ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาบาลี Styleวัยรุ่น ตะลุย PAT7.5

    ลำดับตอนที่ #2 : อักขระวิธี ว่าด้วยตัวอักษรต่างๆ

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 57


    อักขระวิธี มี 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ว่าด้วยตัวอักษร(สมัญญาภิธาน) และ สนธิ

    อักขระในภาษาบาลีมีทั้งหมด 41 ตัว

    ขยายความก่อนว่า คำว่า อกฺขร(อัก-ขะ-ระ) แปลว่า ไม่หมดไป ไม่มีสิ้น

    อักขระในภาษาบาลีนั้นมี 2 ฝ่ายคือ พยัญชนะ และสระ

    ถ้าเจอคำถามว่า “อักขระในภาษาบาลีมีกี่ตัว” ให้ตอบ 41

    พยัญชนะ มี 33 ตัว คือ

    ก ข ค ฆ ง เรียกว่า วรรค กะ

    จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า วรรค จะ

    ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า วรรค ฏะ บางคนอาจจะเรียก วรรค ฏะใหญ่

    ต ถ ท ธ น เรียกว่า วรรค ตะ บางคนเรียก วรรค ตะเล็ก

    ป ผ พ ภ ม เรียกว่า วรรค ปะ

    ย ร ล ว ส ห ฬ อํ(นิคหิต) เรียกว่า อวรรค เพราะว่าแตกต่างกันตามที่ออกเสียงในปาก

    นิคหิตใช้กับสระเสียงสั้น(รัสสะ)เท่านั้น เช่น อํ อึ

    เวลาเอาพยัญชนะมาซ้อนกันเรียกว่า “สังโยค” โดยใส่จุดไว้ข้างล่าง เช่น กฺก สฺร

    โดยเงื่อไขการสังโยคเหมนกันกับหลักการซ้อนตัวอักษรในคำยืมภาษาบาลี คือ

    พยัญชนะวรรคที่ 1 ซ้อนด้วย 1,2

    พยัญชนะวรรคที่ 3 ซ้อนด้วย 3,4

    พยัญชนะวรรคที่ 5 ซ้อนด้วย พยัญชนะตัวใดก็ได้ในวรรค

    เศษวรรคซ้อนกับเศษวรรคเท่านั้น

    สระมี 8 ตัวคือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

    กลุ่ม “รัสสะ เสียงสั้น” อะ อิ อุ

    กลุ่ม “ทีฆะ เสียงยาว” อา อี อู เอ โอ

    บางครั้งอาจจะแบ่งตามวัณณะ

    อะ อา เรียก อะวัณณะ

    อิ อี เรียก อิวัณณะ

    อุ อู เรียก อุวัณณะ

    สระผสม เอ(อะ กับ อิ) โอ(อะ กับ เอ) ไม่มีวัณณะ

    นิสสิต และ นิสสัย

    พยัญชนะบางที่เรียกว่า นิสสิต แปลว่าผู้อาศัก คือต้องอาศัยสระในการออกเสียง เพราะฉะนั้นการเขียนพยัญชนะที่ไม่มีสระต้องเขียนมีจุดเช่น กฺ ส่วนเวลาเขียนว่า ก จะหมายถึง ก+อะ

    สระเรียกว่า นิสสัย คือต้องให้พยัญชนะผสมอยู่

    ฐานและกรณ์

    ฐานคือที่ตั้งในการออกอักขร มี 6 ที่คือ กณฺโญ(คอ),  ตาลุ(เพดานปาก),  มุทฺธา(ปุ่มเหงือก),  ทนฺโต(ฟัน), โอฏโญ (ริมฝีปาก),  นาสิกา(จมูก)

    กรณ์คือที่ทำอักขระมี ๔  ที่คือ   ชิวฺหามชฺฌํ(ท่ามกลางลิ้น)   ชิวฺโหปคฺคํ(ถัดปลายลิ้นเข้ามา) ชิวฺหคฺคํ(ปลายลิ้น) สกฏฺญนํ  (ฐานของตน)

          ท่ามกลางลิ้น  เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นตาลุชะ  (อิ  อี  จ  ฉ  ช  ณ  ญ   ย  =  เป็นตาลุชะ)

          ถัดปลายลิ้นเข้ามา  เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นมุทธชะ   (ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ร  ฬ  =  เป็นมุทธชะ)

    ปลายลิ้น  เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นทันตชะ   (ต  ถ  ท  ธ  น  ล  ส  =  เป็นทันตชะ)

          ฐานของตน  เป็นกรณ์ของอักขระนอกจากนี้คือ   กัณฐชะ  โอฏฐชะ  นาสิกัฏฐานชะ

    ฐาน กรณ์  ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  ฐานเป็นที่ตั้งในการออกเสียง กรณ์ทำเสียงให้ชัด

    อ  อา  ก  ฃ  ค  ฆ  ง  ห  เกิดในคอ เรียกว่า กัฌฐชา

    อิ  อี  จ  ฉ  ช  ฌ  ญ  ย  เกิดที่เพดาน เรียกว่า ตาลุชา

    ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ร  ฬ  เกิดที่ปุ่มเหงือก เรียกว่า มุทธชา

    ต  ถ  ท  ธ  น  ล  ส  เกิดที่ฟัน เรียกว่า ทันตชา

    อุ  อู  ป  ผ  พ  ภ  ม  เกิดที่ริมฝีปาก เรียกว่า โอฏฐชา

    นิคคหิต  เกิดในจมูก  เรียกว่า นาสิกฏฐานชา

    พยัญชนะที่สุดวรรค  ๕  ตัวเกิดใน  ๒  ฐานตามของตน ๆ และ จมูก

    เอ  เกิดใน  ๒  ฐาน คือคอและเพดาน

    โอ เกิดใน ๒ ฐาน คือคอและริมฝีปาก

    ว  เกิด ๒ ฐาน คือฟันและริมฝีปาก

    ห เกิดในคอตามฐานเดิมของตน

    ญ  ณ  น  ม  ย  ล  ว  ฬ  เกิดในอก

    โมษะ-อโฆษะ และ สถิล-ธนิต

    โฆษะ คือพยัญชนะที่มีเสียงก้อง

    อโฆษะ คือพยัญชนะที่มีเสียงไม่ก้อง

    สถิลคือพยัญชนะเสียงหนัง

    ธนิตคือพยัญชนะเสียงเบา

    Cr.รูปจาก phayanchana.blogspot.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×