำเนิดของศาสนาฮินดูในเวลาต่อมา)   ประมาณ 560-468 ปีก่อนค.ศ. ศาสนาพุทธและลัทธิชินศาสตร์ พระโคตมะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์ คือ เน้น ให้เห็นสภาพจิตที่เป็นอิสระ และว่างเปล่า สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อบรรลุไปสู่ความสุขสูงสุดที่เรียกว่า นิพพาน คำสั่งสอน ของศาสนาพุทธเป็นภาษาบาลี   พระมหาวีระผู้เป็นเจ้าลัทธิชินศาสตร์ สอนให้ทรมานหรือละทิ้งความเอาใจใส่ต่อร่างกายเพื่อให้จิตใจบริสุทธิ์ จุดประสงค์ คือ เพื่อให้หลุดพ้นจากกรรมเช่นเดียวกับพุทธศาสนา คำสั่งสอนของลัทธิชินศาสตร์ ใช้ภาษาปรากฤต ทั้งสองศาสนามีความคิดคล้ายคลึงกันหลายประการ แม้ว่าการปฏิบัติจะต่างกัน ทั้งสองต่อต้านอำนาจของพราหมณ์ การแบ่งชั้นวรรณะ และอิทธิพลของคัมภีร์พระเวท 512 ปีก่อนค.ศ. แคว้นคันธาราษฏร์ และแคว้นสินธ์อยู่ในความครอบครองของจักรวรรดิเปอร์เซีย (พระเจ้าดาริอุสที่1)
          326-325 ปีก่อนค.ศ. กองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งกรีกโจมตีได้แคว้นคันธาราษฏร์ ปัญจาป สินธ์ และดินแดนที่เป็นประเทศ ปากีสถานปัจจุบัน อิทธิพลของกรีกผ่านมาทางบัคเทรียสู่ศิลปะแบบคันธาราษฏ์


                                           

    ข้อมูลจาก : http://www.baanjomyut.com/library/2548/india/02.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×