คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ตอนสุดท้าย (แล้วมั่ง)
จากที่เราเรียนกันมาในเรื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ของอภัยมณี(ที่ผมนำมาสอนนั้นแหละ) อานุภาพของดนตรีศักดิ์สิทธิ์สามารถขับกล่อมสิ่งมีชีวิตให้หลับไหลและมีพลังถึงขั้นเปิดประตูสู่ภพอื่น
หากเราดูในวรรณคดีสำคัญของชาติอื่นๆ เราก็จะพบร่องรอยยองคใมเชื่อในพลังของดนตรีอยู่เช่นกัน ในวรรณกรรมกรีก ได้กล่าวถึง ออร์ฟีอุส นักพิณผู้สามารถบรรเลงเพลงกล่อมเกลาจิตของคนและสัตว์ และถึงกับโน้มน้าวจิตใจของ “เฮเดส” จ้าวนรก ให้ยอมปลดปล่อยวิญญาณของภรรยาสุดที่รักได้
ในพงศาวดารจีน ก็มีกล่าวไว้ในพงศาวดารไซ่ฮั่น กล่าวถึงเตียวเหลียงผู้อาสาแม่ทัพหาญซิ่นแห่งกองทัพฮั้นอ๋อง ขึ้นไปเป่าปี่เป็นเพลงคิดถึงบ้านบนเขาให้ทหารข้าศึกป่าสพระเจาณ้อปาอ๋องฟัง จนทหารเหล่านั้นหมดกำลังใจจะสู้รบ
ในปัจจุบัน ขณะที่การศึกษาในวิทยาการต่างๆเจริญถึงขีดสุด ก็ได้มีการฟื้นฟูความเชื่อเก่าๆขึ้นมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแนวไสยศาสตร์ หรือศาสนาโบราณเพื่อทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างมุมมองใหม่ของชีวิตที่ไม่ถูกครอบงำอยู่ใต้เงาของศาสนา หรือวิทยาศาสตร์ งานเขียนในแง่มุมนี้จะเป็นที่รู้จักกันในนามจอวแนว NEW AGE และแนวคิดในเรื่องเวทย์มนตร์อันเกี่ยวข้องกับเสียงและดนตรี ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาศึกษา โดยให้คำนิยามของมันว่า “เสียงศักดิ์สิทธิ์”
ศาสตร์แห่งเสียงศักดิ์สิทธิ์เป็นศาสตร์ลับที่ได้รับการถ่ายทอดมาในวัฒนธรรมของชาติต่างๆ มายาวนานเทียบเท่าอารยธรรมมนุษย์ มันปรากฎรูปแบบอยู่ในดนตรี บทเพลงสรเสริญ บทขับกล่อม เพลงสวด และเวทย์มนตร์
เสียง เกิดจากพลังงานที่สร้างคลื่นสั้นสะเทือนผ่านอากาศไปยังผู้รับสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่ทราบก็คือไม่เฉพาะแต่อวัยวะในโพรงหูชั้นในเท่านั้นที่รับการสั่นสะเทือนจากคลื่นอากาศซึ่งทำให้เกิด “การได้ยินเสียง” ร่างกายทุกเซลล์ของเรายังเป็นอุปกรณ์สะท้อนเสียงที่จะตอบสนองต่อความถี่เสียงต่างๆ นอกร่างกาย โดยเซลล์ของอวัยวะแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงต่างความถี่ออกไป นอกจากนี้ร่างกายเรายังสร้างคลื่นเสียงความถี่หลากหลายที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อแต่ละส่วน ที่สั่นสะเทือนด้วยความถี่ต่างๆกัน การแพทย์แผนโบราณบางแขนงได้อาศัยความรู้นี้ ช่วงบำบัดรักษาการทำงานผิดปกติของร่างกายด้วยการเปล่งคลื่นเสียงที่มีความถี่เดียวกับอวัยวะส่วนที่ทำงานคลาดเคลื่อนใส่อวัยวะส่วนนั้น เพื่อจูนคลื่นสั่นสะเทือนของอวัยวะส่วนนั้นกลับเข้าที่ การรักษานี้อาจทำด้วยการใช้เครื่องดนตรี หรือการท่องคาถาหรือใช้ถ้อยคำสักดิ์สิทธิ์ก็ได้
หลักการของเสียงศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ “จังหวะ” “เสียง” ซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งมวลในจักรวาล “ท่วงทำนอง” ทำให้เกิดการปะทะสัมพันธ์ของจิตวิญญาณในร่างกายและกับชีวิตในรูปแบบอื่น และ การประสานเสียง ซึ่งทำให้เกิดพลังทางจิตวิญญาณที่แท้จริง
“จังหวะ” คือสิ่งที่ควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งมวลในจักวาล ตั่งแต่ระดับใหญ่อย่างเช่นการโคจรของดาวเคราะห์ไปจนถึงการซัดสาดของคลื่น ตลอดจนจังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจของเรา มนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีจังหวะของการทำงานจองร่างกาบที่แตกต่างกัยออกไป นอกจากนี้ จังหวะของเสียงจากภายนอกร่างกายสามารถชักจูงจังหวะการทำงานภายในของร่างกายให้คล้อยตาม ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งประโยชน์และโทษ ในบางความเชื่อเช่น ลัทธิวูดู จะใช้เสียงกลองเป็นตังหวะเร่งเร้าเพื่อปรับอารมณ์และความรู้สึกของผู้เข้าร่วมพิธีให้คล้อยตาม การเคาะปลาบักฮื้อ(ที่พระจีนเคาะอะ ป๊อกๆๆ) ของพระจีนในขณะสวดมนตร์ก็เพื่อจุดประสงค์เดียวกันอย่างไรก็ดี จังหวะบางอย่างก็ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย อย่างเช่นจังหวะของดนตรีร็อกฯที่มีจังหวะบีทที่ขัดกับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ปกติจะมี 2 จังหวะ (ตึกตึก ตึกตึก) ก็จะทำให้การสั่นสะเทือนของหัวใจผิดจังหวะไปได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียแก่ร่างกายหากฟังป็นระยะเวลานานๆ ด้วยเสียงดัง จนร่างกายปรับตัวกลับสู่จังหวะเดิมได้ยากขึ้น (เคยสั่งเกตุไหมเวลาไปคอนเสริตหรือเปิดเพลงพวกนี้ดังๆจะรู้สึกอึดอัดที่บริเวณอกหรือหัวใจเหมือนจะเต้นแรง)
ท่วงทำนอง คือการเชื่อมโยงคลื่นเสียงที่ความถี่ต่างๆเข้าด้วยกัน ตามด้วยความเชื่อของหลักโยคะ ในร่างมนุษย์จะมี “จักรหรือจุดศูนย์รวมพลัง” อยู่ 7 จุดด้วยกัน ซึ่งแต่ละจุดจะตอบสนองต่อคลื่นเสียงที่แตกต่างกัน การเชื่อมเสียงที่มีโน๊ตระดับต่างกันเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นจักรในแต่ละส่วนในลำดับที่แตกต่างกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป การกำหนดลำดับเสียง หรือที่เรียกว่า “บันใดเสียง” นี้จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม เราจะเห็นว่าโน๊ตของเพลงไทยเดิม จะมีบันใดเสียงที่แตกต่างกันออกไป เช่น เพลงไทยเดิมจะเลื่อนไหลเหมือนสายน้ำ เพลงอินเดียจะมีการผันผวนของตัวโน๊ตต่อนข้างมาก และมีท่วงทำนองที่ลึกลับ เพลงจีนจะรวดเร็ว ร่าเริง มีจังหวะกระโดดบ่อยครั้ง เพลงญี่ปุ่นจะเนิบช้าและเว่นจังหวะห่างระหว่างโน๊ตค่อนข้างมากเป็นต้น
ในส่วนของ “การประสานเสียง” เป็นการนำโน๊ตเสียงที่แตกต่างกันตั่งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาเล่นพร้อมกัน ทำให้สร้างแรงสั้นสะเทือน ที่โน๊ตเพียงตัวเดียวไม่อาจทำได้ การใช้เน็ต 2 ตัวเล่นพร้อมกันเรียกว่า “เสียงคู่” ซึ่งจะให้อารมณ์ความรู้สึกต่างกัน อาทิ เสียงคู่แปด (เช่นโดกลาง + โดสูง) เป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกสมดุลย์ เสียงคู่ห้า (เช่น โด + ซอล) ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวและอำนาจเป็นต้น ในกรณีที่ใช้โน๊ตตั่งแต่ 3 ตัวขึ้นไปจะเรียกว่า “คอร์ด” ซึ่งแบ่งกว้างๆ ได้เป็น
คอร์ดเมเจอร์ ซึ้งให้ความรู้สึกร่าเริง เบิกบาน
คอร์ดไมเนอร์ ให้ความรู้สึกร่วมหรือโศกเศร้า
คอร์ดเพิ่ม สร้างความรู้สึกลังเล ไม่แน่ใจ
คอร์ดลด สร้างความรู้สึกตึงเครียด
เมื่อนำจังหวะ ท่วงทำนอง และการประสานเสียง มาผสมกันอย่างลงตัวเราก็ได้สร้างความสมดุลย์และกลมกลืนทั้งร่างกายและจิตวิญญาณให้กับตัวเองเพื่อพัฒนาตนไปสู่สภาวะที่สูงส่งยิ่งขึ้น ด้วยพลังเสียงนั้นเอง
ในแนวความคิดแบบนิวเอจ ที่นำแง่คิดของวิทยาศาสตร์มาผสมผสานเข้ากับแนวคิดของศาสนา เชื่อกันว่าร่างกายมนุษย์ เมื่อแยกย่อยลงถึงขีดสุดจะไม่ใช้สสารอีกต่อไป แต่เป็นส่วนประกอบของพลังงานไฟฟ้า โดยประกอบด้วย 2 ชั้น คือส่วนที่มีความหนาแน่นสูง หรือที่เรียกว่ากายหยาบ(ก็ร่างกายเรานี้แหละ) ซึ่งเราสัมผัสได้และส่วนที่เป็นสนามพลังงานห่อหุ้มอยู่รอบร่างกาย ที่เรียกว่าออร่า หรือกายทิพย์ มีความเชื่อว่าร่างกายร่างกายเมื่อจะเกิดอาการเจ็ป่วย จะเกิดอาการผิดปกติขึ้นที่กายทีพย์ก่อน หรือบางครั้ง การหมักหมมของพลังงานด้านลบที่ติดค้างอยู่ที่กายทิพย์ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บปวยต่างๆได้ ในศาสตร์ของเสียงศักดิ์สิทธิ์จะใช้วิธีการเปล่งเสียงหรือการเคาะจังหวะเบาๆ รอบร่างกาย เพื่อสร้างควมสั่นสะเทือนขึ้นรอบๆ กายทิพย์ เพื่อกำจัดพลังสกปรกเหล่านี้ออกไป
เสียงศักดิ์สิทธิ์ยังมีการพัฒนาออกมาในรูปแบบ “มัตระ”(มนตราละมั่ง) หรือ เวทย์มนตร์ โดยการเอ่ยนามเทพเจ้า หรือ ถ่อยคำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจูนคลื่นเสียงสั้นสะเทือนของร่างกายเราให้เข้ากับคลื่นของเทพเจ้าองค์นั้น โดยอาศัยการสั่นสะเทือนจากการออกเสียงนามของเทพเจ้านั้นเป็นสื่อ ซึ่งพบในศาวสนาฮินดู และลัทธิคาบาล่าของศาสนายิวโบราณ โดนเฉพาะอย่างยิ่งเสียง “โอม” ของศาสนาฮินดู ซึ่งมาจากคำว่า “อะ-อุ-มะ” ที่ใช้แทนเทพสูงสุด 3 องค์ของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นคำที่มีพลังมหาศาลที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในลักษณะต่างๆ ของการเปล่งเสียง ที่จะส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในวิชาโยคะ เชื่อว่าการเปล่งเสียงสระแต่ละเสียงจะกระตุ่นจักรซึ้งมีอยู่ 7 จักรด้วยกันในร่างกาย(ลองทำกันดูนะแล้วมาบอกสิว่าเป็นจริงป่าว) ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ที่จักรเหล่านั้นควบคุมอยู่ ส่วยวิชาชี่กงของชาวจีน ก็มีหลักเปล่งเสียงต่างๆ เช่นเสียง “ฮู” หรือเสียง “ซี” ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลในการกระตุ้นอวัยวะภายใน เช่น ม้าม ตัว หัวใจ ฯลฯ
เสียงศักดิ์สิทธิ์ ยังคงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจ มันอาจให้ท่งเอกใหม่ๆ ในการบำบัดรักษาโรค หรือนำเราไปสู่การสำนึกในความเป็นจริงบางอย่างของจักรวาลที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกทางวิทยาศาสตร์ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
สรุปการร่ายเวทมนตร์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งของการใช้เสียงศักดิ์สิทย์ แล้วผลของเวทย์ที่เอ่ยออกมานั้นก็เกิดจากการจูนคลื่นสั่นสะเทือนให้เข้ากัยสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้นการเป็นนักเวทย์ที่ดีก็ต้องร่ายเวทย์อย่างถูกต้องและตรงอัคระเพราะถ้าร่ายเวทย์ผิดก็จะทำให้การจูนหรือผลของเวทย์นั้นๆ ออกมาผิดรูปแบบหรือไม่เกิดผลใดๆ นับว่าเสียงศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการเป็นนักเวทย์
เครดิสทั้งหมดจาก “อภัยมณีซาก้า” สำนักพิมพ์ เนชั่น
ความคิดเห็น