ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องส่วนตัว ห้ามเข้า

    ลำดับตอนที่ #1 : รายงาน วิชา เหินเวหา

    • อัปเดตล่าสุด 17 เม.ย. 58


    นกกก / นกกาฮัง  ( Great hornbill )
    การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัย ของนกกก นกกาฮัง
    ชื่อไทย
    นกกก , นกกาฮัง
    ชื่อสามัญ
    Great hornbill
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Buceros bicornis Linaeus
    ขนาด
    ความยาวตั้งแต่ หัว ถึง หาง 120 - 122 ซ.ม.

    ลักษณะ

    ขนาดใหญ่มาก ใบหน้าดำ คอขาว ลำตัวด้านบนสีดำ อกดำ คอและท้องขาว ปากและโหนกแข็งสีเหลือง โหนกแข็งมีขนาดใหญ่ด้วนบนแบน หรือนูนเล็กน้อย ส่วนท้ายเว้า ส่วนหน้าแตกออกไปเป็น 2 กิ่ง ปลายกิ่งอาจแหลม หรือทู่ ปีกสีดำ ขระบินจะเห็นแถบกว้างสีเหลืองกลางปีก ขอบปลายปีกสีขาว หางสีขาวคาดแถบดำ ตัวผู้ขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ด้านหน้าของโหนกแข็งมีสีดำ ตาสีแดง ส่วนตัวเมียโหนกแข็งไม่มีสีดำ ตาสีขาว

    นิเวศวิทยา และพฤติกรรม

    อาศัยอยู่ตามป่าชื้น ดิบแล้ง และป่าดิบเขา ในระดับสุงไม่เกิน 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปกติ จะพบเกาะตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ ผลไม้ป่า แต่บ่อยครั้งก้จะพบกระโดดกินผลไม้ที่หล่นตามพื้นดิน มักพบอยู่เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 3 - 5 ตัว แต่อาจจะพบมากกว่า 30 ตัว ในบริเวณที่มีต้นลูกไม้สุก ดดยนกเงือกจะกินจนหมดต้น จึงไปหาต้นอื่น อาหารมักเป็นผลไม้ โดยเฉพาะไทร หว้า ตาเสือใหญ่ ตาเสือเล็ก ยางโอน ปอ ส้านเล็ก กินอาหาร ดดยใช้ปลายปากปลิดผลไม้ออกจากกิ่ง โยนขึ้นไปในอากาศ และอ้าปากรับผลไม้ กลืนลงคอทั้งผล หรืออาจคาบผลไม้ไว้ เงยหน้า แล้วอ้าปากให้ผลไม้หล่นลงคอทั้งผล นกกกผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูหนาว ต่อ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือน พฤษภาคม ในช่วงนี้จะพบอยู่เป็นคู่ แต่บางตัวพบอยู่โดดเดี่ยวทำรังตามต้นไม้ ที่เกิดตามธรรมชาติ หรือสัตว์อื่นทำทิ้งไว้ โพรงมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 18 - 25 เมตร และ ชอบใช้โพรงเดิม เป็น ประจำทุกปี ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 31 วัน ในช่วงที่ตัวเมียฟักไข่ ตัวผู้จะคอยหาอาหารมาป้อน เมื่ออฟักไข่ออกมาเป็นตัวแล้ว ตัวผู้จะต้องหาอาหารมาป้อนทั้งงตัวเมีย และลูก เมื่อลูกนกมีขนปกคลุมลำตัวและแข็งแรงพอประมาณ ตัวผู้จะเปิดปากโพรงให้ตัวเมียออกมา รวมเวลาที่อยู่ในโพรงประมาณ 80 - 90 วัน หลังจากตัวเมียออกจากโพรง ลูกนกจะปิดปากโพรงด้านใน ส่วนตัวผู้จะช่วยลูกนกปิดปากโพรงด้านนอก ในช่วงนี้ ตัวเมียจะช่วยตัวผู้หาอาหารป้อนลูกนกด้วย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างจากนกเงือกชนิดอื่น ตัวผู้และตัวเมียหาอาหารมาป้อนลูกนกต่ออีกประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ ลูกนกจึงแข็งแรง พ่อและแม่จะช่วยกันเปิดปากโพรงให้ลุกนกออกมา หลังจากนั้นลูกนกจะเริ่มหัดบิน จนบินได้จึงจะทิ้งโพรงไปรวมฝูง

    การกระจายพันธุ์

    บังคลาเทศ บรูไน ลาว กัมพูชา อินโดนีเชีย ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย

    สถานะภาพ

    IUCN (2000) : LR/nt

    CITES (1992) : Appendix I

    CITES (1995) : Appendix I

     

    ข้อมูลจาก : Wildlife in Thailand's Transborder Trade

     

     

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×