คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
(Indus หรือ Sindu : ประมาณ 2500-1800 ปีก่อนค.ศ. ตรงกับยุคสำริด)
การค้นพบอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1856- 1919 เมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายละฮอร์-มุลตัน ขณะที่กำลังขุดทางรถไฟได้ปรากฏซากเมืองๆ หนึ่ง จนกระทั่งค.ศ.1946 กลุ่มนักโบราณคดี มี Marshall, Piggot, Sahni, Banerjee และ Sir Mortimer Wheeler ชาวอังกฤษ ได้ดำเนินการขุดค้นคว้าต่อจนพบเมือง 2 เมือง คือ โมเห็นโจ ดาโร (Mohenjo Daro) ในแคว้นสินธ์ (Sind) และเมืองฮารัปปา (Harappa) ในแคว้นปัญจาปทางตะวันตก ลักษณะของเมืองมีกำแพงล้อมรอบตัวเมือง มีการวางผังเมืองอย่างดี มีถนนสายตรงผ่านหลายสาย และมียุ้งข้าวส่วนกลาง บ้านมีลักษณะกว้างใหญ่ สร้างด้วยอิฐเผา ประกอบไปด้วยห้องน้ำ ห้องส้วม ท่อถ่ายเทน้ำเสีย มีการขุดพบโลงศพแบบเดียวกับที่พวกสุเมเรียนใช้ เช่นเดียวกับที่พบตราประทับของลุ่มน้ำสินธุที่เมืองเออร์ในซูเมอร์ (ทางใต้ของลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรติส) แสดงให้ทราบว่ามีการติดต่อกันระหว่างคนสองลุ่มแม่น้ำนี้ นอกจากนี้ยังพบหินมีค่า เช่น หยก เทอคอยท์ พบว่ามีการใช้อักษร 270 ตัว และเขียนจากขวาไปซ้าย
ลักษณะของคนเป็นพวก Proto-Australoid คือ ผิวดำ ผมหยิก ทั้งผู้หญิงและผู้ชายไว้ผมยาว ผู้ชายไว้เครา ผู้หญิงชอบเครื่องประดับ โดยเฉพาะต่างหู และนุ่งกระโปรงสั้น พระนุ่งห่มแบบเปลือยไหล่ข้างขวา เช่นเดียวกับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา และพระเจ้า Amenhotep ที่ 3 ของอียิปต์ งานด้านศิลปกรรมมีเครื่องปั้นดินเผาระบายสีลายนก หรือสัตว์ โดยเฉพาะภาพ อีกากับสุนัขจิ้งจอก และมีรูปปั้นคน ด้านศาสนา รูปเทพเจ้ามีเขา ไม่สวมเสื้อผ้า มีสัตว์ 4 ตัวอยู่รอบข้าง คือ ช้าง เสือ แรด ควาย ตรงเท้ามีกวางหมอบ 2 ตัว บางรูปทำเทพเจ้ามีเขาเดียว เรื่องการบูชายังไม่มี ส่วนเจ้าแม่ถือเป็นเจ้าแม่
ข้อมูลจาก : http://www.baanjomyut.com/library/2548/india/01.html
ความคิดเห็น